MSN on June 18, 2013, 09:19:47 AM
ผลสำรวจจากเต็ดตรา แพ้ค ชี้ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งจะช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมนมขยายการเติบโต



รายงานผลสำรวจ “เต็ดตรา แพ้ค แดรี่ อินเด็กซ์” ฉบับที่ 6 ระบุแนวโน้มความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งพร้อมดื่มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากกลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความใส่ใจในเรื่องสุขภาพ รสชาติ และมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่รีบเร่งในปัจจุบัน

โลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ (17 มิถุนายน 2556) – จากรายงานผลสำรวจ “เต็ดตรา แพ้ค แดรี่ อินเด็กซ์”  ฉบับล่าสุด เต็ดตรา แพ้ค® บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม คาดการณ์ว่า แนวโน้มการบริโภคผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งพร้อมดื่มจะมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าสองเท่าของอัตราการเติบโตของการบริโภคนมทั่วโลกในระหว่างปีพ.ศ. 2555 ถึง 2558 ผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจในตัวผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งที่มีรสชาติอร่อย ให้คุณค่าทางโภชนาการ รวมถึงบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่สะดวกต่อการบริโภคกันมากขึ้น โดยกลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยกว่าเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ ซึ่งจะช่วยเปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมนมสามารถพัฒนาศักยภาพของตลาดได้มากยิ่งขึ้น

นมปรุงแต่งที่มีรสชาติหลากหลาย นับเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการบริโภคมากที่สุดเป็นอันดับสองในหมวดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม (Liquid Dairy Product) หรือ LDP รองลงมาจากนมจืด จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ความต้องการในการบริโภคนมปรุงแต่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) ประมาณร้อยละ 4.1 ในระหว่างปี พ.ศ. 2555 ถึง 2558 โดยคิดเป็นปริมาณนมที่เพิ่มขึ้นจาก 17,000 ล้านลิตร เป็น 19,200 ล้านลิตร ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาจะเป็นตลาดที่ช่วยผลักดันความต้องการบริโภคนมปรุงแต่งให้เติบโตขึ้นด้วยการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และรสชาติที่แปลกใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องคุณค่าทางโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ และสำหรับผลิตภัณฑ์นมรสจืด  ผลการสำรวจพบว่า จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี ในช่วงปีเดียวกันอยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 1.7 คิดเป็นปริมาณจาก 208,500 ล้านลิตรในปีพ.ศ. 2555 เพิ่มขึ้น เป็น 219,500 ล้านลิตรในปี พ.ศ. 2558 โดยสรุป แนวโน้มการเติบโตของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนมทั้งหมด จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.4 จากปริมาณ 280,300 ล้านลิตร เพิ่มเป็น 301,300 ล้านลิตรในช่วงปีเดียวกัน


มิสเตอร์เดนนิส ยอนสัน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เต็ดตรา แพ้ค กล่าวว่า  “ยิ่งนมจืดได้กลายสถานะเป็นผลิตภัณฑ์ทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวันมากขึ้นเท่าไหร่ ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่ง ก็ยิ่งจะสร้างโอกาสให้กับผู้ผลิตนมในการนำเสนอคุณค่าที่ไม่ใช่เฉพาะกับผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผลกำไรของพวกเขา” ด้วยการหาจุดที่ลงตัวของรสชาติต่างๆ ขนาดของบรรจุภัณฑ์ และสูตรที่เหมาะสม นมปรุงแต่งที่ลิตออกมาก็จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการด้านคุณภาพ โภชนาการ และไลฟ์สไตล์ ได้เป็นอย่างดี”

เต็ดตรา แพ้คได้จำแนกปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของการบริโภคผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งออกเป็น  4 ปัจจัย ประกอบด้วย (1) ความต้องการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา ประชากรส่วนใหญ่ต่างหันมาให้ความสนใจต่อการบริโภคนมซึ่งอุดมด้วยสารอาหารต่างๆ มากขึ้น (2) การขยายตัวของเมือง วิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบันที่ต้องรีบเร่งตลอดเวลา ส่งผลให้อัตราการบริโภคนมปรุงแต่งพร้อมดื่มที่บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ในขนาดที่พอดีเพิ่มมากขึ้น ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปเป็นการบริโภค “ระหว่างเดินทาง” (3) ความต้องการทดลองผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มใหม่ๆ ของผู้บริโภค ซึ่งนมปรุงแต่งก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านนี้ได้เป็นอย่างดี และ (4) การมองหาประสบการณ์ในการดื่ม-กิน ในระดับใหม่ที่ถือเป็นการ “ได้ทำตามใจตัวเอง” ของผู้บริโภคปัจจุบัน เนื่องจากไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ ในระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีความแน่นอนทำให้หลายๆ คนต้องการหลีกหนีกฎเดิมๆ ของชีวิตประจำวันที่ซ้ำซากจำเจ

