MSN on July 29, 2013, 09:04:26 AM
“ มจธ.ตัวแทนไทยในการแข่งขัน Solar Decathlon Europe2014”

          ข่าว และเสวนา นักศึกษาทีม“SDE KMUTT Team”จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ในฐานะตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขันการออกแบบและสร้างบ้านประหยัดพลังงาน โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ในโครงการSolar Decathlon Europe 2014 ณ เมืองแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศสนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ได้เข้าร่วมแข่งขันในโครงการดังกล่าวและเป็นหนึ่งเดียวของภูมิภาคอาเซียนที่ได้รับคัดเลือกให้เข้ารอบ 20 ทีม จากทั้งหมด 44 ทีมทั่วโลก

พร้อมฟังการเสวนาในหัวข้อ “อนาคตบ้านไทย ฉลาดใช้พลังงานยั่งยืน”และแนวคิด “Adaptive House” การออกแบบและก่อสร้างบ้านฉลาดใช้พลังงานอย่างยั่นยืนดำเนินรายการโดย สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุลนอกจากนี้ ภายในงานยังนำผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบ้านในเชิงอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม อาทิ

          - การออกแบบโครงสร้างไม้ไผ่ลดการนำเข้าเหล็กเส้น
          - คอนกรีตพรุนจากเศษวัสดุก่อสร้าง ลดการใช้ทราย และลดปัญหาน้ำท่วมขัง
          - การประเมินความสามารถต้านทานแผ่นดินไหวและเสริมกำลังอาคารตามมาตรฐาน ASCE/SEI4 41-06
          - ระบบสาธิตการทำงานของโซลาร์เซลล์
          - นวัตกรรมโถปัสสาวะชายแบบประหยัดน้ำพร้อมระบบผลิตปุ๋ยเป็นต้น

MSN on July 29, 2013, 09:05:31 AM
ทีมนศ.มจธ.เจ๋ง! ติด 20 ทีม เข้าแข่งขัน ‘ออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน’  Solar Decathlon Europe 2014 ณ ประเทศฝรั่งเศส



          “KMUTT Thailand” ทีมนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.) ผ่านเข้ารอบ 20 ทีม เข้าแข่งขัน “การออกแบบบ้านประหยัดพลังงานโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ในโครงการ Solar Decathlon Europe 2014” ณ เมืองแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นตัวแทนของประเทศไทยและหนึ่งเดียวของภูมิภาคอาเซียนที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมการแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติ

          โครงการ Solar Decathlon Europe 2014 การแข่งขันการออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นงานแข่งขันระดับนานาชาติ โดยในปี 2014 จะจัดขึ้น ณ เมืองแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งครั้งนี้ทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)ได้รับการคัดเลือกให้ผ่านเข้ารอบ 20 ทีม จากผู้สมัครทั้งหมด 44 ทีมจาก 23 ประเทศทั่วโลก ถือเป็นผู้สมัครจากประเทศไทยทีมเดียวในภูมิภาคอาเซียน และถือเป็น 1 ใน 4 ทีมที่มาจากประเทศแถบเอเชีย ซึ่งนอกจากไทยยังมีญี่ปุ่น , อินเดีย และไต้หวัน

          ดร.วีระพันธุ์ ชินวัตร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยฯ มีความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ที่ผ่านการคัดเลือกติด 1 ใน 20 ทีม หลังจากนี้ทางมหาวิทยาลัยฯ จะต้องทำงานกันหนักมากขึ้นทั้งในเรื่องการเตรียมระบบพี่เลี้ยงให้ทีมนักศึกษาจากหลายๆ คณะ การเตรียมเรื่องการออกแบบ และการสร้างบ้านที่เน้นเรื่องของบ้านอนาคต ภายใต้แนวคิด collective house ขณะเดียวกันจะต้องตอบโจทย์ว่า การออกแบบบ้านจะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อม และความยั่งยืน ที่สำคัญ จะต้องประหยัดพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้แหล่งพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นหลัก

          ดังนั้น นอกจากความร่วมมือภายในมหาวิทยาลัยแล้ว ยังต้องระดมความร่วมมือไปยังผู้เชี่ยวชาญและเอกชนภายนอก ทั้งสถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมา และผู้ประกอบการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง , ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า , ไอที ฯ ตลอดจนภาคบริการ และการขนส่ง เช่น การท่องเที่ยว ฯลฯ เนื่องจากเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติและเป็นเวทีที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก
 
          ล่าสุด สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ได้ทำหนังสือแสดงความยินดีกับทีมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ที่ได้ผ่านการคัดเลือก เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันการออกแบบโครงการวิจัยประหยัดพลังงานภายใต้โครงการ Solar Decathlon Europe ในเดือนมิถุนายน 2014 ที่เมือง Versailles ประเทศฝรั่งเศส

          โดยในครั้งนี้มีจำนวนผู้สมัครที่ส่งโครงการเข้าร่วมถึง 44 ทีม จาก 23 ประเทศ แต่มีเพียง 20 โครงการเท่านั้นที่ได้รับการคัดเลือกให้ผ่านเข้ารอบ ซึ่งทีมผู้สมัครจากประเทศไทยเถือป็นทีมเดียวในภูมิภาคอาเซียน และใน 20 ทีมที่ผ่านเข้ารอบนี้ จะมีระยะเวลา 18 เดือน ในการเขียนแบบไปถึงการทำให้เสร็จออกมาเป็นรูปธรรม ซึ่งก็คือ การออกแบบและการสร้างบ้านซึ่งใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว
โครงการ Solar Décathlon ซึ่งหน่วยงานด้านพลังงานของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ริเริ่มขึ้นในปีพ.ศ.2545 เป็นการแข่งขันระดับนานาชาติที่เปิดโอกาสให้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยและโรงเรียนชั้นสูงจากทั่วโลก และตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 เป็นต้นมา ได้มีการจัดแข่งขันในยุโรปขึ้นทุกๆ 2 ปี

          จากการประชุมด้านสิ่งแวดล้อม ประเทศฝรั่งเศสพยายามที่จะลดการใช้พลังงานต้นกำเนิดในส่วนของอาคาร ซึ่งภาครัฐโดยความร่วมมือของภาคส่วนอื่นๆ (ชุมชนในท้องถิ่น บริษัทเอกชน สมาพันธ์อาชีพ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร) เล็งเห็นว่าการประหยัดพลังงานในส่วนของอาคารเป็นกุญแจหลัก ที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งฝรั่งเศสต้องเผชิญหน้าในอนาคตอันใกล้ ไม่ว่าจะเป็น การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การลดการใช้พลังงานต้นกำเนิด การเพิ่มราคาพลังงานให้สูงขึ้น และการลดการใช้พลังงานฟอสซิล