MSN on August 19, 2014, 10:59:33 PM
“เรกคิทท์” คาดผลิตภัณฑ์ “กาวิสคอน” ทำยอดขายปี 57 โตตามเป้า กระหึ่มแคมเปญ “จุก เสียด แสบ เปรี้ยว” ปั้นแบรนด์อยู่ในใจคนไทย







บริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด มั่นใจปี 2557 ยอดขายเติบโตตามเป้าหมาย ลุยกลยุทธ์ตลาดไตรมาสที่ 3 สร้างแบรนด์ “กาวิสคอน” อยู่ในใจคนไทย จัดแคมเปญยิ่งใหญ่ “จุก เสียด แสบ เปรี้ยว” 4 สัญญาณกรดไหลย้อนและอาหารไม่ย่อย ดึงคู่รักดารา “คุณหนุ่ม กรรชัย”- “คุณเมย์ เฟื่องอารมย์” มาเผยประสบการณ์จริง ย้ำผู้บริโภคควรรู้อาการป่วย พร้อมดูแลตนเองอย่างถูกวิธี

คุณเลอ ทิ ทัน ฮอง ผู้จัดการผลิตภัณฑ์อาวุโส บริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดผลิตภัณฑ์ “กาวิสคอน” ว่า ปี 2557 นี้ คาดว่าจะเติบโตขึ้นราว 2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยในไตรมาสแรกมีส่วนแบ่งตลาดรวมอยู่ที่ 20.9% และในช่วงไตรมาสที่ 3 กาวิสคอนต้องการเน้นย้ำภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้อยู่ในใจของผู้บริโภคคนไทยมากขึ้น จึงเปิดตัวแคมเปญอย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้ชื่อว่า “จุก เสียด แสบ เปรี้ยว” 4 สัญญาณกรดไหลย้อนและอาหารไม่ย่อย สำหรับแนวคิดของการจัดงานครั้งนี้ เนื่องจากกาวิสคอนได้ทำการศึกษาและวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค พบว่า ปัจจุบันผู้ป่วยระบบทางเดินอาหารที่มีอาการอาหารไม่ย่อยและกรดไหลย้อนมีจำนวนสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนเมือง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ผู้ป่วยมักแยกความแตกต่างอาการของโรคไม่ออก โดยในครั้งนี้เรารู้สึกดีใจที่ คุณหนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย และ คุณเมย์ เฟื่องอารมย์ (ปทิดา กำเนิดพลอย) ให้เกียรติมาร่วมพูดคุยเพื่อสะท้อนประสบการณ์จริงของทั้งคู่ที่จะช่วยให้ผู้คนเข้าใจในโรคนี้มากขึ้น พร้อมกับแพทย์หญิงวิภากร เพิ่มพูล อายุรแพทย์ศูนย์ทางเดินอาหารและตับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาอย่างถูกวิธี อีกทั้งยังเสนอแนะการเลือกใช้ยาที่ปลอดภัยอีกด้วย

ยิ่งกว่านั้นยังมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ การเปิดให้ผู้คนได้สัมผัสและเข้าใจถึงประสบการณ์จริงของโรคดังกล่าวผ่านห้องจำลอง 3 เหตุการณ์ ได้แก่ ห้องรับประทานอาหาร ห้องทำงาน และห้องนอน ซึ่งทุกห้องจะสะท้อนถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเผชิญกับโรคกรดไหลย้อนและอาหารไม่ย่อยที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย
 “ปี 2557 เราคิดว่าตลาดช่วงครึ่งปีหลังจะขยายตัวดีขึ้น เชื่อว่าตัวเลขยอดขายถึงสิ้นปีจะอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ในส่วนของแคมเปญ จุก เสียด แสบ เปรี้ยว” 4 สัญญาณกรดไหลย้อนและอาหารไม่ย่อย นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่จะได้เรียนรู้ถึงการสังเกตอาการและรักษาได้อย่างทันท่วงทีแล้ว เรายังมุ่งหวังว่าทุกครั้งเมื่อเกิดอาการดังกล่าว ผู้คนจะมีความรู้มากขึ้นที่จะปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง รวมถึงลดพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงทำให้เกิดอาการ” คุณฮอง กล่าว

