มจธ. ร่วมบูรณาการครูและนร.
พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ‘โรงเรียนมัธยมพระราชทานนายาว’
หมู่บ้านนายาว ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต ตั้งอยู่สุดเขตจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นหมู่บ้านรองสุดท้ายก่อนเข้าสู่เขตป่าตะวันออก การเดินทางค่อนข้างลำบาก ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวอีสานที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำกิน เป็นชุมชนที่ขาดโอกาส เดิมมีเพียงโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนายาว แห่งเดียวแต่อยู่ห่างออกไปประมาณ 3 กม.ในแต่ละปีมีเด็กที่จบชั้นประถม 6 หลายร้อยคนแต่ไม่มีที่เรียนต่อ เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ โรงเรียนมัธยมพระราชทานนายาว ซึ่งเป็นโรงเรียนที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนเอกชนประเภทศึกษาสงเคราะห์เพื่อให้โอกาสเด็กได้เรียนต่อในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2539 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และปี 2547 ขยายถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยช่วงแรกเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการก่อสร้างอาคาร,ค่าอุปกรณ์การเรียนการสอน,ค่าจ้างครูบางส่วน รวมทั้งพระราชทานเงินเป็นค่าอาหารกลางวันให้กับนักเรียน10บาทต่อคนต่อวันมีการจัดการเรียนการสอนโดยนำแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในโรงเรียนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและให้เด็กที่จบออกไปสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้กับทุกสถานการณ์ทั้งการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาหรือการนำไปใช้ประกอบอาชีพเป็นทางเลือกให้กับเด็ก จึงมีทั้งหลักสูตรพื้นฐานและทักษะอาชีพร.ต.อ.เจริญ บุราณรมย์ ร.ต.อ.เจริญ บุราณรมย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมพระราชทานายาว กล่าวว่า คนส่วนใหญ่ในพื้นที่มีฐานะยากจน โรงเรียนจำเป็นต้องจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐานหลากหลาย เพื่อให้สามารถนำไปประกอบอาชีพหรือเลือกที่จะเรียนต่อได้ แต่ปัญหาและข้อจำกัดของโรงเรียนคือ ปัญหาการขาดแคลนครู เพราะครูที่มาสอนที่นี่ที่มีประสบการณ์มากขึ้นอาจไปสอบบรรจุเข้ารับราชการเนื่องจากมีความมั่นคงทางอาชีพมากกว่าจึงต้องรับครูจบใหม่ ทำให้ยังขาดประสบการณ์ในการถ่ายทอดโดยเฉพาะเรื่องของนวัตกรรม และปัญหาความไม่พร้อมของเด็ก ทั้งเรื่องครอบครัว การเงินและเวลา บางครั้งเด็กไม่มีเวลามาเรียนเพราะต้องไปช่วยผู้ปกครองทำงาน โรงเรียนจึงจำเป็นต้องพัฒนาเทคนิคกระบวนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพครูและนักเรียนไปพร้อมๆ กัน ฐานการเรียนรู้การนทำนาข้าว ด้วยพื้นที่กว้างใหญ่กว่า 150 ไร่ ทุกๆพื้นที่ของโรงเรียนถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างคุณค่าโดยใช้สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเป็นฐานการจัดการเรียนรู้ต่างๆ หรือเรียกว่า “ห้องเรียนธรรมชาติ” ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสหกรณ์โรงเรียนซึ่งเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้กับทำกิจกรรมของแต่ละฐานฯ อาทิ การทำนาข้าว , ปลูกผักสวนครัว, เพาะพันธุ์ปลา , เลี้ยงไก่ , การเพาะเห็ด หรือการเพาะถั่วงอก ฯลฯ และผลผลิตที่ได้จากฐานต่างๆ ก็จะนำมาทำเป็นอาหารกลางวันสำหรับเด็กๆ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก เรื่องอาหารในโรงเรียนจึงมีเหลือเฟือจนต้องนำออกขายให้กับชุมชนในราคาถูก ที่สำคัญกิจกรรมของฐานการเรียนรู้ต่างๆ ในโรงเรียนสามารถเชื่อมโยงได้กับทุกวิชา โดยการเรียนการสอนของโรงเรียนแห่งนี้ ไม่จำเป็นต้องเรียนอยู่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น ทำให้บ่อยครั้งที่อาจเห็นห้องเรียนว่างเปล่าไร้นักเรียน แต่ความจริงแล้วเด็กๆ กำลังเรียนรู้วิชานั้นๆ อย่างสนุกสนานอยู่ในฐานการเรียนรู้ต่างๆ ตัวอย่างเช่น ฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หากครูผู้สอนกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์ ต้องการสอนเรื่องการบำบัดน้ำเสียก็จะอธิบายถึงคุณสมบัติของผักตบชวาที่ช่วยในการบำบัดน้ำเสียได้จริงอย่างไร ขณะที่เด็กได้สัมผัสและเรียนรู้จากธรรมชาติจริงๆ ทำให้เด็กรู้สึกสนุก ตื้นเต้นและไม่น่าเบื่อที่ต้องนั่งเรียนอยู่แต่ในห้องเรียน จากบ่อบำบัดน้ำเสียยังสามารถเชื่อมโยงไปสู่บ่อปลา เด็กสามารถเรียนวิชาประมงได้อีก และฐานการเรียนรู้ปลานี้ ยังมีวิชาคณิตศาสตร์เข้าไปให้เด็กได้เรียนอีกเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการวัดพื้นที่ ซึ่งตามมาตรฐานขนาดบ่อปลา 1 ตร.ม.สามารถเลี้ยงปลาได้ 50 ตัว เด็กจะต้องวัดพื้นที่บ่อปลาและคำนวณหาผลลัพธ์ให้ได้ว่าบ่อปลานี้สามารถเลี้ยงปลาได้กี่ตัว , ฐานการเรียนรู้น้ำส้มควันไม้เป็นฐานการเผาถ่าน จะทำให้เด็กได้เรียนรู้วิชา‘การดักน้ำจากควันไม้’ นำมาใช้ประโยชน์ได้อีกเรียกว่า ‘น้ำส้มควันไม้’ เชื่อมโยงกับการเรียนในวิชาวิทย์-คณิตและวิชาเคมี ขณะที่น้ำส้มควันไม้ที่ได้ฐานการเรียนรู้เกษตรก็จะนำไปใช้ฉีดไล่แมลงในแปลงผัก ส่วนถ่านที่เผาได้ก็จะถูกส่งเข้างานคหกรรมเพื่อนำไปใช้ประกอบการหุงต้มในโรงครัว ถือได้ว่าทุกอย่างของการทำกิจกรรมจากฐานการเรียนรู้ต่างๆในโรงเรียนสามารถเชื่อมโยงกันและนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด แต่การจะนำวิชาหรือหลักสูตรต่างๆไปเชื่อมโยงกับกิจกรรมของฐานการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องมีกระบวนการคิดว่ามีเนื้อหาอะไรบ้างในหลักสูตรที่จะนำมาบูรณาการได้และเทคนิคการสอน ซึ่งการเริ่มต้นจากฐานการเรียนรู้ทางธรรมชาติเหล่านี้ ทางโรงเรียนฯได้คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.) เข้ามาให้คำแนะนำและจัดอบรมในการจัดทำฐานกิจกรรมต่างๆ ปัจจุบันมีมากกว่า 20 ฐานการเรียนรู้ พบว่าที่ผ่านมา เด็กได้รับการยอมรับทางวิชาการมากขึ้นดูได้จากผลการแข่งขันวิชาการระดับเขต เมื่อปี 2552 ได้ 58 เหรียญทอง และการแข่งขันระดับภาคได้ 11 ทอง 9 เงิน และ 1 ทองแดง จาก 21 รายการ , รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี รางวัลบัณณารสสมโภช ปี2548 (โรงเรียนส่งเสริมวิทย์-คณิตดีเด่น) พ.ศ.2548ล่าสุดยังได้เป็นตัวแทนนักเรียนในพื้นที่การศึกษาเขต 6 เข้าแข่งขันวิชาการระดับชั้นมัธยม โดยะดับชั้นม.