happy on September 06, 2015, 07:47:56 PM
ภาพยนตร์ไทยเรื่อง “วานิชชิ่ง พอยท์”


“วานิชชิ่ง พอยท์” (“Vanishing Point”) ภาพยนตร์ไทยเจ้าของรางวัล ไทเกอร์ อวอร์ด (Tiger Award) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติร็อตเทอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประจำปีนี้ มีกำหนดจะเข้าฉายในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2558 ที่โรงภาพยนตร์ในเครือ SF

“วานิชชิ่ง พอยท์” เป็นผลงานภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของ จักรวาล นิลธำรงค์หนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์อิสระรุ่นใหม่ของไทยที่โดดเด่นในวงการภาพยนตร์นานาชาติ เคยสร้างผลงานภาพยนตร์สั้นแนวทดลองและงานศิลปะมากมาย ได้รับรางวัลจากงานเทศกาลและองค์กรทางศิลปะในหลากหลายประเทศ

ภาพยนตร์เรื่องนี้ เล่าเรื่องราวของชาย 3 คนที่ต่างวิ่งหนีความทุกข์ ในรูปแบบและช่วงเวลาของตนเอง จนเมื่อวันสุดท้ายของชีวิตมาถึงโดยไม่คาดฝัน พวกเขาจึงได้เรียนรู้ว่าไม่มีทางที่จะสามารถย้อนกลับไปครวญหาอดีตได้อีก การเล่าเรื่องของแต่ละส่วนประกอบในภาพยนตร์จะค่อยๆ คลี่คลายออกช้าๆ ด้วยภาพที่แสดงถึงความสุข-ทุกข์ และการเกิด-ดับของชีวิต

โดยหลังจากที่ฉายเปิดตัวและได้รับรางวัลที่ร็อตเทอร์ดัมเมื่อต้นปีนี้ ภาพยนตร์ก็ยังได้เข้าฉายประกวดในอีกหลากหลายเทศกาลต่างๆ ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง เช่น เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฮ่องกง เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติไทเป เทศกาลภาพยนตร์นานาชาตินิวฮอไรซอน โปแลนด์ และเทศกาลโตเกียวฟิล์มเม็กซ์ ญี่ปุ่น


ภาพยนตร์มีกำหนดเข้าฉายในโปรแกรม SF Exclusive Movie (เอส เอฟ เอ็กซ์คลูซีฟ มูฟวี่) ที่โรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป และที่โรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เอ็กซ์ เมญ่า ศูนย์การค้าเมญ่า เชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป โดยมีรอบฉายเวลา 19:00 น. ของทุกวัน และเสาร์-อาทิตย์เพิ่มรอบ 14:00 น.

สามารถจองและซื้อบัตรได้ที่ Box Office ของโรงภาพยนตร์ หรือผ่านทางเว็บไซท์ booking.sfcinemacity.com และทาง iOS / Android App: SF Showtimes in Hand และสามารถติดตามข่าวสารและข้อมูลเพิ่มเติมของภาพยนตร์ได้ที่ Facebook Page: www.facebook.com/vanishingpointfilm

คำวิจารณ์

“วานิชชิ่ง พอยท์ นำเอาภาพและเสียงมาผสมผสานจัดวางอย่างลงตัว เกิดเป็นรูปแบบอันทรงพลัง เป็นการปลุกปล้ำความคิดและเรื่องราวเพื่อถ่ายทอดออกมาในวิธีการที่แตกต่างและชวนขบคิด สร้างประสบการณ์ทางภาพยนตร์ที่ฝังแน่นในห้วงลึกแห่งจิตใจผู้ชม”
- คณะกรรมการตัดสินรางวัล ไทเกอร์ อวอร์ด เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติร็อตเทอร์ดัม


