MSN on February 23, 2013, 05:04:52 PM
“คนไทย มอนิเตอร์” ชี้ คนไทยพอใจคุณภาพชีวิตลดลง



          “คน ไทย มอนิเตอร์” การสำรวจระดับชาติที่ใหญ่ที่สุดประจำปี 2555 ชี้ คนไทยพอใจในคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ลดลงจากปี 2554 แม้จะเห็นว่าการพัฒนาประเทศมีความเหมาะสมมากขึ้น ขณะเดียวกันยังระบุว่าปัญหาระดับประเทศและสังคมรุนแรงมาก

          “คน ไทย มอนิเตอร์” เป็นการสำรวจระดับชาติที่ใหญ่ที่สุด ริเริ่มโดยมูลนิธิ เพื่อ “คนไทย” และจัดทำขึ้นโดยสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากสมาคมวิจัยโลก (ESOMAR) และได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรชั้นนำ ในการสำรวจดังกล่าวได้เก็บข้อมูลที่ครอบคลุมคนไทย 100,000 คน ทั่วทั้ง 77 จังหวัด ในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2555 จึงเป็นโครงการที่สะท้อนเสียงที่แท้จริงและโปร่งใสของประชาชน วัดระดับคุณภาพชีวิต และสะท้อนภาพรวมของการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศไทยในระยะยาว การสำรวจดังกล่าวครอบคลุมประเด็นเรื่องความอยู่ดีมีสุขของคนไทยใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ทัศนคติและความเชื่อมั่น การพัฒนาประเทศและท้องถิ่นที่อยู่อาศัย และปัญหาด้านสังคมและความเป็นอยู่ที่ประสบ รวมทั้งสรุปเสียงสะท้อนที่แท้จริงของคนไทย

          นายวิเชียร พงศธร ประธานมูลนิธิ เพื่อ “คนไทย” กล่าวว่า “โครงการ “คนไทย มอนิเตอร์” เสียงนี้มีพลัง ริเริ่มขึ้นเพื่อเป็นกลไกการรับฟังเสียงของประชาชนคนไทยอย่างเป็นระบบและ ทั่วถึง เราเชื่อมั่นว่าประเทศไทยที่ดีกว่าต้องเป็นจริงได้ เริ่มจากการที่เราหันมาฟังคนไทยพูดกับคนไทยด้วยกัน คิดและลงมือทำเพื่อพัฒนาและสร้างสังคมที่ดีมีสุขอย่างเป็นระบบ”

          สำหรับ ผล “คนไทย มอนิเตอร์” ที่ศึกษาในปี 2555 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยมาก ได้แก่ ปัจจัยด้านรายได้ ทรัพย์สินและหนี้สิน รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ค่าครองชีพที่สูงขึ้น สุขภาพ ความมั่นคงในการทำงาน การใช้เวลาร่วมกันในครอบครัวที่น้อยลง และไลฟ์สไตล์ ขณะที่สิทธิและความเท่าเทียมกันในสังคม สิ่งแวดล้อม รัฐบาล บทบาทของสื่อ และบทบาทของภาคธุรกิจต่อประเทศมีความสำคัญรองลงมา
          รายได้ดีขึ้น แต่พอใจในคุณภาพชีวิตน้อยลง
          ใน ปีที่ผ่านมา “คนไทย มอนิเตอร์” พบว่า ความพึงพอใจของคนไทยยังคงกระจุกตัวอยู่ที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นหลัก สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยยึดถือปัจจัยทางวัตถุมากขึ้น เมื่อพิจารณาว่าคนไทยเห็นว่าคุณภาพชีวิตของตนด้อยลงทั้งๆ ที่พอใจมากขึ้นกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น รายได้ ฯลฯ โดยผลการสำรวจระบุว่าความ
          มูลนิธิเพื่อ “คนไทย”เลขที่1 ซอยพรีเมียร์ 2 ถนนศรีนครินทร์ หนองบอนประเวศ กรุงเทพฯ 10250
          โทร 0-2301-1000ต่อ 1056 โทรสาร 0-2301-1439 www.khonthaifoundation.org

