sianbun on October 01, 2009, 05:19:24 PM
ตำรวจสืบสวนบริษัท 1,000 แห่ง ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์

กรุงเทพ 30 กันยายน พ.ศ. 2552 – วันนี้ตำรวจไทยประกาศว่า ได้เริ่มต้นสืบสวนบริษัท 1,000 แห่ง ที่ต้องสงสัยว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ เพื่อเป็นหัวหอกนำร่อง      ลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ในองค์กรธุรกิจทั่วประเทศ

เจ้าหน้าที่ตำรวจจากหน่วยอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีกล่าวว่า การสืบสวนทั้ง 1,000 แห่งนี้ กำลังดำเนินการอยู่โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่ชี้ว่าบริษัทเหล่านั้นได้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ไทย พ.ศ. 2537 ข้อมูลเก็บรวบรวมมาได้จากแหล่งที่ไม่เปิดเผยชื่อซึ่งตามปกติจะเป็นภายในบริษัทเป้าหมายเอง อีกทั้งผู้พัฒนาซอฟท์แวร์และหน่วยงานรัฐของไทยที่เกี่ยวข้องกับสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาเอง ได้ให้แนวทางในการตรวจสอบผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดแก่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อตำรวจได้หลักฐานการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์จากผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ จะทำการตรวจสอบหลักฐานและพิสูจน์ความจริงของข้อมูลทันที จากนั้นเมื่อตำรวจได้หมายค้นก็จะทำการตรวจค้นเข้าไป  ตรวจค้นในสถานที่ตั้งของบริษัท

ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ตำรวจจะเริ่มต้นบุกตรวจค้นโดยดูตามผลที่ได้จากการสืบสวน

“บริษัทห้างร้านต่างๆ จำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าตนเองปฎิบัติตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537” พ.ต.อ.ศรายุทธ พูลธัญญะ รองผู้บังคับการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.) กล่าวว่า “ในวันที่ 26 ตุลาคม เราจะใช้ผลที่ได้จากการสืบสวนทั้ง 1,000 แห่งนี้เพื่อเริ่มตรวจค้นบริษัทตามข้อมูลการลักลอบใช้ลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นในบริษัทเหล่านี้”

เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ ทาง บก. ปอศ. ได้ทำการสืบสวนและเก็บรวบรวมข้อมูล บริษัทที่ละเมิดลิขสิทธิซอฟท์แวร์อย่างจริงจัง

และในเดือนสิงหาคมนับเป็นเดือนที่ทางบก. ปอศ. ประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยเข้าตรวจค้นบริษัทที่ละเมิดลิขสิทธิซอฟท์แวร์ พบซอฟท์แวร์ที่ละเมิดรวมมูลค่าทั้งสิ้น 54.5 ล้านบาท บริษัทที่ถูกตรวจค้นอยู่ในอุตสาหกรรมหลากหลายกลุ่ม และมีโครงสร้างการถือหุ้นหลายรูปแบบ โดยมีบริษัททั้งในอุตสาหกรรมผลิตสินค้า อสังหาริมทรัพย์ ยานยนต์ ขนส่งสินค้า ออกแบบและวิศวกรรมที่ นอกจากกิจการของ     คนไทยแล้ว บริษัทของชาวต่างชาติก็ถูกตรวจค้นและพบการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์เช่นกัน

พ.ต.อ.ศรายุทธ พูลธัญญะ กล่าวว่า “บริษัทที่เราตรวจค้นมีอยู่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือพวกเขาละเมิดพระราชบัญญํติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2537 โดยการลักลอบใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย”

เจ้าหน้าที่ของทางบก. ปอศ. จะไม่เปิดเผยรายชื่อของบริษัทที่จะตรวจค้นรายต่อไป แต่พวกเขากล่าวว่าจุดประสงค์ในการนี้เพื่อลดอัตราการละเมิดซอฟท์แวร์ เพื่อทำให้อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ เพื่อทำให้อัตราการละเมิดลิขสิทธิของประเทศไทยที่อยู่ในระดับ 76 เปอร์เซ็นต์ ในปัจจุบันลดลงอยู่ในระดับเดียวกับค่าเฉลี่ยของสากล

