MSN on July 30, 2014, 03:01:04 PM
ซัมซุง ชูความสำเร็จโมเดลห้องเรียนแห่งอนาคต ครั้งแรกกับต้นแบบการจัดการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ในไทย พร้อมตั้งเป้าขยายสู่ 40 โรงเรียนในปี 2558

ซัมซุง เปิดผลการดำเนินโครงการเพื่อสังคม Samsung Smart Learning Center ปีที่ 1 ชูความสำเร็จ “ต้นแบบห้องเรียนแห่งอนาคต” ครั้งแรกกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในบริบทประเทศไทย หลังทดลองนำร่องในโรงเรียน 10 แห่ง พร้อมขยายผลต่อ ตั้งเป้า 40 โรงเรียน ภายในปี 2558







30 กรกฎาคม 2557 - หลังจากดำเนินโครงการ Samsung Smart Learning Center ซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้แห่งอนาคต  โครงการเพื่อสังคมของซัมซุงที่มีเป้าหมายในการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับเด็กไทย มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 โดยจัดสร้าง Samsung Smart Learning Center ที่นำนวัตกรรมของซัมซุงและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นธงนำในการจัดกระบวนการเรียนรู้รูปแบบใหม่ในโรงเรียน ที่ผ่านมามีการดำเนินการไปแล้วในโรงเรียนนำร่อง 10 แห่ง จนเกิดเป็นโมเดลใหม่ในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเหมาะสมและใช้งานได้จริงในประเทศไทย ที่พร้อมจะขยายผลสู่โรงเรียนทั่วประเทศ

นางสาวศศิธร กู้พัฒนากุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาดองค์กร บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด เปิดเผยว่า โครงการ Samsung Smart Learning Center ซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคต ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2  ปัจจุบันมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการแล้ว 25 แห่ง แบ่งเป็นโรงเรียนนำร่อง ปีที่ 1 จำนวน 10 แห่ง และโรงเรียนต้นแบบในปีที่ 2 จำนวน 15 แห่ง และตั้งเป้าที่จะขยายสู่โรงเรียน 40 แห่ง ภายในปี 2558  โดย Samsung Smart Learning Center ห้องเรียนแห่งอนาคตของซัมซุง เป็นห้องเรียนที่ก้าวข้ามข้อจำกัดในการเรียนแบบเดิมที่เด็กเป็นผู้รับ (Passive Learner) ครูเป็นผู้บรรยาย สู่กระบวนทัศน์ในการจัดการศึกษาใหม่ที่เด็กมีส่วนร่วม (Active Learner) และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self Learner) ที่เด็กจะสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ สร้างสรรค์ผลงานจากการศึกษาค้นคว้าของตัวเองในสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน ผ่านการจัดการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม (Interactive Learning) และการทำงานเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะชีวิตและการทำงาน และทักษะด้านข้อมูลสื่อและเทคโนโลยี

ในการดำเนินการที่ผ่านมาเป็นความพยายามของซัมซุง โดยความสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีของซัมซุงไปสนับสนุนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 กับผู้เรียน ให้พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งกำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจ การทำธุรกิจ การใช้ชีวิตในอนาคต และถือเป็นครั้งแรกที่ซัมซุง ได้นำกรอบความคิด การพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในระดับสากล และนวัตกรรมของซัมซุง มาพัฒนาเป็นต้นแบบห้องเรียนแห่งอนาคต เพื่อสร้างโมเดลการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  ให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย

“เทคโนโลยีใหม่เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถสร้างการเรียนรู้แบบที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางได้ ถ้ายังเรียนด้วยวิธีเรียนและวิธีการสอนแบบเดิม ในการดำเนินโครงการจึงให้ความสำคัญการสร้างต้นแบบห้องเรียนแห่งอนาคต โดยมุ่งเน้นการพัฒนาระบบสนับสนุนและการจัดการศึกษารอบด้าน โดยให้เหมาะสมกับโรงเรียนในประเทศไทย และถือเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างต้นแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐาน” นางสาวศศิธรกล่าว

