MSN on February 28, 2012, 07:29:35 PM
ฟูจิตสึโชว์พลัง “รักษ์โลก” จับมือภาครัฐ ไทย-ญี่ปุ่น แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมให้มาบตาพุด



28 กุมภาพันธ์ 2555 - บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด สนับสนุนเทคโนโลยีในโครงการ ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น ควง สวทช. และ จุฬาฯ เดินหน้า พัฒนาโซลูชั่นไอที แก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง

การพัฒนาความร่วมมือในครั้งนี้ เป็น โครงการวิจัยระหว่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมผ่านความร่วมมือกับทาง NEDO (New Energy and Industrial Technology Development Organization) หรือกระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นโครงการที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลหลัก ในการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงด้านสิ่งแวดล้อมของฟูจิตสึ โดยเริ่มมาจากทางรัฐบาลไทย ได้ขอความช่วยเหลือมาทาง NEDO ในเรื่อง "ข้อเสนอโครงการแผนงานความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม" ซึ่งทาง NEDO เล็งเห็นว่า ทางฟูจิตสึ มีประสบการณ์ในการการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่นมาอยู่ก่อนแล้ว จึงได้มอบหมายให้ทำแผน "การวิจัยร่วมกันเพื่อติดตามสารอินทรีย์ไอระเหยและการจัดการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย" โดยนำมาใช้ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง

มร.มาซากิ คาจิยามา ประธาน บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซิเนส (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า “ฟูจิตสึมีความยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย และคาดว่าเราสมารถทำได้เป็นอย่างดี เพราะฟูจิตสึประสบการณ์จริงในด้านการพัฒนาโซลูชั่นเพื่อสิ่งแวดล้อมและเห็นผลมาแล้วในประเทศญี่ปุ่น ทำให้เรามีความพร้อมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยี โซลูชั่น และองค์ความรู้ ด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย กระทั่งช่วยพัฒนาทักษะของวิศวกรด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น โดยเริ่มที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ก่อนเป็นอันดับแรก ในโครงการ "ข้อเสนอโครงการแผนงานความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม"

สำหรับโครงการดังกล่าวนี้ ฟูจิตสึ รับหน้าที่จัดสร้างระบบพีซีคลัสเตอร์ที่ทำงานเป็นแพลตฟอร์มหลักในการส่งเสริมงานวิจัยของทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระบบติดตามสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมในโครงการดังกล่าว ซึ่งประกอบไปด้วยการรวบรวมข้อมูล ติดตาม และวิเคราะห์ปัญหามลภาวะ อาทิ สารอินทรีย์ไอระเหย (VOC - Volatile Organic Chemicals) มลพิษทางกลิ่น รวมไปถึงก๊าซโอโซน ในพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ทั้งนี้ข้อมูลที่รวบรวมผ่านระบบจะถูกนำไปใช้เพื่อรองรับงานวิจัยด้านโมเดลคาดการณ์การแพร่กระจายของสารอินทรีย์ไอระเหย ซึ่งจัดทำโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถานอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล โดยร่วมมือกับทางหน่วยงาน ACAP (Asia Center for Air Pollution Research) ในฐานะศูนย์วิจัยด้านมลพิษทางอากาศแห่งสำคัญของเอเชีย โดยเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมของฟูจิตสึ ที่เคยถูกใช้ในโซลูชั่นด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศญี่ปุ่น จะถูกถ่ายทอดให้แก่ประเทศไทยเพื่ออบรมวิศวกรในประเทศให้มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้มากขึ้น

เกี่ยวกับ ฟูจิตสึ ลิมิเต็ด
ฟูจิตสึ เป็นผู้นำตลาดสัญชาติญี่ปุ่นด้านข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีครอบคลุมทุกความต้องการ รวมถึงโซลูชั่น และการบริการ อย่างครบวงจร ฟูจิตสึมีพนักงานมากกว่า 170,000 คน ให้บริการลูกค้าในกว่า 100 ประเทศ ฟูจิตสึใช้ประสบการณ์ที่สะสมมานาน ผนวกกับเทคโนโลยีไอซีที ในการเปลี่ยนแปลงอนาคตที่ดีให้กับสังคมและลูกค้า เป็นผลทำให้ ฟูจิตสึ ลิมิเต็ด (TSE:6702) รายงานรายได้ประจำปีงบประมาณการเงินสิ้นสุด ณ 31 มีนาคม 2554 รวม 4.5 ล้านล้านเยน (หรือประมาณ 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่
www.fujitsu.com

