FC on July 29, 2014, 10:15:36 PM
ดัน โน อุระ

โอเปร่า โดย สมเถา สุจริตกุล













Dan no Ura mini-documentary
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=F3foRjyfOn0" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=F3foRjyfOn0</a>

 “ดัน-โน-อูระ” ผลงานโอเปร่าเรื่องที่ 8 ของสมเถา สุจริตกุล ใช้เวลานานถึง 7 ปีในการร้อยเรียงเหตุการณ์ยุทธนาวีครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เมื่อราวศตวรรษที่ 12 ที่ยิ่งใหญ่และเลื่องระบือเทียบได้กับยุทธนาวีที่แอคทิอุมหรือยุทธนาวีทราฟัลการ์

เหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้ได้รับการถ่ายทอดหลายครั้งหลายหนในรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์  หรือแม้กระทั่งในรูปแบบหนังสือการ์ตูน แต่ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกในรูปแบบโอเปร่า ซึ่งหลังจากประสบความสำเร็จท่วมท้นจากบัลเล่ต์-โอเปร่า “สุริโยไท” เมื่อปีที่แล้ว ในปีนี้สมเถา สุจริตกุล ได้นำ “ดัน-โน-อูระ” เรื่องราวของวีรสตรีผู้ยิ่งใหญ่แห่งประเทศญี่ปุ่น ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา และฉลองครบรอบ 400 ปีที่โชกุนส่งเรือสินค้าจากญี่ปุ่นมาถึงกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งแรกภายใต้การนำของกัปตันมีชื่อจากยุโรป อันจิน-ซามะ

โอเปร่าสยามอินเตอร์เนชั่นแนล มูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพ และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ณ กรุงเทพมหานคร  มูลนิธิญี่ปุ่นแห่งชิโมโนเซกิ องค์การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) และองค์ภาคธุรกิจเอกชนชั้นนำทั้งไทยและญี่ปุ่น ขอเชิญชม เรื่องราวของความผูกพันอันลึกซึ้ง วีรกรรม ความเสียสละและชะตาชีวิต ซึ่งถ่ายทอดโดยศิลปินระดับโลกจากนานาประเทศ นักร้องประสานเสียง และศิลปะการป้องกันตัว  พร้อมด้วยเครื่องดนตรี 80 ชิ้นของวงดุริยางค์  เครื่องแต่งกายดั้งเดิมที่ศึกษาอย่างพิถีพิถันจากพิพิธภัณฑ์ในประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ผ้าทอพิเศษของพาซาญ่า บริษัททอผ้าชั้นนำแห่งประเทศ ออกแบบฉากโดย ดีน ชิบูญ่า ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์จากซานฟรานซิสโก ลิริค โอเปร่า

นำแสดงโดยดารามหาอุปรากรเสียงเมสโซโซปราโนจากเม็กซิโก เกรซ เอเชารี ในบทขรัวยายของพระเจ้าจักรพรรดิ์  ผู้ยอมปลิดชีพตนเองอย่างกล้าหาญในทะเลลึกเพื่อรักษาเกียรติ  แนนซี หย่วน โซปราโนจากสหราชอาณาจักร แสดงเป็นจักรพรรดินีพันปีหลวง ร่วมด้วยดาราโอเปร่าชั้นนำจากนานาชาติ อาทิ เดเมียน ไวท์ลีย์ จากออสเตรเลีย สเตซี แทพเพ่น และ โจเซฟ หู จากสหรัฐอเมริกา คิว วัน ฮัน จากเกาหลี ดาราโอเปร่าชาวไทย นาทลดา ธรรมธนาคม และพจน์ปรีชา ชลวิจารณ์ รวมถึง ฤทธิ์ พานิชกุล วัย 9 ปี ในบทบาทยุวจักรพรรดิอันโตกุ