ในการดำเนินโครงการ Samsung Smart Learning Center จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบสนับสนุนในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 อย่างรอบด้าน ประกอบด้วย 1. สร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ใหม่ - ด้วยการออกแบบสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ใหม่ที่เปิดพื้นที่ให้สามารถทำงานรวมกลุ่ม สามารถสร้างสรรค์ และนำเสนอผลงาน 2.การเข้าถึงเทคโนโลยี - ด้วยการสร้างโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีสามารถสืบค้นข้อมูล ผลิตสื่อ และเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา (Mobility) โดยไม่จำกัดอยู่เพียงในห้องเรียน 3. หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 ที่สนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) เพื่อให้เด็กฝึกตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัว ค้นหาคำตอบ และเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง 4. การพัฒนาครู ด้วยการปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน โดยเปลี่ยนครูจากการเป็นผู้บรรยาย สู่การสนับสนุน และเรียนรู้ร่วมกันกับเด็ก 5. เตรียมความพร้อมเด็ก – ให้ทดลองการเรียนในวิธีใหม่ ให้พร้อมที่จะรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ด้วยตัวเอง 6. การวัดและประเมินผล - ตามแนวทางศตวรรษที่ 21 เปลี่ยนจากการที่ครูเป็นผู้ประเมินให้เด็กเป็นผู้ประเมินตนเอง

การสร้างต้นแบบห้องเรียนแห่งอนาคตของซัมซุง จึงเป็นมากกว่าการสร้างห้องเรียน แต่มีกระบวนการตั้งแต่การสร้างสภาพแวดล้อมใหม่และให้เกิดการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียม ด้วยการจัดสร้าง Samsung Smart Learning Center ในโรงเรียน พร้อมให้การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้แบบ Problem Based Learning กับผู้บริหาร ครู และนักเรียน ก่อนที่เด็กและครูจะได้เรียนรู้ร่วมกันจากการทำโครงการแก้ปัญหาสังคมของเด็กๆ และสื่อสารการค้นพบผ่านการเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิตอล (Digital Storytelling) โครงการยังมีวิธีการประเมินผลและติดตามผล ด้วยการวิจัยแบบ Narrative Research ที่ให้เด็กประเมินการค้นพบและเกิดการพัฒนาตนเอง เมื่อเกิดการเรียนรู้ร่วมกันจากกระบวนการเรียนรู้ใหม่ จึงนำมาสู่การบูรณาการในหลักสูตร วิชา หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามความเหมาะสม จนเกิดโมเดลการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ในแบบที่เหมาะสมและพึ่งพาตนเองได้ อาทิ ต้นแบบจากโรงเรียนบ้าน-หมี่วิทยาคม จ.ลพบุรี ที่นำไปบูรณาการในวิชาวิทยาศาสตร์, โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย จ.ขอนแก่น ที่นำกระบวนการและสื่อดิจิตอล ไปพัฒนาต้นแบบการเรียนรู้ในเด็กคละชั้นเรียน ซึ่งเป็นเด็กที่มีการเรียนรู้ช้ากว่าปกติ และโรงเรียนอนุบาลบ้านบางละมุง จ.ชลบุรี นำไปใช้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่สามารถช่วยให้เด็กที่มีทักษะการอ่านออกเขียนได้ต่ำกลับมาสนใจการเรียนรู้ เป็นต้น

ผลจากการดำเนินโครงการสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เด็ก โดยพบว่าทักษะสำคัญที่ได้รับการพัฒนา 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. การคิดริเริ่มและสานงานต่อ 2. ทักษะสังคม 3. การบริหารเวลาและความรับผิดชอบในงาน ส่วนผลที่เกิดขึ้นกับครู จากการติดตามผลพบว่ามีความเข้าใจกับการเรียนการสอนในกระบวนทัศน์ใหม่ในฐานะที่ปรึกษาและเชื่อมั่นในศักยภาพของเด็กมากกว่าที่เคยเป็น จากการดำเนินโครงการในปีที่ 1 มีเด็กที่ได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการไปแล้วกว่า 13,761 คน และคาดว่าในปีที่ 2 จะมีเพิ่มขึ้นอีก 25,877 คน โดยโครงการนี้ตั้งเป้าจะสร้างประโยชน์ให้เด็กจากการใช้ห้องเรียนแห่งอนาคต ให้ได้ถึง 50,000 คน ภายใน 3 ปี

“ซัมซุง เชื่อมั่นในการค้นพบที่จะนำไปสู่ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการทำโครงการเพื่อสังคมของเราก็สอดคล้องกับความเชื่อนี้ เพราะเราเชื่อว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพซ่อนอยู่ ที่รอการค้นพบและสร้างความเป็นไปได้ จากการทำโครงการในปีที่ผ่านมาก็พิสูจน์ให้เราเห็นว่าเด็กๆ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ในเมืองหรือในพื้นที่ห่างไกล ถ้าเราเปิดโอกาสเขาจะค้นพบศักยภาพของตัวเอง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่สุดในการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21” นางสาวศศิธรกล่าวในที่สุด
« Last Edit: August 05, 2014, 03:05:13 PM by MSN »

MSN on August 04, 2014, 03:02:39 PM
‘ซัมซุง’ ชูความสำเร็จโมเดลห้องเรียนแห่งอนาคต พร้อมจับมือสพฐ.เดินหน้าพัฒนาเด็กไทย






 
          ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ประกาศความสำเร็จของโครงการ “Samsung Smart Learning Center” ต้นแบบห้องเรียนแห่งอนาคต ตั้งเป้า 40 โรงเรียนทั่วประเทศ มั่นใจยกระดับเด็กไทยก้าวสู่ระบบการศึกษาใหม่ในศตวรรษที่ 21 ได้ถึง 5 หมื่นคนใน 3ปี พร้อมหารือเลขา สพฐ.ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้ ก้าวสู่การปฏิรูปการศึกษาไทย ขณะที่ "ดร.อมรวิชช์" นักวิชาการศึกษา หนุนขยายผลความสำเร็จเป็นเครือข่ายระดับพื้นที่

          นางสาวศศิธร กู้พัฒนากุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาดองค์กร บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด เปิดเผยว่า โครงการ Samsung Smart Learning Center ซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคต ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 จนถึงขณะนี้เข้าสู่ปีที่ 2แล้ว โดยปัจจุบันมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 25 แห่ง แบ่งเป็นโรงเรียนนำร่อง ในปีที่ 1 จำนวน 10 แห่ง และโรงเรียนต้นแบบในปีที่ 2 จำนวน 15 แห่ง และตั้งเป้าที่จะขยายสู่โรงเรียน 40 แห่ง ภายในปี 2558

          โครงการนี้ฯเป็นความพยายามของซัมซุง โดยความสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีของซัมซุงไปสนับสนุนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียนพร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจ การทำธุรกิจ การใช้ชีวิตในอนาคต และถือเป็นครั้งแรกที่ซัมซุง ได้นำกรอบความคิด การพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในระดับสากล รวมถึงนวัตกรรมของซัมซุง มาพัฒนาเป็นต้นแบบห้องเรียนแห่งอนาคตในบริบทของสังคมไทย

          การสร้างต้นแบบห้องเรียนแห่งอนาคตของซัมซุง จึงเป็นมากกว่าการสร้างห้องเรียน แต่มีกระบวนการตั้งแต่การสร้างสภาพแวดล้อมใหม่และให้เกิดการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียม ด้วยการจัดสร้าง Samsung Smart Learning Center ในโรงเรียน พร้อมให้การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้แบบ Problem Based Learning กับผู้บริหาร ครู และนักเรียน ก่อนที่เด็กและครูจะได้เรียนรู้ร่วมกันจากการทำโครงการแก้ปัญหาสังคมของเด็กๆ และสื่อสารการค้นพบผ่านการเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิตอล (Digital Storytelling)

