enjoyjam.net » news & activity » news & activity (Moderators: happy, sianbun) » "รถตัดอ้อยแบรนด์ไทย-เทคโนโลยีฐานจีโนมิกส์"คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นปี 56 « previous next » Print Pages: [1] Go Down happy on October 13, 2013, 04:18:35 PM “รถตัดอ้อยแบรนด์ไทย-เทคโนโลยีฐานจีโนมิกส์”คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประจำปี 2556มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์“รถตัดอ้อยแบรนด์ไทย-เทคโนโลยีฐานจีโนมิกส์” คว้ารางวัล “นักเทคโนโลยีดีเด่นประจำปี 2556” ด้านประธานคณะกรรมการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ระบุ เป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ชี้รางวัลนี้ตั้งขึ้นเพื่อให้คนในสังคมไทยเห็นความสำคัญของ “เทคโนโลยี” ควบคู่กับ “วิทยาศาสตร์” สู่การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยีในอนาคตรศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ประธานคณะกรรมการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีในโลกเป็นไปด้วยความรวดเร็ว มีการแข่งขันในอัตราที่สูงมาก ทำให้ประเทศไทยอยู่ในสภาพที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศและขาดอำนาจการต่อรอง มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ เห็นความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นอัตราการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาของประเทศอย่างเร่งด่วน จึงจัดให้มีการมอบรางวัล “นักเทคโนโลยีดีเด่น” และรางวัล “นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่” ขึ้นในปี 2545 คู่ขนานไปกับรางวัลทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อให้คนในสังคมไทยเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ และหวังว่ารางวัลอันทรงเกียรตินี้ จะเป็น “แรงกระตุ้น” ให้นักวิทยาศาสตร์ไทยมีกำลังใจในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ รวมถึงเป็นเป้าหมายให้เยาวชนไทยมุ่งพัฒนาตนให้เป็นกำลังสำคัญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศต่อไปในอนาคต โดยในปีนี้รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งงานวิจัยที่เสนอชื่อเข้ามามีคุณภาพสูง ทั้งเนื้อหาสาระและระดับความน่าสนใจ อันก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมไทยทั้งในภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในอนาคตเทคโนโลยีดังกล่าวต้องมีการพัฒนาต่อยอดให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจวิฑูรย์-สามารถ สำหรับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี 2556 ประเภททีม ซึ่งมีด้วยกัน 2 ทีม ได้แก่1.นายสามารถ ลี้ธีระนานนท์ หุ้นส่วนผู้จัดการ และนายวิฑูร ลี้ธีระนานนท์ วิศวกรออกแบบและควบคุมการผลิต ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามารถเกษตรยนต์ คณะผู้ประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีรถตัดอ้อยที่มีกระบะบรรจุท่อนอ้อยทำงานแบบอัตโนมัติ(Sugarcane Harvester With Automatic Bin)ยี่ห้อ “สามารถเกษตรยนต์” ที่ผลิตขึ้นจากโจทย์ของเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ประสบปัญหาราคารถตัดอ้อยที่นำเข้าจากต่างประเทศสูงเกินกำลังทรัพย์ของเกษตรกรรายย่อย รวมถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่ทำให้เกิดการเผาไร่อ้อย เพื่อให้สะดวกและรวดเร็วต่อการเก็บเกี่ยว ซึ่งควันที่ได้จากการเผาก่อให้เกิดมลภาวะและส่งผลกระทบต่อทางเดินหายใจ เทคโนโลยีดังกล่าวจึงสามารถตอบโจทย์ของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี 2.ดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อำนวยการสถาบันจีโนมแห่งชาติ และคณะ จากห้องปฏิบัติการดีเอ็นเอเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันจีโนม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งประสบความสำเร็จในการวิจัยพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีจีโนม : เทคโนโลยีฐานจีโนมิกส์กับการตรวจสอบจีโนมอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยควบคุมคุณภาพสินค้าในการส่งออกอาหารและการปรับปรุงพันธุ์พืชอายุยืนแบบก้าวกระโดด ภายใต้คอนเซปต์“ต้นทุนต่ำ-ความแม่นยำสูง” โดยใช้ห้องปฏิบัติการดีเอ็นเอเทคในการตรวจสอบ สามารถตรวจปริมาณการปนเปื้อนได้ต่ำถึง 0.1% ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวถูกนำมาสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ดร.บุญรัตน์ดร.สมวงศ์และคณะ ขณะที่รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ประจำปี 2556 ได้แก่ ดร.บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน หน่วยปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมโลหะ ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากผลงานวิจัย การออกแบบวัสดุโดยใช้หลักการทางอุณหพลศาสตร์และการปรับปรุงโครงสร้างเชิงโลหะวิทยาเพื่อพัฒนาระบบโลหะผสมและคิดค้นเทคนิคการผลิตใหม่สำหรับอุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับไทย ซึ่งเป็นการนำเทคนิคการผลิตแบบใหม่เข้ามาปรับใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรมเครื่องประดับไทย ลดต้นทุนการผลิต และลดปริมาณการใช้วัสดุสิ้นเปลือง ภายใต้กระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.ศักรินทร์ กล่าวทิ้งท้ายว่า การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็น การปรับปรุงแบบค่อยเป็นค่อยไป (Incremental Improvement) หรือการนำความรู้ใหม่ๆทางวิทยาศาสตร์มาปรับให้ผลิตภัณฑ์เป็นไปอย่างก้าวกระโดด สิ่งเหล่านี้จะทำให้ประเทศไทยหลุดจากวังวนที่เรียกว่า “กับดักรายได้ปานกลาง”(Middle Income Trap) และหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งทำคือ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ตอบสนองต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต(Productivity) ซึ่งจะทำให้ไทยเกิดการได้เปรียบทางการแข่งขัน รวมถึงแรงงานในภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมเองก็ต้องเป็นแรงงานที่มีทักษะมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะในภาพรวมการพัฒนาเทคโนโลยีของไทยนั้น อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างก้าวกระโดด หากได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐควบคู่กับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง Logged Print Pages: [1] Go Up « previous next » enjoyjam.net » news & activity » news & activity (Moderators: happy, sianbun) » "รถตัดอ้อยแบรนด์ไทย-เทคโนโลยีฐานจีโนมิกส์"คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นปี 56