กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับ WWF-ประเทศไทย
บี.กริม ไปรษณีย์ไทย ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และองค์กรพันธมิตร ชวนคนไทย “ไว้ลายเสือ”
พร้อมเปิดตัวชุดแสตมป์ทรงคุณค่า “แม่วงก์-คลองลาน ผืนป่าแห่งความหวัง”
ในงานวันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก
เมื่อวันพุธที่ 29 กรกฎาคมซึ่งตรงกับวันอนุรักษ์เสือโคร่งโลกที่ผ่านมา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, WWF-ประเทศไทย (กองทุนสัตว์ป่าโลก), บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด, บี.กริม และ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ได้ร่วมกันจัดงาน “วันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก”ภายใต้ธีม “THAIS FOR TIGERS: คนไทยไว้ลายเสือ” เพื่อจุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจ รวมพลังคนไทยในการร่วมกันเพิ่มจำนวนเสือโคร่งแมวตัวใหญ่ของคนไทยทุกคน ที่มีเหลืออยู่เพียง 200 ตัว ในผืนป่าของไทย ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ภายในงานประกอบด้วยการเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองของคนไทยหัวใจรักเสือโคร่งจากหลากหลายวงการที่ได้มีส่วนร่วมกันบุกเบิก ไว้ลายเสือ” เพื่อปกป้องสมบัติของชาติอันมีค่านี้ไว้ ผ่านหลากหลายวิธีการหากแต่มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน ได้แก่ นายอดิศร นุชดำรงค์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, คุณติ๊ก เจษฎาภรณ์ ผลดี ศิลปินที่ได้เผยแพร่เรื่องราวจากผืนป่าอันเป็นบ้านของเสือโคร่งและสัตว์ป่านานาชนิดพันธุ์, คุณนัชญ์ ประสพสิน ผู้ก่อตั้งเฟสบุ๊กแฟนเพจ “ทูนหัวของบ่าว” ผู้สนับสนุนงานอนุรักษ์เสือโคร่งผ่านการแชร์ข้อมูลงานอนุรักษ์ให้แฟนเพจกว่า 2 ล้านคน, คุณพงษ์ศักดิ์ จักษุเวช ประธานหอการค้าเยอรมัน-ไทย ประธานบริษัท บี.กริม เทรดดิ้ง คอร์เปอเรชั่น จำกัด ตัวแทนจาก บี.กริม ผู้สนับสนุนการทำงานของ WWF-ประเทศไทย ในการอนุรักษ์เพื่อพื้นฟูประชากรเสือโคร่ง และ ดร.โรเบิร์ต สไตน์เมทซ์ นักชีววิทยา จาก WWF-ประเทศไทย ดร.โรเบิร์ต สไตน์เมทซ์, WWF-ประเทศไทย ได้แสดงทรรศนะว่า “เสือโคร่งเป็นเงาของจิตใจมนุษย์ เพราะเป็นตัวชี้วัดจิตใจของสังคม ถ้าสังคมเห็นแก่ตัว เสือโคร่งก็อยู่ไม่ได้ และหากมนุษย์ไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนโลกใบนี้ เสือโคร่งก็ย่อมอยู่ไม่ได้เช่นกัน” จากคำกล่าวของผู้ผูกพันกับสัตว์ป่าและธรรมชาติ นั้นแสดงให้เห็นถึงจำนวนประชากรเสือโคร่งรอบโลกได้ลดลงอย่างน่าใจหายไปกว่าร้อยละ 97 ในศตวรรษที่ผ่านมา ซึ่งสาเหตุหลักคือการถูกล่าเอาชีวิต รวมถึงสัตว์ที่เป็นอาหารของเสือโคร่งเองก็ถูกล่า และปัญหาของการตัดไม้ทำลายป่าที่สืบเนื่องกันมาเรื่อยๆ จนส่งผลกระทบเชิงลบต่อการขาดสมดุลและความสมบูรณ์ของพื้นป่า วันนี้ทางหนึ่งที่สามารถแก้ไขได้ คือ คืนระบบนิเวศที่สมบูรณ์ให้กลับมา ด้วยการฟื้นฟูอนุรักษ์ประชากรเสือโคร่ง ประเทศไทยเป็น 1 ใน 13 ประเทศที่ยังคงมีเสือโคร่งอินโดจีนอยู่ประมาณ 200 ตัวโดยเฉพาะในผืนป่าตะวันตกรวมทั้งผืนป่าแม่วงก์-คลองลาน โดยเมื่อ พ.