60 ปี โทรทัศน์ไทย จาก อะนาล็อก สู่ ดิจิตอลทีวี กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับ ชมรมส่งเสริมโทรทัศน์ มูลนิธิจำนง รังสิกุล และ สมาคมหอจดหมายเหตุไทย จัดงานเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี แห่งการแพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการของสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม ในวันพุธที่ 24 มิถุนายน 2558 ที่หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ โดยมีการเสวนา 60 ปี โทรทัศน์ไทย:อะนาล็อกสู่ดิจิ ตอลทีวี ,คุยเฟื่องเรื่องละครไทยยุคแรก,มีการฉายภาพละครผู้ชนะสิบทิศ ตอน1 มีรายการยอวาที คนทีวียุคใหม่สบายกว่า พร้อมมอบรางวัลให้กับพิธีกรผู้มีอุปการะ และ ได้รับแผนผังรายการทีวีครั้งแรกมอบให้กับกรมประชาสัมพันธ์ โดยงานนี้มี นายอภินันท์ จันทรังษี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน
วงการโทรทัศน์ไทย เกิดขึ้นในสมัยของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้สั่ง การให้ กรมประชาสัมพันธ์ศึกษาเรื่อง เทเลวิชั่น ในปี 2493 ต่อมาในปี 2494 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งวิทยุโทรภาพ ดำเนินการในรูปบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด จัดตั้งเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2495 โดยใช้ชื่อย่อว่า ททท.โดยมีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท มีกรมประชาสัมพันธ์ ถือหุ้นใหญ่ มี โรงงานยาสูบ,กองทัพบก,กองทัพเรือ,กองทัพอากาศ,และ กรมตำรวจ,กรมโรงงานอุตสาหกรรม, โรงงานน้ำตาลไทย ร่วมถือหุ้น ซึ่งมี พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นประธานกรรมการ พล.ท.ม.ล.ขาบ กุญชร รองประธานกรรมการ นายประสงค์ หงสนันท์ กรรมการผู้จัดการ ดำเนินการแพร่ภาพ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2498
วันเวลาเปลี่ยนไปของวงการโทรทัศน์ไทย จากรูปแบบ อะนาล็อก ก้าวเข้าสู่ ยุคดิจิตอล แล้ววงการโทรทัศน์ตลอด 60 ปีมีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น จากที่เคยมีฟรีทีวีเพียงไม่กี่ช่อง วันนี้ โทรทัศน์ก้าวข้าม อะนาล็อก มาสู่ ดิจิตอล แม้ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่คนดูทางบ้านมีทางเลือกใหม่ให้สัมผัสทั้งโทรทัศน์ดิจิตลอ โทรทัศน์ดาวเทียม รวมไปถึงเคเบิ้ลทีวีทั่วประเทศ ก้าวเข้าสู่โลกโซเชียลมีเดียได้อย่างเต็มรูปแบบหลายร้อยช่อง กรมประชาสัมพันธ์ยังคงเป็นต้นแบบของวงการโทรทัศน์ไทย และการกระจาย เสียงแพร่ภาพนี้ ยังมี กสท.และกสทช.เป็นผู้ควบคุมทุกระบบ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญไปสู่ความทันสมัยระดับโลก.