          ทั้งนี้ ยังมีการสร้างความยั่งยืนให้โครงการ อาทิ โรงเรียนบ้าน-หมี่วิทยาคม จ.ลพบุรี หนึ่งในต้นแบบห้องเรียนแห่งอนาคต ได้นำแนวทางไปบูรณาการในวิชาวิทยาศาสตร์, โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย จ.ขอนแก่น ที่นำกระบวนการและสื่อดิจิตอล ไปพัฒนาต้นแบบการเรียนรู้ในเด็กคละชั้นเรียน ซึ่งเป็นเด็กที่มีการเรียนรู้ช้ากว่าปกติ และโรงเรียนอนุบาลบ้านบางละมุง จ.ชลบุรี นำไปใช้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่สามารถช่วยให้เด็กที่มีทักษะการอ่านออกเขียนได้ต่ำกลับมาสนใจการเรียนรู้ เป็นต้น

          ผลจากการดำเนินโครงการ พบว่าทักษะสำคัญที่ได้รับการพัฒนา 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. การคิดริเริ่มและสานงานต่อ 2. ทักษะสังคม 3. การบริหารเวลาและความรับผิดชอบในงาน ส่วนผลที่เกิดขึ้นกับครูพบว่ามีความเข้าใจกับการเรียนการสอนในกระบวนทัศน์ใหม่ ในฐานะที่ปรึกษาและเชื่อมั่นในศักยภาพของเด็กมากขึ้น ทั้งนี้ การดำเนินโครงการในปีที่ 1 มีเด็กที่ได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการกว่า 13,761 คน คาดว่าในปีที่ 2 จะมีเพิ่มขึ้นอีก 25,877 คน โดยโครงการนี้ตั้งเป้าจะสร้างประโยชน์ให้เด็กจากการใช้ห้องเรียนแห่งอนาคตถึง 50,000 คน ภายใน 3 ปี

          นางสาวศศิธร กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังได้เข้าพบ ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อประสานความร่วมมือด้านการพัฒนาการศึกษาไทย และได้แจ้งว่าซัมซุง พร้อมที่จะแชร์ความรู้ทางการศึกษาเพื่อประโยชน์กับเยาวชนในโครงการสมาร์ทคลาสรูม ที่สพฐ.กำลังเริ่มดำเนินการอยู่ โดยได้เล่าให้สพฐ.ฟังถึงโครงการ Samsung Smart Learning Center ในปีที่ 1 และกำลังเข้าสู่ปีที่ 2 ซึ่งประสบความสำเร็จ สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบได้ อย่างไรก็ตาม โครงการด้าน CSR ของซัมซุงจะแยกจากงานด้านธุรกิจ ซึ่งฝ่ายการตลาดของซัมซุง ก็มีลูกค้าที่เป็นโรงเรียนชื่อดังที่ได้สั่งซื้อสินค้าจากซัมซุง อาทิ โรงเรียนอัสสัมชัญและเซนต์โดมินิค ซึ่งมีการทำการตลาดด้านนี้อยู่แล้ว