“วานิชชิ่ง พอยท์ เป็นบทฝึกหัดทางจิตวิญญาณซึ่งห่อหุ้มอยู่ในอาภรณ์ของเกมปริศนา ที่การดำเนินเรื่องถูกวางทิ้งไว้ในหลายจุดอย่างไม่เชื่อมโยงกัน แต่ความงดงามของภาพยนตร์ก็แฝงอยู่ในกระบวนการที่กุญแจไขความลับค่อยๆ ถูกเปิดเผยขึ้นมาทีละขั้น เพียบพร้อมด้วยการกำกับภาพ ดนตรีประกอบ และการออกแบบเสียง ที่ร่วมกันยกระดับภาพยนตร์ขึ้นไปสู่ความเหนือชั้นดั่งสรวงสวรรค์”
- Clarence Tsui, The Hollywood Reporter

“ทำหนังได้อย่างมั่นใจ นิ่ง ความคิดซับซ้อน สมควรแก่รางวัลเปิดปีของหนังไทยยิ่งนัก”
- ก้อง ฤทธิ์ดี, บางกอกโพสต์

“เป็นงานที่เต็มไปด้วยความพิศวง... เป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับหนังไทยในปี 2015 นี้… เป็นภาพที่ค่อนข้างมั่นใจว่า ไม่เคยได้เห็นในหนังไทยเรื่องไหนแน่ๆ”
- ดรสะรณ โกวิทวณิชชา, Filmax


ตัวอย่างภาพยนตร์: www.youtube.com/watch?v=-7WE4HNzrck

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=-7WE4HNzrck" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=-7WE4HNzrck</a>

Vanishing Point
วานิชชิ่ง พอยท์



2558  •  ไทย/เนเธอร์แลนด์  •  100 นาที  •  DCP •  2.39:1  •  สี/ขาวดำ  •  5.1 Surround Sound
ภาษาไทย มีคำบรรยายอังกฤษ
เรต : 15 ปี
เข้าฉาย : 22 ตุลาคม 2558
ที่โรงภาพยนตร์ในเครือ  SF


ผู้สร้าง            - บริษัท มิท เอาท์ ซาวด์ ฟิล์ม จำกัด (Mit Out Sound Films Co.,Ltd)
-  ทุนสร้าง            - กองทุน Hubert Bals Fund, International Film Festival Rotterdam     ประเทศเนเธอร์แลนด์
-  ทุนสนับสนุนงานสร้างสรรค์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
นำแสดง                         องอาจ เจียมเจริญพรกุล  (เจ้าของโรงงาน);  ดรันภพ สุริยาวงษ์  (นักข่าว); ชาลี เชื้อใหญ่  (พระ); สุวีรยา ทองมี  (โสเภณี)
เขียนบทและกํากับ              จักรวาล นิลธํารงค์
ควบคุมการผลิต                 ชาติชาย ไชยยนต์, พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง, จักรวาล นิลธํารงค์
กำกับภาพ                       พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง
บันทึกเสียง                      เฉลิมรัฐ กวีวัฒนา
ควบคุมหลังการผลิต             ลี ชาตะเมธีกุล
ผสมเสียง                        อัคริศเฉลิม กัลยาณมิตร
ดนตรีประกอบ                    ภากร มุสิกบุญเลิศ


เทศกาลภาพยนตร์ที่เข้าฉาย และรางวัลที่ได้รับ

ฉายรอบปฐมทัศน์ (World Premiere) ในเดือนมกราคม 2558 ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมือง ร็อตเตอร์ดัม (International Film Festival Rotterdam) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในสายประกวด Tiger Competition และได้รับรางวัล Hivos Tiger Award
 
และเข้าฉายประกวดที่:   Hong Kong International Film Festivals (ฮ่องกง)                      
Taipei Film Festival (ไต้หวัน)
New Horizons International Film Festival (โปแลนด์)
TOKYO FILMeX (ญี่ปุ่น)
 
เทศกาลอื่นๆ ที่เข้าฉาย:  Southeast Asian Film Festival (สิงคโปร์), Moscow Film Festival (รัสเซีย), Indie Festival (บราซิล)