มิสลิบบี้ คอสติน ผู้อำนวยการด้านการตลาดผลิตภัณฑ์ทั่วโลกของเต็ดตรา แพ้ค กล่าวว่า “ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ยอมที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย เพื่อให้ได้ตามใจตัวเองในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังชะลอตัว ซึ่งถือว่าเป็นการยอมสละเพื่อความสุขเล็กๆ น้อยๆ มากขึ้นกว่าเมื่อก่อนนี้”

ถึงแม้ว่าอัตราการบริโภคผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งจะต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ อาทิ น้ำอัดลม แต่ทัศนคติในเชิงบวกของผู้บริโภคเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพจากการดื่มนม เป็นสิ่งที่ช่วยเปิดโอกาสมากมายให้กับการบริโภคนมปรุงแต่งอย่างมีนัยสำคัญ ไม่เพียงเท่านี้ ผลการสำรวจของเต็ดตรา แพ้ค พบว่า แนวโน้มในการบริโภคผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าสามเท่าของอัตราการบริโภคน้ำอัดลมระหว่างปีพ.ศ. 2555 ถึง 2558 โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีในช่วงดังกล่าวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับอัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมของการบริโภคน้ำอัดลมในช่วงเวลาเดียวกันซึ่งอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1.3

จากเดิมผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งเป็นเพียงเครื่องดื่มที่แพร่หลายแค่เฉพาะในกลุ่มเด็ก ปัจจุบัน เต็ดตรา แพ้ค มองว่าผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งจะสามารถสร้างการเติบโตในตลาดกลุ่มลูกค้าอื่นๆ ได้มากยิ่งขึ้นไปอีก ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความลงตัวด้านคุณค่าทางโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพและมีรสชาติอร่อย

มิสเตอร์เดนนิส ยอนสัน กล่าวเสริมว่า “สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการคุณสมบัติครบถ้วนทั้งความอร่อย ความสะดวก และประโยชน์เพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งถือว่าเป็นเป็นทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ”  ในขณะที่มีแนวโน้มว่าการบริโภคนมปรุงแต่งจะเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ทั้งในเอเชียและละตินอเมริกาก็พุ่งทะยานขึ้นแซงกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วในอเมริกาเหนือและยุโรป ซึ่งจะช่วยผลักดันการเติบโตจากตลาดเกิดใหม่ ให้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมนมไปในทิศทางที่ดีต่อไป

จากผลสำรวจของเต็ดตรา แพ้ค แสดงให้เห็นว่า 7 ตลาดหลักจากจำนวนตลาดผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่ง 10 ตลาดทั่วโลก ล้วนเป็นตลาดที่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนาทั้งสิ้น นำโดยจีน ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด ตามด้วยสหรัฐอเมริกา และอินเดียตามลำดับ นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าความต้องการในการบริโภคนมปรุงแต่งที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2552 ถึง 2555 เกิดขึ้นจากแรงผลักดันของตลาดเกิดใหม่ใน 4 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ บราซิล จีน อินเดีย และอินโดนีเซีย

แนวโน้มดังกล่าวจะยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องในช่วงระหว่างปีพ.ศ. 2555 ถึง 2558 โดยประเทศกำลังพัฒนามีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการเติบโตของผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งถึงร้อยละ 66 ในปีพ.ศ. 2555 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 69 ในปีพ.ศ. 2558 ทั้งนี้ จีน และประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอัตราการบริโภคผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งสูงกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณนมปรุงแต่งจากทั่วโลก ซึ่งหากจะนับกันจริงๆ แล้ว ผลสำรวจของเต็ดตรา แพ้คระบุว่าเพียงแค่ 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย อันได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ก็มีอัตราการบริโภคผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งมากถึงร้อยละ 47 จากปริมาณผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งทั้งหมดจากทั่วโลก