อัตราการละเมิดลิขสิทธิซอฟท์แวร์แม้ใช้ลิขสิทธิ์เถื่อนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคอยู่ที่ 61 เปอร์เซ็นต์

ในประเทศไทย กรรมการของบริษัทมีความผิดหากฝ่าฝืนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 โดยจะต้องรับโทษจำคุก 4 ปีและปรับถึง 800,000 บาท

นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมายอาจมีไวรัสและมัลแวร์ ทำให้ผู้ใช้เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมและสูญเสียข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลของธุรกิจ

# # #

รู้จักกับปอศ.
กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เป็นหน่วยงานของกรมตำรวจซึ่งมีหน้าที่บังคับใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ไทย เมื่อปศท.ได้รับหมายค้นก็จะดำเนินการตรวจสอบการลักลอบใช้ลิขสิทธิ์เป็นรายสัปดาห์ บริษัทใดที่ใช้ซอฟท์แวร์ของบริษัทอย่างไม่ถูกต้องตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ก็จะถูกทางปศท.ดำเนินดคีทางกฎหมาย

sianbun on October 01, 2009, 05:19:40 PM
Police to Investigate 1,000 Companies for Software Copyright Infringement
Major Crackdown to begin October 26

BANGKOK, September 30, 2009—Thai police authorities announced today that they have commenced investigations into 1,000 companies for potential software copyright infringement in a lead up to a nationwide drive to reduce software license violations by corporate end-users.
Officers from the Economic and Cyber Crime Division say that the 1,000 investigations are being conducted based on information that companies have violated the Thai Copyright Act.  Information has come from a collection of tips, some anonymous, typically from sources within the targeted companies.  Leads are also being shared by the Business Software Alliance, who run a toll-free hotline number as well as a website for informants to report on the use of pirated and unlicensed software in businesses. Other software developers also provide police officials with leads and tips about potential offenders.   Once police officials receive evidence of software copyright infringement from software developers, they review the evidence and verify the information.  Next, police officials obtain search warrants and then conduct raids of company premises.
On October 26, 2009 the police will commence raids based on results of the investigations. 
“Business organizations will have to ensure that they are compliant with the Thai Copyright Act,” said Police Colonel Sarayuth Pooltanya, deputy commander of the Economic and Cyber Crime Division (ECD).  “On October 26 we will begin major efforts aimed at raiding companies based on our information about software piracy taking place within these companies.”
In recent months, the ECD has stepped up enforcement of software intellectual property rights.
August, 2009, marked one of the ECD’s most successful months, with 15 substantial raids netting 54.5 million baht worth of infringed software.  Raided companies came from a wide variety of industries and hold a wide variety of ownership structures.  Manufacturing, real estate, automotive, shipping, design and engineering are among the industries of companies raided in August.  In addition to numerous Thai-owned enterprises, companies with foreign ownership were also raided for software copyright infringement.
“The only thing that companies we investigate and raid have in common is that they are violating the Thai Copyright Act with regard to software piracy,” said Police Colonel Sarayuth.
Officials from the ECD are not projecting results from the 1,000 investigations nor the impending raids.  But they do say that their intention is to reduce the software piracy rate on an annual basis so as to bring Thailand’s piracy rate of 76 percent into line with international averages.
In Asia-Pacific the software piracy rate is 61 percent. 
In Thailand, company directors are liable for violation on the Thai Copyright Act.  They face up to four years in jail and fines up to 800,000 Thai baht.

In addition, counterfeit software is increasingly becoming a vehicle for the distribution of viruses and malware that can target unsuspecting users, potentially exposing them to identity theft and corruption or loss of personal or business data.

About the ECD
The Economic and Cyber Crime Division is a police force tasked with enforcement of the Thai Copyright Act.  The ECD receives search warrants and conducts raids for software piracy on a weekly basis.  Companies that do not comply with the licensing agreements for their software assets are open to police actions by the ECD.