รวมศิลปิน 200 ชีวิตในเครื่องแต่งกายอลังการ  แสงสีประทับใจโดย ไรอัน แอ็ตติกจ์ ผู้ออกแบบแสงงานโขนพระราชทาน ร่วมกับช่างเทคนิคและทีมงานมากประสบการณ์   บรรเลงโดย วงดุริยางค์สยามฟิลฮาร์โมนิค อำนวยเพลงโดย ทฤษฎี ณ พัทลุง วาทยกรชั้นนำ  กำกับการแสดงโดย ผู้ประพันธ์ดนตรีและคำร้อง สมเถา สุจริตกุล

บัตรราคา 3,000 – 2,000 – 1,500 – 1,000 และ 500 บาท วางจำหน่ายแล้ววันนี้ที่ไทยทิคเกตเมเจอร์ทุกสาขาและทาง www.thaiticketmajor.com

ส่วนลด 50% (ยกเว้นบัตรราคา 500 บาท) สำหรับผู้อาวุโส (ตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป) และนักศึกษาที่นำบัตรมาแสดง
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม  บัตรราคาพิเศษสำหรับหมู่คณะ หรือสถาบันการศึกษาที่ต้องการบัตรอภินันทนาการสำหรับนักเรียนโปรดติดต่อมูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพ (02) 231-5273, (089) 136-9981 หรือ อีเมล์ tickets@bangkokopera.co

สามารถชมตัวอย่างการแสดงได้ทาง Opera Siam Youtube Channel

วัตถุประสงค์
•   เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสเฉลิมพระชนม์พรรษาในเดือนพระราชสมภพ
•   เพื่อเฉลิมฉลองความสัมพันธ์อันยาวนานกว่า 400 ปี ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น โดยใน ค.ศ. 1614 โชกุนได้ส่ง “ซามูไรอังกฤษ” ผู้มีชื่อเสียง – วิลเลี่ยม อดัมส์ มาเจริญสัมพันธไมตรีการค้ากับสยาม ซึ่งในปีเดียวกันนั้นเอง ชาวญี่ปุ่นนาม ยามาดา นางามาสา ได้ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช และนับเป็นจุดเริ่มความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างสยามและญี่ปุ่น
•   การจัดแสดงโอเปร่า “ดัน โน อุระ” ในประเทศไทยนั้น จะดึงดูดนักท่องเที่ยวผู้มีรสนิยมและกำลังทรัพย์สูงเข้าสู่ประเทศ ซึ่งส่งผลดีทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
•   เป็นการยกระดับการแสดงด้านวัฒนธรรมของไทยในเวทีโลกว่าไทยเป็นผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม
•   เพื่อที่จะเตรียมการส่งออกการแสดงระดับโลกจากประเทศไทยไปยังประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชีย อาทิ ญี่ปุ่นและเกาหลี
•   เพื่อส่งเสริมการค้าของผลิตภัณฑ์ไทย เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอชั้นนำจากพาซาญ่า

ประเด็นที่น่าสนใจ
•   ดัน โน อุระ เป็นหนึ่งในสองเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของญี่ปุ่น แต่ยังไม่เคยถูกทำเป็นโอเปร่ามาก่อน
•   มีเนื้อหาที่คล้ายคลึงและสามารถเทียบเคียงกับประวัติศาสตร์ไทยหลายประเด็น อาทิ ความซื่อสัตย์และจงรักภักดี การเทิดทูนพระจักรพรรดิ และการดำรงชีวิตในวิถีพุทธ ซึ่งทำให้ผู้ชมสามารถเรียนรู้วัฒนธรรมของญี่ปุ่นผ่านการรับชมโอเปร่าเรื่องนี้ได้ไม่ยากนัก
•   เนื้อเรื่องเป็นที่คุ้นเคยกับคนไทยจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเยาวชนไทย เนื่องจากในประเทศไทยได้มีการวางจำหน่ายหนังสือการ์ตูนที่เขียนโดยอาศัยโครงเรื่องนวนิยายอิงประวัติศาสตร์นี้ด้วย
•   ผู้ประพันธ์ใช้เวลายาวนานถึง 7 ปี ในการกลั่นกรองโอเปร่าชิ้นนี้อย่างพิถีพิถัน โดยนักวิจารณ์ทางด้านดนตรีซึ่งได้เห็นสกอร์ผลงานชิ้นนี้มาแล้วต่างเห็นพ้องว่านี่เป็นผลงานชิ้นเอกของสมเถา
« Last Edit: August 12, 2014, 03:02:19 PM by FC »

