sianbun on August 29, 2009, 10:19:46 AM
กกพ. ชู 6 แผนยุทธศาสตร์กำกับกิจการพลังงาน เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจบทบาทหน้าที่
ล่าสุดไฟเขียวให้ประกาศ Adder กระตุ้น SPP ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

ศาสตราจารย์กิตติคุณดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยถึงแผนยุทธศาสตร์การดำเนินการ บทบาทหน้าที่ และพันธกิจของ (กกพ.) ทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย

ยุทธศาสตร์ที่ 1 :  การออกใบอนุญาต กำกับดูแลและปกป้องผลประโยชน์ของผู้ใช้พลังงาน ชุมชน และประเทศชาติ มีกระบวนการออกใบอนุญาตและกำกับดูแลที่โปร่งใส มีมาตรฐานปกป้องผลประโยชน์ผู้ใช้พลังงาน ชุมชน  ประเทศชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 :  การส่งเสริมการประกอบกิจการและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 :  การส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดีและการแข่งขันในกิจการพลังงานอย่างเป็นธรรมป้องกันการใช้อำนาจผูกขาดในทางมิชอบ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 :  การส่งเสริมโครงสร้างพลังงานของประเทศให้มีความมั่นคง เชื่อถือได้ และปลอดภัย
ยุทธศาสตร์ที่ 5 :  การส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาระบบพลังงาน ทั้งในส่วนภาคชุมชน ประชาชน ผู้ใช้พลังงานและผู้ประกอบการ
และยุทธศาสตร์ที่ 6 : การพัฒนาองค์กรสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงมีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นองค์กรชั้นนำในระดับประเทศ โดยเน้นการปฏิบัติหน้าที่อย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ที่วางไว้นี้มีบทบาทสำคัญที่กำหนดให้ (กกพ.) รักษาความเป็นธรรมให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่าย ได้แก่ รัฐบาล ผู้ประกอบกิจการพลังงาน ชุมชนและสังคม และผู้ใช้พลังงาน 

ดร.ดิเรก ยังระบุอีกด้วยว่า กกพ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขให้เป็นไปตามแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามมติคณะกรรมการนโยบายนพลังงานแห่งชาติ (กพช.) โดย ได้มอบหมายให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ กฟผ. กฟน. และ กฟภ. ออกประกาศกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) ดังนี้        1. การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล และก๊าซชีวภาพ ที่กำลังผลิตไม่เกิน 1 เมกะวัตต์ ได้รับส่วนเพิ่ม 50 สตางค์/หน่วย มากกว่า 1 เมกะวัตต์ ได้รับส่วนเพิ่ม 30 สตางค์/หน่วย 2. การผลิตไฟฟ้าจากขยะ จากระบบหมักหรือกลบฝังได้รับส่วนเพิ่ม 2.50 บาท/หน่วย ส่วนจากระบบพลังงานความร้อนได้รับส่วนเพิ่ม 3.50 บาท/หน่วย

3. การผลิตไฟฟ้าจากพลังลม กำลังผลิตน้อยกว่า 50 กิโลวัตต์ ได้รับส่วนเพิ่ม 4.50 บาท/หน่วย กำลังผลิตมากกว่า 50 กิโลวัตต์ ได้รับส่วนเพิ่ม 3.50 บาท/หน่วย 4. การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำขนาดเล็กไม่เกิน 200 กิโลวัตต์ ได้รับส่วนเพิ่ม 8 สตางค์/หน่วย กำลังผลิตที่น้อยกว่า 50 กิโลวัตต์ ได้รับส่วนเพิ่ม 1.50 บาท/หน่วย  และ5. การผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ ได้รับส่วนเพิ่มค่าไฟที่ 8 บาท/หน่วย ซึ่งตลอดทั้งแผนส่งเสิรมพลังงานทดแทนของประเทศ 15 ปี ที่ต้องส่งเสริมด้วยส่วนเพิ่มราคาจะกระทบต่อค่า Ft เพียง 8 สตางค์/หน่วยเท่านั้น
« Last Edit: August 29, 2009, 10:54:03 AM by sianbun »