MSN on October 12, 2011, 01:27:20 PM
สถานีวิทยุจราจรเพื่อสังคม FM 99.5 MHz จัดโครงการ CSR เก๋ “แท็กซี่ไทย หัวใจอินเตอร์”  

กิจกรรมพัฒนาและยกระดับมาตรฐาน ผู้ให้บริการแท็กซี่ไทย รับกระแสหนุนท่องเที่ยวไทย





สถานีวิทยุจราจรเพื่อสังคม FM 99.5 MHz สื่อวิทยุเพื่อคนใช้รถในกรุงเทพฯ จัดกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะของผู้ขับขี่รถแท็กซี่สาธารณะ “แท็กซี่ไทย หัวใจอินเตอร์” มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนามาตรฐานการให้บริการให้แก่ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ รวมถึงเพื่อส่งเสริมการระดับการสร้างรายได้ให้กับแก่วิชาชีพแท็กซี่สาธารณะ ขานรับนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวประเทศไทยของภาครัฐ โดยจัดอบรมและเสริมสร้างทักษะการให้บริการที่ดีในลักษณะกิจกรรมต่อเนื่อง ประเดิมกิจกรรมแรก “การสื่อสารแบบอินเตอร์” เชิญวิทยากรพิเศษ “นีน่า-กุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ์” พิธีกรสาวชื่อดังจากช่อง 3 และวิทยากรพิเศษ ร่วมติวเข้มภาษาอังกฤษพื้นฐาน และแนะเทคนิคการให้บริการเพื่อสร้างความประทับใจกับลูกค้าชาวไทย และต่างชาติ ให้แก่ผู้ขับแท็กซี่ 400 คน

พลตำรวจโท ไตรรัตน์ อมาตยกุล  ประธานกรรมการบริหาร สถานีวิทยุจราจรเพื่อสังคม FM 99.5 MHz เปิดเผยว่า ทางสถานีวิทยุจราจรเพื่อสังคม FM 99.5 MHz ได้เล็งเห็นถึงการขยายตัวของการบริการแท็กซี่สาธารณะที่เพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากความต้องการใช้บริการของลูกค้าชาวไทยและต่างชาติ ในขณะเดียวกันก็ส่งผลให้ผู้ขับรถแท็กซี่ทั่วไป ต้องรับสภาวะการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการร่วมแก้ปัญหาบริการแท็กซี่สาธารณะแบบตรงประเด็น จึงต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ขับรถแท็กซี่สาธารณะทั่วไป สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงได้ริเริ่มแนวคิด โครงการพัฒนาทักษะผู้ขับขี่แท็กซี่สาธารณะ “แท็กซี่ไทย หัวใจอินเตอร์” ขึ้น เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานการบริการให้กับผู้ขับแท็กซี่ไทยไปพร้อมๆ กับการสร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้ให้กับวิชาชีพผู้ขับขี่รถแท็กซี่สาธารณะ อันจะเป็นการช่วยลดปัญหาที่อาจมีต่อผู้ให้บริการแท็กซี่สาธารณะในปัจจุบันด้วยในคราวเดียวกัน

“ช่วงระยะ 10 ปีที่ผ่านมา บริการขนส่งสาธารณะในเขตเมืองหลวงขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  เห็นได้จากการที่มีผู้ให้บริการรถแท็กซี่สาธารณะเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการให้บริการกับประชาชนผู้ใช้บริการทั่วไปที่อยู่ในพื้นที่เขตเมืองหลวงและปริมณฑล  รวมถึงกลุ่มลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ  ซึ่งเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย ตามนโยบายการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของรัฐบาล โดยในปี 2554 ผลจากการสำรวจของนิตยสาร Travel & Leisure Magazine ของสหรัฐอเมริกา หนังสือที่มียอดขายถึงเดือนละ 1 ล้านฉบับ พบว่า กรุงเทพมหานครฯ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเมือง    น่าท่องเที่ยวอันดับ 1 ของโลก และผู้ว่าราชการกรุงเทพฯได้เดินทางไปรับรางวัลดังกล่าวที่กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐฯ เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา รวมถึง กรุงเทพฯ ก็ยังได้รับการคัดเลือกให้เมืองที่น่าท่องเที่ยวลำดับที่ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียนในปีนี้ด้วย” พล.ต.ท. ไตรรัตน์ กล่าว

