Facebook on September 24, 2013, 08:55:23 AM
 ‘ร้านหนังสือ’ ฉบับ “อะเดย์”



*ในปี 2556 มีหนังสือใหม่เกิดขึ้นเฉลี่ยวันละ 38 ปก ลดลงจากปี 2555 ซึ่งเฉลียวันละ 42 ปก* อ่านจบยังไม่ต้องตกใจ เพราะ ‘หนังสือ’ ยังมีฉากหลังซ่อนอยู่มากมาย ในวาระที่ นิตยสาร a day(อะเดย์) ครบรอบ 13 ปีบริบูรณ์ ฉบับล่าสุดจึงอาสาพานักอ่านทำความรู้จักกับ ‘ร้านหนังสือ(BOOK SHOP)’ จุดนัดพบระหว่างนักคิด-นักเขียนกับนักอ่านตัวยง ทั้งเรื่องราวแจ้งเกิดในโรงพิมพ์จนถึงกระบวนการขั้นสุดท้ายคือทำลายทิ้ง! 

พบกันที่เดิม...บนแผงและไอแพด
a day 156 ฉบับ “ร้านหนังสือ” ทรงกลด บางยี่ขัน บก.บริหาร/ 80.- 

Facebook on September 24, 2013, 08:55:59 AM
เด็ดในฉบับ ในวาระนิตยสาร a day ครบรอบ 13 ปี เมนคอร์สฉบับนี้จะพาผู้อ่านไปรู้จักที่ที่ทำให้เราพบกันนั่นคือ ‘ร้านหนังสือ’ ไล่ตั้งแต่หนังสือออกจากโรงพิมพ์ เดินทางมาสู่ร้านผ่านประตูไปดูการจัดการฟังเกร็ดที่น่ารู้ ไล่ไปถึงผู้ที่ทำให้ร้านหนังสือมีชีวิต…

“ลุงขายหนังสือมาตั้งแต่ ไทยรัฐยังเล่มละ 1 บาท ลุงคิดว่าคนเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีเวลาเลยตระเวนเอาหนังสือไปขายให้ถึงที่ตามงาน ตามตลาด ถนนคนเดิน มันเป็นสีสันที่ลูกค้าจำได้ ถ้าวันไหนลุงไม่มาลูกค้าเขาจะบ่น” ปรีชา แก้วไชยชาญ เจ้าของร้านปรีชาบุ๊ค รถเข็นขายหนังสือบริเวณประตูเชียงใหม่ (จากคอลัมน์ main course | a day 156)

“ร้านเราสนุกตรงที่ลูกค้าหลากหลาย ทั้งเราทั้งลูกค้าต่างฝ่ายต่างผูกพันกัน ไม่ว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ ถ้าเขาผ่านมาแถวนี้ เขาก็จะแวะมาพูดคุยทักทาย ส่วนใหญ่ลูกค้าประจำก็รู้จักกันหมด บางทีเราไม่ต้องขายหนังสือเลย ลูกค้าเชียร์หนังสือกันเอง” เจิดจันทร์ วิชชุวรรณ เจ้าของร้านหนังสือดอกหญ้าสาขาสยามสแควร์ (จากคอลัมน์ main course | a day 156)

“รถโฟล์คร้านหนังสือเป็นรถที่น่ารักน่าเข้า ในสายตาเด็กๆมันดูเหมือนรถจากนิทานฝรั่ง ส่วนผู้ใหญ่ทั้งคนไทยและต่างชาติแค่เห็นภายนอกก็สนใจ กลับไป ถึงแม้เขาจะไม่ใช่คนชอบอ่านหนังสือแต่เมื่อเข้ามาในร้านเขาก็อยากได้หนังสือสักเล่มติดมือกลับไป” ร้านหนังสือเคลื่อนที่ Book on Bus (จากคอลัมน์ main course | a day 156)

“ลูกสาวชอบอ่านหนังสือมาก เราเลยเปิดร้านนี้ให้เป็นเหมือนห้องสมุดของเขาและเป็นร้านสำหรับพ่อแม่ที่สนใจซื้อหนังสือด้วย เราเลยทั้งสนุกที่ได้อยู่กับหนังสือและชอบที่ได้คุยกับลูกค้า เพราะคนมีลูกจะคุยกันง่าย เข้าใจกัน” วริษฐา พรพรหมินทร์ เจ้าของร้าน Baby Best Book ร้านหนังสือเด็กภาษาอังกฤษมือสอง (จากคอลัมน์ main course | a day 156)

ภาพตลาดนัดหนังสือมือสองแห่งโรงรียนสุเหร่าทางควาย เด็กๆที่นี่ไม่ได้เอาหนังสือมาขายแบบตัวใครตัวมัน แต่ทั้งชั้นเรียนต้องทำงานร่วมกันเป็นทีมตั้งแต่การคัดเลือกหนังสือ ตั้งราคาขาย ตั้งชื่อและตกแต่งร้าน เมื่อถึงเวลาขายจริงยังต้องมีฝ่ายขายและฝ่ายบัญชีคอยคิดเงินและสรุปยอด (จากคอลัมน์ main course | a day 156)