ศ.2553 ประเทศไทยได้ให้คำมั่นสัญญา ณ การประชุมสุดยอดผู้นำว่าด้วยการอนุรักษ์เสือโคร่งที่ประเทศรัสเซียว่า จะฟื้นฟูจำนวนประชากรเสือโคร่งจาก 200 ตัวที่มีอยู่ในประเทศไทยให้เป็น 300 ตัวภายในปีเสือรอบต่อมาคือ ปีพ.ศ.2565มร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม ผู้เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์เสือโคร่ง กล่าวว่า “ประเทศไทยคือความหวังและผู้นำในการอนุรักษ์ประชากรเสือโคร่งให้อยู่คู่โลกนี้ต่อไป การอนุรักษ์เสือโคร่ง คือ การแสดงออกให้โลกรู้ว่าเราห่วงใยเพื่อนมนุษย์และธรรมชาติเพียงใด และประเทศไทยคือหนึ่งในแสงแห่งความหวังที่จะรักษาเสือโคร่งให้อยู่คู่โลกนี้ต่อไป”คุณติ๊ก เจษฎาภรณ์ ผลดี กล่าวว่า "สำหรับผม ผมเข้าป่าแต่ก็ยังไม่เคยได้เจอเสือโคร่งถึงแม้เขาจะอยู่ในป่าก็ตาม ก็เหมือนมองผู้หญิงที่เรารัก ถึงเราจะไม่ได้ครอบครองเขา แต่เราก็ยังเป็นห่วงและรู้สึกหวงแหน อยากให้ทุกคนมาร่วมดูแลรักษาเสือโคร่งของพวกเรากันครับ"คุณนัชญ์ ประสพสิน ผู้ก่อตั้งเพจ “ทูนหัวของบ่าว” เฟสบุ๊คแฟนเพจสำหรับผู้รักแมว ผู้สนับสนุนงานอนุรักษ์เสือโคร่งผ่านการแชร์ข้อมูลอนุรักษ์เสือโคร่งทางโซเชียลให้กับแฟนเพจกว่าสองล้านคน เพราะเล็งเห็นความสำคัญของเสือโคร่งในผืนป่าซึ่งเธอได้ตั้งชื่อแมวตัวหนึ่งของเธอว่า “เสือโคร่ง” ได้กล่าวว่า “เสือโคร่งเป็นแมวตัวใหญ่ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของผืนป่า”ไฮไลท์ของงานวันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก อีกอย่างที่สร้างความสนใจให้กับผู้ร่วมงานไม่แพ้การเสวนา คือ การเปิดตัวชุดแสตมป์พิเศษ “แม่วงก์-คลองลาน ผืนป่าแห่งความหวัง” ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง WWF-ประเทศไทยและบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้ผลิตแสตมป์ชุดทรงคุณค่าชุดแรกของไทยที่ประกอบด้วยภาพสัตว์ป่าหายากที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในผืนป่าแม่วงก์-คลองลานคุณวิบูลย์ เสรีชัยพร ผู้จ้ดการฝ่ายการตลาดตราไปรษณียากร บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวถึงคุณค่าของแสตมป์ชุดพิเศษว่า “ครั้งหนึ่งเราได้บันทึกภาพเสือไว้บนแสตมป์ในฐานะสัตว์ป่าของไทย แต่วันนี้เราไม่อยากให้เยาวชนรุ่นหน้ารู้จักเสือไทยเพียงแค่ภาพในแสตมป์เท่านั้น” แสตมป์ชุดดังกล่าวได้รับการออกแบบสร้างสรรค์โดย บริษัท โอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ จำกัด และคุณสุรชัย พุฒิกุลางกูร นักสร้างสรรค์โฆษณาภาพนิ่งระดับโลกจากบริษัท อิลลูชั่น จำกัด จัดจำหน่ายในราคาชุดละ 500 บาท หนึ่งชุดประกอบด้วยตราไปรษณียากรภาพสัตว์ป่า 10 สายพันธุ์และไปรษณียบัตร ได้ ณ นิทรรศการ “Thais for Tigers: คนไทยไว้ลายเสือ” ระหว่างวันที่ 29-31 กรกฎาคม หรือ ชั้น 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โซนอีเดน 3 และผ่านทางบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด โดยรายได้ทั้งหมดมอบให้กองทุนสวัสดิการเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลานเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฯ ในการปกป้องผืนป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่ในวาระ วันผู้พิทักษ์ป่าโลก 31 กรกฎาคม ในปีนี้ WWF-ประเทศไทยยังได้สนับสนุนการป้องกันและดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า โดยได้มอบ จุดสกัดแม่กระสา อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ แก่กรมอุทยานฯ ในวันงานดังกล่าวอีกด้วย เพราะผืนป่าแม่วงก์เป็นพื้นที่อาศัยของเสือโคร่งและสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด การสนับสนุนการจัดสร้างจุดสกัดแม่กระสา ซึ่งอยู่ในบริเวณตอนกลางของอุทยานฯ ที่มีความเปราะบางและต้องการการดูแลปกป้องเป็นพิเศษ จึงถือเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ซึ่งดูแลป้องกันทรัพยากรธรรมชาติ และลดการเกิดปัจจัยคุกคามในการกระทำผิดเกี่ยวกับป่าไม้และสัตว์ป่า โดยจุดสกัด แม่กระสาประกอบด้วย ทำการสำนักงาน บ้านพัก ชุดผลิตไฟฟ้าพลังงานแบบผสมผสาน ชนิดเคลื่อนย้ายได้ กำลังผลิตรวม 10 กิโลวัตต์ และเสาอากาศวิทยุ 45 เมตร พร้อมเครื่องรับ และอุปกรณ์จำเป็นต่างๆ สำหรับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานอนุรักษ์ธรรมชาติสำหรับ นิทรรศการ“Thais for Tigers: คนไทยไว้ลายเสือ” สะท้อนภาพความผูกพันของเสือโคร่งที่มีบทบาทสำคัญกับธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตในป่า ซึ่งรอบนิทรรศการจะมีความคิดเห็น ความรู้สึกของคนที่ร่วมอนุรักษ์เรื่องราวของเสือโคร่งไว้ เช่น “ผมยอมพลีชีวิตให้ป่านี้”และ “พวกเรารู้สึกตื่นเต้นและดีใจทุกครั้งที่พบร่องรอยของเสือโคร่ง... อย่างน้อยก็ได้รู้ว่าพวกเขายังอยู่... คือป่ายังสมบูรณ์” เป็นหนึ่งในคำกล่าวของนายอุดร ศรีเดช และสมยศ สุขเกษม เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลานที่แสดงถึงความมุ่งมั่นและเสียสละในการรักษา “ผืนป่าแห่งความหวัง” นี้ไว้สืบไป
โดยนิทรรศการจะจัดแสดงตั้งแต่วันพุธที่ 29 – วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม 2558 พร้อมจัดจ าหน่ายชุดแสตมป์ พิเศษ“แม่วงก์-คลองลาน ผืน
ป่าแห่งความหวัง” ท่านสามารถร่วมบริจาคและติดตามข่าวสารของ WWF-ประเทศไทยได้ที่ facebook.com/WWF-Thailandข้อมูลเพิ่มเติม
เสือโคร่ง และ ผืนป่าแม่วงก์-คลองลานเสือโคร่ง จัดได้ว่าเป็นชนิดพันธุ์ที่เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า และอยู่ในสถานภาพที่อันตรายและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งใน 13 ประเทศทั่วโลกที่ยังคงมีเสือโคร่งในธรรมชาติ ในปัจจุบันได้ตั้งเป้าหมายเพื่อเพิ่มประชากรเสือโคร่งทั่วโลก 2 เท่า (TX2) ภายในปี พ.