sianbun on September 06, 2009, 10:25:45 AM
งานแสดงแฟชั่นเครื่องเเต่งกายมุสลิม

หลักการและเหตุผล

            รัฐบาลมีนโยบายหลักและเร่งด่วนที่ต้องการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมในเขตพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้     เพื่อรับมือวิกฤตเศรษฐกิจไทย   รวมถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งให้กับชุมชน    โดยเฉพาะประชาชนในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และมีกลุ่มอาชีพราษฎรที่มีทักษะความสามารถในการเย็บปักลายผ้าด้วยจักรอุตสาหกรรมที่มีฝีมือสูง แต่ยังขาดความรู้และทักษะในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยตามความต้องการของตลาด ปัจจุบันกลุ่มอาชีพเหล่านั้นทำการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าปัก เครี่องแต่งกาย เช่น ผ้าคลุมผม หมวกกาปิเยาะห์ และเสื้อโต๊ฟ         โดยอาศัยการออกแบบและสั่งทำจากนักธุรกิจที่มีเครือข่ายการตลาดจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก จึงเป็นปัญหาสำคัญของผู้ประกอบอาชีพดังกล่าว ทำให้เกิดการกดราคาจากผู้ซื้อเมื่อมีปริมาณการผลิตมากเกินความต้องการ    และนอกจากนั้นการที่จะพัฒนาให้มีรูปแบบเครื่องแต่งกายใหม่ๆ   เพื่อการส่งออกไปยังประเทศมุสลิมกลุ่มอื่นๆ     ซึ่งหากเปิดตลาดไปได้จะเป็นตลาดที่ใหญ่ เช่น ประเทศแถบตะวันออกกลาง   และประเทศมุสลิมใหม่ในยุโรปตะวันออกได้นั้น      จำเป็นต้องมีการพัฒนาแบบ (Pattern) ขนาด (Size) และรูปแบบ สีสัน ให้ตรงกับความนิยมและความต้องการของแหล่งตลาดเหล่านั้น    เพื่อที่จะช่วงชิงความได้เปรียบในด้านการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิมเพื่อรุกเข้าสู่ตลาดโลกมุสลิม     ให้สามารถผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและจำหน่ายเครื่องแต่งกายมุสลิมทั้งตลาดภายในและต่างประเทศให้ได้ก่อน   

            สิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการ คือ กระตุ้นและเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการในประเทศให้หันมาให้ความสนใจพัฒนาการผลิตเพื่อการส่งออกสู่กลุ่มตลาดประเทศมุสลิมเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งหากเริ่มต้นจากการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ของกลุ่มในด้านการออกแบบเครื่องแต่งกายวิธีการเดียวจะต้องใช้เวลานาน         การจัดกิจกรรมอื่น    เช่น การจัดการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิมพร้อมการรณรงค์ประชาสัมพันธ์   เป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งที่จะส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  และเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าได้เป็นอย่างดี   

              กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเชื่อว่าการจัดทำโครงการพัฒนาแบบเครื่องแต่งกายมุสลิม จะเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิมขึ้นและเผยแพร่สู่สังคม  ทำให้กลุ่มเป้าหมายการตลาดของกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ได้รับรู้ เกิดความตื่นตัวและสนใจพัฒนางานมากยิ่งขึ้น    นอกจากนั้นยังเป็นการกระตุ้นกลุ่มผู้ประกอบการให้มีการพัฒนาการออกแบบให้ทัดเทียมกับนานาชาติแล้ว   และเป็นโอกาสที่อุตสาหกรรมอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายมุสลิมของประเทศไทยจะก้าวสู่เชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวางและยั่งยืน มีการต่อยอดการพัฒนาไปยังผู้ประกอบการเพื่อการส่งออกต่อไป
 
วัตถุประสงค์

1.  เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ  (Pattern) ของเครื่องแต่งกายมุสลิม เพื่อใช้ในการถ่ายทอดให้มีการตัดเย็บเพื่อการส่งออกไปสู่ตลาดต่างประเทศในอนาคต

2.  เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการออกแบบให้ประเทศไทยเป็น ศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิมเพื่อการส่งออก

3.  เพื่อเชื่อมโยงและถ่ายทอดผลของกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดการสร้างงานและรายได้อย่างยั่งยืนให้กับประชากรในพื้นที่  5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปเครื่องแต่งกายมุสลิมเป็นตัวนำ