ทั้งนี้ เต็ดตรา แพ้คพบว่า “กล่องเครื่องดื่ม” เป็นรูปแบบของบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งโดยทั่วไป  โดยในปีพ.ศ. 2555 มีผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งพร้อมดื่มจำนวนกว่าร้อยละ 62 เป็นผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์แบบกล่อง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 57 ใน ปีพ.ศ. 2552  และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 64 ในปีพ.ศ. 2558 โดยอัตราการบริโภคนมปรุงแต่งพร้อมดื่มที่บรรจุในกล่องขนาดพกพานั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 81 ของปริมาณการบริโภคนมปรุงแต่งพร้อมดื่มทั้งหมด

ดูรายละเอียดรายงานผลสำรวจ “เต็ดตรา แพ้ค แดรี่ อินเด็กซ์” ฉบับที่ 6 ในรูปฉบับเต็มได้ที่ www.tetrapk.com/dairyindex
###

เกี่ยวกับเต็ดตรา แพ้ค
เต็ดตรา แพ้ค เป็นบริษัทผู้นำของโลกในเรื่องกระบวนการผลิตและบรรจุอาหาร เราทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ขายสินค้า และลูกค้าในเรื่องของการผลิตและการบรรจุที่เป็นที่ต้องการ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่อำนวยความสะดวก เป็นนวัตกรรมที่ทันสมัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับผู้คนนับล้านทั่วโลกในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก ด้วยจำนวนพนักงานเกือบ 23,000 คน ที่ปฏิบัติงานอยู่ในกว่า 85 ประเทศ เต็ดตรา แพ้ค เชื่อมั่นในความเป็นผู้นำ อุตสาหกรรมที่มีความรับผิดชอบ การเจริญเติบโต อย่างมีผลกำไรที่สอดคล้องกับการเป็นองค์กรที่ดี และการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน คำขวัญของเต็ดตรา แพ้ค ที่ว่า “ปกป้อง ทุกคุณค่า™”              (PROTECTS WHAT’S GOOD™) นั้นสะท้อนให้เห็นถึงปรัชญาในการดำเนินธุรกิจของเรา ที่จะทำให้อาหารปลอดภัย และมีอยู่พร้อมบริโภคในทุก ๆ ที่ทั่วโลก สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเต็ดตรา แพ้ค ได้ที่ www.tetrapak.com

MSN on June 18, 2013, 09:21:11 AM
ข้อมูลตลาด 10 อันดับแรกที่มีปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม (LDP)
อ้างอิงจากอัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) ปี พ.ศ. 2555 - 2558

1.   อินเดีย – ปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม คือ 58,100ล้านลิตร (ข้อมูลปีพ.ศ. 2555)
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม (LDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5
เนื่องจาก :
•   เป็นประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคผลิตภัณฑ์นมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
•   นมเป็นแหล่งสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย รวมถึงช่วยดูแลสุขภาพเมื่อบริโภคเป็นประจำ
•   มีการกระจายการรับรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการบริโภคนมในวงกว้าง
•   การเติบโตของเศรษฐกิจ การขยายตัวของเมือง และความเจริญที่เพิ่มขึ้นจากการพัฒนาต่างๆ
ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่ง (FM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1
เนื่องจาก :
•   มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะแคลเซียมซึ่งมีอยู่มากในนม
•   การรับรู้ที่เพิ่มมากขึ้น รายได้ที่สูงขึ้น ตลอดจนความสะดวกและแนวโน้มในการบริโภค”ระหว่างเดินทาง”ที่เพิ่มมากขึ้น
•   มีการบริโภคผลิตภัณฑ์นมในเกือบทุกครัวเรือน จึงทำให้นมปรุงแต่งมีโอกาสมากมายที่จะเติบโตในอุตสาหกรรมโดยอาศัยการพัฒนาด้านรสชาติและนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์