ศ. 2565 โดยมีรัฐบาลและองค์กรต่างๆ ทั่วโลกลงนามร่วมกันภายใต้เป้าหมายดังกล่าว สำหรับประเทศไทย นอกจากทางรัฐบาล ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และองค์กรอนุรักษ์ต่างๆ ที่ได้ร่วมกันทำงานภายใต้แผนฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง โดยมีโครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน ซึ่ง WWF-ประเทศไทย (กองทุนสัตว์ป่าโลก) เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ให้การสนับสนุนและดำเนินการภายใต้เป้าหมายดังกล่าวร่วมกับทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผ่านยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 3 ด้านคือ
1) การศึกษาวิจัยติดตาม เพื่อประเมินสถานการณ์เสือโคร่งและสัตว์ที่เป็นเหยื่อ
2) การสร้างเสริมประสิทธิภาพการป้องกันการกระทำผิดกฎหมายอย่างมีคุณภาพ
3) การประชาสัมพันธ์ สร้างจิตสำนึก และเครือข่ายในการอนุรักษ์ของชุมชนรอบพื้นที่และบุคคลทั่วไป ซึ่งจำเป็นต้องมีการดำเนินการไปควบคู่กันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในพื้นที่อนุรักษ์ รวมทั้งการสร้างแนวร่วมอย่างกว้างขวางของมวลชน ที่จะเห็นคุณค่าและร่วมกันอนุรักษ์อันจะนำไปสู่การฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งและสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนผืนป่าแม่วงก์-คลองลานนับได้ว่าเป็นผืนป่าที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง เนื่องจากมีพื้นที่เชื่อมต่อกับมรดกโลกทางธรรมชาติ โดยเฉพาะเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ป่าที่เป็นเหยื่อ เหมาะสมในการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งและสัตว์ป่า มีภูมินิเวศที่หลากหลายและสวยงาม
จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาจากกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ ได้พบเสือโคร่งโตเต็มวัยจำนวน 13 ตัวและลูกเสือโคร่ง 5 ตัวในผืนป่าแม่วงก์-คลองลานเกี่ยวกับ WWF และ WWF-ประเทศไทย (กองทุนสัตว์ป่าโลก)WWF คือหนึ่งในองค์กรเพื่อการอนุรักษ์ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดและเป็นอิสระมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีผู้ให้การสนับสนุนมากกว่า5ล้านคนและมีเครือข่ายทํางานอยู่ในประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศ พันธกิจของ WWF คือลดการบุกรุกและยับยั้งการทําลายทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของโลกพร้อมไปกับสร้างอนาคตใหม่ให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืนด้วยการอนุรักษ์ไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพของโลกสร้างหลักประกันให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ผลักดันให้เกิดการลดมลภาวะและลดการบริโภคอย่างสิ้นเปลือง
WWF-ประเทศไทย ทำงานและให้การสนับสนุนการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และคลองลาน ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มประชากรเสือโคร่งให้ได้
ร้อยละ 50 จาก 200 ตัวเป็น 300 ตัวในประเทศไทย ซึ่งการดำเนินงานที่สำคัญด้านหนึ่งคือ การป้องกันและดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