          พึง พอใจต่อรายได้เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 68 เป็น ร้อยละ 68.29 ขณะที่ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมลดลงจากร้อยละ 78.1 เป็น ร้อยละ 74.7 ประเด็นนี้ชี้แนะให้เห็นว่าปัจจัยด้านเศรษฐกิจมิได้มีความสำคัญสูงสุดต่อ คุณภาพชีวิต แต่ปัจจัยอื่น เช่น การใช้เวลากับครอบครัว มีความสำคัญต่อการสร้างสมดุลในการใช้ชีวิต และหากมีการรณรงค์ให้คนไทยเข้าใจและนำหลักความพอเพียงมาปฏิบัติในชีวิตประจำ วันแล้ว จะเกิดความสมดุลในชีวิตมากขึ้น พอใจในคุณภาพชีวิตมากขึ้น
          ครอบครัวคือพื้นฐานสำคัญในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ
          ผล การสำรวจของ “คนไทย มอนิเตอร์” ประจำปี 2555 พบว่า คนไทยรู้สึกว่าความเข้มแข็งของครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญต่อความพึงพอใจในความ เป็นอยู่ และสังคมไทยมีสิ่งแวดล้อมทางครอบครัวและสังคมที่ดีพอควร อย่างไรก็ดีพบว่าความ พึงพอใจด้านครอบครัวลดลงเหลือร้อยละ 82.86 จากร้อยละ 84.57 ในปีก่อนหน้านี้ ความเข้มแข็งนี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาเยาวชนที่สำคัญยิ่ง
          ส่วน ด้านการพัฒนาเยาวชนนั้น คนไทยเห็นว่าควรปลูกฝังค่านิยมที่พึงประสงค์ 5 อันดับ ได้แก่ ห่างไกลยาเสพติด รักการเรียน คุณธรรมและจริยธรรม การประหยัดอดออมรู้ค่าของเงิน และความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการพัฒนาเยาวชนให้มีคุณภาพเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมที่มี คุณภาพต่อไป ส่วนด้านการศึกษาคนไทยพอใจกับการศึกษาหรือการรู้หนังสือในปัจจุบันพอสมควร หากแต่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของคุณภาพการศึกษา
          อีกประเด็น หนึ่งที่น่าสนใจคือ คุณลักษณะของคนไทยที่มีลักษณะขัดแย้งกัน ด้านบวกที่คนไทยเห็นว่าดี คือ มีน้ำใจ อบอุ่น เป็นมิตร แต่ด้านลบ ได้แก่ ความเห็นแก่ตัว ไม่รับฟังผู้อื่นหรือยึดมั่นในความคิดของตน ขาดวินัย เอาตัวรอด ประเด็นเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าคนไทยแม้จะมีน้ำใจ แต่ไม่ได้เน้นความจริงใจมากนัก ซึ่งสะท้อนว่าหากจะพัฒนาสังคมและประเทศให้ก้าวหน้า จำเป็นที่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะครอบครัวจะต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคนให้มี คุณภาพและคุณลักษณะที่เหมาะสม
          พอใจในบทบาทภาครัฐและเอกชนมากขึ้น แต่เห็นความรุนแรงของการคอรัปชั่นมากขึ้น
          ใน ด้านภาพรวมและเศรษฐกิจ การเมือง การปกครองพบว่า แม้คนไทยจะพอใจมากขึ้นต่อการทำงานของรัฐบาล(เพิ่มจากร้อยละ 58.43 เป็นร้อยละ 64.43) และเอกชน (เพิ่มจากร้อยละ 63.29 เป็นร้อยละ 65.71) แต่การจัดการภาครัฐยังไม่เป็นไปตามหลักความเสมอภาคในกรอบกฎหมาย และเห็นว่าการคอรัปชั่นยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยเป็นปัญหาใหญ่อันดับต้นๆ ในสังคม แม้รัฐบาลและภาคเอกชนจะได้กำหนดให้การป้องกันและปราบปรามทุจริตเป็นนโยบาย เร่งด่วน แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีข้อจำกัดอยู่มาก
          กังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
          สิ่ง ที่คนไทยเห็นว่ายังคงเป็นปัญหาสำคัญในชีวิตและสังคม นอกจากจะมีปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น ค่าครองชีพและราคาสินค้าที่สูงขึ้น ยาเสพติดที่ระบาดทั่วไป รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายแล้วนั้น ประเด็นใหม่ที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงมากคือประเด็นที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะภาวะโลกร้อน ความแห้งแล้ง ภัยน้ำท่วม มลพิษในด้านต่างๆ ส่วนเรื่องอื่นที่เป็นปัญหามานานและยังคงเป็นปัญหาอยู่ ได้แก่ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ อบายมุข เช่น หวย การพนัน การดื่มเครื่องดื่มมึนเมา รวมทั้งการทุจริต และอาชญากรรม
          ภาคประชาชนตื่นตัวมากขึ้นที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีกว่า