2.   จีน – ปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม คือ 33,400 ล้านลิตร (ข้อมูลปีพ.ศ. 2555)
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม (LDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5
เนื่องจาก:
•   ความเชื่อมั่นว่าตลาดผลิตภัณฑ์นมจะมีการเติบโตอย่างคงที่
•   อัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) ระหว่างปีพ.ศ. 2555 – 2558 จะต่ำกว่าเมื่อปี พ.ศ. 2554 – 2557 เล็กน้อย โดยมีสาเหตุหลักๆ มาจาก:
o   ฐานการตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
o   ถึงแม้อัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี จะต่ำลง แต่ปริมาณการเติบโตโดยรวมยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างคงที่
o   สัดส่วนของผลิตภัณฑ์หลักของเครื่องดื่มประเภทนม (WM) และเครื่องดื่มที่มีกรดแลคติค (LAD) ยังคงมีการเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ในขณะเดียวกันอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งมีแนวโน้มลดลง

ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่ง (FM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5
เนื่องจาก:
•   นมปรุงแต่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปี พ.ศ. 2554 และ 2555 เป็นผลมาจากแคมเปญ “Lunch box” ของรัฐบาลจีนที่ต้องการกระตุ้นการบริโภคนมในโรงเรียนต่างๆ ตามชนบท
•   กระแสหลักที่กำลังมาแรง 2 กระแส คือ “การตามใจตัวเอง” และ การใช้ชีวิตแบบดื่มกินร “ระหว่างเดินทาง” เป็นปัจจัยที่ช่วยผลักดันการเติบโตของผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่ง

3.   สหรัฐอเมริกา – ปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม คือ 25,600  ล้านลิตร (ข้อมูลปีพ.ศ. 2555)
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม (LPD) ลดลงติดลบร้อยละ 1.3
เนื่องจาก:
•   ผลิตภัณฑ์นมแช่เย็นในบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ถึงแม้แนวโน้มการเติมโตจะลดลงเรื่อยๆ นอกจากนี้ระบบสาธารณูปโภคในตลาดสหรัฐอเมริกา ยังเอื้ออำนวยต่ออุตสาหกรรมเครื่องดื่มแช่เย็น
•   ในขณะที่เราคาดหวังการเติบโตของผลิตภัณฑ์นมแบบไม่ต้องแช่เย็น ซึ่งอาจจะใช้เวลานานหลายปีในการสร้างปริมาณเพื่อที่จะผลักดันแนวโน้มการบริโภคผลิตภัณฑ์ในหมวดนมโดยรวม ทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม (LDP), นมจืด (WM) และผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่ง (FM)
ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่ง (FM)  ลดลงติดลบร้อยละ 0.1
เนื่องจาก:
•   มีการจำแนกประเภทผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งแบบต่างๆ  ในตลาดสหรัฐอเมริกาที่ต่างจากตลาดอื่น เช่น เครื่องดื่มที่นิยมบริโภคกับอาหารเช้าถือว่าเป็นอาหาร (Breakfast replacement) แต่ผู้บริโภคในสหรัฐฯมองว่าเป็นนมปรุงแต่งชนิดที่อุดมไปด้วยสารอาหาร (Super enriched flavoured milk)

4.   ปากีสถาน – ปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม คือ  20,800ล้านลิตร (ข้อมูลปีพ.ศ. 2555)
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม (LPD) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3
เนื่องจาก:
•   อัตราการบริโภคนมเติบโตแซงหน้าอัตราการเติบโตของประชากร เนื่องจากปัจจัยด้านประชากรที่หันเหมาทางกลุ่มคนหนุ่มสาวมากขึ้น
•   เด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 15 ปี เป็นประชากรของประเทศถึงร้อยละ 40 และมีการบริโภคผลิตภัณฑ์นมถึงร้อยละ 60 ของปริมาณนมทั้งหมด
•   ประมาณร้อยละ 30 ของนมที่ถูกบริโภค เป็นนมที่ใช้ผสมในชา และได้รับความนิยมในกลุ่มประชากรที่มีรายได้น้อยซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 64 จากจำนวนประชากรทั้งหมด
•   เนื่องจากมีหน่วยผลิตภัณฑ์ (SKUs) ที่มีราคาที่เหมาะสม ช่วยให้เกิดการบริโภคนมมากขึ้น

ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่ง (FM)  เพิ่มขึ้นร้อยละ 14
เนื่องจาก:
•   มีโอกาสอีกมากสำหรับอุตสาหกรรมนมปรุงแต่ง
•   ประชากรวัยรุ่นและวัยทำงานมีความชื่นชอบนมปรุงแต่งพร้อมดื่มมากกว่าเพื่อความสะดวกด้านเวลา
•   เครื่องดื่มที่ใช้นมเป็นส่วนประกอบคิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 46 ของปริมาณนมทั้งหมดที่ได้รับการบริโภค ในขณะที่นมจืดครองส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ร้อยละ 56

5.   บราซิล – ปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม คือ 12,700 ล้านลิตร (ข้อมูลปีพ.ศ. 2555)
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม (LPD) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1
เนื่องจาก:
•   อัตราการบริโภคนมอยู่ที่ร้อยละ 100 โดยตลาดมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นในด้านปริมาณการบริโภคโดยเฉลี่ย อย่างไรก็ตาม เครื่องดื่มชนิดอื่นๆ ก็มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น อาทิ น้ำผลไม้ นมถั่วเหลือง นมเปรี้ยว ฯลฯ

ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่ง (FM)  เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5
เนื่องจาก:
•    ประเภทของผลิตภัณฑ์นมมีความหลากหลายมากขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเข้าถึงการบริโภคนมในครัวเรือนมากขึ้น และผู้บริโภคยุคใหม่ต่างพากันหันมาดื่มนม
•   อัตราการบริโภคนมปรุงแต่งของครัวเรือนขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 56 เป็นร้อยละ 67.4 และคาดว่าจะมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

MSN on June 18, 2013, 09:21:50 AM
1.   รัสเซีย – ปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม คือ 10,400 ล้านลิตร (ข้อมูลปีพ.ศ. 2555)
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม (LPD) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2
เนื่องจาก:
•   การผลิตน้ำนมดิบมีอัตราลดลงในขณะที่อัตราการบริโภคเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดวิกฤตการณ์น้ำนมดิบและผลักดันให้ราคาต้นทุนนมสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์นมตามร้านค้าต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นตามการบริโภคที่เพิ่มขึ้นไปด้วย
•   มุมมองจากภายนอก
o   เครื่องดื่มประเภทนมมีอัตราเติบโตแบบปีต่อปี (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เมื่อเปรียบเทียบอัตราการเติบโตของไตรมาสที่ 1/2556 กับ 1/2555) 
o   การควบรวมบริษัทฯ เป็ปซี่และดานอนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง – ผู้ประกอบการรายเล็กมีการเติบโตเพิ่มขึ้นด้วย


ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่ง (FM)  เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6
เนื่องจาก:
•    นมปรุงแต่งเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทที่มีอัตราการเติบโตมากที่สุดในตลาดรัสเซีย
•   ผู้ผลิตต่างก็เปิดตัวแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในหมวดนมปรุงแต่งออกมาแข่งขัน เนื่องจาก         ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าจากต้นทุนน้ำนมดิบที่มีราคาสูง   
•   แนมโน้มความนิยมบรรจุภัณฑ์ขนาดครอบครัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผู้บริโภคยินดีที่จะซื้อนมในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อให้ได้ราคานมต่อลิตรที่ถูกกว่า ในช่วงสถานการณ์น้ำนมดิบราคาสูง

2.   เม็กซิโก – ปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม คือ 7,700ล้านลิตร (ข้อมูลปีพ.ศ. 2555)
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม (LDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6
เนื่องจาก:
•   นมยูเอชที ทั้งแบบพรีเมี่ยมและแบบเพิ่มคุณค่าสารอาหาร (ส่วนใหญ่ไม่มีแลคโตส) มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี รวมถึงมีอัตราการเข้าถึงการดื่มนมในครัวเรือนเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 10 ของอัตราการเข้าถึงทั้งหมด) เพราะถือเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพสำหรับประชากรที่เริ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น
•   นมคืนรูป (recombined milk) ยังคงเป็นผลิตภัณฑ์ที่คุ้มค่าต่อการบริโภค
ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่ง (FM)  เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5
เนื่องจาก:
•   ให้ประโยชน์ทางโภชนาการมากกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ (เมื่อดื่มขณะท้องว่าง)
•   สามารถสร้างโอกาสด้านการกระจายสินค้า ณ จุดขายได้มากกว่า (อัตราการจัดจำหน่ายนมปรุงแต่ง          ทั่วประเทศอยู่ที่ร้อยละ 62 เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์นมทั้งหมดที่ร้อยละ 99)
•   นมปรุงแต่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าดึงดูดมากกว่านมจืดสำหรับเด็ก ทำให้เป็นทางเลือกที่ดีในการนำมารวมอยู่ในชุดอาหารกลางวันของโรงเรียน
•   มีการเปิดตัวใหม่ๆ ที่ตั้งเป้าหมายไปยังกลุ่มผู้บริโภควัยรุ่น ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งแบบที่ต้องแช่เย็น

