sianbun on October 25, 2009, 05:52:22 PM
บทความประชาสัมพันธ์ ถอดรหัสยีนรักษามะเร็งลำไส้ ผ่านการตรวจ K-RAS Mutation Test









ถอดรหัสยีนเฉพาะบุคคล รักษามะเร็งลำไส้ ผ่านการตรวจ  K-RAS Mutation Test

ข้อมูลโดย โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย)

   โรคมะเร็งลำไส้  ถือได้ว่าเป็นภัยคุกคามชีวิตประชากรโลกที่น่ากลัวอยู่ในอันดับต้นๆ  จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าผู้ป่วยเสียชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้มากกว่า 677,000 คนต่อปี เป็นอันดับ 3        ของโรคมะเร็งทั้งหมด   และในประเทศไทยพบอัตราการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่   โดยเฉลี่ยต่อปี ประมาณ 5,000 ราย โดยกลไกของการเกิดเซลล์มะเร็งนั้น จะเกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์อย่างไร้การควบคุม จากปัจจัยกระตุ้น    ที่เรียกว่า Growth factor มาจับที่ตัวรับที่ชื่อว่า Epidermal Growth Factor Receptor (EGFR) ที่ผิวของเซลล์ และเกิดการส่งสัญญาณเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่สู่นิวเคลียส ทำให้เซลล์เกิดการแบ่งตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว การรักษาก็ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ในระยะเริ่มต้นส่วนมากจะผ่าตัด     เอาเนื้อร้ายออก แล้วตามด้วยการให้เคมีบำบัดหรือการฉายรังสี ซึ่งที่ผ่านมาปรากฏว่าผลการรักษาได้ผลดีบ้าง    ไม่ได้ผลบ้าง
   
เหตุที่เป็นเช่นนั้น   เนื่องจากการใช้ยารักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะลุกลามนั้นมีหลายแบบ  ก่อนที่แพทย์จะเลือกรักษาผู้ป่วยด้วยยาสูตรใด  แพทย์จะต้องประเมินผลการรักษาหรือผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าจากพื้นฐาน ข้อมูลด้านการตรวจต่างๆ  ที่อ้างอิงได้ โดยในปัจจุบันได้มีการพัฒนานวัตกรรมการรักษาเฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง  และช่วยหยุดการเติบโตของเนื้อ ร้ายได้ (Targeted therapy) โดยยาดังกล่าวมีเป้าหมายการออกฤทธิ์ที่ Epidermal Growth Factor Receptor (EGFR) ซึ่งยาชนิดนี้     จะแย่งปัจจัยกระตุ้น Growth factor เพื่อเข้าจับกับตัวรับ EGFR ที่ผิวของเซลล์ ทำให้ปิดกั้นสัญญานไม่ให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต ยาดังกล่าวเรียกว่า anti-EGFR monoclonal antibody therapy เช่น ยา Cetuximab และยา Panitumumab อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาการใช้ยา         anti-EGFR monoclonal antibody therapy รักษาผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะได้ผลการรักษาดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของยีน K-RAS โดยพบว่าผู้ป่วยที่มียีน K-RAS ปกติ (wild type) จะมีการตอบสนองที่ดีต่อการรักษา     ด้วยยาดังกล่าว   

K-RAS (Kirsten Rat Sarcoma Virus Oncogene) คือ ยีนที่สร้างโปรตีน
ทำหน้าที่ควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์และเป็นยีนที่มีอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย ยีน K-RAS เป็นหนึ่งในวงจรปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ส่งสัญญาณ จากผิวเซลล์สู่นิวเคลียส ภายหลังจากเซลล์ถูกกระตุ้นด้วย Growth factor       ในเซลล์ปกติ    ยีน  K-RAS   ทำหน้าที่ควบคุมการเติบโตของเซลล์โดยปิดการ