          ด้าน ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) กล่าวในการเสวนา “ห้องเรียนแห่งอนาคตเพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21” ว่า ปัจจุบันงบประมาณด้านการศึกษาไทยสูงถึง 5 แสนล้านบาท คิดเป็น 21% ของงบประมาณทั้งหมดในปี 2557 ซึ่งถือเป็นวงเงินที่สูงมาก ดังนั้น ปัญหาของการศึกษาไทยไม่ใช่เรื่องการขาดแคลนงบประมาณ แต่เป็นเรื่องของการบริหารจัดการ เพราะระบบราชการปัจจุบันเป็นสิ่งที่เราเรียกว่าทำแบบ "รองเท้าเบอร์เดียว" คือทำเหมือนกันหมด ใช้ระเบียบเดียวกันแก้ปัญหาทุกอย่าง ดังนั้น เมื่อซัมซุงริเริ่มโครงการSamsung Smart Learning Center นี้ขึ้นมา ถือเป็นหนึ่งในวิธีการจัดการความรู้ทั้งในระดับโรงเรียนและพื้นที่ และต่อไปในปี 3หรือปี 4 อยากเห็นโรงเรียนในโครงการนี้ ทำงานร่วมกับชุมชน อาจเกิดระบบโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องเป็นเครือข่ายมากขึ้น

          “โครงการSamsung Smart Learning Center กระตุ้นให้เกิดความน่าสนใจและตรงกับความต้องการของเด็กๆ ไม่ใช่เพียงการโยนเครื่องมือไอทีเข้าไป แต่ยังนำวิธีคิด สร้างแรงบันดาลใจและดึงดูดให้เด็กให้เข้ามาศึกษาค้นคว้า ซึ่งโครงการฯของซัมซุง ถือว่าเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้และเป็นตัวอย่างของการปฏิรูปการศึกษาที่ดีมาก"

          ดร.อมรวิชช์ กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษามีความพยายามมานานแล้ว แต่สิ่งที่ยังทำไม่สำเร็จคือการให้เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเอง คิดเองเป็น เรียกว่าเป็น Smart Learner ส่วนครูและผู้ใหญ่ต้องเป็นนักจัดการการเรียนรู้ หรือ Smart Teacher ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่อง แต่รู้วิธีการหรือวิธีที่จะหาคำตอบอย่างไรให้เด็กเชื่อถือ ส่วนที่ยังทำไม่ได้คือระบบการจัดการการศึกษา Smart Management "การวัดผลต้องไปให้ถึงในสิ่งที่เรียกว่า การวัดผลที่ไม่ใช่การสอบ แต่เป็นการวัดผลด้วยศักยภาพ เพราะการสอบก็จะมีแต่ลูกคนมีเงินเท่านั้นที่ได้เปรียบ ตรงนี้เป็นการสร้างความหลื่อมล้ำในสังคมอีกด้วย"

          น.ส.เรณุมาศ ภักดีโต ครู ICT จากบ้านเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์ หนึ่งในครูที่ปรึกษาโครงการ Samsung Smart Learning Center กล่าวว่า โรงเรียนบ้านเข็กน้อย เป็นโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลจากในเมืองมาก นักเรียนส่วนใหญ่ก็เป็นชาวเขาเผ่าม้ง การพัฒนาด้านต่างๆลำบากและขาดแคลนเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยี แต่เมื่อทางซัมซุงได้จุดประกายโครงการ Samsung Smart Learning Center ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เด็กๆและโรงเรียนได้รับอุปกรณ์และเริ่มกระบวนการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ทางผู้บริหารโรงเรียนก็ให้การสนับสนุน เพื่อพัฒนาสู่การศึกษาในศตวรรษที่ 21

          น.ส.เรณุมาศ กล่าวว่า เด็กๆที่ร่วมโครงการนี้มีพัฒนาการที่ชัดเจนคือสามารถคิด ค้นคว้า และสร้างสรรค์การทำงานร่วมกัน มีการทำโปรเจกต์ทั้งในและนอกห้องเรียน ลงพื้นที่ร่วมพูดคุยกับชาวบ้านหาข้อมูลและถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องราว เกิดความตื่นตัวในการเรียนรู้และหลายคนค้นพบว่าตัวเองชอบอะไร ถือว่าเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้แก่เด็กๆที่มากกว่าความรู้ตามปกติ
« Last Edit: August 05, 2014, 03:07:32 PM by MSN »