FC on July 29, 2014, 10:18:19 PM
ศึก ดัน-โน-อูระ (ดัน-โน-อูระ ทาทาไกย์)





 “ดัน-โน-อูระ” เป็นการสู้รบทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ในสงคราม เกนเปอิ  ที่ ดันโนอูระ บริเวณแหลม ซิโมโนเซกิ ทางฝั่งทะเลด้านใต้ของ กิวชิว เมื่อวันที่ 24  มีนาคม พ.ศ. 1728  กองเรือรบฝ่ายเกนจิ (มินาโมโต) นำโดย มินาโมโต โนะ โยชิซึเน สามารถพิชิตฝ่าย ไฮเกะ (ไทรา) ซึ่งพ่ายแพ้ราบคาบภายในเวลาเพียงครึ่งวัน

 ฝ่าย ไทรา มีกำลังพลน้อยกว่าก็จริง  แต่มีความรอบรู้เรื่องกระแสร์น้ำเหนือกว่าอีกฝ่าย  ทั้งชำนาญเชิงกลยุทธ์ในน่านน้ำ  จึงแบ่งกองเรือเป็น 3 ขบวน  ตั้งรับฝ่าย มินาโมโต ซึ่งรวมกำลังเป็นกองเดียว  ไทรา พยายามนำเรือเข้าล้อมเรือศัตรูโดยอาศัยกระแสร์น้ำ  ทัพเรือของทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันเป็นสามารถด้วยธนูในช่วงแรกแล้วเปลี่ยนเป็นใช้ดาบและกริชเมื่อเรือเข้ามาเทียบกัน   เมื่อกระแสน้ำเปลี่ยนทิศทาง  มินาโมโต จึงเป็นฝ่ายได้ปรียบ

สาเหตุใหญ่แห่งความปราชัยเนื่องมากจากความผิดพลาดของแม่ทัพฝ่าย ไทรา ที่เปิดเผยให้ฝ่ายศัตรูทราบว่ายุวจักรพรรดิ์วัย 6 พรรษาประทับในเรือลำไหน   กองเรือฝ่าย มินาโมโต จึงมุ่งเข้าโจมตีทหารและฝีพายประจำเรือเสด็จ

เมื่อเห็นความพ่ายแพ้กำลังจะมาถึง   แทนที่จะต่อสู้   นักรบส่วนมากของฝ่าย ไทรา จึงพร้อมใจกันหนีความอับอายกระโดดลงทะเลฆ่าตัวตาย รวมทั้งพระเจ้าจักรพรรดิกับท่านยาย และราชินีหม้ายแห่ง ไทรา โน คิโยโมริ

ชัยชนะขั้นเด็ดขาดของ มินาโมโต ครั้งนั้นนำไปสู่ความสูญสิ้นซึ่งอำนาจของ ไทร่า เหนือประเทศญี่ปุ่น   มินาโมโต โยริโตโม น้องชายต่างมารดาของ โยชิซึเน จึงเป็นโชกุนคนแรกที่ก่อตั้งรัฐบาลทหารใน คามากุระ

แม้กระทั่งทุกวันนี้  ชาวญี่ปุ่นยังเชื่อว่า  วิญญาณนักรบ ไทร่า ยังสิงสู่อยู่ในปูที่แหลม ชิโมโนเซกิ

รวบรวมโดย ถ่ายเถา สุจริตกุล

FC on July 29, 2014, 10:21:53 PM
Trisdee na Patalung
Conductor

ทฤษฎี ณ พัทลุง
วาทยกร

Thai conductor Trisdee na Patalung has worked extensively at the Netherlands Opera Studio as conductor and resident coach. He was music director of a staged performance of Händel’s oratorio Belshazzar directed by Harry Kupfer, Monteverdi’s Il combattimento di Tancredi e Clorinda, Marc-Antoine Charpentier’s La Descente d’Orphée aux Enfers at the Concertgebouw and Monteverdi’s Orfeo directed by Pierre Audi at the Amsterdam Schouwburg. He conducted the Rossini Opera Festival’s 2009 production of Il viaggio a Reims in Pesaro, Italy, and the Dutch National Touring Opera’s (Nationale Reisopera) 2010 production of Rossini’s La Cenerentola.

“Discovered” by Somtow Sucharitkul at the age of 15 and engaged as resident repetiteur and assistant conductor of Opera Siam at 16, Trisdee had his operatic conducting debut in Opera Siam’s Die Zauberflöte at 20, immediately followed by Gluck’s Orfeo ed Euridice at the Steyr Music Festival in Austria.

Since then he has conducted such orchestras as the Royal Scottish National Orchestra, Orchestra Sinfonica Nazionale della RAI, Orchestra Sinfonica di Milano Giuseppe Verdi, Orchestra I Pomeriggi Musicali di Milano, Orchestra Haydn di Bolzano e Trento, Orchestra Sinfonica G. Rossini, and Het Gelders Orkest. He is currently the Siam Philharmonic Orchestra’s resident conductor.

Of Trisdee’s conducting of Die Zauberflöte, UK’s OPERA magazine said, “If the word ‘genius’ still has any meaning in this age of rampant hyperbole, Trisdee is truly a living example.”
---------
ทฤษฎี ณ พัทลุง เป็นนักประพันธ์ดนตรีและวาทยกรไทยที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับโลกอย่างต่อเนื่อง เป็นวาทยกรไทยคนเดียวที่ได้รับเกียรติไปอำานวยเพลงให้กับวง Royal Scottish National Orchestra, Orchestra Sinfonica Nazionale della RAI (วงออร์เคสตราแห่งชาติอิตาลี) และยังเป็นศิลปินชาวไทยคนแรกที่ได้เซ็นสัญญากับสังกัด Columbia Artists Management Inc. นิวยอร์ค (CAMI)

ในปี2554 ทฤษฎีได้รับการกล่าวถึงโดยนิตยสาร Class Filosofia ประเทศอิตาลีว่าเป็นหนึ่งในวาทยกรอายุต่ำากว่า 30 ปีที่มีความสามารถที่สุดในโลก ในปีต่อมา ได้ควบคุมวง Siam Sinfonietta ร่วมกับอาจารย์สมเถา สุจริตกุล ในการแข่งขันวงดุริยางค์เยาวชนระดับโลก Summa Cum LaudeInternational Youth Music Festival Vienna นำรางวัลชนะเลิศกลับมาสู่ประเทศไทย หนังสือพิมพ์ Bangkok Post เลือกทฤษฎีเป็นหนึ่งใน “66 Young Leaders Shaping Thailand’s Future” และนอกจากนั้นยังได้รับคัดเลือกเป็น ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนสาขาสื่อมวลชนเพื่อเด็กและเยาวชนที่ป้องกันปัญหาสังคม จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยเข้ารับพระราชทานโล่เกียรติคุณในวันเยาวชนแห่งชาติประจำาปี 2555

ทฤษฎีรับตำแหน่งโค้ชนักร้องโอเปร่าที่สถาบัน Opera Studio Nederland แห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่อายุ 18 ปีและเป็นวาทยกรไทยคนแรกที่ได้อำนวยเพลงที่ Concertgebouw ประเทศเนเธอร์แลนด์หนึ่งในหอแสดงดนตรีคลาสสิคที่สำคัญที่สุดของโลก จากนั้นได้รับเชิญจาก Dutch National Touring Opera ไปอำนวยเพลงในมหาอุปรากร La Cenerentola (ซินเดอเรลลา) ใน 12 เมืองทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์และยังได้รับเชิญไปอำนวยเพลงในเทศกาลโอเปราระดับโลก Rossini Opera Festival ณ เมือง Pesaro ประเทศอิตาลีในปี2552-2553 โดยถือเป็นวาทยกรรับเชิญที่อายุน้อยที่สุดในเทศกาลเป็นเวลา 2 ปีซ้อน