กลุ่มเป้าหมาย

นักออกแบบ / สถาบันการออกแบบเครื่องแต่งกาย
ผู้ประกอบการเกี่ยวกับธุรกิจเครื่องแต่งกายเพื่อการส่งออก
ผู้แทนประเทศผู้นำเข้าเครื่องแต่งกายมุสลิม
กลุ่มอาชีพราษฎรในจังหวัดชายแดนภาคใต้
สื่อมวลชน และประชาชนผู้สนใจทั่วไป       
« Last Edit: September 07, 2009, 09:30:28 AM by sianbun »

sianbun on October 13, 2009, 04:05:02 PM
ขอเชิญร่วมงานแสดงแฟชั่นเครื่องแต่งกายมุสลิม อาภรณ์สวรรค์ สานฝันสู่สากล
 
             กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา และมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์ สถาบันออกแบบชนาพัฒน์ ขอเชิญชมการจัดงานการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการออกแบบรวมถึงการเชื่อมโยงกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดการสร้างงาน การสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายมุสลิมโดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนภาคใต้

          กำกับการแสดงแฟชั่นโชว์โดยมารุต สาโรวาท ผู้สนับสนุน อลัน นามชัยศิริ ห้งสพรรพสินค้าเซน กำหนดจัดในวันจันทร์ ที่ 12 ตุลาคม 2552 เวลา 18.00-21.30 น ณ.Zen Event Gallery ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิร์ด

sianbun on October 25, 2009, 05:22:47 PM










โครงการ  “พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิม”

หลักการและเหตุผล

        รัฐบาลมีนโยบายหลักและเร่งด่วนที่ต้องการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมในเขตพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้     เพื่อรับมือวิกฤตเศรษฐกิจไทย   รวมถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งให้กับชุมชน    โดยเฉพาะประชาชนในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และมีกลุ่มอาชีพราษฎรที่มีทักษะความสามารถในการเย็บปักลายผ้าด้วยจักรอุตสาหกรรมที่มีฝีมือสูง แต่ยังขาดความรู้และทักษะในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยตามความต้องการของตลาด ปัจจุบันกลุ่มอาชีพเหล่านั้นทำการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าปัก เครี่องแต่งกาย เช่น ผ้าคลุมผม หมวกกาปิเยาะห์ และเสื้อโต๊ฟ         โดยอาศัยการออกแบบและสั่งทำจากนักธุรกิจที่มีเครือข่ายการตลาดจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก จึงเป็นปัญหาสำคัญของผู้ประกอบอาชีพดังกล่าว ทำให้เกิดการกดราคาจากผู้ซื้อเมื่อมีปริมาณการผลิตมากเกินความต้องการ    และนอกจากนั้นการที่จะพัฒนาให้มีรูปแบบเครื่องแต่งกายใหม่ๆ   เพื่อการส่งออกไปยังประเทศมุสลิมกลุ่มอื่นๆ     ซึ่งหากเปิดตลาดไปได้จะเป็นตลาดที่ใหญ่  เช่น ประเทศแถบตะวันออกกลาง    และประเทศมุสลิมใหม่ในยุโรปตะวันออกได้นั้น      จำเป็นต้องมีการพัฒนาแบบ (Pattern) ขนาด (Size) และรูปแบบ สีสัน ให้ตรงกับความนิยมและความต้องการของแหล่งตลาดเหล่านั้น    เพื่อที่จะช่วงชิงความได้เปรียบในด้านการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิมเพื่อรุกเข้าสู่ตลาดโลกมุสลิม     ให้สามารถผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและจำหน่ายเครื่องแต่งกายมุสลิมทั้งตลาดภายในและต่างประเทศให้ได้ก่อน   
      สิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการ คือ กระตุ้นและเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการในประเทศให้หันมาให้ความสนใจพัฒนาการผลิตเพื่อการส่งออกสู่กลุ่มตลาดประเทศมุสลิมเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งหากเริ่มต้นจากการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ของกลุ่มในด้านการออกแบบเครื่องแต่งกายวิธีการเดียวจะต้องใช้เวลานาน         การจัดกิจกรรมอื่น    เช่น การจัดการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิมพร้อมการรณรงค์ประชาสัมพันธ์   เป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งที่จะส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  และเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าได้เป็นอย่างดี   
                   กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเชื่อว่าการจัดทำโครงการพัฒนาแบบเครื่องแต่งกายมุสลิม จะเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิมขึ้นและเผยแพร่สู่สังคม   ทำให้กลุ่มเป้าหมายการตลาดของกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ได้รับรู้ เกิดความตื่นตัวและสนใจพัฒนางานมากยิ่งขึ้น    นอกจากนั้นยังเป็นการกระตุ้นกลุ่มผู้ประกอบการให้มีการพัฒนาการออกแบบให้ทัดเทียมกับนานาชาติแล้ว    และเป็นโอกาสที่อุตสาหกรรมอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายมุสลิมของประเทศไทยจะก้าวสู่เชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวางและยั่งยืน มีการต่อยอดการพัฒนาไปยังผู้ประกอบการเพื่อการส่งออกต่อไป
วัตถุประสงค์