ด้าน คุณกรรชัย กำเนิดพลอย เปิดเผยว่า “โดยส่วนตัวผมเป็นคนที่มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับโรคนี้อยู่แล้ว ซึ่งทุกวันนี้เมื่อรู้จักการรักษาอย่างถูกวิธีและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของตัวเอง ก็พบว่าอาการเริ่มดีขึ้น จากแต่ก่อนเป็นคนที่ชอบทานอาหารชนิดที่ทำให้เป็นโรคนี้ได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหารรสจัด รสเผ็ด ของทอดทอด  ชา กาแฟ น้ำอัดลม บางทีเราทานข้าวดึก ทานเสร็จก็นอนเลย บางทีเครียดมาก อาการก็กำเริบขึ้นมา ทำให้รู้สึกทรมานและไม่สบายตัวอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ กลางหน้าอก ซึ่งมักเกิดหลังกินอาหารเสร็จใหม่ๆ ความรู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปากและคอ  มีอาการท้องอืด จุกเสียดแน่นท้อง เรอบ่อย  เรอเปรี้ยว  คลื่นไส้ กลืนติดขัดเหมือนมีก้อนจุกในคอ เป็นต้น เนื่องจากกรดจากกระเพาะอาหาร รวมถึงน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาผ่านหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างจนสร้างความระคายเคืองให้กับเยื่อบุหลอดอาหารนั่นเอง ซึ่งหากปล่อยปละละเลยจนอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นแผลในหลอดอาหาร นำมาซึ่งความเสี่ยงต่อการพัฒนาของโรคเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์และอาจลุกลามไปเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารได้ จึงอยากให้ทุกคนระมัดระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดีด้วย”

ขณะเดียวกัน คุณเมย์ เฟื่องอารมย์ (ปทิดา กำเนิดพลอย) กล่าวเสริมว่า ในส่วนของตนเองที่กำลังตั้งครรภ์ คุณหมอช่วยให้คำแนะนำที่ดีมาก ว่า เรามีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนได้เช่นเดียวกัน ให้หมั่นสังเกตอาการ เช่นว่ารู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปาก เรอเปรี้ยวบ่อยครั้ง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ ซึ่งการปรับพฤติกรรมบางอย่างโดยการหลีกเลี่ยงอาหารและปัจจัยที่ทำให้โรคนี้รุนแรงมากขึ้น เช่น อาหารที่มีไขมันสูง อาหารรสจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยว ควรแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อย่อยๆ ไม่ควรรับประทานครั้งละมากๆ และรับประทานมื้อเย็นให้เร็วขึ้น คือ ห่างจากเวลาเข้านอนไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง รวมถึงนอนหนุนศีรษะสูงขึ้น อีกทั้งต้องหาวิธีจัดการกับความเครียดด้วย เพราะความเครียดกระตุ้นให้น้ำย่อยหลั่งมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับหญิงตั้งครรภ์แล้วหากต้องใช้ยาในการรักษาจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์มากเป็นพิเศษ จึงควรใช้ยาที่ปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์และตามคำสั่งของแพทย์

MSN on August 19, 2014, 11:06:31 PM
“จุก เสียด แสบ เปรี้ยว” 4 สัญญาณกรดไหลย้อนและอาหารไม่ย่อย





แนวคิดของแคมเปญ “จุก เสียด แสบ เปรี้ยว” 4 สัญญาณกรดไหลย้อนและอาหารไม่ย่อย โดยบริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เกิดขึ้นจากความใส่ใจในผู้บริโภคคนไทยและมุ่งหวังที่จะให้ทุกคนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง พร้อมกับหมั่นดูแลสังเกตอาการของตนเอง เพื่อวางแนวทางการรักษาอย่างถูกวิธีและปลอดภัย ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะจากสถิติทางการแพทย์ พบว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยหลายรายไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคดังกล่าว ซึ่งทำให้เกิดภาวะความเจ็บป่วยเรื้อรังส่งผลเสียต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ยิ่งกว่านั้นอาจลุกลามไปเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารได้ในอนาคต

