ทีดีอาร์ไอระดมสมองวิเคราะห์อนาคตข้าวไทย
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
วานนี้(31 ตุลาคม 2555) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI)และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) จัดสัมมนาระดมสมองหัวข้อ “ภาพอนาคตเศรษฐกิจข้าวไทย” ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์ข้าวไทย การวิจัยและพัฒนาข้าวไทย และการมองไปข้างหน้า นำโดย ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ โดยเชิญผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตและการค้าข้าวจากหลายฝ่ายเข้าร่วม เช่น ผู้แทนเกษตรกร ผู้ผลิตปัจจัยการผลิต โรงสี หยง ผู้ส่งออก และนักวิชาการ ร่วมกันระดมสมองวิเคราะห์อนาคตและทิศทาง อุตสาหกรรมข้าวไทยดร. นิพนธ์ ได้นำเสนอ ภาพรวมและแนวโน้มระบบเศรษฐกิจข้าวไทยโดยมีสาระสำคัญ คือการบริโภค : แนวโน้มการบริโภคข้าวต่อหัวลดลงทั่วโลก โดยเฉพาะชาวเอเชียซึ่งหันไปบริโภคอาหารอื่นแทนข้าวและได้รับวัฒนธรรมการ บริโภคจากตะวันตกมากขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลสถิติแสดงให้เห็นว่า ในทศวรรษที่ผ่านมาอัตราเพิ่มประชากรสูงกว่าอัตราเพิ่มของผลผลิตต่อไร่ ทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น ในส่วนของประเทศไทย การบริโภคข้าวมีแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในปี 2554 คนในเมืองบริโภคข้าวเพียง 84 กิโลกรัมต่อคนต่อปี เมื่อเทียบกับ 93 กิโลกรัมต่อคนในปี 2545 (ส่วนคนในชนบทบริโภคข้าวจาก 114 กิโลกรัมต่อคนในปี 2545 ลดลงเหลือ 99 กิโลกรัมต่อคนในปี 2554) นอกจากนี้ งานวิจัยของดร.นิพนธ์แสดงให้เห็นว่า คนไทยที่กินข้าวหอมให้ความสำคัญกับองค์ประกอบสามประการคือ 1) คุณภาพข้าวที่หุง 2) แหล่งที่มาและ 3) ตราสินค้า ในขณะที่ผู้บริโภคข้าวขาวเน้น 1) สีเมล็ดขาว 2) ขนาดบรรจุ และ 3) แหล่งที่มาการผลิต : ผลวิจัยของทีดีอาร์ไอสรุปข้อมูลสถิติการผลิตข้าวว่า มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 24% ต่อปีสำหรับข้าวนาปีและ 3.58% ต่อปีสำหรับข้าวนาปรัง สาเหตุสำคัญของการเพิ่มผลผลิตตลอดระยะกว่า 50 ปีที่ผ่านมาคือ 1) เพิ่มผลผลิตต่อไร่ของพื้นที่เพาะปลูก (เพิ่มขึ้นกว่า 43.4%) 2) เพิ่มพื้นที่กว่า 35% 3) เพิ่มรอบการเพาะปลูกกว่า 14.6% และ 4) ผลผลิตต่อไร่เพิ่มจากการเปลี่ยนเวลาเพาะปลูก 6.7% ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่จะมีผลต่ออนาคตการผลิตคือ ราคาข้าวในตลาดการส่งออก : ในตลาดโลก แนวโน้มการส่งออกข้าวยังคงเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แต่ประเทศผู้ส่งออกอย่างเวียดนามและปากีสถานมีแนวโน้มการส่งออกข้าวที่สูง ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (เวียดนามส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นจาก 13% เป็น 21% ของปริมาณข้าวส่งออกทั้งหมดและปากีสถานส่งออกข้าวเพิ่มจาก 6% เป็น 12.8% ของปริมาณส่งออกทั้งหมด) ในขณะที่ปริมาณการส่งออกของไทยลดลงจาก 32.2% เป็น 27.3% ของปริมาณข้าวส่งออกในตลาดโลก ไทยส่งออกข้าวขาวเป็นอันดับหนึ่ง (44.3%) รองลงมาคือข้าวนึ่ง (31.8%) และข้าวหักหอมมะลิ (7.3%) ทั้งนี้ ดร.