          ผล การศึกษาระบุว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังกังวลเรื่องปัญหาส่วนตัวมากกว่าปัญหาสังคม หรือประเทศ ซึ่งอาจชี้ให้เห็นว่าคนไทยสนใจเรื่องส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม และความขัดแย้งทางการเมือง ทำให้คนเบื่อและไม่อยากยุ่งเรื่องการเมือง
          อย่าง ไรก็ดี คนไทยส่วนใหญ่เริ่มตื่นตัวและพยายามมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและประเทศมาก ขึ้น โดยที่ร้อยละ 82 เน้นการพัฒนาเพื่อตนเอง เช่น การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การไม่สร้างปัญหาเพิ่มเติมให้แก่สังคม การประพฤติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม ยึดมั่นในศีลธรรม เป็นต้น มีเพียงร้อยละ 46 ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเพื่อสังคม เช่น การร่วมมือในกิจกรรมพัฒนาชุมชนหรือสังคม สร้างความสามัคคีในชุมชน และการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น อย่างไรก็ดี ความพยายามของท้องถิ่นและชุมชนในการมีส่วนร่วมพัฒนายังประสบข้อจำกัด เนื่องจากกระบวนการต่างๆ ต้องดำเนินไปตามกฎระเบียบที่ไม่ยืดหยุ่น ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่ายังมีโอกาสที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการพัฒนาสังคมและชุมชน (Active Citizenship) เพื่อร่วมกันผลักดันให้สังคมพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น
          โซเชียลมีเดียครองใจคนรุ่นใหม่
          ใน ปี 2555 ที่ผ่านมา “คนไทย” มอนิแตอร์ เสียงนี้มีพลัง ได้สำรวจความเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสื่อเป็นครั้งแรก และพบว่า โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวิทยุยังคงเป็นสื่อหลัก และสำหรับคนรุ่นใหม่ที่มีอายะระหว่าง 15-29 ปี สื่อใหม่ เช่น เว็บไซต์และสังคมออนไลน์ กลายเป็นสื่อหลักที่กลุ่มนี้ใช้ในการรับและค้นหาข้อมูล และเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับคนไทยในการ ถกประเด็นสาธารณะได้อย่างอิสระ ซึ่งคณะผู้จัดการสำรวจเห็นว่าสื่อใหม่จะช่วยสร้างพลเมืองที่ตื่นรู้ต่อไป และเป็นช่องทางสำคัญที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรรับผิดชอบร่วมกันในการสร้าง คอนเทนท์ที่มีประโยชน์และส่งเสริมการพัฒนาประเทศมากขึ้น
          ความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อสังคมแข็งแรง
          คณะที่ทำการศึกษานี้ระบุว่า การพัฒนาประเทศนั้นไม่อาจพึ่งรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว แต่ภาคเอกชนสามารถเป็นกลไกสำคัญที่จะเข้ามามามีบทบาทในการผลักดันการพัฒนา ทั้งในด้านการกำหนดนโยบายการทำงานที่มุ่งเน้นความสมดุลในชีวิตเพื่อให้ ประชาชนรู้สึกพึงพอใจกับคุณภาพชีวิตมากขึ้น การดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและพึงพอใจต่อภาค เอกชน การส่งเสริมให้พนักงานเป็นพลเมืองที่มีความตื่นตัวและมีส่วนร่วมในการพัฒนา สังคมอันเป็นการสร้างรากฐานและผลักดันให้การพัฒนาสังคมเป็นไปได้อย่างมีพลัง มากขึ้น การจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อบริหารจัดการโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อผลักดันกิจกรรมพัฒนาสังคมอย่างจริงใจและเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อ ส่วนรวม และการใช้สื่อดิจิตอลในทางที่เหมาะสมเพื่อสื่อสารหรือให้ข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ ส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดจนคุณลักษณะที่ดี
          นาย วิเชียรกล่าวสรุปว่า “การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนและการสร้างสังคมอยู่ดีมีสุข มีความจำเป็นที่จะต้องรับฟังเสียงและเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของคนไทย ทุกคน การสำรวจความเห็นของคนไทยที่ “คนไทย” มอนิเตอร์ เสียงนี้พลัง ได้ริเริ่มและจะทำต่อไป จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะจุดประกายให้ทุกภาคส่วนได้ทำหน้าที่ของตนเอง และร่วมมือร่วมใจกันทำกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า”