pooklook on August 29, 2013, 01:35:47 PM
จากเว็บไซต์วิชาการดอตคอม

สุวคนธ บำบัด (Aromatherapy) คือแขนงหนึ่งของการรักษาสุขภาพทางเลือก หลายคนเชื่อว่ากลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยที่สกัดออกมาจากมวลหมู่ไม้
จะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดและทำให้จิตใจสงบขึ้นได้ น้ำมันหอมระเหยที่ใช้กันอยู่ทั่วไปก็มีหลายกลิ่นให้เลือก โดยให้ผลต่างกันดังนี้

มะลิ (Jasmine) ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการอ่อนล้า คาโมไมล์ (Chamomile) ให้ความสดชื่น ผ่อนคลาย แก้ปวดหัว แก้ซึมเศร้า

เมิรห์ (Myrrh) ช่วยปรับอารมณ์ ลดเสมหะ น้ำมูก มาร์จอแรม/สวีต มาร์จอแรม (Marjoram/Sweet Marjoram) ให้ความรู้สึกอบอุ่น ผ่อนคลาย แก้ฟกช้ำ ตะคริว ขิง (Ginger) ผ่อนคลาย อบอุ่น แก้เครียด ปวดเมื่อย หวัด

เจอราเนียม (Geranium) ผ่อนคลาย ปรับสมดุล แก้เครียด ผิวหนังติดเชื้อ ลาเวนเดอร์ (Lavender) สดชื่น ผ่อนคลาย หลับสบาย แก้ปวดเมื่อย เครียด โรสแมรี (Rosemary) ให้คุณสมบัติคล้ายกับลาเวนเดอร์ คือช่วยผ่อนคลาย

สะระแหน่ (Peppermint) เย็นสดชื่น แก้อาการเมารถ ปวดหัว หวัด มะกรูด (ฺBergamot) สดชื่น ผ่อนคลาย หลับสบาย แก้ปวดเกร็ง มะนาว (Lemon) ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า

ส้ม (Orange) ทำให้มีจิตใจเบิกบานและอารมณ์เย็น ทีทรี (Tea Tree) เย็นสดชื่น ต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้หวัด เจ็บคอ พัฒนาความคิดในเชิงบวกและเสริมสร้างความมั่นใจ ตะไคร้ (Lemon Grass) สดชื่น ปรับอารมณ์ แก้อาหารไม่ย่อย ยับยั้ง การติดเชื้อโรค ป้องกันแบคทีเรีย แซนดัลวูด (Sandal wood) ผ่อนคลาย สงบ สร้างสมาธิ บรรเทาอาการอักเสบ

โหระพา (Basil) สดชื่น แก้เครียด กระวนกระวาย ปวดเมื่อย แฟรงก์อินเซนส์ (Frankincense) ผ่อนคลาย แก้เครียด เพิ่มความอ่อนเยาว์ เสจ/แคลรี เสจ (Sage/Clary Sage) ผ่อนคลาย อบอุ่น แก้ปวดเมื่อย มีปัญหารอบเดือน กระดังงา (Ylang Ylang) ผ่อนคลายอารมณ์ กุหลาบ (Rose) ผ่อนคลายความเครียด ฟื้นฟูความมั่นใจ สน (Pine) ลดอาการเลือดคั่งและปรับสภาพสีผิว ดีต่อโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ใช้บำรุงเส้นผมได้ด้วย ยูคาลิปตัส (Eucalyptus) ต่อต้านเชื้อโรค ลดอาการแน่นหน้าอก ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้นสำหรับผู้ที่เป็นหวัด กำยาน (Franincense) บำรุงกำลังและเพิ่มความสวยงาม ช่วยให้รู้สึกเย็นสบายและผ่อนคลาย ว่าน (Cardamon) ช่วยฟื้นฟูสภาพความเมื่อยล้าและเฉื่อยชาเซื่องซึม

การเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยมีข้อพึงระวัง เช่น เบื้องต้นให้จำไว้ว่า ไม่ควรหยดน้ำมันหอมระเหยลงบนผิวหนังโดยตรง ไม่ควรดื่มหรือกิน ห้ามใช้ปริมาณที่มากเกินไป
ควรเก็บน้ำมันหอมระเหยในขวดที่มีสีเข้ม ในที่ปลอดภัยห่างจากมือเด็กและเปลวไฟ นอกจากนี้ น้ำมันหอมระเหยบางชนิดเหนี่ยวนำให้ผิวหนังมีความไวต่อแสง เช่น น้ำมันมะกรูด
น้ำมันมะนาว จึงควรหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดโดยตรงภายหลังจากการใช้น้ำมันหอมระเหยเป็นเวลาอย่างน้อย 4 ชั่วโมง



เด็ก สตรีมีครรภ์และผู้มีโรคประจำตัว เช่น ลมชัก ความดันโลหิตสูง ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะน้ำมันหอมระเหยบางกลิ่นไม่เพียงไม่เหมาะที่จะใช้ ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ด้วย