หน้าที่ของเซลส์ขายสารานุกรมสำหรับเด็กไม่ได้จบแค่การขายสินค้า แต่พวกเขายังต้องสามารถทำหน้าที่เป็นเหมือนทั้งบริษัทได้ในคนคนเดียว ตั้งแต่การติดต่อขอสถานที่ ติดตั้งบูท จัดร้าน เล่านิทาน แต่งตัวเป็นมาสคอตไปเล่นกับเด็ก ไปจนถึงการเก็บร้านเมื่อจบสิ้นการทำงานในหนึ่งวัน (จากคอลัมน์ main course | a day 156)

คนตั้งราคาหนังสือมือสองคือเจ้าของร้าน หนังสือเล่มเดียวกันจึงราคาแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่นนิตยสารอะเดย์ฉบับที่ 41 เดือนมกราคม ปี 2547 วางขายที่ร้านหนังสือมือสองแห่งหนึ่งเมื่อปี 2551 ในราคา 5 บาท ในขณะที่เว็บไซต์ขายหนังสือมือสองเว็บหนึ่งตั้งราคานิตยสารเล่มนี้ไว้สูงถึง 500 บาท (จากคอลัมน์ main course | a day 156)

หนังสือที่สำนักพิมพ์ตัดสินใจแล้วว่าจะทำลาย จะถูกเอาไปรีไซเคิลตามกระบวนการ หนังสือที่เราเห็นราคาปกหลายร้อย เมื่อถูกซื้อในฐานะเศษกระดาษ เฉลี่ยแล้วราคาเล่มละไม่ถึงบาทด้วยซ้ำ (จากคอลัมน์ main course | a day 156)

นอกจากนี้ยังมีคอลัมน์พิเศษเรียกน้ำย่อย

“การออกกำลังกายหรือแต่งตัวให้ดูดี บางทีคนคิดว่าก็แค่การห่วงสวย แต่ความจริงมันคือความรับผิดชอบ”หลิน-กมลพรรณ สุวรรณมาศ นางแบบสาวผู้มีผลงานน่าจับตามองและมุ่งมั่นที่จะเดินไปบนเส้นทางของมืออาชีพ (จากคอลัมน์ q & a day | a day 156)

“การมีความรู้เป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์กับเราคนเดียว แต่การนำความรู้มาปฏิบัติสามารถช่วยคนอื่นได้มากมาย" พริมา ยนตรรักษ์ เด็กสาวผู้พบขุมทรัพย์ยิ่งใหญ่ในแมลงตัวเล็ก (จากคอลัมน์ the outsiders | a day 156)
“การศึกษาชีวิตในน้ำมันน่าหลงใหล ทุกๆ ครั้งที่เราดำน้ำไปเจออะไรก็ตาม ถ้าเราไม่รู้จักมันก็แค่ อ่า สวยจัง แต่ถ้าเรารู้เรื่องราวของมันก็จะยิ่ง โอ้ว…มันเป็นอย่างนี้นี่เอง" โยชิ ฮิราตะ ช่างภาพใต้น้ำและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในทะเลที่รักทะเลเต็มหัวใจ (จากคอลัมน์ the outsiders | a day 156)

“ผมทำงานหนักเพราะผมมีความเชื่อมั่น ผมเชื่อมั่นเพราะผมมีความศรัทธา วิธีเดียวเท่านั้นที่จะประสบความสำเร็จคือต้องทำงานหนักและศรัทธาในสิ่งที่ตัวเองทำ // ศิลปินบางคนมีความสุขระหว่างแสดงงานหรือตอนได้ยืนอยู่บนเวที แต่ความสุขของผมคือตอนทำงานในสตูดิโอ ตัดผ้าใบเป็นระเบียบ ขึงให้ตึง ยิงแม็กซ์ลงไปที่เฟรม ก่อนจะฉีดน้ำเพื่อรอวันรุ่งขึ้นให้เรามาวาดภาพ” นที อุตฤทธิ์ ศิลปินไทยวัย 43 ปีที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ ผู้เลือกจะไม่เรียกตัวเองว่า “ศิลปิน” (จากคอลัมน์ a day with a view | a day 156)

 “ผมเล่นตลกเพื่อให้คนอื่นมีความรู้สึกดีๆ ผมอยากทำให้ทุกคนมีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ มีแต่ความสุข ขอแค่ได้ช่วยคนบางคนมีความสุขในชีวิตมากขึ้นก็พอ ศิลปินทำให้คนได้คลุกคลีกันมากขึ้น แค่เห็นอะไรที่เป็นศิลปะอาจจะทำให้คนเข้าใจตัวเอง เข้าใจกันมากขึ้น” โจนาธาน แซมซัน หนุ่มอเมริกันจากบอสตัน ผู้เล่นตลกเพราะหวังให้โลกสงบสุข (จากคอลัมน์ immigration | a day 156)

“แน่นอนว่าการสร้างระบบบริการรถไฟให้กับเมืองใหญ่ที่มีผู้โดยสาร 3,000,000 คน ไม่ใช่เรื่องง่าย การที่จะทำให้ทุกๆคนพอใจในระบบเดียวกันยิ่งยากไปใหญ่ แต่รถไฟที่ลอนดอนก็สอนให้เรารู้ว่าการใส่ใจกับเรื่องเล็กๆน้อยๆช่วยเรียกความ รู้สึก ดีๆและลบเลือนความเบื่อหน่ายไปได้มากทีเดียว” (จากคอลัมน์ the london scene | a day 156)