นิพนธ์มีความเห็นว่า การส่งออกข้าวขาวใน 15 ปีข้างหน้าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะที่ข้าวหอมและข้าวนึ่งที่มีราคาสูงและคุณภาพดีจะยังคงมีแนวโน้มการส่ง ออกที่ดีอยู่สิ่งท้าทาย : อย่างไรก็ตาม ดร.นิพนธ์ทิ้งท้ายว่า แนวโน้มการส่งออกข้าวขาวของไทยอาจประสบภาวะขาดทุนด้วยสาเหตุ 2 ประการคือ 1) ต้นทุนส่งออกต่ำกว่าราคาส่งออกเนื่องจากราคาที่พ่อค้าซื้อข้าวจากชาวนาหลัง จากหักค่าใช้จ่ายทุกประเภทต่ำกว่าต้นทุนของชาวนา – 2) ในอนาคตราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงเพราะการบริโภคลดลง แต่การผลิตต่อไร่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทางเลือกของเกษตรกรไทยในอนาคต : ดร.นิพนธ์ระบุว่ามี 3 ทางเลือกของเกษตรกรชาวนาและผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับข้าวดังนี้ · เพิ่มผลผลิตต่อไร่ – ควรมีการส่งเสริมให้เกิดการวิจัยพันธุ์ข้าวที่มีประสิทธิภาพและสามารถช่วย เพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ เช่นข้าวพันธุ์สุพรรณ 1 ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าชัยนาท 1และ 2 ประมาณ 56-76 กิโลกรัมต่อไร่ · เพิ่มผลผลิตต่อชาวนา (รายได้ต่อหัว) – เกษตรกรไทยยังมีแรงงานส่วนเกินเป็นจำนวนมาก ในหลายประเทศที่มีที่ดินน้อยกลับมีผลผลิตต่อชาวนาและพื้นที่เพาะปลูกสูง (เช่นประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เป็นต้น) ในขณะที่ไทยยังมีผลผลิตต่อเกษตรกรต่ำ นัยยะเชิงโยบายต่อประเด็นนี้คือ ควรมีการโยกย้ายแรงงานออกจากเกษตรที่ยังมีเกือบ 40% และควรมีการเพิ่มขนาดฟาร์มเหมือนประเทศแถบยุโรป/อเมริกาและเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้เครื่องจักรกรการเกษตรมากขึ้น · เพิ่มมูลค่าข้าว/ราคาข้าว – ควรปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมที่ได้รับความนิยมในตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณภาพในการ แข่งขันมากขึ้น นอกจากนี้ เกษตรกรอาจแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่ากับวัตถุดิบที่มีอยู่ (value-added)บทสรุป : อนาคตของอุตสาหกรรมข้าวไทย มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ในปัจจุบัน ไทยยังมีแรงงานในภาคเกษตรอยู่กว่า 40% และไทยควรสร้างการเจริญเติบโตแบบทั่วถึงและครอบคลุมภาคเกษตรทั้งในเมืองและ ชนบท ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่ออนาคตข้าวไทยคือการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ต่อชาวนาและเพิ่มมูลค่าข้าวไทยให้สูงขึ้น ข้อสรุปที่ได้จากงานระดมสมองคือ ตลาดข้าวไทยยังคงต้องพัฒนาข้าวที่มีคุณภาพดีก่อนและเน้นในเรื่องของปริมาณใน ภายหลัง ซึ่งในปัจจุบันคู่แข่งส่งออกข้าวของไทยสามารถพัฒนาคุณภาพข้าวของตนให้มี คุณภาพสูงขึ้นมาก ผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร รัฐบาล โรงสีและผู้วิจัยพันธุ์ข้าวควรหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาข้าวไทยในเชิง คุณภาพ ตั้งแต่ต้นธารการผลิต การบริหารจัดการด้วยนวัตกรรมบริการในเรื่องข้อมูลข่าวสาร การพัฒนาเทคโนโลยี/การใช้เครื่องจักรมากขึ้น รวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐในการสร้างมาตรฐานข้าวไทยและส่งเสริมกลุ่มเกษตรไทยที่ถูกต้อง.