ในฐานะนักประพันธ์เพลง ทฤษฎีได้ประพันธ์เพลง Eternity(นิรันดร์) คีตาลัยถวายแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งได้รับการบรรเลง ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงและเมื่อสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเจริญพระชนมายุ 7 รอบทฤษฎีได้ประพันธ์บทเพลงเฉลิมพระขวัญ “พระหน่อนาถ” โดยนำบทกล่อมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มาประพันธ์ทำนองสากล ออกอากาศทางช่อง Modernine TV ต่อมาได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยสื่อโทรทัศน์ในช่วงพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ และบรรเลงสดในมณฑลพิธีพระเมรุท้องสนามหลวง

ทฤษฎีเริ่มศึกษาดนตรีเมื่ออายุ 13 ปีโดยเรียนเปียโนกับอาจารย์วรพร ณ พัทลุง, อาจารย์จามร ศุภผล และ อาจารย์เอริ นาคากาวา ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์สมเถาสุจริตกุล และรับหน้าที่ผู้ฝึกสอนนักร้องโอเปราประจำาคณะมหาอุปรากรกรุงเทพตั้งแต่อายุ15 ปี ปัจจุบัน นอกจากการเดินทางไปเป็นวาทยกรรับเชิญกับวงออร์เคสตราในต่างประเทศ ทฤษฎียังดำรงตำแหน่งเป็นวาทยกรประจำาวงดุริยางค์สยามฟิลฮาร์โมนิค

จากการอำนวยเพลงของทฤษฎีในมหาอุปรากรเรื่อง The Magic Flute ของ Mozart ในปี 2549 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นิตยสาร ‘OPERA’ แห่งกรุงลอนดอนได้กล่าวถึงการแสดงครั้งนั้นในบทวิจารณ์ว่า: “หากคำาว่า ‘อัจฉริยะ’ ยังเหลือความหมายใดๆ อยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยคำกล่าวอ้างเกินจริงนี้ ทฤษฎีนับเป็นตัวอย่างที่แท้จริงแห่งยุคปัจจุบัน”

FC on July 29, 2014, 10:24:51 PM
Somtow Sucharitkul
Composer

สมเถา สุจริตกุล
คีตกวี

Once referred to by the International Herald Tribune as “the most well-known expatriate Thai in the world,” Somtow Sucharitkul is no longer an expatriate, since he has returned to Thailand after five decades of wandering the world. He is best known as an award-winning novelist and a composer of operas.

Born in Bangkok, Somtow grew up in Europe and was educated at Eton and Cambridge. His first career was in music and in the 1970s he acquired a reputation as a revolutionary composer, the first to combine Thai and Western instruments in radical new sonorities. Conditions in the arts in the region at the time proved so traumatic for the young composer that he suffered a major burnout, emigrated to the United States, and reinvented himself as a novelist.

His earliest novels were in the science fiction field but he soon began to cross into other genres. In his 1984 novel Vampire Junction, he injected a new literary inventiveness into the horror genre, in the words of Robert Bloch, author of Psycho, “skillfully combining the styles of Stephen King, William Burroughs, and the author of the Revelation to John.” Vampire Junction was voted one of the forty all-time greatest horror books by the Horror Writers’ Association, joining established classics like Frankenstein and Dracula.

In the 1990s Somtow became increasingly identified as a uniquely Asian writer with novels such as the semi-autobiographical Jasmine Nights. He won the World Fantasy Award, the highest accolade given in the world of fantastic literature, for his novella The Bird Catcher. His fifty-three books have sold about two million copies world-wide.