3.   สหราชอาณาจักร – ปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม คือ 6,800 ล้านลิตร
(ข้อมูลปีพ.ศ. 2555)
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม (LDP)  เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1
เนื่องจาก:
•   ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม ยังคงเติบโตคงที่ โดยในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงขาลง               ในปีที่ผ่านมา
•   สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจยังคงไม่แน่นอน และยังส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์ของผู้ผลิตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในส่วนค้าปลีก ยังคงใช้หลักการการทำราคาให้เหมาะสม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์นมแช่เย็นซึ่งเป็นหมวดผลิตภัณฑ์ที่สร้างการเติบโตด้านปริมาณให้กับอุตสาหกรรม
•   ผลิตภัณฑ์กำลังพัฒนาใหม่ๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่ง และนมสำหรับทารกและเด็กเล็ก ยังคงมีแนวโน้มที่ดี และอาจจะกลายเป็นหมวดผลิตภัณฑ์ที่สร้างการเติบโตอย่างสำคัญให้กับอุตสาหกรรมนมต่อไปในอนาคต
ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่ง (FM)  เพิ่มขึ้นร้อยละ 1
เนื่องจาก:
•   ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งยังคงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการเติบโตต่อเนื่องในอุตสาหกรรม
•   การบริโภค “ระหว่างเดินทาง”  และการพัฒนาของผลิตภัณฑ์ที่รุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง ช่วยสร้างโอกาสให้กับการเติบโตต่อไป

4.   ญี่ปุ่น – ปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม คือ  5,500 ล้านลิตร (ข้อมูลปีพ.ศ. 2555)
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม (LDP) ลดลงติดลบร้อยละ 1.2
เนื่องจาก:
•   นมเปรี้ยวเป็นหมวดผลิตภัณฑ์ที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง
•   อย่างไรก็ตาม นมจืดซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของอุตสาหกรรมนม มีแนวโน้มเติบโตถดถอยอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้การบริโภคผลิตภัณฑ์นมมีอัตราลดลง เนื่องจากมีประชากรสูงอายุมากขึ้น   
ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่ง (FM) ลดลงติดลบร้อยละ 0.6
เนื่องจาก:
•   จากผลการวิจัยกับผู้บริโภค พบว่า นมปรุงแต่งมีรสชาติหวานเกินไป และหันมาชื่นชอบ นมเปรี้ยวที่หมักด้วยเชื้อจุลินทรีย์ น้ำผัก และนมถั่วเหลืองมากกว่า
•   มีรสชาติไม่หลากหลายพอ เช่น มีแต่รสกาแฟ ซึ่งขึ้นอยู่กับแบรนด์หรือผู้ผลิต
•   ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมรายใหญ่ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตมากกว่า

5.   เยอรมนี – ปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม คือ 5,500 ล้านลิตร (ข้อมูลปีพ.ศ. 2555)
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม (LDP) ลดลงติดลบร้อยละ 0.2
เนื่องจาก:
•   การลดลงของอัตราการบริโภคนม เป็นผลมาจากการลดลงของอัตราการเติบโตของประชากร อาทิ อัตราการเกิดใหม่ที่ลดลง มีประชากรเด็กน้อยลง ตลอดจนการที่มีประชากรสูงอายุเพิ่มสูงขึ้น
ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่ง (FM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1
เนื่องจาก:
•   สืบเนื่องมาจากการเติบโตขึ้นของผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งรสกาแฟ ซึ่งมีนมคืนรูปอยู่มากกว่าร้อยละ 50

