ข้อมูล: งาน “ภารกิจ ซ่า ท้า ปวด - The Pain Challenges”
ความวุ่นวายระหว่างวัน ชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ และภาวะตึงเครียดจากการทำงานทำให้ปัจจุบันคนในเมืองใหญ่ไม่ว่าจะในกลุ่มวัยรุ่นหรือคนวัยทำงานจำนวนมากต้องป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่อาการปวดกล้ามเนื้อและอักเสบของกล้ามเนื้อ บริเวณคอ บ่า ไหล่ เท่านั้นอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ แต่เป็นกลุ่มอาการต่างๆ อันเกิดจากพฤติกรรมที่ผิดในการทำงาน ดังต่อไปนี้
• ปวดเมื่อย คอ บ่า ไหล่ โดยเฉพาะบริเวณสะบัก จนถึงอาการตึงหรือขยับแขนและไหล่ได้น้อยลง เนื่องจากกล้ามเนื้อเป็นก้อนแข็ง ขาดความยืดหยุ่น
• ปวดหลัง บางครั้งอาจเกิดอาการปวดหลังเฉียบพลัน เนื่องจากนั่งนานจนกล้ามเนื้ออักเสบ
• ปวดแขน นิ้วล็อก ตะคริว เนื่องจากเกร็งกล้ามเนื้อแขน จับใช้เมาส์ คีย์บอร์ด หรือเครื่องเขียนต่างๆ ด้วยอาการเกร็งเป็นเวลานาน
• ขาบวม จากการนั่งนาน
• คลื่นไส้ เนื่องจากความเครียด และล้า หรือจ้องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ
• ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ จากกล้ามเนื้อบริเวณคอเกร็ง ส่งผลไปถึงกล้ามเนื้อบริเวณรอบศีรษะหด เกร็งตัว อาการปวดหัวนี้บางครั้งเรียกว่า ปวดศีรษะจากความเครียด
• ปวดท้อง กรดไหลย้อน อาการด้านทางเดินอาหารเนื่องจากรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
• กระเพาะปัสสาวะอักเสบ จากการอั้นปัสสาวะบ่อย ซึ่งมักเกิดกับผู้หญิง
• อ่อนล้า ไม่มีแรง
ในบรรดาอาการต่างๆ เหล่านี้ คนทำงานจำนวนมากถึง 80% มีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อหนักเกินไป เมื่อเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อแล้วก็ไม่ได้รับการดูแลรักษาหรือป้องกันอย่างตรงจุด เมื่อต้องใช้กล้ามเนื้อต่อเนื่องไปนานๆ โดยที่กล้ามเนื้อหดตัวแล้วไม่ได้พักให้กล้ามเนื้อยืดตัว ยิ่งใช้งานต่อกล้ามเนื้อก็ยิ่งหดเข้าหากันเรื่อยๆ จนเกิดเป็นก้อนเนื้อแข็งและอักเสบอยู่ลึกลงไปในกล้ามเนื้อชั้นในเรียกว่า “ทริกเกอร์ พอยท์” (Trigger Points) เป็นผลมาจากการที่เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนนั้นไม่ได้ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการปวดเมื่อยที่รุนแรงและยาวนานมากขึ้น โดยไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดเมื่อยเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลถึงกายภาพภายนอกทำให้รูปร่างเปลี่ยน เช่น ตัวงอ คอตก หรือไหล่ไม่เท่ากัน และทำให้รู้สึกปวดศีรษะอีกด้วย อีกทั้งโดยทั่วไปแล้วพบว่าอาการปวดศีรษะกว่า 80% เป็นผลมาจากกล้ามเนื้อทั้งสิ้น วิธีการหลีกเลี่ยงจากอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และอื่นๆ จากออฟฟิศ ซินโดรม ทำได้ง่ายๆ ดังนี้
1. หาปัจจัยเสี่ยงโดยสังเกตจากโครงสร้างสรีระร่างกายของตนเอง เช่น บางคนไหล่ลู่ ก็จะเมื่อยง่ายกว่าคนอื่น ทำให้มีโอกาสเสี่ยงมากกว่า