เรื่องย่อ

เรื่องราวของชายสามคนที่ต่างวิ่งหนีความทุกข์ในแต่ละรูปแบบ และช่วงเวลา ผู้สื่อข่าวหนุ่มผู้มีความมุ่งมั่น และทนไม่ได้กับความอยุติธรรม ชายสูงวัยที่หันหลังให้กับอดีตและใช้ชีวิตอย่างไร้ความมุ่งหวัง และพระสงฆ์ วัยชราที่ต้องการหาความสุขที่แท้จริงให้กับชีวิต จนเมื่อวันสุดท้ายของชีวิตมาถึงโดยไม่คาดฝัน พวกเขาก็ไม่ สามารถย้อนกลับไปครวญหาอดีตได้อีก
 
การเล่าเรื่องของแต่ละส่วนประกอบใน “วานิชชิ่ง พอยท์” จะค่อยๆ คลี่คลายออกช้าๆ ด้วยภาพที่แสดงถึง ความทุกข์-สุข และการเกิด-ดับของชีวิต ราวกับนำพาผู้ชมร่วมสัมผัสประสบการณ์ทางจิตวิญญาณของ ตัวละครหลากหลาย และที่สุดท้ายอาจจะหมายถึงคนคนเดียวกัน



สารจากผู้กำกับ
(Director's Statement)


17 กันยายน 2526 เป็นวันที่ดูเหมือนวันธรรมดาวันหนึ่ง แต่กลับเปลี่ยนแปลงชีวิตของครอบครัวผมไป ตลอดกาล มันเป็นวันที่พ่อแม่ของผมได้รับบาดเจ็บร้ายแรงจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ในเวลานั้นพ่อของผม เป็นนายทหารหนุ่ม อนาคตสดใสกำลังรอเขาอยู่ข้างหน้า ก่อนเกิดเหตุร้ายพ่อกำลังขับรถกลับจากงานเลี้ยง ในช่วงเย็นเพื่อไปรับลูกๆ โดยมีแม่ของผมนั่งอยู่ฝั่งข้างคนขับด้วยความ มึนเมาพ่อจึงขับตัดหน้ารถไฟโดยที่ ในขณะนั้นไม่มีไม้กั้นขวางอยู่ รถไฟพุ่งเข้าชนด้านคนขับอย่าง เต็มแรงและฉุดกระชากลากรถไปตามทาง
 
วานิชชิ่ง พอยท์ เปิดเรื่องด้วยภาพข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ซึ่งรายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับพ่อแม่ของผม ผมเติบโตมากับภาพข่าวนี้พร้อมกับภาพความทรงจำอันเลือนลางของพ่อก่อนเกิดอุบัติเหตุ อุบัติเหตุในครั้งนั้น พลิกชะตาชีวิตของครอบครัวเราจากหน้ามือเป็นหลังมือ ผมนำเรื่องที่เกิดขึ้นกับพ่อผสมผสานกับบรรยากาศที่ หม่นหมองในชีวิต เป็นผลลัพท์จากอุบัติเหตุในครั้งนั้น เป็นภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องราวการกระทำ ที่นำไปสู่ผลของ มัน ซึ่งก็คือกรรมที่คอยฉุดดึงและต้านทานความเป็นอิสระของมนุษย์ไว้เหมือนกับ แรงโน้มถ่วงของโลกผ่าน ผู้ชายสองคนที่เป็นดั่งภาพสะท้อนของกันและกัน
 
จักรวาล นิลธำรงค์


ประวัติผู้กำกับ

จักรวาล นิลธำรงค์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร และระดับ ปริญญาโทจาก School of the Art Institute of Chicago ในสาขา Art and Technology Studies ประเทศ  สหรัฐอเมริกา และต่อมาเคยได้รับทุนเป็นศิลปินในพำนัก (Artist in Residence) ที่ Rijksakademie van Beeldende Kunsten ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นเวลาสองปี
 
