happy on December 04, 2014, 06:25:53 PM
กระทรวงวิทย์ฯ มอบโอกาสเยาวชนผ่านโครงการ R2M
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์ ๓ ภูมิภาคเฟ้นหาแชมป์โครงการประกวดเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ระดับประเทศ เพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปต่อยอดและใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยคัดเลือกตัวแทนจากสถาบันการศึกษา ๑๕ ทีมทั่วประเทศ โดยได้ทีมชนะเลิศพร้อมมอบรางวัลแล้วรศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ (คนกลาง) ปลัด กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานมอบรางวัลชนะเลิศ โครงการประกวดเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ระดับประเทศ (Research to Market : R2M) ปี 2 เพื่อร่วมนำผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศไปต่อยอดใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยทำการคัดเลือกตัวแทนจากสถาบันการศึกษา ๑๕ ทีมทั่วประเทศ ณ.ห้องโถง อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัด กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันก่อน รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัด กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่าโครงการ “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์” (Research to Market - R2M) จัดขึ้นโดย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ ๓ภูมิภาค เป็นการนำผลงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมาต่อยอดทำแผนธุรกิจและแผนการตลาด ซึ่งเป็นรูปแบบการจำลองการประกอบธุรกิจในชีวิตจริง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างช่องทางในการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัย และเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา บุคลากรและนักวิจัย ในการสร้างสรรค์ผลงานทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสู่เชิงพาณิชย์นอกจากนี้โครงการ R2M ยังส่งเสริมให้เกิดความตระหนักและสร้างวัฒนธรรมของการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีและลดช่องว่างระหว่างผลงานวิจัยและนวัตกรรมกับการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ สำหรับผู้เข้าแข่งขันภายใต้โครงการ R2M จะได้รับประสบการณ์โดยตรงภายใต้คำชี้แนะของที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์จากภาคธุรกิจ ในการวิเคราะห์และการตรวจสอบเทคโนโลยีเบื้องต้นก่อนเข้าสู่การตลาด ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการบริหารและธุรกิจอุตสาหกรรม โดยสามารถนำผลงานดังกล่าวไปพัฒนาให้แข่งขันกับผู้อื่นได้ ทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลาย และที่สำคัญคือช่วยให้เกิดการสร้างธุรกิจใหม่ สร้างสิทธิประโยชน์สู่นักวิจัย หน่วยงาน และมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงการสร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับประเทศ ซึ่งโครงการ R2M ได้ดำเนินการจัดแข่งขันระดับภูมิภาค ในเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยเฟ้นหาตัวแทนทีมผู้เข้าแข่งขันในระดับประเทศจำนวน ๑๕ ทีม เพื่อให้ได้ทีมผู้ชนะเลิศในระดับประเทศจำนวนทั้งสิ้น ๕ ทีม โดยจะมีการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมของทีมที่ชนะเลิศต่อยอด ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต่อไปรายชื่อ ทีมที่ได้รับรางวัลประจำปี 2557 มีดังนี้รางวัลชนะเลิศ ชื่อทีม MED INT มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากผลงาน อุปกรณ์ควบคุมรูปทรงจมูก (I-Nose)
รางวัลรองชนะเลิศที่ 1 ชื่อทีม Re-imagine มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากผลงาน บามาซีฟีน (Carbamazepine)
รางวัลรองชนะเลิศที่ 2 ชื่อทีม N2S Best Product มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จากผลงาน การปรับปรุงคุณภาพเส้นก๋วยจั๊บโดยใช้ไฮโดรคอลลอยด์ ชุดตรวจกรองสารพันธุกรรมทำนายอาการแพ้ยาในกลุ่มคาร์
รางวัลชมเชย ชื่อทีม BEING มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากผลงาน เครื่องตรวจจับการวางของกุ้ง กุลาดำ (Penaeus monodon)
รางวัลชมเชย ชื่อทีม งอกงาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากผลงาน เครื่องเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษอัตโนมัติ
« Last Edit: December 04, 2014, 06:40:18 PM by happy »
Logged