ต้นได้รับรางวัลชนะเลิศด้านประติมากรรมและรางวัลชนะเลิศด้านสิ่งประดิษฐ์จากระดับชั้นม.ปลาย เป็นต้นดร.วรินธร ดร.วรินธร สงคศิริ นักวิจัยศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะด้านการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์ความร่วมมือระหว่าง มจธ.และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และนายทรงพล คูณศรีสุข นักวิจัยประจำสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ (สรบ.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.) กล่าวว่า มจธ.เข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ให้กับโรงเรียนมัธยมพระราชทานนายาวตั้งแต่ปี 2547 แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 (พ.ศ.2547-2551)เป็นระยะตั้งไข่และเรียนรู้ โดยคณะทำงานได้ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อให้ครูและนักเรียนสามารถเชื่อมโยงทุกรายวิชาให้เป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการได้ เน้นการสร้างกระบวนการคิดและการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และส่งเสริมให้เด็กรักธรรมชาติ ท้องถิ่น เกิดการเรียนรู้จากธรรมชาติและสิ่งรอบตัว สร้างกระบวนการคิดแบบมีเหตุผล และสร้างทักษะพื้นฐาน โดยกิจกรรมหลักเพื่อการพัฒนาดังกล่าว ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการจัดทำสาระการเรียนรู้ , การพัฒนาศักยภาพครู และการพัฒนาศักยภาพนักเรียน ระยะที่2 (พ.ศ.2552-2556) ช่วงเดินด้วยตนเอง ได้จัดโครงการในการวางแผนแม่บทสำหรับอนาคตเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งทางวิชาการและการเตรียมความพร้อมแก่เด็กก่อนออกไปสู่การศึกษาในระดับอุดมศึกษาหรือประกอบอาชีพ และระยะที่ 3 คือตั้งแต่ปลายปี 2556 เป็นต้นไป มจธ.จะกลับเข้ามารื้อฟื้นใหม่เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน หลังพบว่าโรงเรียนประสบปัญหาครูที่เคยผ่านการอบรมเริ่มทยอยออก ทำให้ครูที่มีอยู่ส่วนใหญ่เป็นครูจบใหม่เพิ่มมากขึ้น ขาดการส่งต่อความรู้ความเข้าใจถึงแผนการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนที่วางไว้เดิม โดยจะเป็นการกลับมารื้อฟื้นในเรื่องของหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาศักยภาพครู และพัฒนาศักยภาพนักเรียน ทั้งในมุมวิชาการและมุมพัฒนากระบวนการคิด เบื้องต้นเริ่มจากการให้ชมรมติวภาษาอังกฤษจากคณะศิลปศาสตร์เข้ามาก่อนและการจัดฝึกอบรมเรื่องทักษะการสอนให้กับครูได้ในช่วงราวปลายเดือนธ.ค. ปัจจุบัน โรงเรียนมัธยมพระราชทานนายาว มีนักเรียน 540 คน และครู 29 คน นักเรียนที่จบออกไปกว่าร้อยละ 90 เข้าศึกษาต่อทั้งระดับอุดมศึกษา และสายวิชาชีพ อาทิ วิทยาลัยการพยาบาล , การเพาะพันธุ์ปลา และช่างซ่อมเครื่องยนต์ เป็นต้น .โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันฐานการเรียนรู้การเพาะถั่วงอกฐานการเรียนรู้การเลี้ยงไก่ฐานการเรียนรู้การเลี้ยงไก่ไข่ฐานการเรียนรู้น้ำส้มควันไม้ฐานการเรียนรู้บ่อบำบัดน้ำเสียตามธรรมชาติฐานการเรียนรู้บ่อปลาแปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่โรงครัวโรงฝึกช่างเครื่องยนต์_ห้องเรียนพุทธศาสนา-ลานธรรมบรรยากาศการเรียนรู้นอกห้องเรียน