ลักษณะทั่วไป
กรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal Reflux Disease; GERD) คือภาวะที่มีกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจรวมไปถึงเอนไซม์เปบซิน และน้ำดีไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร โดยปกติ หลอดอาหารจะมีการบีบตัวไล่อาหารลงสู่ด้านล่าง และหูรูดจะทำหน้าที่ป้องกันการไหลย้อนของน้ำย่อย กรด หรืออาหาร ไม่ให้ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร แต่ในบางคนนั้นหูรูดส่วนนี้ทำงานได้น้อยลง จึงทำให้มีกรด หรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาทำให้ผนังหลอดอาหารอักเสบ 1 ใน 5 ของผู้ป่วยที่มีอาการแสบร้อนกลางอก ซึ่งเป็นอาการหลักของผู้ป่วยกรดไหลย้อน มักมีอาการอาหารไม่ย่อยร่วมด้วย

อุบัติการณ์การเกิดโรคกรดไหลย้อน
•   ประเทศแถบตะวันตก โรค GERD เป็นโรคทางระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง พบได้ใน10-20% ของประชากรทั่วไป คนอังกฤษสูงถึง 60% ที่เคยมีอาการของโรคนี้อย่างน้อยหนึ่งครั้ง
•   ประเทศแถบเอเชีย มีข้อมูลทางสถิติค่อนข้างจำกัด แม้ว่ายังมีรายงานทางสถิติว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคนี้น้อยแต่อุบัติการณ์ก็เพิ่มขึ้น 3-11% ของประชากรมีอาการแสบร้อนกลางอกอย่างน้อยเดือนละครั้ง

ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคกรดไหลย้อน
•   โรคกรดไหลย้อนพบได้ในคนทั่วไป ทุกกลุ่ม ทุกช่วงอายุ
–         คนทำงานในที่ใช้ชีวิตประจำวันอย่างเคร่งเครียดและเร่งรีบ
–         มีพฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น กินมื้อใหญ่ นอนทันทีหลังทานอาหาร
–         คนอ้วน
–         เด็ก, ผู้สูงอายุ
•   สตรีมีครรภ์ พบได้ถึง 6 ใน 10 คน เนื่องจากความดันในช่องท้องที่เพิ่มขึ้นจากการเจริญเติบโตของทารก และความผิดปกติของหูรูดที่เกิดจากฮอร์โมน ร้อยละ 60 ของสตรีที่ตั้งครรภ์ล้วนเคยมีอาการแสบยอดอกแบบเรื้อรัง แม้จะไม่เคยมีอาการกรดไหลย้อนมาก่อน สาเหตุสำคัญเนื่องจากความดันในช่องท้องที่เพิ่มขึ้นจากการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทำให้ LES หย่อนลงในระหว่างตั้งครรภ์

MSN on August 19, 2014, 11:08:21 PM
ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการของโรคกรดไหลย้อน
Hiatus hernia (คือโรคที่เกิดจากกระเพาะอาหารส่วนต้นเข้าไปในกำบังลม)
•   ดื่มสุรา
•   อ้วน
•   ตั้งครรภ์
•   สูบบุหรี่
•   กินอาหารมื้อหนัก ตอนดึก ๆ
•   อาหารรสเปรี้ยว เผ็ด
•   อาหารมัน ของทอด
•   ยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs
•   ช็อกโกแลต
 
ภาวะของโรคกรดไหลย้อน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
ระดับแรก ผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อนบ้างในบางครั้ง เป็นบ้างไม่เป็นบ้าง แล้วก็หายไป ไม่มีผลต่อสุขภาพมากมาย (Gastro-Esophageal Reflux: GER)
ระดับสอง ผู้ป่วยจะมีอาการกรดไหลย้อนขึ้นมาเฉพาะที่บริเวณหลอดอาหาร (Gastro-Esophageal Reflux Disease: GERD)
ระดับสาม ผู้ป่วยมีกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาก จนไหลขึ้นไปถึงกล่องเสียง หรือหลอดลม (Laryngo-Pharyngeal Reflux: LPR)