เกี่ยวกับ บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2533 เพื่อให้บริการด้าน คอมพิวเตอร์ สแกนเนอร์ เซิร์ฟเวอร์ ซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจ คลาวด์โซลูชั่น และโซลูชั่นอื่นๆ ได้แก่ โซลูชั่นสำหรับร้านค้า การผลิต การบริหาร Supply Chain ในโรงงาน รวมไปถึง IT Infrastructure ระบบการจัดการด้านทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารด้านการเงิน ระบบควบคุมเอกสาร ระบบ E-learning การบริการ Outsourcing บริการโซลูชั่นด้านความปลอดภัย และป้องกันไวรัสครบวงจร และยังมีบริการดูแลเครือข่าย 24 ชั่วโมงอีกด้วย โดยมุ่งตอบโจทย์ทั้งในด้านประสิทธิภาพการทำงานที่ครอบคลุม และเทคโนโลยีกรีนไอซีทีช่วยลดการใช้พลังงาน มลภาวะ สามารถใช้งานง่าย มีความคุ้มค่าในการลงทุน ครอบคลุมความต้องการของธุรกิจหลากหลาย เช่น ด้านการผลิต การศึกษา การค้าปลีก การธนาคาร เป็นต้น สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://th.fujitsu.com

MSN on February 28, 2012, 07:30:24 PM
รายละเอียด โครงการความร่วมมือ

โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือด้านการวิจัยร่วมกันเพื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาดูแลปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ผ่านหน่วยงาน NEDO (New Energy and Industrial Technology Development Organization) ที่ดูแลด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับพลังงานและอุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุ่น และเริ่มต้นโครงการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 จากการร้องขอของรัฐบาลไทยในเรื่อง "ข้อเสนอโครงการแผนงานความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม" ผ่านมาทางกระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ของประเทศญี่ปุ่น (New Energy and Industrial Technology Development Organization) หรือ NEDO และทาง ฟูจิตสึ ได้เสนอแผน "การวิจัยร่วมกันเพื่อติดตามสารอินทรีย์ไอระเหยและการจัดการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย" ซึ่งได้รับการอนุมัติจากทาง NEDO และเป็นผลให้เกิดโครงการนี้ขึ้นในที่สุด

ในการลงนามข้อตกลงเบื้องต้นร่วมกันระหว่าง NEDO และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา ได้สรุปถึงขอบข่ายความร่วมมือระหว่างปี พ.ศ. 2554 และปี พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีและองค์ความรู้ชั้นสูงจาก ฟูจิตสึ และองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้ามาช่วยผลักดันให้ทาง สวทช. สามารถจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันประกอบไปด้วย

1. การสร้างระบบติดตามสถานะของปัญหาสิ่งแวดล้อม
ฟูจิตสึ จะจัดสร้างระบบติดตามสถานะของปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่มีหน้าที่วัดค่าของสารอินทรีย์ไอระเหย มลภาวะด้านกลิ่น และก๊าซโอโซน ผ่านทางเซ็นเซอร์จำนวนมากที่ติดตั้งไว้ในตำแหน่งต่างๆ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ข้อมูลด้านมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะถูกรวบรวม ติดตาม และวิเคราะห์โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในประเทศญี่ปุ่นเข้ามาใช้งาน ทำให้ ฟูจิตสึ มั่นใจว่าสามารถพัฒนาระบบติดตามสถานะของปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีคุณภาพและได้รับการยอมรับจากทาง สวทช.

2. สนับสนุนงานวิจัยโมเดลคาดการณ์การแพร่กระจายของสารอินทรีย์ไอระเหย
ฟูจิตสึ รับหน้าที่จัดสร้างระบบพีซีคลัสเตอร์ที่ทำงานเป็นแพลตฟอร์มหลักในการส่งเสริมงานวิจัยของทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้ข้อมูลที่ได้รวบรวมจากระบบติดตามสถานะของปัญหาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังทำงานร่วมกับทาง ACAP ซึ่งมีประสบการณ์ในการจำลองชั้นบรรยากาศ เพื่อสนับสนุนงานวิจัยโมเดลคาดการณ์การแพร่กระจายของสารอินทรีย์ไอระเหยดังกล่าว

3. การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาวิศวกรในประเทศไทย
จากประสบการณ์จริงในด้านการพัฒนาโซลูชั่นเพื่อสิ่งแวดล้อมในประเทศญี่ปุ่น ทำให้ ฟูจิตสึ พร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ และสร้างมาตรฐานการปฏิบัติเพื่อการตรวจวัดสำหรับส่งเสริมเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย และช่วยพัฒนาทักษะของวิศวกรด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น


อภิธานศัพท์และหมายเหตุ
1. นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งสำคัญสำหรับโรงงานด้านปิโตรเคมี เหล็ก และโรงกลั่น

2. สารอินทรีย์ไอระเหย (Volatile Organic Compounds)
สารอินทรีย์ไอระเหย เป็นสารอินทรีย์ที่ระเหยสู่ชั้นบรรยากาศได้ง่ายภายใต้อุณหภูมิห้องตามปกติ ซึ่งเมื่อถูกปล่อยสู่สภาพแวดล้อม จะก่อให้เกิดอันตรายที่กระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ได้