นายเศรษฐพล จินดานนท์ ผู้จัดการสถานีวิทยุจราจรเพื่อสังคม FM99.5 MHz กล่าวเสริมว่า สถานีวิทยุจราจรเพื่อสังคมฯ  เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนในการประสานความร่วมมือกับองค์กรพัฒนา และหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจน การดำเนินงานส่งเสริมองค์กรการกุศลต่างๆ เพื่อสาธารณประโยชน์แก่สังคมโดยรวม ที่มีเจตนารมณ์ในการเป็นสื่อกลาง ในด้านการรองรับภารกิจรายงานการจราจร และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชน โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรภาคีต่างๆในสังคม ทั้งหน่วยงานเอกชนและหน่วยงานราชการต่างๆ ภายใต้การทำงานที่มีความสมัครสมานสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของสังคมและบุคลากรของสถานีจราจรเพื่อสังคม ดังคำขวัญของสถานีที่ว่า “ รวมใจอาสา ลดปัญหาจราจร เพิ่มสุขทุกครอบครัว ”

   นางกรทิพย์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ผู้จัดการโครงการแท็กซี่ไทย หัวใจอินเตอร์ กล่าวเสริมว่า โครงการฯ มีการแบ่งกิจกรรมการเสริมทักษะให้กับผู้ขับขี่แท็กซี่สาธารณะ ออกเป็น 4 กิจกรรม เพื่อให้ความรู้และเสริมสร้างทักษะที่แตกต่างกันออกไป โดยสะท้อนถึงคุณค่าที่ได้รับเสมือนห้องของหัวใจที่มี 4 ห้อง หัวใจห้องแรก คือ หัวใจของการสื่อสาร โดยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสื่อสารด้านภาษาเบื้องต้น พร้อมด้วยเครื่องมือช่วยในการสื่อสาร หัวใจห้องที่สอง เป็นหัวใจของความรู้   ที่จะให้ความรู้ให้กับผู้ขับรถในส่วนเนื้อหาที่ควรจะรู้ และสามารถสื่อสารต่อให้กับผู้โดยสารได้ เช่น ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น หัวใจห้องที่สาม  เป็นหัวใจของการบริการ ที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ของการบริการ โดยเน้นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว อาทิ การทักทายผู้โดยสาร หรือ ความสะอาดของตัวรถทั้งภายในภายนอก เป็นต้น และ หัวใจห้องสุดท้าย หัวใจเปี่ยมรอยยิ้ม จะเน้นการพัฒนาบุคลิกภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นในอาชีพการให้บริการ  

“การจัดอบรมในกลุ่มแรก ในเรื่องของการสื่อสารนั้น เราต้องการให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพของผู้ขับรถแท็กซี่  ด้านทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ใน 7-8 ประโยคหลักที่จำเป็นต้องรู้จัก เพื่อการพูดคุยต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ พร้อมกับข้อแนะนำบางประเด็นที่เป็นภาษาไทย โดยมีผู้ขับขี่แท็กซี่สาธารณะจำนวนทั้งสิ้น 400 คน ที่ได้รับการอบรมโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความเชี่ยวชาญหลายท่าน โดยเฉพาะคุณนีน่า กุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ์ พิธีกรมืออาชีพจากรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง ที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ มาสอนเทคนิคการสนทนาตอบโต้ในชีวิตประจำวันของผู้ขับขี่รถแท็กซี่สาธารณะกับลูกค้าต่างชาติ เพื่อให้สื่อสารได้อย่างมั่นใจมากขึ้น ซึ่งในการอบรมครั้งแรกที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับจากผู้เข้าร่วมอบรมในเรื่องความรู้ และความมั่นใจตัวเองมากขึ้น โดยกิจกรรมการอบรมทั้งหมดไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด รวมทั้งผู้เข้าอบรมจะได้รับใบรับรองการอบรม, เอกสารเกี่ยวกับการอบรม, และของที่ระลึก เพื่อแสดงถึงความภาคภูมิใจให้กับผู้ขับขี่แท็กซี่สาธารณะ สมกับการเป็นแท็กซี่ไทย หัวใจอินเตอร์ด้วยด้วย” นางกรทิพย์ กล่าว
« Last Edit: October 12, 2011, 01:30:04 PM by MSN »

