งานเปิดตัว “โครงการทุ่งกระเจียวบาน จักสานท้องถิ่น กลิ่นอายอีสาน”
คุณพรทิพย์ อัษฎาธร กรรมการผู้จัดการ เพ ลา เพลินบูทิครีสอร์ท แอนด์ แอดเวนเจอร์แคมป์ จัดงานเปิดตัว “โครงการทุ่งกระเจียวบาน จักสานท้องถิ่น กลิ่นอายอีสาน” ภายในงานได้รับเกียรติร่วมงานจาก (จากซ้าย) คุณหญิงเยาวรัตน์ เตชะเวศ, ท่านผู้หญิงสุวรรณี พัฒน์พงษ์พานิช, จ๊ะ จิตตาภา แจ่มปฐม, อาจารย์ พิทักษ์ หังสาจะระ และ คุณชนิดา อัษฎาธร เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2557 ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี คุณพรทิพย์ อัษฎาธร ปัจจุบันอุทยานไม้ดอกเพลาเพลิน อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ ได้รวบรวมดอกกระเจียวและปทุมมาไว้มากกว่า 40 สายพันธุ์ ซึ่งจัดเป็นเทศกาล “สยามทิวลิป” (Siam Tulip Festival) ไว้รอต้อนรับนักท่องเที่ยวในหน้าฝนนี้ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2557เทศกาลสยามทิวลิป ณ The Flora@Play La Ploen
ทุ่งดอกกระเจียวบาน ความงดงามแห่งไม้ดอกสยาม ถิ่นอีสานใต้
หากพูดถึงแหล่งท่องเที่ยวชมทุ่งดอกกระเจียวอันเลื่องชื่อ ความงดงามแห่งไม้ดอกสยาม ถิ่นอีสานใต้ คงพลาดไม่ได้สำหรับ เทศกาลสยามทิวลิป ณ The Flora@Play La Ploen ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2557 ณ อุทยานไม้ดอกเพ ลา เพลิน อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ ชวนเพลิดเพลินไปกับทุ่งดอกกระเจียวบาน จักสานท้องถิ่น กลิ่นอายอีสาน ประทับใจโชว์อลังการไม้ดอกชวนละลานตา เพ ลา เพลินบูทิครีสอร์ท แอนด์ แอดเวนเจอร์แคมป์ (Play La Ploen Boutique Resort & Adventure Camp) และโครงการอุทยานไม้ดอก เพ ลา เพลิน (The Flora@Play La Ploen) จังหวัดบุรีรัมย์ นับได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวห้ามพลาดในชั่วโมงนี้ ที่เน้นคอนเซป “JOURNEY WITH PLAY LA PLOEN” กับการตกแต่งรีสอร์ทในสไตล์ที่หลากหลายไม่ซ้ำกันในแต่ละห้องพัก ด้วยกลิ่นอายและบรรยากาศแบบเอเชีย ที่ดึงเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศ มาตกแต่งไว้ในห้องพักโซนเอเชีย และกลิ่นอายตะวันตกในโซนยุโรป และโซนแอดเวนเจอร์แคมป์ที่จำลองสถานที่ท่องเที่ยวดังระดับโลกมาไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็น หอเอนปิซ่า, กำแพงเมืองจีน, สะพานทาวเวอร์บริดจ์ หรือแม้แต่บรรยากาศงานวัดจำลอง ที่มีเครื่องเล่นแบบงานวัดครบครัน และยังมีแหล่งเรียนรู้เชิงเกษตรเต็มรูปแบบ ที่รอให้นักท่องเที่ยวได้ไปสัมผัสและเรียนรู้ ตื่นตาใกล้ชิดกับธรรมชาติไปกับไร่องุ่น, ไร่เสาวรส, อะโวกาโด, ฟักทองหวานญี่ปุ่น หรือข้าวโพดหวาน ชวนเพลิดเพลินไปกับสัตว์นานาชนิดและเหล่าอัลปาก้าน้อยน่ารัก เรียกได้ว่ามาที่นี่คุณจะได้เพลิดเพลินและได้ความรู้อย่างไม่มีวันจบสิ้น