จักรวาลเผยแพร่ผลงานวิดีโออาร์ทและภาพยนตร์ของเขาทั้งในรูปแบบการจัดแสดงงานในแกลลอรี่ พิพิธภัณฑ์ ศิลปะ และเทศกาลภาพยนตร์ ประเด็นหลักในงานของเขามักจะเกี่ยวข้องกับ ปรัชญาตะวันออกร่วมสมัย และ ประวัติศาสตร์เรื่องราวของท้องถิ่น สิ่งเหล่านี้ถูกถ่ายทอดผ่านบทสนทนา ในหลายมิติ ภาพยนตร์และวิดีโอ อาร์ทของจักรวาลได้รับเชิญเข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์ในหลากหลายประเทศ อาทิ เช่น Rotterdam, Berlinale, Toronto และ Yamagata รวมไปถึงงานแสดงศิลปะที่ Taipei Biennial ในปี 2555 และ SeMA Biennale Media City Seoul ในปี 2557
 
ปัจจุบันจักรวาลเป็นอาจารย์ประจำสาขาภาพยนตร์และภาพถ่ายคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
วานิชชิ่ง พอยท์ เป็นผลงานภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของผู้กำกับ


ผลงาน : ภาพยนตร์สารคดี
 
Unreal Forest (2553) (สารคดีทดลอง) 70 นาที


เทศกาล:          International Film Festival Rotterdam (เนเธอร์แลนด์), Göteborg Film Festival (สวีเดน),
Singapore Film Festival, Copenhagen Documentary Festival (เดนมาร์ค), Jihlava
Documentary Film Festival (เชค), Kerala Film Festival (อินเดีย), St. Petersburg
Kinoforum (รัสเซีย), Yamagata Documentary Festival (ญี่ปุ่น), Ambulante (เม็กซิโก),
Africa, Asia & Latin American Film Festival (อิตาลี), เทศกาลภาพยนตร์สั้น (ไทย)
องค์กรศิลปะ:    Museum of Contemporary Art Roskilde (เดนมาร์ค), ICA (อังกฤษ), Ilmin Museum of
Art, Seoul (เกาหลี), Art Gwangju 13 (เกาหลี), Numthong Gallery BACC (ไทย)


ภาพยนตร์สั้น
 
หิน-เป็น (Stone Cloud) (2557) 30 นาที


เทศกาล:   Berlin International Film Festival, Forum Expanded (เยอรมัน), เทศกาลภาพยนตร์สั้น (ไทย), Open Reel Rooftop Festival (ไทย)

องค์กรศิลปะ:    Haunted Thresholds, Künstverein Göttingen, Germany


Zero Gravity (2555) 24 นาที

เทศกาล:   International Film Festival Rotterdam (เนเธอร์แลนด์), IndieLisboa (โปรตุเกส), Open Reel Rooftop Festival (ไทย)

องค์กรศิลปะ:    Taipei Biennale 2012, Taipei Fine Arts Museum (ไต้หวัน)


Man and Gravity (2551) 22 นาที

รางวัลที่ได้รับ:   Second Prize Winner เทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 13 (ไทย)
เทศกาล:  World Film Festival of Bangkok (ไทย), เทศกาลภาพยนตร์สั้น (ไทย) International Environmental Film Festival Paris (ฝรั่งเศส)

องค์กรศิลปะ:    Persona Karmique, Gallery of the University Paris 8 Saint-Denis (ฝรั่งเศส),                 
Weavingscapes, Akiyoshidai International Art Village (ญี่ปุ่น), Singapore Art Museum (สิงคโปร์)


งานศิลปะ

Intransit (2556) ฟิล์ม 35 มม. (Loop)


เทศกาล:          Toronto International Film Festival – Wavelengths (แคนาดา), Berlin International Film Festival, Forum Expanded (เยอรมัน)

องค์กรศิลปะ:    The Art Center จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, SeMA Biennale Mediacity Seoul 2014 (เกาหลี)


Immortal Woman (2553) วิดีโอ 9 นาที

เทศกาล:          International Film Festival Rotterdam, Tiger Shorts Competition (เนเธอร์แลนด์)
องค์กรศิลปะ:    Singapore Art Museum (สิงคโปร์), Resort - BACC (ไทย), UNDOING - SOL Art space (ไทย)
« Last Edit: September 06, 2015, 08:07:19 PM by happy »