# # #

ตลาดผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่งประเทศอื่นๆ

มาเลเซีย
ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่ง (FM) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.5
เนื่องจาก:
•   เจ้าของแบรนด์และผู้ผลิตต่างมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรม
•   โฆษณาทางโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ โปรโมชั่นส่งเสริมการขาย ตัวอย่างแจกฟรีในร้านค้า รวมถึงกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่างๆ มุ่งไปยังกลุ่มลูกค้าที่เป็นเด็กและหนุ่มสาว
•   รสชาติ คือ กุญแจสำคัญ นมปรุงแต่งรสช็อคโกแลตถือเป็นรสชาติที่ผู้บริโภคชื่นชอบมากที่สุด และจะยังคงครองตลาดวัยรุ่นและหนุ่มสาวอย่างต่อเนื่อง

ฟิลิปปินส์
ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่ง (FM) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.1
เนื่องจาก:
•   มากกว่าร้อยละ 80 ของนมปรุงแต่งในตลาดอยู่ในรูปแบบนมผง
•   เจ้าตลาด คือ เนสท์เล่ ไมโล สำหรับเด็กอายุ 7 ปีขึ้นไป
•   ไมโลเป็นแบรนด์ที่มีความเป็นมาอันยาวนานและได้รับความภักดีจากผู้บริโภคมาตั้งแต่ช่วงยุค 70
•   ในตลาดปัจจุบัน แบรนด์ต่างๆ จำเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการที่ถูกจุด เช่น    นมพร้อมดื่ม นมที่เหมาะกับกลุ่มอายุเฉพาะ เป็นต้น
•   ราคาที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคกำลังมองหา เราจึงเห็นการเปลี่ยนแปลงจากความนิยมบรรจุภัณฑ์ Tetra Brik® Aseptic ขนาด 250 มล. มาเป็น Tetra Wedge® Aseptic ขนาด 110 มล.

ไทย
ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่ง (FM) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.0
เนื่องจาก:
•   มีความต้องการความสะดวกและการประหยัดเวลามากขึ้น นมปรุงแต่งสามารถดื่มแทนมื้ออาหารได้ เพราะช่วยให้อิ่มท้อง เพิ่มพลังงานระหว่างวัน มีแคลเซียม และโปรตีนสูง แถมรสชาติที่อร่อย
•   มีอัตราการเติบโตของการบริโภคแบบ “ออนเดอะโก” และการบริโภคนมนอกบ้านมากขึ้น
•   มีรสชาติที่ให้ทดลองและให้เลือกอย่างหลากหลายในตลาด เช่น รสกล้วย รสเมลอน รสช็อคโกบานาน่า เป็นต้น
•   ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพและโภชนาการมากขึ้น
•   เด็กไทยจำนวนมากชื่นชอบนมปรุงแต่งมากกว่านมจืด ถึงแม้ว่าลูกค้าในกลุ่มแม่บ้านจะชอบซื้อนมจืดสำหรับครัวเรือนมากกว่า แต่กลุ่มลูกค้าเด็กเป็นผู้บริโภคหลักที่ช่วยผลักดันการเติบโตของนมปรุงแต่ง

อินโดนีเซีย
ผลิตภัณฑ์นมปรุงแต่ง (FM) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.7
เนื่องจาก:
•   การเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ผู้คนมีรายรับระดับกลางเพิ่มมากขึ้น ทำให้กำลังซื้อสิ่งต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์นมมากขึ้นตามลำดับ
•   มีการรับรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ทำให้ประชากรพากันต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผลิตภัณฑ์นม
•   การเติบโตของเมืองและไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ที่เร่งรีบ ทำให้อัตราการบริโภคนมพร้อมดื่มสูงขึ้น

อภิธานศัพท์
LDP = Liquid Dairy Product: ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทนม
WM = White Milk: นม หรือ นมจืด ดูตามบริบท
FM = Flavoured Milk: นมปรุงแต่ง
DY = Drinking Yogurt: นมเปรี้ยว
LAD = Lactic Acid Drinks: เครื่องดื่มที่มีกรดแลคติค
JN = Juice Nectar:  น้ำผลไม้ น้ำผลไม้ผสม
LCM = Liquid Cultured Milk: นมเปรี้ยวที่หมักด้วยเชื้อจุลินทรีย์
RTD = Ready to Drink: พร้อมดื่ม