happy on September 27, 2013, 01:47:47 PM
พีรพันธุ์ มอบทิศทาง วศ.
มุ่งใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ลงสู่ชุมชนโดย กลไกของ OTOP


                ดร. พีรพันธุ์รมว.วท. เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการด้านวัสดุสัมผัสอาหารวศ.รับฟังรายงานผลการดำเนินงานและพร้อมกันนี้ยังได้มอบแนวทางการดำเนินงานงานวศ. ในปี 2557 ทั้งการผลักดันการปรับองค์กรให้มีความกะทัดรัดตอบโจทย์ได้เพิ่มขึ้น มุ่งใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ลงสู่ชุมชนโดยกลไกของ OTOP การผลักดันกฎหมายสำคัญการผลักดันงานเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ AEC  ภายใต้ความสำคัญของมาตรฐาน  คุณภาพ และความปลอดภัย ตอบโจทย์ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนได้เพิ่มขึ้น ตรงตามนโยบายรัฐบาลในการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ชุมชน

                ดร.พีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมคณะ เยี่ยมชมพร้อมมอบแนวทางการดำเนินงานกรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.) โดยมี นางสาวเสาวณี มุสิแดง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมคณะผู้บริหารให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ วศ.เมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา

                ดร.พีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า เป็นโอกาสอันดีที่ได้เข้าเยี่ยมชมวศ.  และรับฟังรายงานทำให้เข้าใจในหลายเรื่อง งานของ วศ. ตอบโจทย์ในการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน เป็นกลไกวิทยาศาสตร์ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งนโยบายกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะผลักดันให้มีการนำข้อมูลจากห้องปฏิบัติการมาใช้ประโยชน์ให้มากขึ้นตรงตามนโยบายรัฐบาลในการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ชุมชน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ยกระดับสินค้า OTOPทั้งนี้ วศ. จะทำอย่างไรให้งานมีคุณภาพนั้นในปีงบประมาณ 2557  ควรมีแนวทางผลักดันงานหลัก 4 ประเด็นด้วยกัน ประเด็นที่ 1 มีความจำเป็นต้องปรับองค์กรให้มีความกระทัดรัดตอบโจทย์ได้เพิ่มขึ้น สร้างระบบ สร้างฐาน ให้สามารถเดินต่อไปข้างหน้าไม่หยุดนิ่งสอดคล้องกับภารกิจปรับเปลี่ยนมาเป็นหน่วยที่ให้บริการเพิ่มขึ้นแทนการควบคุม  ประเด็นที่ 2 มุ่งใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ลงสู่ชุมชนโดยกลไกของ OTOP ส่งเสริมให้ผู้ผลิตเข้าสู่กระบวนการคุณภาพทำให้สินค้าได้รับการพัฒนา มีการลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาของประชาชนมากยิ่งขึ้น และนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์อื่นๆ  เป็นการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งก้าวทันสถานการณ์ ประเด็นที่ 3 การผลักดันกฎหมายสำคัญร่าง พรบ. ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการเป็นเรื่องสำคัญและเป็นการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน รายละเอียดที่หลากหลาย ควรมีการจัดทำเป็นกฏหมายกลางเกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่มีห้องปฏิบัติการทั้งภาครัฐและเอกชนประเด็นสุดท้าย  การผลักดันงานเพื่อการเตรียมความพร้อมสู่ AEC ภายใต้ความสำคัญของมาตรฐาน  คุณภาพ และความปลอดภัย หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ใช้ในการยืนยันจะเป็นข้อมูลผลการทดสอบจากห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องเตรียมความพร้อมของห้องปฏิบัติการที่มีข้อมูลการวิเคราะห์ถูกต้อง  ครบทุกรายการ และมีความรวดเร็ว

                อย่างไรก็ตามการผลักดันงานพัฒนายกระดับคุณภาพและความปลอดภัยสินค้า OTOP ของ วศ. ควรให้มีศูนย์รวมการผลักดันงานในพื้นที่โดยตรงแทนการเป็นงานฝากในหน่วยงานอื่น เพื่อให้มีความต่อเนื่องและแสดงให้เห็นความสำคัญการผลักดันงานในภาพรวมของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในการเป็นกระทรวงเศรษฐกิจที่ใช้ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศ

                นางสาวเสาวณี มุสิแดง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวรายงานการดำเนินงาน ว่า วศ. มีบทบาทภารกิจสำคัญในการให้บริการและส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ผ่านมามีการดำเนินงานสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ประเทศยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  ประเด็นวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างรายได้  แผนงานห้องปฏิบัติการเพื่อการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า ซึ่งนับเป็นโจทย์ใหญ่ที่ วศ. ได้นำห้องปฏิบัติการที่มีอยู่เข้ามาช่วยแก้ปัญหา ได้ปรับเปลี่ยนการทำงานของนักวิทยาศาสตร์จากเดิมที่อยู่แต่ในห้องปฏิบัติการให้มีการออกนอกพื้นที่ เข้าถึงประชาชนได้รับฟังปัญหา และจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนได้ตรงความต้องการมากยิ่งขึ้น ได้ดำเนินการทดสอบและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเพื่อการส่งออกการแก้ไขปัญหาสารปนเปื้อนในน้ำที่มีผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า OTOP ให้ได้มาตรฐาน ได้ส่งทีมนักวิทยาศาสตร์ลงพื้นที่ทั้ง 4 ภาค จำนวน 34 จังหวัด ทำให้พบข้อเท็จจริงว่าสินค้า OTOP ที่ส่งขอมาตรฐานที่ สมอ. หรือ อย. มีสินค้าเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ผ่านมาตรฐาน ดังนั้น วศ. จึงมีเป้าหมายในการเข้าช่วยแก้ปัญหาให้กับสินค้าที่ไม่ผ่านมาตรฐานที่เหลืออีกร้อยละ 80 โดยเริ่มตั้งแต่การเข้าไปอบรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตให้สินค้ามีคุณภาพและสามารถยื่นขอการรับรองมาตรฐานใหม่ได้ ที่ผ่านมาได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการสินค้าที่หลากหลาย เช่น สิ่งทอ ปลาส้ม เสื่อกก



กรมวิทยาศาสตร์บริการแหล่งรวมความเชี่ยวชาญ  ร่วมสร้างเศรษฐกิจอาเซียน