สวทน. โดยสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง
จัดงานเสวนา “ผ่าทางตันการปฎิรูประบบขนส่งทางรางของไทย ให้ยั่งยืนคุ้มค่า2.4 ล้านล้าน”
เตรียมจัดงานประชุมวิชาการระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ ครั้งใหญ่ 28-29 ส.ค.นี้
ในโอกาสที่ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สวทน. เตรียมจัดงานประชุมวิชาการระบบขนส่งทางรางของไทย ปี 2557 (Thailand Rail Academy Symposium) ครั้งใหญ่ในวันที่ 28-29 สิงหาคม 2557 นี้ ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อการปฏิรูปยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ความก้าวหน้าของระบบขนส่งคมนาคมและศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่ง คสช.จะได้เสนอโครงการพื้นฐานและขนส่งทางราง 2.4 ล้านล้านบาท เข้าสู่คณะรัฐมนตรี นั้น สวทน. ระดมผู้เชี่ยวชาญจัดเสวนา ในหัวข้อ “ผ่าทางตันการปฏิรูประบบขนส่งทางราง ให้ยั่งยืนคุ้มค่าการลุงทุน 2.4 ล้านล้านบาท” เสนอการแก้ปัญหาอุปสรรคที่เปรียบเสมือนทางตันใน 5 ด้าน อาทิ ด้านการสร้างฐานความรู้ กำลังคนและต่อยอดสู่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง, ด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการและเทคโนโลยี, ด้านบุรณาการพัฒนาเมืองที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค เชื่อมโยงอุตสาหกรรม การเกษตรและการท่องเที่ยวตามเส้นทางระบบรางและโครงข่าย, ด้านส่งเสริมวิชาการวิศวกรรมขนส่งและการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด, ด้านการสนับสนุนพัฒนาการวิจัยและการผลิตบุคลากร เผยแนวคิดในอนาคตจัดตั้งสถาบันวิชาการระบบขนส่งทางรางของไทย (Thailand Rail Academy) และเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม งานประชุมวิชาการระบบขนส่งทางรางของไทย ปี 2557 เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเพื่อเปิดเวทีเผยแพร่องค์ความรู้ครั้งใหญ่แห่งปี พร้อมจัดนิทรรศการนักศึกษาพบผู้ประกอบการทางรางและจัดประกวดผลงานนวัตกรรมทางวิศวกรรมระบบรางปลายเดือนสิงหาคมนี้ ผู้ร่วมเสวนา 5 ท่าน ในหัวข้อ “ผ่าทางตันการปฏิรูประบบขนส่งทางราง ให้ยั่งยืนคุ้มค่าการลุงทุน 2.4 ล้านล้านบาท ”ประกอบด้วย ดร. เยี่ยมชาย ฉัตรแก้ว อดีตรองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, ศ.ดร วัลลภ สุระกำพลธร ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง สวทน.ดร.สมประสงค์ สัตยมัลลี ผู้อำนวยการกองวิชาการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดร. เทิดเกียรติ ลิมปิทีปราการ ผู้แทนสมาพันธ์วิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย และ ดร.ณัฐวุฒิ หลิ่วพิริยะวงศ์ ประธานสาขาวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ซึ่งเป็นประธานของานเสวนา กล่าวว่า “ในยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศไทยให้โปร่งใสมั่นคงและยั่งยืน สวทน. มีความมุ่งมั่นในภารกิจการสร้างฐานความรู้และผลิตบุคคลากร เพื่อรองรับโครงการลงทุนและทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และตรงเป้าหมาย ในการปฎิรูประบบขนส่งทางรางของประเทศไม่ว่าจะเป็นรถไฟในเมือง รถไฟทางคู่ระหว่างเมือง หรือรถไฟเพื่อเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพทางเศรษฐกิจ การประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมก้าวเป็นฮับโลจิสติกส์ ของอาเซียน ทั้งหมดนี้จะเป็นไปได้อย่างยั่งยืนและคุ้มค่า ประเทศไทยจึงต้องให้ความสำคัญและลงทุนกับการผลิตบุคคลากร วิศวกรและช่างเทคนิค พร้อมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี การวิจัยที่จะต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง” ศ.ดร วัลลภ สุระกำพลธร ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง สวทน. กล่าวสรุปว่า “ข้อเสนอจากการเสวนา ในหัวข้อ “ผ่าทางตันการปฏิรูประบบขนส่งทางราง ให้ยั่งยืนคุ้มค่าการลุงทุน 2.4 ล้านล้านบาท” จากยุทธศาสตร์พัฒนาการคมนาคมระยะเวลา 8 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2558 –2565 วงเงินรวม 2.4 ล้านล้านบาทประกอบด้วย 5 แผนงาน คือ แผนงาน ที่ 1.การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง วงเงิน 6.7 แสนล้านบาท โดยเป็นโครงการรถไฟรางคู่ 17 เส้นทางและอื่นๆ แผนงาน ที่ 2.การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะรถไฟฟ้า 10 เส้นทางโดยจะมีการประกวดราคาเพิ่มเติมและถนนกรุงเทพฯ 1.2 ล้านล้านบาท อีก112 กิโลเมตรในระหว่างปี 2557-2558 แผนงาน ที่ 3.