After becoming a Buddhist monk for a period in 2001, Somtow decided to refocus his attention on the country of his birth, founding Bangkok’s first international opera company and returning to music, where he again reinvented himself, this time as a neo-Asian neo-Romantic composer. The Norwegian government commissioned his song cycle Songs before Dawn for the 100th Anniversary of the Nobel Peace Prize, and he composed at the request of the government of Thailand his Requiem: In Memoriam 9/11 which was dedicated to the victims of the 9/11 tragedy.

According to London’s Opera magazine, “in just five years, Somtow has made Bangkok into the operatic hub of Southeast Asia.” His operas on Thai themes, Madana, Mae Naak, and Ayodhya, have been well received by international critics. His most recent opera, The Silent Prince, was premiered in 2010 in Houston, and a fifth opera, Dan no Ura, will premiere in Thailand in the 2013/14 season. His sixth opera, Midsummer, will premiere in the UK in 2014.

He is increasingly in demand as a conductor specializing in opera and in the late-romantic composers like Mahler. His repertoire runs the entire gamut from Monteverdi to Wagner. His work has been especially lauded for its stylistic authenticity and its lyricism. The orchestra he founded in Bangkok, the Siam Philharmonic, is mounting the first complete Mahler cycle in the region.

He is the first recipient of Thailand’s “Distinguished Silpathorn” award, given for an artist who has made and continues to make a major impact on the region’s culture, from Thailand’s Ministry of Culture.     
______
สมเถา เกิดในกรุงเทพฯ เติบโตในยุโรป เป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จมัธยมศึกษา จากวิทยาลัยอีตัน ต่อมาได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัย เคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) และปริญญาโท แขนงวิชาวรรณคดีควบคู่กับดนตรี

งานอาชีพแรกของสมเถาคือสร้างสรรค์ดนตรี คีตนิพนธ์ ทัศน์ภูเขาทอง View from the Golden Mountain ซึ่งสมเถาประพันธ์เมื่อ พ.ศ. 2518 เป็นการบุกเบิกครั้งสำคัญของวงการดนตรีโดยใช้เครื่องดนตรีไทยผสมเครื่องดนตรีตะวันตกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การดนตรี

สมเถา ทำหน้าที่วาทยกรครั้งแรกเมื่ออายุเพียง 19 ปี โดยอำนวยเพลงให้วงดุริยางค์ ฮอลแลนด์ซิมโฟนีออร์เคสตร้าที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในคีตนิพนธ์ Holland Symphony ซึ่งเขาประพันธ์ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระบรมราชินีนาถจูเลียนา แห่งเนเธอร์แลนด์ เนื่องในวโรกาสครองสิริราชสมบัติครบ 25 ปี

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 สมเถา ได้ชื่อว่าเป็น ‘คีตกวีล้ำยุค’ แห่งภาคพื้นเอเซีย เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากเพื่อนร่วมชาติ แต่ในช่วงเวลาเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ (Artistic Director) ในงานมหกรรมดนตรีแห่งเอเซีย (Asian Composers Expo 78) เขาก่อตั้งสมาคมคีตกวีแห่งประเทศไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนถาวรจากประเทศไทยในคณะกรรมาธิการดนตรี นานาชาติแห่งยูเนสโก

