วศ./ก.วิทย์ฯ เดินหน้าจัดสัมมนาวิชาการ เรื่องพระราชบัญญัติและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดสัมมนาวิชาการ เรื่องพระราชบัญญัติและแนว ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ เห็นความสำคัญการควบคุมดูแลห้องปฏิบัติการทดสอบ สอบเทียบให้มี ความปลอดภัยจึงดำเนินการจัดทำร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ พ.ศ. .... เพื่อให้บริการแก่ผู้ปฏิบัติงาน ในห้องปฏิบัติการภายในกรมวิทยาศาสตร์บริการ และภายในประเทศ นำความรู้ไปปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยภายใน ห้องปฏิบัติการที่มีการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และสารเคมีที่เป็นอันตรายรวมอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพ นางสุมาลี ทั่งพิทยกุล รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีห้องปฏิบัติการทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นจำนวนมาก ห้องปฏิบัติการมีการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ สารเคมี สารชีวภาพ สาร กัมมันตรังสี นิวเคลียร์และสารพิษอื่นๆ ที่เป็นอันตรายรวมอยู่ด้วยกรมวิทยาศาสตร์บริการเล็งเห็นความสำคัญในการควบคุมดูแลห้องปฏิบัติการทดสอบ สอบเทียบให้มีความปลอดภัยจึงดำเนินการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ และแผนยุทธศาสตร์ ด้านความปลอดภัย ที่กรมวิทยาศาสตร์บริการจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง จึงควรมีการส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการของ กรมวิทยาศาสตร์บริการ และผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทั่วประเทศทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ได้รับความรู้ความเข้าใจใน พระราชบัญญัติและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ และนำความรู้ไปปรับปรุงการจัดการความ ปลอดภัยภายในของห้องปฏิบัติการให้เกิดประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการได้รับความ ปลอดภัยมากที่สุด นางสุดา นันทวิทยา ผู้อำนวยการสำนักบริหารแลรับรองห้องปฏิบัติการ กล่าวเพิ่มเติมว่า การสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากวิทยากร ภายนอกกรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้แก่ วิทยากรจากกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และที่ปรึกษาโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย ห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทยอีกด้วย ทั้งนี้การจัดสัมมนาวิชาการ ใช้ระยะเวลา 2 วัน คือวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2557 จะเป็นลักษณะการบรรยาย โดยมีผู้เข้าสัมมนาเป็นเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในกรมวิทยาศาสตร์บริการ และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการจากหน่วยงานภายนอก จำนวน 300 ท่าน ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลและเทคนิคการทำงาน อันส่งผลถึงการเกิดความร่วมมือกันในด้านอื่นๆตามมา