happy on November 22, 2015, 07:25:26 PM
M2M คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงแล้วหรือยัง? การค้นหาแนวทางล่าสุดด้าน Field Service



โดย ศรีดาราน อรูมูแกม รองประธานบริษัทไอเอฟเอส ภูมิภาคอาเซียนตะวันออกเฉียงใต้

การสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ (Machine-to-Machine – M2M) นั้นได้เกิดขึ้นมาหลายปีแล้วแต่คุณอาจไม่ทราบว่าการพิจารณาถึงการขยายตัวของ M2M เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน บางทีอาจเป็นสาเหตุมาจากการที่ M2M ได้รับอิทธิพลจาก Internet of Things (IoT) ซึ่งทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลสำหรับการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ต่างๆ ทั่วโลก มีการประเมินไว้ว่าจะเกิดการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ถึง 20,000 ล้าน - 50,000 ล้านทั่วโลกในปี 2020 ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสารและขับเคลื่อนความมีประสิทธิภาพเชิงปฏิบัติการ ผู้จำหน่ายด้าน Field Service กำลังให้ความสนใจแก่ M2M และมุ่งหวังที่จะลงทุนเพื่อได้รับประโยชน์จาก M2M แบบบูรณาการและ Field Service Management ที่สามารถมอบให้แก่องค์กรด้านงานบริการ
 
การคาดการณ์ของ IDC (International Data Corporation) เมื่อเร็วๆ นี้ได้ชี้ให้เห็นว่าในปี 2015 ธุรกิจจำนวนมากจะเข้าถึงโซลูชั่นและช่องทางต่างๆ ที่รองรับ IoT ก่อนที่จะเกิดการปรับใช้ในอนาคตซึ่งเป็นสิ่งที่ได้พูดคุยและอภิปรายกับแอนดรูว์ ลิชี่ ผู้เชี่ยวชาญด้าน M2M ของไอเอฟเอส เกี่ยวกับความนิยมและการที่ไอเอฟเอสนำ M2M มาปรับใช้ใน Filed Service


<a href="http://www.youtube.com/watch?v=j-l_XfcKN_Y" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=j-l_XfcKN_Y</a>


Sridharan Arumugam, Vice President, IFS South-East Asia

คุณมอง M2M จากมุมมองด้านเทคโนโลยีและการบริโภค อย่างไรบ้าง

จากมุมมองของผู้บริโภค : M2M ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เกิดขึ้นมาหลายสิบปีแล้วแต่มันกำลังกลายเป็นสิ่งที่ประสบความสำเร็จเนื่องจากการเชื่อมต่อกันทั่วโลกในทุกวันนี้ จากมุมมองของผู้บริโภคคุณจะมองเห็นว่า M2M มีอยู่มากในอุตสาหกรรมสื่อสารคมนาคมและรถยนตร์รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Appliance) ภายในบ้านและระบบรักษาความปลอดภัย ระบบการควบคุมการทำงานภายในบ้าน (Home Automation System) สามารถแจ้งเตือนคุณผ่านอุปกรณ์มือถือโดยเชื่อมต่อกับระดับการใช้พลังงานและการแจ้งเตือนอื่นๆ จะทำให้คุณใช้ประโยชน์จากการบริโภคพลังงานและดูแลบ้านของคุณจากระยะทางที่ไกลได้มากยิ่งขึ้น

จากมุมมองในแวดวงอุตสาหกรรม : ใน Field Service ตัวเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งบนอุปกรณ์จะทำให้องค์กรด้านการบริการสามารถเปลี่ยนจากปฏิกิริยาแบบตั้งรับ (Reactive Model) ที่โดยปกติจะตอบสนองต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในพื้นที่ไปเป็นปฏิกิริยาแบบเชิงรุก (Proactive Model) ที่ซึ่งผู้ปล่อยสินค้าและช่างเทคนิคในพื้นที่สามารถได้รับการแจ้งบนอุปกรณ์ของพวกเขาได้ก่อนที่ปัญหาจะเกิดและระยะเวลาที่ระบบเกิดขัดข้อง (Down-time) ช่างเทคนิคสามารถไปแก้ไขปัญหาเหล่านี้ในพื้นที่ก่อนที่ปัญหาจะซับซ้อนไปมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงก่อให้เกิดการพัฒนาในด้านความพึงพอใจของลูกค้าอย่างมีนัยยะสำคัญ
ดังนั้น M2M ในแวดวง Field Service จะทำให้องค์กรบริการสามารถ
 
§  ลดเวลาในการทำงาน (ปกติจะแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นก่อนที่ทรัพย์สินในองค์กรจะเกิดความเสียหาย
§  ปรับปรุงอัตราเวลาการแก้ไขครั้งแรกด้วยระบบการวินิจฉัยที่ดียิ่งขึ้น (ตัวเซ็นเซอร์จะติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ของช่างเทคนิคและตรวจหาความความผิดพลาดหรือปัญหาที่เกิดขึ้นจริง)
§  ลดปัญหาเรื่องสินค้าคงคลัง (หากช่างมีการวินิจฉัยที่แม่นยำก่อนที่จะถึงเครื่องมือ พวกเขาก็จะมาถึงเขตสถานที่ทำงานก่อน)
§  ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (การเดินทางไปหาลูกค้าหรือคลังสินค้าก็จะลดลง)