2. อย่าใช้กล้ามเนื้อต่อเนื่องกันเป็นเวลานานเกินไป พยายามทำให้กล้ามเนื้อมีการเคลื่อนไหวในท่าอื่นๆบ้าง ต้องมีการพักเปลี่ยนอริยาบทและยืดกล้ามเนื้อ เช่น เมื่อทำงานติดต่อกันหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน 1-2 ชั่วโมงก็อาจมีการพักไปลุกเดิน ยืดไหล่ สัก 2-3 นาที เป็นต้น ตัวอย่างท่าออกกำลังกายที่ควรทำทุกวันเพื่อยืดกล้ามเนื้อสำหรับ 5 วันทำงาน
3. ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยและกล้ามเนื้อ
4. ปรับท่าที่สบายและเหมาะสมที่สุดเมื่อต้องทำงานหรือทำกิจกรรมเป็นเวลานานๆ
5. ปรับเวิร์ค สเปซ (Work Space) ให้เอื้อต่อการทำงาน เช่น เลือกใช้โต๊ะ เก้าอี้ที่เหมาะสมกับลักษณะงาน หรือการนั่งให้เต็มเก้าอี้ เป็นต้น
นอกจากนั้นแล้ว การใช้ยาทาแก้ปวดกล้ามเนื้อก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ได้ผลเร็ว และตรงจุด ในปัจจุบัน ยาบรรเทาปวดที่นิยมใช้มี 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่มีตัวยาลดอาการปวดและอักเสบของกล้ามเนื้อ ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งสารที่ทำให้เกิดการปวด และอักเสบ บริเวณเนื้อเยื่อที่มีอาการ ยากลุ่มนี้จึงลดปวดและอักเสบได้อย่างตรงจุด และยาวนานกว่า โดยสามารถใช้ลดบวม ลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อ ที่เกิดจากออฟฟิศ ซินโดรม หรือการเล่นกีฬา และอุบัติเหตุได้ด้วย ตัวยาในกลุ่มนี้ เช่น ไอบูโพรเฟน
2. กลุ่มที่มีตัวยาที่ให้ความร้อน หรือความเย็น เพื่อให้เส้นประสาทที่รับรู้ความรู้สึกปวด เปลี่ยนไปรับรู้ความรู้สึกร้อนหรือเย็น เพียงชั่วคราว เมื่อผิวหนังหมดความรู้สึกร้อน เย็น จึงกลับมามีอาการปวดเหมือนเดิม ยากลุ่มนี้อาจทำให้รู้สึกผ่อนคลาย หายเร็ว แต่ออกฤทธิ์ไม่นาน เพียงแค่ช่วงที่ยังให้ความร้อน เย็น อยู่เท่านั้น จึงเหมาะกับอาการปวดเมื่อยธรรมดา ไม่รุนแรง และมักมีกลิ่นฉุน เนื่องจากมีส่วนผสมของเมทิล ซาลิไซเลท เมนทอล และสารสกัดจากพริก (แคปไซซิน) แต่ที่สำคัญคือยากลุ่มนี้หากให้ความร้อนหรือเย็นมากเกินไป อาจทำให้รู้สึกแสบ ระคายเคืองที่ผิวหนังได้ ดังนั้นหากเป็นอาการปวดที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มนี้
นูโรเฟน เจล ทั้ง 2 ขนาด คือ 50 กรัม และขนาดใหม่ 30 กรัม มีตัวยาไอบูโพรเฟน เป็น เจลใส ซึมซาบดี ไม่เหนียวเปื้อนเสื้อผ้า และกลิ่นไม่ฉุน ออกแบบมาให้เข้ากับชีวิตคนรุ่นใหม่ หนุ่มสาววัยทำงาน ที่ใช้ยาทาในการบรรเทาอาการปวด อักเสบของกล้ามเนื้อ จากออฟฟิศ ซินโดรม หรือการเล่นกีฬา ทั้งยังต้องออกไปพบปะสังสรรค์กับผู้คน จึงไม่อยากใช้ยาที่มีกลิ่นรบกวนคนรอบข้าง นูโรเฟน เจล สามารถใช้ร่วมกับไอบูโพรเฟนชนิดเม็ดซึ่งออกฤทธิ์เร็วภายใน 15-20 นาที และออกฤทธิ์นาน 8 ชั่วโมงได้ เพื่อเสริมการรักษา อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดรุนแรง หรือเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อขอคำแนะนำในการรักษาเพิ่มเติม ที่สำคัญต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานให้เหมาะสม และดูแลสังเกตตนเองว่ามีอาการออฟฟิศ ซินโดรม หรือไม่ แล้วเริ่มรักษาอย่างถูกวิธีก่อนที่จะเป็นโรคเรื้อรังที่บั่นทอนคุณภาพชีวิต และค่ารักษาพยาบาลไปเป็นจำนวนมาก