มงคลเมเจอร์ การรถไฟแห่งประเทศไทย และทีมผู้สร้างภาพยนตร์ THE RAILWAY MAN แค้นสะพานข้ามแม่น้ำแคว บุกกาญจนบุรี นำสื่อมวลชน ตามรอยสถานที่ถ่ายทำในประเทศไทย
มงคลเมเจอร์เตรียมนำ THE RAILWAY MAN (เดอะ เรียลเวย์ แมน) แค้นสะพานข้ามแม่น้ำแคว ภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริง ของอดีตเชลย ผู้สร้าง ทางรถไฟสายมรณะ อีริค โลแมกซ์ นักเขียนชาวสกอตแลนซ์ ผู้ที่ได้ชื่อว่า หนังสือเรื่อง THE RAILWAY MAN (เดอะ เรียลเวย์ แมน) ของเขา เป็นหนังสือสงครามที่ขายดีที่สุดในโลกและเมื่อถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ทีมงานได้ ทุ่มทุน 1000 ล้านบาท! เพื่อเช่ารถไฟไทยทั้งขบวน และปิด จ. กาญจนบุรี เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้และยังเนรมิต หัวลำโพง ให้กลายเป็น สิงคโปร์ จุดเริ่มต้นความพ่ายแพ้ของกองทหารสัมพันธมิตรต่อกองทัพญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
เพื่อเข้าฉายในประเทศไทยในวันที่ 24 เมษายน และล่าสุดได้จัดกิจกรรมตามรอยสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ THE RAILWAY MAN (เดอะ เรียลเวย์ แมน) ในประเทศไทย โดยการนำคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่ถ่ายทำจริง ด้วยการเดินทางโดยขบวนรถไฟพิเศษ นานกว่า 5 ชั่วโมง เพื่อเข้าไปยังจุดสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ โดยทีมตามรอยกองถ่ายได้ คุณ ชาร์ลส แซลมอน ไลน์โปรดิวเซอร์ ประจำประเทศไทย ของภาพยนตร์เรื่องนี้มานำทีมบุกและไขข้อข้องใจเกี่ยวกับทุกการถ่ายทำภาพยนตร์
โดยจุดแรกคือ สะพานข้ามแม่น้ำแคว จุดถ่ายทำหลักของเส้นทางสายมรณะ โดยทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยใช้แรงงานเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรและกรรมกรชาวเอเชีย ที่กองทัพญี่ปุ่น เกณฑ์ มาสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า ปัจจุบันเส้นทางนี้ไปสุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือสถานีน้ำตกระยะทางจาก สถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร
และไฮไลทสำคัญของการตามรอยสถานที่ถ่ายทำอยู่ที่บริเวณช่องเขาขาด จุดหฤโหดที่ยากที่สุดในการขุดสร้างเส้นทางรถไฟ และเป็นจุดที่ทหารเชลย ต้องสังเวยชีวิตมากที่สุด ณ ช่องเขานี้ “หากนับหมอนหนุนรางรถไฟมีเท่าไหร่ จำนวนผู้คน-เชลยศึกที่ถูกเกณฑ์มาสร้าง ทางรถไฟ สายนี้ก็ตายไปเท่านั้น” นี่คือคำเล่าขานถึงเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ ไทย-พม่า ระยะทางกว่า 415 กิโลเมตรนี้ คือ ความหฤโหด ทารุณ และยากลำบาก ของสิ่งที่เชลยศึกได้รับ จนได้รับการขนานนามว่า “เส้นทางรถไฟสายมรณะ”
“The Railway Man (เดอะ เรียลเวย์ แมน) ในประเทศไทยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ โดยฉากที่ช่องเขาขาดถือเป็นฉากใหญ่ เราต้องเซตโลเกชั่นทั้งหมดให้ดูเหมือนช่วงยุคสงครามโลกจริงๆ และ ต้องใช้นักแสดงประกอบจากหลายประเทศ เพื่อให้ดูเป็นทหารสัมพันธมิตร และ กองทัพญี่ปุ่นจริงๆ ส่วนใหญ่เราจะถ่ายทำในช่วงการคืนเพื่อให้บรรยากาศดูสงบแต่ต้องเซตแสงให้เป็นกลางวัน ดังนั้นงบประมาณในการถ่ายทำของภาพยนตร์เรื่องนี้จึงค่อนข้างสูงครับ”
“สำหรับการคัดเลือกนักแสดง โคลิน เฟิร์ธ และ นิโคล คิดแมน คือตัวเลือกแรกของเรา เพราะตัวละครในหนังมีความซับซ้อนในเรื่องความรู้สึกมาก ซึ่งทั้ง โคลิน และ นิโคล ก็สามารถ ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาให้ ผู้ชมเข้าถึง และ ประทับใจได้“ ชาร์ล แซลมอน ไลน์ โปรดิวเซอร์ ของภาพยนตร์เรื่อง THE RAILWAY MAN (เดอะ เรียลเวย์ แมน) กล่าว
THE RAILWAY MAN แค้นสะพานข้ามแม่น้ำแคว
24 เมษายนนี้ ทุกโรงภาพยนตร์