แอ่วปีใหม่แพร่ ยิ่งฮู้จัก ยิ่งฮักแพร่ เมืองที่มีคำขวัญแสนไพเราะ “หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม” นี่คือจังหวัดแพร่ ที่มีทิวทัศน์สวยงาม มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติทั้งน้ำตก ถ้ำ น้ำพุร้อน อุทยานแห่งชาติ และยังมีแหล่งท่องเที่ยวแบบศาสนสถาน บ้านเรือนเก่าที่สวยงาม กำแพงเมืองโบราณ สร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือน แพร่ยังเป็นเมืองน่าอยู่อีกด้วย
แพร่เมืองน่าอยู่ เมืองแพร่ สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ คือ “พลนคร เมืองพล เมืองแพล” ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ระหว่างปี พ.ศ.1470-1560 พระนางจามเทวีเข้าครอบครองแคว้นล้านนา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โกศัยนคร” หรือ “เวียงโกศัย” ซึ่งแปลว่า ผ้าแพร นับแต่นั้นมาก็มีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมาโดยตลอด จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยให้มีเจ้าหลวงกำกับด้วยข้าหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงคนแรก มีเจ้าพิริยเทพวงศ์อุดร เป็นเจ้าหลวงผู้ครองนครแพร่องค์ที่ 18
เจ้าพิริยเทพวงศ์อุดร เจ้าหลวงผู้ครองนครแพร่องค์ที่ 18 ศักดิ์ สมบุญโต ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ กล่าวถึงความน่าเที่ยวของแพร่ว่า มีจุดเด่นในความเป็นเมืองศิลปะล้านนาที่ย้อนอดีตไปนับเป็นพันปี รุ่นเดียวกับหริภุณชัย จะเห็นได้จากพระธาตุช่อแฮและกำแพงเมือง ที่มีอายุหลายพันปีมาแล้ว
ศักดิ์ สมบุญโต ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ แพร่เป็นเมืองที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์มาก ก่อกำเนิดเป็นป่าไม้สัก คนแพร่ทำไม้สักกันมายาวนาน มีต้นไม้สักที่มีอายุเก่าแก่กว่า 100 ปีจำนวนมาก ทั้งไม้รุ่นเก่าและใหม่ ที่นี่ยังมีความหนาวเย็นแบบชุ่มชื้นไม่แห้งแล้ง สามารถจัดทัวร์ชมกลุ่มไม้สักได้หลายแห่ง มีสวนสักที่รัฐบาลปลูกเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่แม่พวก ซึ่งปลูกมาตั้งแต่ปี 2453 และยังมีต้นสักขนาดใหญ่ที่ถูกนำไปสร้างเป็นเสาชิงช้าในกรุงเทพมหานครด้วย
ป่าสัก ส่วนแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถานอื่นๆ ที่สำคัญ เช่นพระธาตุช่อแฮ ที่เก่าแก่รุ่นเดียวกับพระธาตุหริภุณชัย เป็นที่นับถือมาก โดยเฉพาะชาวราศีขาล หรือคนที่เกิดปีเสือ ถือว่าต้องมาไหว้สักครั้งในชีวิต ชมศิลปะล้านนาที่สวยงาม ห่างตัวเมืองไปเพียง 10 กิโลเมตร ที่นี่มีพระเจ้าทันใจที่อายุเก่าแก่ 600-700ปี มีความศักดิ์สิทธิ์ คนนิยมมากราบไหว้ขอพร เชื่อกันว่าใครมาขออะไรจะประสบความสำเร็จ
นี่เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะเชียงแสน สูง 33เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร สร้างด้วยอิฐโบกปูนหุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองลงรักปิดทอง
พระธาตุช่อแฮ นอกจากนี้ยังมีวัดพระธาตุจอมแจ้ง ที่มีความศักดิ์สิทธิ์สวยงาม รวมถึงพุทธอุทยานดอยผาสวรรค์ มีพระธาตุอินทร์แขวนจำลองและองค์พระพุทธชยันตีมหัศจรรย์สูงใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่บนเขา นักท่องเที่ยวนิยมขึ้นไปสักการะ
พระธาตุอินทร์แขวนจำลอง ณ.พุทธอุทยานดอยผาสวรรค์ ความน่าเที่ยวของแพร่มีหลายประการ ทำให้เมืองนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ทางผ่าน แต่เริ่มมีนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้น ขณะที่จำนวนประชากรมีประมาณ 3-4 แสนคน ส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกร นั่นนำมาสู่ที่มาของถนนสายน้ำผึ้ง ซึ่งประกอบอาชีพเลี้ยงผึ้ง หลายบ้านจะมีการตั้งกล่องเลี้ยงผึ้งจำนวนมาก และเลือกเกสร ตามที่ต้องการเช่น ลำใย สาปเสือ ฯลฯ การเลี้ยงผึ้งตามธรรมชาติยังทำให้เกิดประติมากรรมป่า ทำให้ละอองเกสรและเมล็ดไปตกในป่า เป็นการปลูกป่าไปในตัว น้ำผึ้งของที่นี่มีหลายขนาด จัดเป็นของชำร่วย ถือเป็นสินค้าโอท็อปที่ได้รับความนิยม
น้ำผึ้ง สินค้าโอท็อปที่ได้รับความนิยมของจ.แพร่ ในเมืองแพร่ยังมีถนนสายไม้ ทำอาชีพค้าไม้กันตลอดทั้งถนน มีเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้สักคุณภาพดีมากจำนวนหลายบ้าน และยังออกแบบให้ทันสมัย สวยงามตามความต้องการของตลาด โด่งดังไปยังกรุงเทพมหานครและหลายจังหวัดต้องมาเลือกซื้อ
ถนนสายไม้ พลาดไม่ได้กับม่อฮ่อมทุ่งโฮ้ง ถนนยันตรกิจโกศล บนทางหลวงหมายเลข 101 สายแพร่-น่าน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นแหล่งผลิตเสื้อม่อฮ่อมที่มีชื่อเสียงของประเทศ ปัจจุบันมีการออกแบบให้ทันสมัย สวยงามน่าสวมใส่มาก
ม่อฮ่อมทุ่งโฮ้ง บน ถนนยันตรกิจโกศล การที่แพร่มีไม้สักมากมาย นำมาสู่การสร้างบ้านสวยหลายหลัง ทั้งบ้านเจ้าเมืองและบ้านชาวบ้านตั้งแต่โบราณ มีบ้านเก่าคลาสสิกอายุ 200-300ปีจำนวนหลายหลัง เช่น บ้านวงศ์บุรี ซึ่งเป็นบ้านของชายาเจ้าหลวง มีละครมาถ่ายทำจำนวนมาก เป็นบ้านทรงปั้นหยา 2 ชั้น มีเพดานสูง หลังคาสูง จุดเด่นของอาคารนี้คือลวดลายไม้แกะสลักที่หน้าจั่ว ชายคา ระเบียง ช่องลม ชายน้ำ หน้าต่าง และประตู ที่ประตูด้านหน้าเป็นปูนปั้นรูปแพะซึ่งเป็นตัวแทนของหลวงพงษ์พิบูลย์และแม่เจ้าสุนันทาซึ่งเกิดในปีแพะ
บ้านวงศ์บุรี นอกจากนี้มีคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ที่งดงาม เดิม ปัจจุบันคือจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เจ้าพิริยเทพวงศ์อุดร เจ้าหลวงเมืองแพร่คนสุดท้ายได้สร้างขึ้นในพ.ศ. 2435 คุ้มแห่งนี้เป็นอาคารโอ่โถง มีประตู หน้าต่างทั้งหมด 72 บาน งดงามด้วยลวดลายฉลุไม้อยู่ด้านบนปั้นลม และชายคาน้ำ รอบตัวอาคารประดับด้วยลวดลายไม้แกะฉลุ ด้านล่างเป็นห้องทึบใช้เป็นที่คุมขังทาส บริวารที่ทำผิดร้ายแรง คุ้มเจ้าหลวงเคยใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อคราวที่เสด็จมาเยี่ยมเยียนราษฎรจังหวัดแพร่ ในระหว่างวันที่ 15-17 มีนาคม 2501
คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ที่งดงาม เดิม ปัจจุบันคือจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ แพร่ยังมีบ้านวิชัยราชา คุ้มโบราณตำนานเมืองแพร่ และวัดจอมสวรรค์ที่มีสถาปัตยกรรมแบบพม่า เป็นวัดที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง หลังคาซ้อนลดหลั่นเป็นชั้นประดับประดาลวดลายฉลุ อารามเป็นไม้สัก ใช้เป็นทั้งโบสถ์ วิหาร และกุฏิ ภายในอารามแสดงให้เห็นฝีมือการตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง เพดาน และเสาฉลุไม้ประดับกระจกสีงดงาม
วัดจอมสวรรค์ ที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ออกจากเมืองไปไม่ไกล จะพบกับแพะเมืองผี ประติมากรรมธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัวเมืองแพร่ พื้นที่ประมาณ 500 ไร่ เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่าง ๆ เช่น ดอกเห็ด และหน้าผา ดูแล้วแปลกตา ชื่อ แพะเมืองผี น่าจะมาจากภาษาพื้นเมือง แพะ แปลว่า ป่าละเมาะ ส่วนคำว่า เมืองผี แปลว่า เงียบเหงา วังเวงอาจเกิดจากสภาพภูมิประเทศที่ดูเร้นลับน่ากลัว นักท่องเที่ยวนิยมไปถ่ายรูปและยังมีต้นดิ๊กเดียมต้นไม้จั๊กจี้หนึ่งเดียวในโลกมีเฉพาะที่แพะเมืองผีเท่านั้น เมื่อเอามือไปจับลำต้น ใบไม้จะสั่นไหวไปทั้งต้น
แพะเมืองผี ความเก่าแก่ของที่นี่ยังย้อนไปถึงกำแพงโบราณที่มีหลงเหลืออยู่จำนวนมาก นำมาสู่การตักบาตรบนเมกในทุกเช้าวันพุธ ซึ่งเมกหมายถึงกำแพงเมือง จะมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาตักบาตรอยู่บนแนวกำแพงโบราณ และยังมีพระพุทธบาท หรือการไปไหว้พระบาทมิ่งเมือง วัดพระนอน ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างสมัยโบราณตั้งแต่สุโขทัย
การตักบาตรบนเมกในทุกเช้าวันพุธ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่อยากเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวแพร่ในช่วงปีใหม่ ซึ่งมีวันหยุดยาว เพื่อชมตัวเมืองและชุมชนเก่า ภายใต้ชื่องาน แอ่วปีใหม่แพร่ ยิ่งฮู้จัก ยิ่งฮักแพร่ มีการแสดงอาทิเชีน อนตรี มินิคอนเสิร์ต กิจกรรมเสน่ห์ประเพณีวัฒนธรรมเมืองแพร่ การแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น อาทิเช่น ละครซอ นาฎศิลป์ถิ่นแพร่ รำวงย้อนยุค ดนตรี การจำหน่ายสินค้าอาหารพื้นเมือง
ศักดิ์ สมบุญโต ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ชวนเที่ยวปีใหม่ จะมีการเปิดเมืองทั้งวันถึงกลางคืน เปิดคุ้มเจ้าหลวง บ้านวงศ์บุรี เปิดตลาดการค้าหรือกาดมั่วตามมุมต่างๆของเมือง เสริมด้วยการแสดงทางวัฒนธรรม สะล้อซอซึง เปิดให้นักท่องเที่ยวไหว้พระตามวัดต่างๆ มีสวดมนต์ข้ามปี(สวดรักขี 1 แสนจบ) ในคืนวันที่ 31 ธันวาคมด้วย จะมีการแสดงอยู่ 3 เวทีคือที่บริเวณสวนสุขภาพ บริเวณประตูชัย และบริเวณคูเมืองเดิม พร้อมการแจกรางวัลมากมาย
แพร่เมืองน่าอยู่ ไม่ไปไม่ได้แล้ว