อาการของกรดไหลย้อน
•   รู้สึกมีก้อนอยู่ในคอ
•   กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ
•   เจ็บคอหรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า หรือไอแห้ง
•   รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือมีรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก
•   มีเสมหะอยู่ในคอ หรือระคายคอตลอดเวลา
•   เรอบ่อย คลื่นไส้
•   รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย
 
จะเห็นได้ว่าอาการของกรดไหลย้อนมักจะมีอาการของโรคอาหารไม่ย่อยร่วมอยู่ ซึ่งยืนยันได้จากข้อมูลข้างต้นว่า 1 ใน 5 ของผู้ป่วยกรดไหลย้อนมักจะมีอาการอาหารไม่ย่อยร่วมด้วย

อาหารไม่ย่อย (Indigestion) เป็นภาวะของร่างกายที่มีการหลั่งกรดที่มากเกินไปในกระเพาะอาหาร ซึ่งกระตุ้นจากปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น การทานอาหารมื้อหนัก กินเร็วหรือเวลาที่กินในแต่ละมื้อห่างกันมากเกินไป รวมไปถึงการดื่มเหล้าและสูบุหรี่ และความเครียดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาการแสดงของอาหารไม่ย่อยเป็นความรู้สึกเจ็บแบบตื้อๆ และ รู้สึกอิ่มแน่น หรือไม่สบายท้องหรือหน้าอก อาจตามมาด้วยอาการจุกเสียด, อาการแสบร้อนกลางอก เรอ คลื่นไส้ หรือ อาเจียน

 การรักษาโรคกรดไหลย้อน
•   ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต
•   การรักษาด้วยยา
•   การรักษาด้วยการผ่าตัด จะใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล หรือมีโรคแทรกซ้อน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต
•   ลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
•   งดบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดกรดมาก
•   ไม่ควรจะนอน ออกกำลังกาย หรือยกของหนักหลังออกกำลังกาย
•   งดอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง
•   งดอาหารบางชนิด เช่น อาหารมันๆ อาหารทอด อาหารที่ปรุงด้วยหัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม เนย ไข่ เผ็ด เปรี้ยว เค็มจัด
•   รับประทานอาหารพออิ่ม
•   หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ น้ำอัดลม เบียร์ สุรา
•   นอนหัวให้สูงประมาณ 6-10 นิ้ว โดยหนุนที่ขาเตียง ไม่ควรใช้หมอนหนุนที่ศีรษะเพราะทำให้ความดันในช่องท้องสูง

การรักษาอาการกรดไหลย้อนด้วยยา
ยาที่ใช้ในการรักษาโรคกรดไหลย้อนในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ
1.   ยาลดกรด (Antacids)
2.   H2- Receptor Antagonist (H2RA)
3.   Proton pump Inhibitors (PPIs)
4.   ยาป้องกันการไหลย้อนของกรดและของเหลวจากกระเพาะอาหาร (Alginates)
ยาแต่ละกลุ่มจะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน การเลือกใช้จึงควรได้รับคำแนะนำ จากแพทย์และเภสัชกร

คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อนมีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยอย่างมาก ทำให้รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน มีการศึกษาในประเทศอเมริกา พบว่า 60% ของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนที่คิดว่า มีอาการปานกลางถึงรุนแรง 75% นอนหลับยาก 51% รบกวนการทำงาน และ 40% ออกกำลังกายไม่ได้ การไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ หรือปอดได้ ถึงแม้โรคกรดไหลย้อนจะไม่ใช่โรคก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต ซึ่งหากละเลยไม่ทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรัง มีความเสี่ยงที่กลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนเปลี่ยนพฤติกรรมจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะทำเป็นสิ่งแรก หากจำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อรักษาอาการ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์และเภสัชกร ถ้าหากมีอาการมาก ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม