pooklook on December 06, 2012, 04:07:30 PM
แต่ ทว่าใครถ้าเริ่มมีอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยอ่อนอยู่เป็นระยะ เวลานานอาจเป็นเดือน หลายเดือนหรือเป็นปีภายหลังจากที่ต้องพบกับภาวะเครียดอย่างรุนแรง เป็นต้น อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรงของคนปกติมักจะหายไปภายหลังการได้พัก นอนหลับให้เต็มที่สัก 2-3 วัน แต่ถ้าใครไม่หายบางทีคุณอาจจะกลายเป็นผู้ป่วยในกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง ได้

โดย พ.อ. (พ) รศ.นพ.สามารถ นิธินันทน์ อายุรแพทย์ด้านประสาทวิทยา โรงพยาบาลวิภาวดี บอกว่า กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง หรือ Chronic Fatique Syndrome (CFS) ซึ่งในที่นี้ขอเรียกว่าโรคเซ็งเรื้อรัง เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังแต่ประการใด และการพักผ่อนก็ไม่ช่วยให้อาการเหล่านี้ดีขึ้น รวมถึงอาจจะพบอาการอื่นๆ ร่วมด้วย และต้องมีอาการอ่อนล้าเรื้อรังเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการหลังการเป็นไข้หวัดใหญ่ อย่างไรก็ดี กลไกการเกิดโรคจะทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันและระบบต่อมไร้ท่อ ด้วยเหตุนี้องค์การอนามัยโลกจึงได้จัดกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังเป็นโรคทาง ระบบประสาท

สำหรับกลุ่มอาการนี้พบราว 3,000 คนต่อประชากร 100,000 คน ทั้งนี้เนื่องจาก คำจำกัดความของโรคที่แตกต่างกันดังกล่าวมาแล้วนั่นเอง แต่องค์กรสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกาได้ประเมินว่า ชาวอเมริกันมากกว่า 1,000,000 คนเป็นโรคนี้ และในประเทศอังกฤษพบราว 250,000 คน ส่วนใหญ่พบในคนที่มีอายุระหว่าง 40-50 ปีสำหรับในประเทศกลุ่มอาเซียน ได้แก่ เวียดนาม 151,953 คน ฟิลิปปินส์ 158,532 คน สิงคโปร์ 8,003 คน ส่วนประเทศไทยพบว่าคนเป็นโรคนี้ 119,238 คน

กลุ่มอาการอ่อนล้า เรื้อรังเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ แต่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยพบมากในคนที่มีอายุระหว่าง 40-50 ปี ซึ่งอาจจะมีคนในครอบครัวมีอาการเช่นนี้ด้วย แต่ไม่ใช่โรคติดต่อ

“กลุ่ม อาการอ่อนล้าเรื้อรังจะเกี่ยวข้องกับโรคหลายๆ ระบบ จึงทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น เหนื่อยง่าย รู้สึกไม่สดชื่นหลังตื่นนอน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ สมาธิสั้น เป็นต้น จนมีผลต่อร่างกายและจิตใจในที่สุด สำหรับอาการอื่นๆ ที่อาจพบได้อีกอย่าง เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความรู้สึกไว เปลี่ยนท่าเร็วๆ ไม่ได้ อาหารไม่ย่อย ซึมเศร้า และภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติเกิดปัญหากับหัวใจและปอด เป็นต้น ” รศ.น.พ. สามารถ บอกต่อว่า อาการเริ่มต้นของโรคดังกล่าว ส่วนใหญ่มักเกิดอาการ อย่างเฉียบพลันทันที เช่น มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ ด้วยเหตุนี้ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค แห่งสหรัฐอเมริกาจึงให้เกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคนี้ไว้ว่าต้อง ประกอบด้วยอาการอ่อนล้าที่เกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวข้องกับการออกแรง จนมีผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวัน และแม้จะพักก็ไม่หาย รวมถึงต้องมีอาการต่อไปนี้ตั้งแต่ 4 อย่าง ขึ้นไปเป็นเวลานานอย่างน้อย 6 เดือน คือ

 ไม่ มีสมาธิ ความจำเสื่อมถอย สมาธิสั้น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังออกกำลัง รู้สึกว่าร่างกายและสมองเกิดความอ่อนล้า หลับไม่เต็มอิ่ม ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อหลายข้อ ปวดหัวอย่างรุนแรง เจ็บคอบ่อยๆ เจ็บบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณคอ หรือรักแร้ และอาจจะมีอาการที่ตรวจพบร่วมด้วย ได้แก่ ปวดมวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเสีย หนาวสั่นและเหงื่อออกในเวลากลางคืน เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด ไอเรื้อรัง การมองเห็นผิดปกติ แพ้หรือไวต่ออาหาร แอลกอฮอล์ กลิ่น สารเคมี ยาหรือเสียง ยืนนานๆ จะมีอาการเป็นลม วิงเวียน ซึมเศร้า อารมณ์ไม่แน่นอน

“ถ้า พบว่ามีอาการดังกล่าวผู้ป่วยมักจะบอกว่ามีความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ลดลง โดยเฉพาะงานที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นอาการที่คล้ายๆ กับคนที่เป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคเอดส์ระยะท้าย โรคลูปัส โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และอาจจะส่งผลต่อการทำงานมากกว่าโรคบางโรค เช่น หัวใจล้มเหลว เบาหวาน เป็นต้น ซึ่งผุ้ป่วยประมาณ 2 ใน 3 จะทำงานได้น้อยลงหากได้พักอาการก็จะดีขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว แต่ไม่สามารถกลับมาทำงานอย่างเต็มที่ได้เหมือนเดิม เชาวน์ปัญญาผู้ป่วยอาจจะมีเชาวน์ปัญญาเสื่อมถอยเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากสมาธิ ความจำและการตอบสนองเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงต้องใช้เวลานานขึ้นในการทำความเข้าใจงานที่ทำจนอาจจะเกิดความเสียหายใน การทำงานได้รวมถึงยังมีความสามารถในการรับรู้ การพูด การใช้ภาษา และความมีเหตุผลลดลง”

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นโรคที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย หากไม่ได้รับการรักษา แต่เนื่องจากยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง ทำให้แพทย์ผู้ตรวจรักษาจำเป็นต้องค้นหาสาเหตุของโรคตามอาการที่ปรากฏ ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาใดๆ ที่ทำให้โรคนี้หายขาดได้จึงมีผู้ป่วยเพียง 5% ที่มีโอกาสหายขาด จากการรักษาตามอาการ ขณะที่ผู้ป่วยจำนวนมากไม่หายขาดแม้ว่าจะได้รับการรักษาด้วยวิธีการดูแล เรื่องอาหาร การทำกายภาพบำบัด การให้อาหารเสริม ยาต้านโรคซึมเศร้า การใช้สารปรับเปลี่ยนภูมิคุ้มกันยานอนหลับ เป็นวิธีการที่ยังให้ผลการรักษาไม่ดีนัก

 สุด ท้ายนี้ ผู้ที่มีอาการเรื้อรังควรพยายามรักษาสุขภาพของตนเอง รับประทานอาหารและพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายพอสมควร ที่จะไม่ให้เกิดอาการอ่อนเพลียอีก ผู้ป่วยควรจะรู้จักวิธีดูแลตนเองให้เหมาะทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาเพราะความเครียดอาจจะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้นได้

และที่ สำคัญควรรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง และชวนคนรอบตัวหันไปมองเรื่องดีๆ ทำสิ่งดีๆ ที่ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เพียงเท่านี้ก็จะสามารถเป็นยาป้องกันที่ดีที่สุดที่ทำให้ท่านไกลจากโรคที่ ไม่มียารักษาแต่มีอานุภาพบั่นทอนสุขภาพได้อย่างรุนแรง ให้ห่างไกลจากคนในสังคมไทยได้อย่างแน่นอน


ที่มา ... โรงพยาบาลวิภาวดี