เมื่อความคิดสร้างสรรค์ด้านดนตรีหยุดชะงักชั่วคราว สมเถาจึงหันไปสู่บรรณพิภพ เมื่อต้น พ.ศ. 2523 นับแต่นั้นเป็นต้นมา เขาผลิตนวนิยายภาษาอังกฤษแนวต่าง ๆ 50 เรื่องรวมทั้งเรื่องสั้นกว่า 200 เรื่อง ออกสู่ตลาดโลกภายใต้นามปากกา เอส.พี. สมเถา (S. P. Somtow) ผลงานของนักประพันธ์ไทยผู้นี้ได้รับรางวัลหลากหลาย และมีผู้นำไปแปลเป็นภาษาต่าง ๆ กว่า 10 ภาษา นวนิยายประเภทสยองขวัญ เรื่อง Vampire Junction โดย เอส.พี. สมเถา ได้รับเลือกเป็นวรรณคดีประเภทกอธิคคลาสสิคซึ่งมหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐฯ นำไปใช้เป็นตำราเรียนในหลักสูตรวิชาวรรณคดี Jasmine Nights นวนิยายกึ่งอัตชีวประวัติ พิมพ์จำหน่ายครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์ Hamish Hamilton แห่งประเทศอังกฤษ สร้างชื่อเสียงให้ผู้เขียนจน George Axelrod นักเขียนบทภาพยนตร์มือทอง เจ้าของรางวัลตุ๊กตาทองแห่งวงการภาพยนตร์สหรัฐอเมริกากล่าวว่า สมเถา สุจริตกุล คือ ‘D. J. Salinger of Siam’ ผลงานวรรณกรรมของ เอส.พี. สมเถา ได้รับรางวัลหลากหลายรวมทั้ง World Fantasy Award อันมีเกียรติสูงสุด จากเรื่องสั้น The Bird Catcher นอกจากนั้นสมเถายังเคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักเขียนนิยายสยองขวัญแห่งสหรัฐอเมริกา

สมเถาหวนกลับสู่วงการดนตรีอีกครั้งในช่วงคริสต์ศวรรษ 1990 โดยเปลี่ยนแนวการประพันธ์จากเดิมเป็น ‘นีโอ-คลาสสิค’ เมื่อปี พ.ศ. 2542 สมเถาได้รับมอบหมายให้ประพันธ์ มัทนา มหาอุปรากรเรื่องแรกโดยคีตกวีไทย โดยอัญเชิญพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่อง มัทนะพาธา มาถ่ายทอด เป็นมหาอุปรากรสมบูรณ์แบบเรื่องแรกแห่งสหัสวรรษใหม่ เปิดแสดงรอบปฐมทัศน์โลกที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ผลงานครั้งนั้นประสบความสำเร็จท่วมท้นและได้รับการยกย่องใน Opera Now นิตยสารที่มีอิทธิพลสูงสุดแห่งวงการมหาอุปรากร พิมพ์ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ว่ายิ่งใหญ่ในระดับ ‘One of the operatic events of the year’ นอกจากนั้น สมเถายังได้ประพันธ์คีตนิพนธ์อมตะอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผลงานที่ได้รับพระบรมราชานุญาตและพระราชานุญาตให้ประพันธ์ทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้แก่มหาอุปรากรอิงวรรณคดีเรื่อง อโยธยา จาก ‘รามเกียรติ์’ ฉบับเอเชียตะวันออก กัลยาณีซิมโฟนี ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ คอนแชร์โต้มหาราชินี Queen Sirikit Piano Concerto ทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และในปี 2555 ได้แสดง Requiem for the Mother of Songs ผลงานอลังการที่สมเถาใช้เวลาประพันธ์กว่า 3 ปี ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

สมเถา สุจริตกุล เป็นศิลปินคนแรกที่ได้รับรางวัลศิลปาธรกิตติคุณเมื่อ พ.ศ. 2551 เป็นผู้ก่อตั้งวงดุริยางค์สยามฟิลฮาร์โมนิค และวงดุริยางค์ สยามซินโฟนิเอตต้า ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันระดับโลกในเทศกาล Summa Cum Laude 2555 ณ กรุงเวียนนา ประเทศ ออสเตรีย เขาผลิตผลงานอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านวรรณกรรมและคีตศิลป์ รวมทั้งดนตรีละครเพลง “เรยา เดอะมิวสิคัล” ในรูปแบบบรอดเวย์มาตรฐาน และผลงานล่าสุด บัลเลต์-โอเปรา “สุริโยทัย” ซึ่งได้รับความสำเร็จอย่างมาก มีผู้สนใจเข้าชมอย่างล้นหลามทุกรอบการแสดง

ปัจจุบัน สมเถาดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพ และผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ประจำคณะมหาอุปรากรโอเปร่าสยามอินเตอร์เนชั่นแนล