enjoyjam.net » news & activity » news & activity (Moderators: happy, sianbun) » ปส.ผนึกกำลัง สทน.จัดบูธใหญ่ในงานมหกรรมวิทย์ฯ ชี้รังสีรอบตัว มีประโยชน์หลากหลาย « previous next » Print Pages: [1] Go Down happy on November 19, 2015, 03:25:55 PM ปส.ผนึกกำลัง สทน.จัดบูธใหญ่ในงานมหกรรมวิทย์ฯชี้รังสีรอบตัว มีประโยชน์หลากหลายหากใช้ถูกวิธี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน.ร่วมมือผนึกกำลังครั้งใหญ่ เพื่อจัดกิจกรรมและนิทรรศการด้วยพื้นที่กว่า 500 ตร.ม.ในมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติปี 2558 ภายใต้แนวคิด “All About Radiation”(รู้รอบเรื่องรังสี) เพื่อแสดงให้เห็นว่าพลังงานนิวเคลียร์เป็นเรื่องใกล้ตัว ซึ่งมนุษย์นำมาใช้ในรูปแบบของ “รังสี” โดยถ้าใช้อย่างถูกวิธีและมีการกำกับดูแล จะมีประโยชน์หลากหลายทั้งด้านการแพทย์ การศึกษาวิจัย อุตสาหกรรม การเกษตร ฯลฯ ดร.อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวว่าสำหรับภายในบูธนิทรรศการแบ่งเป็นโซนต่างๆ อาทิ “Nuclear World” จัดทำเป็นอุโมงค์ขนาดใหญ่ พร้อมแสดงนิทรรศการเรื่องประเทศไทยกับพลังงานนิวเคลียร์ และสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แต่ละแห่งในโลก และเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับนิวเคลียร์ของโลก ภายในอุโมงค์เด็กๆ จะได้ร่วมลุ้นกับการเดินหลบหลีกแสงเลเซอร์ซึ่งเปรียบเสมือนรังสี และยังมีนิทรรศการ “รังสีรอบตัวเรา” ที่จะทำให้เห็นว่าใน 1 วันเรารับรังสีอะไรบ้าง การจัดโชว์สิ่งของต่างๆ ใกล้ตัวเราซึ่งมีสารรังสี แต่หลายคนอาจนึกไม่ถึง เช่น แจกันเครื่องแก้ววาสลีน อุปกรณ์ตรวจจับควันบางชนิด ไส้ตะเกียงเจ้าพายุ ลวดเชื่อมทังสเตน เลนส์กล้องถ่ายรูป ของใช้ที่มีส่วนประกอบเป็นพรายน้ำและเรืองแสง เช่น นาฬิกา พวงกุญแจ เข็มทิศเดินป่า ศูนย์เล็งปืน ฯลฯ ถึงซึ่งเหล่านี้จะมีรังสีแต่ไม่น่าตกใจแต่อย่างใดเพราะปริมาณรังสีมีอยู่น้อยมากจนไม่สามารถทำให้เกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ยังมีสิ่งแสดงนิทรรศการและอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย เช่น หุ่นยนต์เก็บกู้รังสี เครื่องบินบังคับวิทยุตรวจวัดรังสี(Drone)ซึ่งเป็นการนำเครื่องบินแบบหลายใบพัดมาประยุกต์เข้ากับเครื่องวัดรังสี พร้อมให้ส่งข้อมูลการตรวจวัดรังสีและข้อมูลภาพเป็นแบบ real timeเพื่อใช้สำรวจปริมาณรังสีแกมมาในอากาศที่ระดับความสูงต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานของแต่ละพื้นที่ในประเทศ และใช้สำรวจปริมาณรังสีแกมมา ในกรณีที่มีอุบัติเหตุทางด้านรังสีเพื่อประเมินระดับรังสีในพื้นที่ จัดส่งผู้ปฏิบัติงานเก็บกู้วัสดุกัมมันตรังสี ปีนี้นับเป็นครั้งที่ 10 แล้วที่ ปส.มาร่วมในงานมหกรรมวิทย์ฯปีนี้นับว่าเป็นกิจกรรมครั้งใหญ่ เนื่องจากมีการร่วมมือกันของทั้ง 2 หน่วยงานสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติมีหน้าที่หลักในการกำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสี นิวเคลียร์และวัสดุนิวเคลียร์พร้อมเสนอแนะนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและใช้พลังงานปรมาณู และ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)จะที่เน้นการวิจัยพัฒนาและนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งทั้งสองหน่วยงาน ต้องมีการทำงานที่เกี่ยวเนื่องสอดคล้องกันดร. อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ (ปส.) และ ดร. หาญณรงค์ ฉ่ำทรัพย์ (สทน.) ส่วน ดร.หาญณรงค์ ฉ่ำทรัพย์ รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. กล่าวว่า “เรามีการคิดค้นวิจัยโดยใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์มาประยุกต์และพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตลอดมา ซึ่งต้องผ่านการศึกษาวิจัยจนมั่นใจในความปลอดภัยก่อนส่งต่อไปยังผู้ใช้ เช่น เอ็กซเรย์หรือรังสีเอ็กซ์ รังสีรักษาโรค รังสีเพื่อการปลอดเชื้อ ทางการเกษตร เช่น พัฒนาพันธุ์พืชให้ดีกว่าเดิม กำจัดแมลง (ทำหมันแมลง) ทำลายเชื้อโรคในอาหาร ฯลฯ ส่วนประโยชน์ทางธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม เช่น ใช้รังสีเพื่อหาความชำรุดของหอกลั่นน้ำมัน ฉายอัญมณีให้สีสันสวยงามขึ้น ในอุตสากรรมกระดาษก็ใช้รังสีวัดความหนาของกระดาษเพื่อทดสอบคุณภาพ และอีกหลายอย่างเราก็คิดไม่ถึง เช่น นักวิทยาศาสตร์นำเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อหาอายุของซากสิ่งมีชีวิต เป็นต้น ในงานนี้ เรามีไฮไลท์คือ พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูง ผลิตจากมันสำปะหลังโดยการใช้กระบวนการทางรังสีมาสังเคราะห์สามารถเก็บกับน้ำในปริมาณสูงมากถึง 500 เท่าของน้ำหนักแห้ง จึงเปรียบเสมือนเป็นแหล่งกักเก็บน้ำให้กับพืช ทำให้ลดปริมาณการใช้น้ำในการทำการเกษตร หรือสามารถใช้ผสมกับดินเพื่อปลูกในอาคารบ้านเรือน เหมาะมากๆ กับที่อยู่อาศัยแบบคอนโดที่สำคัญคือสามารถย่อยสลายได้ง่ายโดยธรรมชาติเพราะผลิตจากธรรมชาติ โดยเรานำแปลงไม้ดอกไม้ประดับที่ปลูกโดยใช้พอลิเมอร์มาโชว์ในงานได้ให้สัมผัสกันแบบชัดๆ ด้วย จะได้เห็นถึงลักษณะของพอลิเมอร์เกล็ดเล็กๆ ที่นำมาแช่น้ำเพียง 1 วันก็ขยายใหญ่ขึ้นถึงประมาณ500 เท่า”พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูง จากแป้งมันสำปะหลังพอลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูงของ สทนพอลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูงของ สทนพอลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูงของ สทนตัวอย่างรายการสินค้าที่มีสารรังสี ดร.พิริยาธร สุวรรณมาลา หัวหน้าโครงการวิจัย สทน.และเป็นเจ้าของผลงานพอลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูงนี้ เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมว่า “นอกจากไม้ดอกไม้ประดับหรือพืชไร่ประเภทข้าวโพด ยาง มันสำปะหลังที่นำพอลิเมอร์ไปใช้แล้วได้ผลผลิตที่ดีขึ้นแล้ว ปัจจุบัน สทน.กำลังนำไปทดลองใช้กับส้มบางมด เนื่องจากขณะนี้พื้นที่สวนส้มที่บางมดมีปัญหาการขาดแคลนน้ำจืด และในบางช่วงพื้นที่มีปัญหาเรื่องน้ำทะเลหนุน พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูงอาจจะช่วยได้ ทีมนักวิจัยจึงลงพื้นที่เพื่อศึกษาสภาพดินและแนวทางการทดลองในแปลงปลูกส้ม รวมทั้งทดลองนำพอลิเมอร์ไปใช้ในช่วงอนุบาลต้นอ่อนในกระถางก่อนนำลงแปลงปลูกจริง ซึ่งผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ โดย พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำที่ผสมไปในดินทำให้ไม่ต้องให้น้ำต้นส้มได้นานถึง 2 สัปดาห์ ซึ่งทีมวิจัยจะศึกษาเพิ่มเติมในการนำพอลิเมอร์ดังกล่าวผสมลงไปในแปลงปลูกเพื่อดูผลของพอลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูงที่มีต่อการเพาะปลูกส้มบางมดต่อไป นอกจากนี้ ยังมีนิทรรศการเกี่ยวกับวิจัยและพัฒนาด้านนิวเคลียร์ที่ส่งเสริมภาคการเกษตร อาทิ การควบคุมแมลงวันผลไม้โดยการทำหมันแมลง หากเกษตรกรในพื้นที่ดำเนินการครบวงจร จะสามารถลดปริมาณการทำลายพืชไร่และผลไม้ในสวนได้กว่าร้อยละ 80 หรือการปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยรังสีที่สามารถพัฒนาสายพันธุ์พืชให้มีความแข็งแรง ต้านทานโรค หรือให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ตลอดจนการผลิตไคโตซานฉายรังสี ซึ่งผลิตมาจากเปลือกกุ้ง กระดองปู เพื่อทำมาฉายรังสีจะทำให้โครงสร้างโมเลกุลของไคโตซานเหล่านั้นมีขนาดเล็กลง ทำให้พืชดูดซึมไปใช้ได้ดีขึ้น พืชเหล่านั้นก็จะแข็งแรงมีผลผลิตที่มีคุณภาพ” “สิ่งที่คาดหวังว่าจากการเข้าร่วมจัดแสดงบูธในปีนี้ ไม่เพียงแต่จำนวนคนเข้าชมบูธที่เพิ่มมากขึ้น จากเดิมมีจำนวน 5,000 – 7,000 คนต่อวัน ปีนี้คาดว่าจะมีถึง 10,000–12,000 คนต่อวัน แต่ที่สำคัญคือ นักเรียนนักศึกษาและคนทั่วไปได้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของ ปส. และ สทน. มากขึ้น รวมถึงรับรู้ถึงการนำรังสีและพลังงานมหาศาลของนิวเคลียร์ ไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ และสามารถนำไปต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมในอนาคต”ดร.อัจฉรา กล่าวเสริม บูธนิทรรศการของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดขึ้นภายในมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติปี 2558ระหว่างวันที่ 14 - 25 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09.00 – 20.00 น. ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพคเมืองทองธานี เปิดให้เข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายภายในงานนิทรรศการครั้งนี้ ยังมีศิลปินดารามาร่วมกิจกรรมและแสดงมินิคอนเสิร์ตถึง 8 วันอาทิ ตั้ม The Star (วราวุธ โพธิ์ยิ้ม), ปอ AF (อรรณพ ทองบริสุทธิ์), ฝน ศนันธฉัตร จากซีรี่ส์ Hormone, พัดชา AF, หมอเจี๊ยบ (ลลนา ก้องธรนินทร์), เต๋า เศรษฐพงศ์ และดารานักร้องสาวเสียงห้าว ซานิ นิภาภรณ์ร่วมด้วยเกมสุดมันส์ เช่นเกม Computer รวม 10 station ซึ่งเป็นเด็กๆ ให้ความสนใจอย่างมากเพราะเป็นที่เกมสนุกแต่แฝงเนื้อหาความรู้ การจัดนิทรรศการครั้งนี้จึงนอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กๆ นักเรียนนักศึกษาได้ร่วมเรียนรู้เปิดประสบการณ์ใหม่เกี่ยวกับรังสีโดยย่อยข้อมูลให้เข้าใจได้ง่ายๆแล้วยังมีกิจกรรมสาระและบันเทิงที่สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับรังสีอย่างครบถ้วน แถมได้ของที่ระลึกติดไม้ติดมือไปด้วย Logged Print Pages: [1] Go Up « previous next » enjoyjam.net » news & activity » news & activity (Moderators: happy, sianbun) » ปส.ผนึกกำลัง สทน.จัดบูธใหญ่ในงานมหกรรมวิทย์ฯ ชี้รังสีรอบตัว มีประโยชน์หลากหลาย