จากมุมมองด้านเทคโนโลยี : ขอบเขตอีกอย่างหนึ่งที่ M2M สามารถช่วยประหยัดเวลากการทำงานลงในสองปีมานี้คือการวัดที่ชาญฉลาด ห้าปีที่แล้วการวัดส่วนมากเกิดขึ้นจากการส่งช่างหรือวิศวกรไปยังพื้นที่หรือบ้านของลูกค้าสำหรับการวัดค่าการใช้พลังงาน ในปัจจุบันเครื่องวัดอัจฉริยะสามารถให้ข้อมูลดังกล่าวแก่องค์กรได้แล้วโดยไม่ต้องมอบหมายให้พนักงานไปลงพื้นที่
 
การวัดที่อัจฉริยะได้มอบประโยชน์แก่องค์กรด้านบริการดังต่อไปนี้:
§  ลดแรงงานส่วนเกิน (วิศวกรจำนวนมากไม่จำเป็นสำหรับสายงานนี้)
§  ลดค่าเดินทาง (ลดการเดินทางไปยังพื้นที่ของลูกค้าอย่างเห็นได้ชัด)
§  ลดการเดินทางสำหรับการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management – PM) (เครื่องวัดอัจฉริยะสามารถวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานของตัวเองได้


การบริหารจัดการด้าน Field Service ของไอเอฟเอสได้นำ M2M มาปรับใช้อย่างไร?

จากมุมมองด้านซอฟแวร์ หัวใจหลักอยู่ที่ IFS Field Service Management Software โดยสามารถเชื่อมโยงกับโซลูชั่น M2M อย่างง่ายดาย ไอเอฟเอสใช้แพลตฟอร์มแบบเปิดสำหรับเชื่อมโยงโดยรองรับมาตรฐานทั่วไปของ xml ซึ่งง่ายต่อการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ หรือระบบที่เกี่ยวข้องกับ M2M ในปัจจุบันไม่มีมาตราฐานสากลที่ระบุว่าอุปกรณ์ทั้งหมดควรติดต่อสื่อสารกับระบบอื่นๆ อย่างไร อุตสาหกรรมนี้จะจึงกำลังขยับเข้าไปในทิศทางด้งกล่าวอย่างเห็นได้ชัดจนกว่ามาตรฐานเหล่านั้นจะเข้าที่อย่างชัดเจน ไอเอฟเอสมองว่าความยืดหยุ่นเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับวีธีการรับส่งข้อมูลหรือการที่ระบบนั้นตอบสนองต่อข้อมูลอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น หากการบริหารจัดการด้าน Field Service ของไอเอฟเอสได้รับข้อความเตือนจากเครื่องพิมพ์ว่าหมึกเหลือน้อย มันก็ยังคงสามารถที่จะตอบสนองต่อการจัดตารางการทำงานและจัดทำสินค้าคงคลังได้เพื่อให้ช่างเทคนิคไปถึงพื้นที่

คุณเห็น M2M ในด้าน Field Service อย่างไรในอีกห้าปีข้างหน้า

M2M จะเปลี่ยนแปลงวิธีที่เรารับมือกับ Field Service อย่างแน่นอน ข้อดีจากมุมมองในเรื่องการลดค่าใช้จ่ายและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การมีทัศนวิสัยในสายงานนี้ โดยอุปกรณ์สามารถบอกเราว่าเมื่อไหร่ที่ลูกค้าต้องการบริการและประเภทของบริการที่ลูกค้าต้องการจะช่วยประหยัดเงินจำนวนหลายล้านดอลล่าห์ขององค์กร M2M ยังทำให้องค์กรต่างๆ สามารถลดทรัพยากรในขณะที่สร้างความพึงพอใจของลูกค้าให้สูงขึ้นอีกด้วย การทำงานโดยไม่มีความผิดพลาดในสายงานนี้จะช่วยขับเคลื่อนความพึงพอใจของลูกค้าให้สูงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

การก้าวกระโดดไปข้างหน้าอันยิ่งใหญ่จะก่อให้เกิดมาตรฐานของอุตสหกรรม เมื่อข้อกำหนดและวิธีการในการติดต่อสื่อสารต่างได้รับการกำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกัน ในท้ายที่สุดแล้ว M2M จะกลายเป็นแนวทางหลักใน Field Service ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ประกอบการด้านการซ่อมตู้เย็น ผลิตชิปคอมพิวเตอร์หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกนัยหนึ่งก็คือ M2M คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่อีกต่อไป


###

เกี่ยวกับไอเอฟเอส

ไอเอฟเอส เป็นบริษัทผู้นำที่ได้รับการยอมรับในแวดวงอุตสาหกรรมไอทีในการผลิตและพัฒนาซอฟแวร์สำหรับธุรกิจชั้นนำระดับโลกด้านการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning หรือ ERP) การบริหารจัดการสินทรัพย์ขององค์กร (Enterprise Asset Management หรือ EAM) และ การบริหารจัดการงานบริการขององค์กร (Enterprise Service Management หรือ ESM) ไอเอฟเอสได้ทำให้ลูกค้าสามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่ตั้งไว้รวมถึงสามารถช่วยให้ลูกค้าเกิดความคล่องตัวทางธุรกิจรวมและสร้างผลกำไรในธุรกิจ ไอเอฟเอสเป็นบริษัทมหาชน (OMX STO: IFS) โดยก่อตั้งขึ้นในปี 1983 และมีพนักงานทั้งสิ้นกว่า 2,700 คนทั่วโลกโดยมีลูกค้ากว่า 2,400 รายทั่วโลกและมีขอบข่ายการดำเนินงานใน 60 ประเทศ สำหรับการติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไอเอฟเอสได้ที่ www.ifsworld.com  หรือทาง Twitter: @ifsworld หรือเยี่ยมชม IFS Blogs เกี่ยวกับเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ได้ที่ http://blogs.ifsworld.com/