พร้อมพักผ่อนในบรรยากาศความสวยงามของดอกไม้เคล้าคลอดนตรีอันไพเราะจากชมรมดนตรีนักศึกษาลูกหลานบ้านอีสาน อิ่มอร่อยไปกับอาหารรสเลิศนานาชนิดและโชว์กิจกรรมมากมาย สำหรับทุ่งดอกกระเจียวของที่นี่ ครั้งหนึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เคยมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการรวบรวมสายพันธุ์ดอกกระเจียว ทำให้ “โครงการกระเจียวคืนถิ่น” ของศูนย์การเรียนรู้ การเกษตร อุทยานไม้ดอก เพ ลา เพลิน ถือกำเนิดขึ้น เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมสายพันธุ์ดอกกระเจียวนานาชนิดคืนสู่ถิ่นอีสานใต้ และที่นี่ไม่ใช่เป็นเพียงแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อของจังหวัดบุรีรัมย์เท่านั้น แต่ที่นี่ยังเป็นแหล่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาเกษตรทางเลือก จากผลงานวิจัยอันทรงคุณค่าที่มีชื่อดังไปถึงต่างแดน และสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศนำรายได้สร้างเม็ดเงินสู่ประเทศไทยมหาศาลกว่า 200 ล้านบาทต่อปี ปัจจุบัน ทางโครงการฯ ได้รวบรวมดอกกระเจียวและดอกปทุมมา ไว้มากกว่า 40 สายพันธุ์ โดยจำแนกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มปทุมรัตน์, บัวลาย, บัวตื้น และปทุมมา ซึ่งในช่วงแต่วันที่ 1 มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2557 เป็นฤดูกาลที่ดอกกระเจียวจะบานสะพรั่งพร้อมกัน เป็นภาพบรรยากาศที่งดงามชวนให้ไปสัมผัสด้วยตัวเอง ทางโครงการอุทยานไม้ดอกเพ ลา เพลิน จึงจัดงานเทศการปทุมมาสยาม (Siam Tulip Festival) โดยร้อยเรียงเรื่องราวชวนประทับใจผ่านโชว์อลังการไม้ดอกชวนละลานตา ให้เพลิดเพลินไปกับทุ่งดอกกระเจียวบาน และกิจกรรมสนุกสนาน ผ่อนคลายไปกับบรรยากาศตื่นตาของรีสอร์ท ณ Play La Ploen Boutique Resort & Adventure Camp) และ The Flora@Play La Ploen อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสำรองห้องพัก ติดต่อ บริษัท เพ ลา เพลิน บูติค รีสอร์ท จำกัด โทร. 087-799-4936, 087-798-1039, 087-797-6425 หรือ www.playlaploen.com
Facebook: PlayLaPloen
Instagram: playlaploen“โครงการกระเจียวคืนถิ่น”
ความงดงามจากผลงานวิจัยสู่การพัฒนาดินแดนถิ่นอีสานใต้
ครั้งหนึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เคยมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการรวมรวบสายพันธุ์ดอกกระเจียว ทำให้ “โครงการกระเจียวคืนถิ่น” ของศูนย์การเรียนรู้ การเกษตร อุทยานไม้ดอก เพ ลา เพลิน ถือกำเนิดขึ้น เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมสายพันธุ์ดอกกระเจียวนานาชนิดคืนสู่ถิ่นอีสานใต้ และที่นี่ไม่ใช่เป็นเพียงแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อของจังหวัดบุรีรัมย์เท่านั้น แต่ที่นี่ยังเป็นแหล่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาเกษตรทางเลือก จากผลงานวิจัยอันทรงคุณค่าที่มีชื่อดังไปถึงต่างแดน และสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศนำรายได้สู่ประเทศไทยได้กว่า 200 ล้านบาทต่อปี ด้วยความตั้งใจจริงในการนำกระเจียวคืนสู่อีสานใต้และพัฒนาเป็นเกษตรทางเลือก คุณพรทิพย์ อัษฎาธร กรรมการผู้จัดการ เพ ลา เพลินบูทิครีสอร์ท แอนด์ แอดเวนเจอร์แคมป์ (Play La Ploen Boutique Resort & Adventure Camp) และโครงการอุทยานไม้ดอก เพ ลา เพลิน (The Flora@Play La Ploen) จังหวัดบุรีรัมย์ จึงได้ร่วมกับ อาจารย์ สืบศักดิ์ เสนาวงศ์ นักวิจัยไม้ดอกและที่ปรึกษาโครงการฯ ริเริ่มทำงานวิจัยดอกกระเจียวหลากหลายสายพันธุ์และได้นำมาปลูกไว้ที่ อุทยานไม้ดอกเพ ลา เพลิน เป็นระยะเวลาหลายปี จากผลงานวิจัยอันทรงคุณค่า ทำให้ดอกกระเจียวของประเทศไทยมีชื่อดังไปถึงประเทศ สามารถส่งออกและทำรายได้สู่ประเทศไทยกว่า 200 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นอันดับสองรองจากกล้วยไม้ ทำให้ที่นี่นอกจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวทุ่งดอกกระเจียวอันสวยงามแล้ว ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้การเกษตรทางเลือกครบวงจรอีกด้วย สำหรับกระเจียวและปทุมมา เป็นไม้หัวเขตร้อนวงศ์ขิง ที่ถูกค้นพบในป่าแถบอีสานใต้มาเป็นเวลากว่า 4 ทศวรรษ ซึ่งต่อมาได้นำไปทดลองปลูกเลี้ยงและเผยแพร่พันธุ์แก่เกษตรกรในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จนสามารถสร้างรายได้ในการส่งออกหัวพันธุ์ไปยังต่างประเทศเป็นเม็ดเงินมหาศาล โดย “โครงการกระเจียวคืนถิ่น” ณ ศูนย์การเรียนรู้ การเกษตร อุทยานไม้ดอก เพ ลา เพลิน มีแนวคิดในการจัดทำแปลงสาธิตการผลิตและรวบรวมสายพันธุ์กระเจียวและปทุมมาชนิดต่างๆ เพื่อให้ ศูนย์การเรียนรู้ การเกษตร อุทยานไม้ดอก เพ ลา เพลิน เป็นแหล่งเรียนรู้แก่เยาวชนและเกษตรกรแบบครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก, การดูแลรักษา, การเก็บเกี่ยว และการนำไปใช้ประโยชน์ในแง่ของการตกแต่งและประดับสถานที่ รวมไปถึงการสร้างองค์ความรู้นอกห้องเรียน ปัจจุบัน ทางโครงการฯ ได้รวบรวมดอกกระเจียวและดอกปทุมมา ไว้มากกว่า 40 สายพันธุ์ จำนวนประมาณ 100,000 หัว โดยจำแนกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มปทุมรัตน์, บัวลาย, บัวตื้น และปทุมมา ซึ่งในช่วงแต่วันที่ 1 มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2557 เป็นฤดูกาลที่ดอกกระเจียวจะบานสะพรั่งพร้อมกัน เป็นภาพบรรยากาศที่งดงามชวนให้ไปสัมผัสด้วยตัวเอง ทางโครงการอุทยานไม้ดอกเพ ลา เพลิน จึงจัดงานเทศการปทุมมาสยาม (Siam Tulip Festival) โดยร้อยเรียงเรื่องราวชวนประทับใจผ่านโชว์อลังการไม้ดอกชวนละลานตา ให้เพลิดเพลินไปกับทุ่งดอกกระเจียวบาน และกิจกรรมสนุกสนาน ผ่อนคลายไปกับบรรยากาศตื่นตาของรีสอร์ท ณ Play La Ploen Boutique Resort & Adventure Camp) และ The Flora@Play La Ploen อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสำรองห้องพัก ติดต่อ บริษัท เพ ลา เพลิน บูติค รีสอร์ท จำกัด โทร. 087-799-4936, 087-798-1039, 087-797-6425 หรือ www.playlaploen.com