1.  เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Pattern) ของเครื่องแต่งกายมุสลิม เพื่อใช้ในการถ่ายทอดให้มีการตัดเย็บเพื่อการส่งออกไปสู่ตลาดต่างประเทศในอนาคต
2.  เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการออกแบบให้ประเทศไทยเป็น ศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิมเพื่อการส่งออก
3.  เพื่อเชื่อมโยงและถ่ายทอดผลของกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดการสร้างงานและรายได้อย่างยั่งยืนให้กับประชากรในพื้นที่  5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปเครื่องแต่งกายมุสลิมเป็นตัวนำ

กลุ่มเป้าหมาย

1.นักออกแบบ / สถาบันการออกแบบเครื่องแต่งกาย
2.ผู้ประกอบการเกี่ยวกับธุรกิจเครื่องแต่งกายเพื่อการส่งออก
3.ผู้แทนประเทศผู้นำเข้าเครื่องแต่งกายมุสลิม
4.กลุ่มอาชีพราษฎรในจังหวัดชายแดนภาคใต้
5.สื่อมวลชน และประชาชนผู้สนใจทั่วไป
ขอบเขตและวิธีการดำเนินการ

1.  จัดจ้างสถาบันการออกแบบ หรือนักออกแบบที่มีชื่อเสียงด้านการออกแบบ ทำการออกแบบ Pattern และผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิม จำนวน 50 แบบ
2.จัดแสดงแบบ (Fashion Show) โดยนักแสดงแบบมืออาชีพ เพื่อเผยแพร่แบบ ต่อกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำนวน  1 ครั้ง
3.จัดแสดงนิทรรศการผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิมเผยแพร่ ตามสถานที่ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกำหนด จำนวน  1 ครั้ง
4.จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเผยแพร่ และจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ ไปยังกลุ่มเป้าหมายให้เกิดผลกระทบในเชิงการสร้างกระแสสังคม

            ทั้งนี้   ลิขสิทธิ์หรือสิทธิทางกฎหมายต่างๆ จากการดำเนินโครงการ ได้แก่ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์อันเป็นผลที่เกิดขึ้นจากโครงการ เป็นกรรมสิทธิ์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมแต่ผู้เดียว ผู้รับจ้างหรือผู้เกี่ยวข้องไม่อาจเรียกร้องสิทธิ์ใดๆ ได้
                                                                             
สถานที่ดำเนินการ       
                   
                 กรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง

ผู้รับผิดชอบโครงการ 

                 สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ประสิทธิผลโครงการ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 1.  เกิดผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิม     ต้นแบบที่เกิดจากนักออกแบบหรือสถาบันการออกแบบที่มีภูมิปัญญาและองค์ความรู้ในการออกแบบเครื่องแต่งกายมุสลิมที่จะสามารถนำไปเผยแพร่ และถ่ายทอดต่อไป ในอันที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเพื่อการส่งออกในอนาคต จำนวน 50 แบบ
 2.  ก่อให้เกิดการประชาสัมพันธ์ และกระแสทางด้านการตลาดแก่กลุ่มประเทศมุสลิมในด้านศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิมเพื่อการส่งออก
              3.  เกิดการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระหว่างนักออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิมและผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายอย่างเป็นรูปธรรม        เกิดกลุ่มเครือข่ายผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิม (Cluster)     จำนวนไม่น้อยกว่า 1 เครือข่าย
              4.  เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ด้านการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิม และช่องทางการตลาดมากขึ้น
              5.  ผู้ประกอบการและประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถพัฒนาความรู้ สร้างแนวคิดใหม่ และยกระดับการออกแบบผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้เป็นที่ยอมรับของตลาดมากขึ้น
              6.  สร้างภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ การยอมรับให้กับกลุ่มผู้ประกอบการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น
« Last Edit: October 25, 2009, 05:37:42 PM by sianbun »