สร้างสัญญาณ ทำให้การแบ่งตัวของเซลล์เป็นไปอย่างจำกัด แต่หากยีน K-RAS เกิด mutation ไป จะส่งผลให้ไม่มีการหยุดสัญญาณดังกล่าวจึงเกิดการแบ่งตัวของเซลล์อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าไม่มีปัจจัยกระตุ้นจากภายนอกเซลล์แล้วก็ตาม

    สำหรับการ mutation ของยีน K-RAS สามารถพบได้ทั่วไปในมะเร็งหลายชนิด รวมทั้งมะเร็ง     ลำไส้ใหญ่ พบว่าประมาณ 35 – 45% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลาม จะมียีน K-RAS          ชนิด mutation ดังนั้นทำให้ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา anti-EGFR Monoclonal antibody Therapy ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการตรวจ K-RAS เข้ามามีบทบาทสำคัญในการรักษาเฉพาะบุคคล เพื่อช่วยแพทย์ตัดสินใจว่า ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่แต่ละคน ควรรักษาด้วยยาในกลุ่ม anti-EGFR monoclonal antibody therapy หรือไม่ เพราะการใช้ยาบางชนิดเช่น Cetuximab และ Panitumumab จะไม่มีประสิทธิภาพในผู้ป่วยที่มียีน K-RAS ชนิด mutation เป็นต้น  ทั้งนี้ การที่สามารถเลือกผู้ป่วยที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการรักษาด้วยยาในกลุ่ม anti-EGFR monoclonal antibody therapy นอกจากจะเป็นการลดอาการที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นจากยาแล้ว ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายการรักษามะเร็งได้อย่างมากเลยทีเดียว 

       การตรวจหาชนิดของยีน K-RAS ได้นำไปปฏิบัติ ตามแนวทางการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ของ NCCN          (the US National Comprehensive Cancer Network) ปี 2008  อีกทั้ง ยังเป็นข้อกำหนดในยุโรป  ซึ่งจะอนุญาตให้ใช้ยาในกลุ่ม anti-EGFR monoclonal antibody therapy เฉพาะในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลามที่มี    ยีน K-RAS ชนิด wild type ดังนั้นแพทย์ ต้องตรวจหาชนิดของยีน K-RAS ก่อนที่จะเริ่มทำการรักษา
สำหรับวิธีการตรวจหาชนิดของยีน K-RAS มักใช้ชิ้นเนื้อที่ลำไส้ใหญ่ส่งตรวจ ซึ่งวิธีการตรวจหา K-RAS mutation test มีหลายวิธี แต่วิธีที่ได้ผลดี และมีวิธีการสะดวกมากที่สุด คือ วิธี Polymerase Chain Reaction (PCR) เป็นการตรวจที่จำเพาะต่อตำแหน่งที่มีโอกาสเกิด mutation ซึ่งปัจจุบันมีชุดน้ำยาสำเร็จรูปซึ่งใช้หลักการ Real-time PCR ที่มีความไวและความแม่นยำในการทดสอบสูงและสะดวกในการใช้งาน ได้แก่ การใช้ TheraScreen ซึ่งเป็น Test ที่ได้รับรองมาตรฐานจาก CE-Mark  ในประเทศไทยมีการนำเข้ามาใช้งานโดย บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด  และมีห้องปฏิบัติการที่ทดสอบอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช
จะเห็นได้ว่า การถอดรหัสยีนเฉพาะบุคคลผ่านการตรวจ K-RAS mutation test มีประโยชน์มาก สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ เนื่องจากจะช่วยให้แพทย์ตัดสินใจเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุด เป็นการเพิ่มโอกาสในการรับการรักษาที่เหมาะสม รวมไปถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย สำหรับผู้ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจ K-RAS mutation test สามารถสอบถามได้ที่ โรงพยาบาลศิริราช โทรศัพท์ 02-4196605 หรือติดต่อ  คุณกุณฑิกา  ดำรงปราชญ์   โทร. 085-9116103  วันจันทร์ – ศุกร์ ในช่วงเวลาทำการ
« Last Edit: October 25, 2009, 05:56:55 PM by sianbun »