Facebook: PlayLaPloen
Instagram: playlaploenเกี่ยวกับโครงการกระเจียวคืนถิ่น
1.ประวัติและความเป็นมา ชาวบ้านย่านถ้ำขุนตาน จังหวัดลำปาง ได้รู้จักนำดอกไม้ชนิดนี้ ซึ่งเป็นพุ่มช่อสีส้มสดใสใช้ประดับมานานแล้ว ดังที่เห็นได้จากการที่ชาวบ้านเร่ขายตามสถานีรถไฟและจุดพักรถในช่วงฤดูฝน ซึ่งดอกไม้ชนิดนี้คือ “กระเจียว” ภายหลังมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “ฉัตรทอง” ในเวลาต่อมาพระยาวินิจวนันดร นักธรรมชาติที่มีชื่อเสียงของไทยในอดีต ได้พบความงามของดอกไม้พื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทยชนิดหนึ่ง ซึ่งมีชื่อพื้นเมืองว่า “กระเจียวบัว” จึงได้นำต้นพืชดังกล่าวไปถวายแด่พระวินัยโกศล แห่งวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ กระเจียวบัวจึงถูกเรียกชื่อ “ปทุมมาท่าน้อง” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “บัวสวรรค์” และเปลี่ยนเป็นชื่อใหม่ว่า “ประทุมมา” และนับเป็นเรื่องที่โชคดีของประเทศไทยอย่างมากที่ อาจารย์ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร ปราชญ์ด้านไม้ดอกไม้ประดับของไทยได้เล็งเห็นศักยภาพของต้นไม้ชนิดนี้ที่มีคุณลักษณะสวยงามและโดดเด่น เมื่อรับมอบมาจากพระวินัยโกศล ด้วยอัจฉริยภาพของท่านที่มองการณ์ไกลได้ทำให้ศักยภาพของปทุมมา เริ่มถูกพัฒนาขึ้น โดยดร.พิศิษฐ์ ได้นำปทุมมาขึ้นไปปลูกยังพื้นที่วิจัยของโครงการหลวงบริเวณห้วยทุ่งจ๊อ จังหวัดเชียงใหม่ ในราวปี พ.ศ.2519 ภายหลังปทุมมาต้นดังกล่าวได้ถูกขยายพันธุ์และนำมาปลูกในพื้นที่อื่นๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ จนถูกเรียกภายหลังว่าเป็นพันธุ์ “เชียงใหม่พิงค์” ในเวลาต่อมา ประมาณปี พ.ศ. 2528 เริ่มมีการตัดดอกและผลิตหัวพันธุ์ประทุมมามากขึ้น ชาวต่างชาติเริ่มเล็งเห็นความสวยงามของพืชชนิดนี้ และมีความสนใจที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในแบบไม้กระถาง จึงมีการส่งออกหัวพันธุ์พืชชนิดนี้สู่ต่างประเทศซึ่งได้แก่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผู้ที่ริเริ่มเป็นลำดับต้นๆ คือ คุณอุดร คำหอมหวาน นักพืชสวนอิสระ ผู้มากความสามารถและประสบการณ์จากรั้วมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ส่งไม้ตัดดอกและหัวพันธุ์ชุดแรกไปประเทศญี่ปุ่น และเป็นผู้ให้นิยามคำว่า “สยามทิวลิป” (Siamese tulip) ที่บ่งบอกถึงที่มาของคำว่า “สยาม” ที่มีความหมายเก่า เพื่อให้ต่างชาติทราบว่าเป็นสมบัติของไทยแต่โบราณ ออกเผยแพร่สู่สายตาของชาวโลก (สุรวิช.2539)