MSN on September 06, 2013, 02:03:44 PM
สถาบันวัฒนธรรมแห่งชาติสมาชิกสหภาพยุโรปเปิดตัว “แผนที่มรดกยุโรปในกรุงเทพฯและกรุงศรีอยุธยา”
 
          เครือข่ายสถาบันวัฒนธรรมแห่งชาติสมาชิกสหภาพยุโรป (European Union National Institutes for Culture Thailand - EUNIC Thailand)ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัว “แผนที่มรดกยุโรปในกรุงเทพฯและกรุงศรีอยุธยา” “European Heritage Map of Bangkok and Ayutthaya” และเยี่ยมชมสถานที่ที่แสดงถึงมรดกยุโรปที่ได้รับการบันทึกลงในแผนที่

เริ่มแถลงข่าวโดย
- คุณ Sylvain Fourrière ในฐานะประธานเครือข่ายสถาบันวัฒนธรรมแห่งชาติสมาชิกสหภาพยุโรปและอุปทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย
- คุณ Attila Nyitrai อุปทูต สำนักงานสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย
- คุณ Luc Citrinot ผู้จัดการโครงการ/นักวิจัยประจำ Talisman Media

          ข้อมูลเบื้องต้น
          สหภาพยุโรปเปิดตัวแผนที่มรดกยุโรป-ไทยในกรุงเทพฯและกรุงศรีอยุธยา
          ในวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2556 ฯพณฯ เอกอัครราชทูตเธียร์รี่ วิโต ประธานเครือข่ายสถาบันวัฒนธรรมแห่งชาติสมาชิกสหภาพยุโรปจะทำพิธีมอบ “แผนที่มรดกยุโรปในกรุงเทพฯและกรุงศรีอยุธยา” ('European Heritage Map') อย่างเป็นทางการแก่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพ ฯพณฯ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ณ บ้านพัก ฯพณฯ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย โดยในวันดังกล่าวบ้านพัก ฯพณฯ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าเยี่ยมชมเพื่อฉลอง “วันมรดกยุโรป ปี 2556 (European Heritage Days 2013)”

          “แผนที่มรดกยุโรปในกรุงเทพฯและกรุงศรีอยุธยา” นำเสนอสถานที่ทางมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญถึง 64 แห่งที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างยุโรปและไทย นี่เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นร่วมกันระหว่างสถานทูตเบลเยี่ยม สถานทูตเดนมาร์ก สถานทูตฝรั่งเศส สถานทูตเยอรมัน สถานทูตอิตาลี สถานทูตเนเธอร์แลนด์ สถานทูตโปรตุเกส และสถานทูตสหราชอาณาจักร โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย

          บ้านพัก ฯพณฯ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยซึ่งจะใช้เป็นสถานที่ในการมอบแผนที่ให้กับท่านผู้ว่าฯ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตรนี้เป็นอาคารที่สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมในสมัยต้นศตวรรษที่ 19 นอกจากนี้ยังมีสถานที่มรดกอื่นๆ อีก อาทิ สะพานไทย-เบลเยม (ย้านมาจากกรุงบรัสเซลส์ในปีพ.ศ. 2531) โครงการเอเชียติค

          รีเวอร์ฟรอนท์ (สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ตั้งของบริษัทสัญชาติเดนมาร์กที่ชื่อว่า บริษัทอีสต์เอเซียติ๊กในช่วงปลายศตวรรษที่ 18) วังวรดิศ (คือวัง Jugendstil ออกแบบโดยสถาปนิกชาวเยอรมันที่ชื่อว่า Karl Döring) สถานีรถไฟหัวลำโพง (สร้างโดยสถาปนิกชาวอิตาลี Tamagno and Ragazzi) บ้านฮอลันดา (พิพิธภัณฑ์ที่แสดงให้เห็นถึงการตั้งรกรากของคนดัชท์ ณ กรุงศรีอยุธยาในศตวรรษที่ 17) รูปปั้นที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการเยือนขององค์สันตะปาปาจอห์นพอลที่สองในปีพ.ศ. 2527 ซึ่งท่านเป็นชาวโปแลนด์ วัดกาลหว่าร์ (สร้างขึ้นเพื่อรองรับชุมชนชาวคาทอลิกโปรตุเกสเมื่อปีพ.ศ. 2441 และอาคารเรียนคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอังกฤษ Edward Healey

          “แผนที่มรดกยุโรปในกรุงเทพฯและกรุงศรีอยุธยา” จะได้รับการแจกจ่ายเพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถหยิบหาอ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ตามสถานที่ทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวรอบๆ กรุงเทพฯ และในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และที่สถานทูตประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 16 กันยายนนี้เป็นต้นไป
« Last Edit: September 06, 2013, 02:08:47 PM by MSN »