เป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศสู่ประชาคมอาเซียนวงเงินประมาณ 6.4 แสนล้านบาท แผนงาน ที่ 4.การพัฒนาโครงข่ายทางน้ำ และแผนงาน ที่ 5.การพัฒนาท่าอากาศยาน นั้น จะเห็นได้ว่าการพัฒนาประเทศไม่ใช่เพียงการจัดซื้อรถไฟหรือการก่อสร้างเท่านั้น แต่เราต้องมองถึงการผลิตกำลังคน เนื่องจากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ บริการที่ดี การปฏิบัติการและความปลอดภัยจะเกิดขึ้นได้ก็เพราะ “คน” เราต้องสร้างบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญทุกระดับเพื่อรองรับโครงการระบบขนส่งทางรางและคมนาคมในครั้งนี้ จากการศึกษาวิเคราะห์คาดว่าความต้องการกำลังคนในอนาคต ปี 2563 มีจำนวน 31,000 คน ประกอบด้วย วิศวกร 6,000 คน ช่างเทคนิค 12,000 คน และเจ้าหน้าที่ประจำสถานี 13,000 คน การสร้างฐานความสามารถ เพื่อบรรลุจำนวนการผลิตบุคลากรในการรองรับเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางนั้น เนื่องจากประเทศไทยมีความได้เปรียบในด้านยุทธศาสตร์ที่ตั้งอยู่ใจกลางของอาเซียน และเปี่ยมประสบการณ์ความเชี่ยวชาญเป็นฐานการผลิตและส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนประกอบรายใหญ่ของโลกและครบวงจรอยู่แล้ว ดังนั้นการวางระบบในการพัฒนากำลังคนให้เกิดองค์ความรู้ระบบขนส่งทางรางในประเทศ และมีความเชี่ยวชาญในการถ่ายทอดความรู้เชิงลึกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศไทย นำไปสู่ การต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในอนาคต เช่น การผลิตชิ้นส่วน อะไหล่ เบาะ ตัวถัง วงจรไอที เป็นต้น จึงทำให้เกิดการจ้างงานและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทย รัฐควรกำหนดให้เมกะโปรเจ็คใช้ชิ้นส่วนจากผู้ผลิตในประเทศ เพื่อส่งเสริมการวิจัยพัฒนา ลดการนำเข้าและหันมาส่งเสริมการผลิตภายในประเทศแทน การบูรณาการเชี่อมไทยเข้าด้วยกัน เชื่อมต่ออาเซียนและชุมชนโลก โดยพัฒนาระบบราง สร้างเมือง ชุมชนที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค เชื่อมโยงกับฐานการผลิตอุตสาหกรรม การเกษตรและการท่องเที่ยว ตามที่เส้นทางระบบรางและโครงข่าย จะผ่านไปซึ่งประชากรในภูมิภาคอาเซียนมีกว่า 300 ล้านคน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวมมากที่สุด ระบบบริหารจัดการและเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการพึ่งพาตนเองและการบริการที่มีมาตรฐานปลอดภัยสูง ไม่ว่าจะเป็น รถไฟในเมือง, รถไฟระหว่างเมือง, หรือรถไฟความเร็วสูง ในด้านเงินทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานขนส่งระบบรางซึ่งมีมูลค่าสูงจำเป็นต้องแสวงหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม หรือการร่วมทุนกับภาคเอกชน ในการเสริมความแข็งแกร่งด้านวิศวกรรมขนส่งทางราง ทาง สวทน. เตรียมจัด งานประชุมวิชาการระบบขนส่งทางรางของไทย ประจำปี 2556 (Thailand Rail Academy Symposium 2014) ภายใต้แนวคิด Rail Development For National Reform ในวันที่ 28-29 สิงหาคม 2557 ณ ห้องบอลรูม โรงแรม สวิสโฮเต็ล กรุงเทพ ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เวทีระดับชาติด้านการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีและนิทรรศการระบบขนส่งทางราง ครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี โดยกูรูผู้มีชื่อเสียงจากในและต่างประเทศ มาถ่ายทอดประสบการณ์ตรงและกรณีศึกษาที่น่าสนใจในนานาประเทศ ชมผลิตภัณฑ์และบริการจากผู้ประกอบการชั้นนำของโลกและประเทศไทย กลุ่มเป้าหมายผู้ร่วมประชุมเป็นนักวิชาการ วิศวกร นักวิจัย นักพัฒนาเมือง และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมระบบราง ส่วนที่ 2 เป็น นิทรรศการ และเวที Rail Best Job Opportunity สำหรับนิสิต นักศึกษา ระดับ ปวส. และ ปริญญาตรี พร้อมทั้งจัดประกวดผลงานนวัตกรรมระบบขนส่งทางราง จาก 30 ทีมนักศึกษาจากกรุงเทพและต่างจังหวัด ผู้มาร่วมงานไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ สนใจสามารถดูรายละเอียดและลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ www.sti.or.th/thaist เพื่อให้การปฏิบัติการด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศไทยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานและความปลอดภัยสูง โดยบุคลลากรคนไทย โดยมีขีดความสามารถตั้งแต่การวางแผนและการตัดสินใจด้านนโยบาย การบริหารจัดการและการปฏิบัติที่ดี รวมทั้งสามารถวิจัยพัฒนาออกแบบ และสร้างวิศวกรรมเพื่อการผลิตในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง สวทน. มีแผนงานในอนาคตที่จะจัดตั้ง สถาบันวิชาการระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย (Thailand Rail Academy) ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงาน เชื่อมโยง ส่งเสริมสนับสนุน และอำนวยความสะดวก เพื่อพัฒนาบุคลากร สร้างความเชี่ยวชาญ เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการและสั่งสมความรู้ความสามารถของประเทศด้านเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางให้ก้าวไกล เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ ทางด้าน สมาพันธ์วิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย มีแนวคิดที่จะส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรที่ทำงานในสายงานและอุตสาหกรรมนี้ รวมทั้งแนวคิด “การเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด” จะทำให้คนไทยได้เสริมสร้างพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนวัตกรรมและเทคโนโลยีมีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในด้านการสร้างเครือข่ายพัฒนาวิจัยและผลิตบุคลากร เป็นการผนึกกำลังของ 19 องค์กร ระหว่าง 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มงานวิจัยและสถาบันการศึกษา, กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมระบบราง และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) มีความก้าวหน้าในด้านการพัฒนากำลังคน โดยเปิดหลักสูตร 2 ระดับ คือ ระดับปริญญาตรีวิศวกรรมขนส่งทางราง (Railway Transportation Engineering) ซึ่งร่วมกับทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล) เปิดสอนรุ่นแรกปี 2556 จำนวน 49 คน และปี 2557 จำนวน 45 คน เน้นความเข้มข้นในวิชาการควบคู่กับการปฏิบัติ ส่งเสริมงานวิจัยและเตรียมลงทุนระยะที่ 2 และ 3 สร้างเพิ่มห้องปฏิบัติการขนส่งระบบราง เพื่อตอบสนองการผลิตบัณฑิตและบุคคลากรที่เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการทำวิจัย ตลอดจนเชิญศาสตราจารย์ จากสหรัฐอเมริกามาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีด้านรถไฟความเร็วสูง เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับนักวิจัยและวิศวกรไทยในการนำไปพัฒนาต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ สวทน. ได้สนับสนุนให้มหาวิทยาลัย 5 แห่ง ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยมหิดล ทำการพัฒนารายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมระบบรางจำนวน 12 วิชา เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนเป็นรายวิชาเลือกด้านวิศวกรรมระบบรางในคณะวิศวกรรมศาสตร์ของแต่ละสถาบันการศึกษา ซึ่งผลิตนักศึกษาระดับวิศวกรเข้าสู่ตลาดแรงงานด้านระบบขนส่งทางรางในรุ่นแรกประมาณ 150 คน ส่วนการสร้างกำลังคนในระดับช่างเทคนิค( ปวส.) เข้าสู่ตลาดแรงงาน ได้พัฒนาเป็น 8 รายวิชาโดยมอบให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.) เป็นผู้พัฒนาหลักสูตร ฝึกอบรมอาจารย์และพัฒนาสื่อการเรียนการและนำร่องการเรียนการสอนใน 4 วิทยาลัย ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม วิทยาลัยเทคนิคเทคโนโลยัสยาม และวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา ผลผลิตนักศึกษาในปี 2556 จำนวน 130 คน และปี 2557 คาดว่าประมาณ 300 คน รายชื่อและตำแหน่งผู้เข้าร่วมเสวนา
1. ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์
ตำแหน่ง: เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)
Name : Dr. Pichet Durongkaveroj
Secretary General of National Science Technology and Innovation Policy Office (STI)
2. ศ.ดร. วัลลภ สุระกำพลธร
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง สวทน.
Name: Professor Wanlop Surakampontorn,
Ph.D., Director of Thailand Advanced Institute of Science and Technology (THAIST)
3. ดร.เยี่ยมชาย ฉัตรแก้ว
ตำแหน่ง : (อดีต) รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
Name : Dr. Yiemchai Chatkeo,
4. ดร.สมประสงค์ สัตยมัลลี
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการกองวิชาการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
Name: Dr. Somprasong Suttayamully
Director, Technical Division, Mass Rapid Transit Authority of Thailand
5. ดร.เทอดเกียรติ ลิมปิทีปราการ
ตำแหน่ง : ผู้แทนสมาพันธ์วิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย
Name : Dr. Terdkiat Limpeteeprakarn
6. ดร. ณัฐวุฒิ หลิ่วพิริยะวงษ์
ตำแหน่ง : ประธานสาขาวิศวกรรมรขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Name: Dr. Nuttawut Lewpiriyawong
Head of Rail Transportation Engineering, Faculty of Engineering, KMITL