MSN on October 12, 2011, 01:28:56 PM
โครงการพัฒนาทักษะผู้ขับขี่แท็กซี่สาธารณะ “แท็กซี่ไทย หัวใจอินเตอร์”

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการให้บริการขนส่งสาธารณะในเขตเมืองหลวงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  เห็นได้จากการที่มีผู้ให้บริการรถแท็กซี่สาธารณะเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการให้บริการกับประชาชนผู้ใช้บริการทั่วไปที่อยู่ในพื้นที่เขตเมืองหลวงและปริมณฑล รวมไปถึงกลุ่มลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่สนใจเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย ตามนโยบายการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของรัฐบาลด้วย

ด้วยเหตุนี้ สถานีวิทยุจราจรเพื่อสังคม FM 99.5 จึงได้ริเริ่มแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพและศักยภาพในการให้บริการกับผู้ขับขี่รถแท็กซี่สาธารณะ โดยการส่งเสริมและพัฒนาคุณลักษณะของการให้บริการที่ดีขึ้น เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริการให้กับผู้ขับแท็กซี่ไทย รวมถึงเพื่อลดปัญหาภาพลักษณ์เชิงลบที่อาจมีต่อผู้ให้บริการแท็กซี่สาธารณะในปัจจุบันด้วยในคราวเดียวกัน  นอกจากนี้ทางโครงการฯ ยังเล็งเห็นว่า การพัฒนาศักยภาพของการให้บริการ ยังเป็นการสร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้ให้กับผู้ขับขี่รถสาธารณะอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องไปกับหน้าที่หลักและพันธกิจของสถานีจราจรเพื่อสังคม FM 99.5 มากยิ่งขึ้น

ทำไมต้องแท็กซี่ไทย หัวใจอินเตอร์
ความหมายของคำว่า “อินเตอร์” (Inter: International) สื่อถึง การบริการของรถแท็กซี่ไทย ที่สามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ โดยผู้ขับขี่ที่ผ่านการอบรมจากโครงการฯ จะมีความรู้สึกภาคภูมิใจเมื่อผ่านการอบรมอย่างสมบูรณ์    

การให้บริการแท็กซี่สาธารณะที่ดีทำอย่างไร  ทำได้ตั้งแต่การใช้คำพูดสื่อสารกับลูกค้าด้วยภาษาที่เหมาะสม การสื่อสารที่เข้าใจตรงกันระหว่างผู้ขับขี่กับผู้รับบริการ การดูแลรักษาความสะอาด รูปแบบการให้บริการที่สุภาพ รวมไปถึงการแต่งกายที่เหมาะสม เหล่านี้ล้วนเป็นการสะท้อนถึงการให้บริการที่ดีเช่นเดียวกัน


โครงการพัฒนาทักษะของผู้ขับขี่รถแท็กซี่สาธารณะในโครงการแท็กซี่ไทย หัวใจอินเตอร์
หลักสูตรการพัฒนาทักษะ โครงการแท็กซี่ไทย หัวใจอินเตอร์ เป็นโครงการระยะยาว โดยแบ่งการอบรมออกเป็น 4 กิจกรรม ซึ่งแต่ละครั้งนั้นสะท้อนถึงคุณค่าที่ได้รับเสมือนห้องของหัวใจ ที่มี 4 ห้อง โดยแต่ละห้องของกิจกรรม จะมีการอบรมเพียง 1 วันเท่านั้น และเนื้อหาของกิจกรรม จะเน้นเสริมความสมบูรณ์แบบในทักษะของการให้บริการ ที่ดำเนินการให้ข้อเสนอแนะโดยวิทยากรที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับ โดยหัวใจทั้ง 4 ห้องนั้นประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้

หัวใจของการสื่อสาร :    ประโยคภาษาอังกฤษที่จำเป็นต้องรู้จัก สำหรับการพูดคุยต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติซึ่งจะเริ่มในการอบรม 7-8 ประโยคหลักสำหรับภาษาอังกฤษ พร้อมกับ ข้อแนะนำในการสื่อสารบางประเด็นในภาษาไทย

หัวใจของความรู้ :    แนวคิดนี้ เป็นแนวเสริมความรู้ให้กับผู้ขับรถในส่วนเนื้อหาที่ควรจะรู้ และสามารถสื่อสารต่อให้กับผู้โดยสารได้ เช่น ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว หรือความรู้เชิงประวัติศาสตร์ เส้นทางแนะนำ ต่างๆ เป็นต้น

หัวใจของการบริการ :    การอบรมนี้จะเข้าสู่ศาสตร์ของการบริการ โดยที่จะเป็นการเน้นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว การทักทายผู้โดยสาร ความสะอาดของตัวรถทั้งภายในและภายนอก การวางสิ่งของต่างๆในรถ กลิ่นที่อยู่ในรถ ลักษณะของการขับขี่ คำพูดที่โพล่ง หรือ อาการเผลอสบถ ในอากัปกิริยาต่างๆ

หัวใจเปี่ยมรอยยิ้ม :    บุคลิกภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับทุกอาชีพการให้บริการ โดยจะเน้นที่ตัวผู้ขับรถ ทั้งลักษณะการแต่งตัว ความสะอาดของร่างกาย กิริยาท่าทางเมื่อจำเป็นต้องมีการเดิน (เช่นกรณี เดินลงไปช่วยผู้โดยสาร) ท่าทางที่ทำให้ผู้โดยสารรู้สึกอุ่นใจ การไหว้ เป็นต้น

โครงการอบรมหัวใจห้องที่ 1 การสื่อสาร วิทยากรโดย คุณนีน่า กุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ

ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ... สำคัญไฉน ???
สำหรับเรื่องของภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันนั้น นีน่าพยายามจะบอกกับทุกๆ คนเสมอว่า ภาษาอังกฤษ เป็นกุญแจสำคัญ ที่ไขชีวิตของนีน่าไปสู่โอกาสในชีวิตที่มากมาย อย่างแรกก็คือ เรื่องงาน เพราะตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ รายการผู้หญิงถึงผู้หญิงที่ตัวนีน่าทำอยู่ ก็ได้รับการคัดเลือกเข้ามาเป็นพิธีกร เพราะเรามีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษที่ดี แม้ว่ารายการนี้จะเป็นรายการภาษาไทย และดำเนินรายการเพื่อคนไทยก็ตาม แต่ที่ทางสถานีคัดเลือกเราเข้ามา เพราะเรามีความรู้ภาษาอังกฤษอยู่ด้วย ดังนั้นนีน่าเองก็มีโอกาสได้ใช้ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ เช่น ในการแปลสคริปต์ภาษาอังกฤษ หรือการแปลข่าวเอามาเล่าในรายการ เพราะทักษะที่เรามีทักษะที่ใช้ได้ รวมไปถึงรายการ English on tour ด้วยค่ะ

นอกจากนี้นีน่าเอง ยังมีงานเขียน ประเภทงานแปลหนังสือ งานเขียนคอลัมน์ และเขียนหนังสือ อย่าง Just Speak Out  ซึ่งเป็นการให้คำจำกัดความในการเขียนคือ “แค่พูดออกไป” ที่ออกมาเพื่อให้คนเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นการเอาเรื่องของตัวเอง ที่เอาความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน หรือความตลกขำขันจากความผิดพลาดในการใช้ภาษาอังกฤษมาเล่าให้คนฟัง เพื่อให้เกิดความสนุก และสร้างแง่คิดว่านีน่าก็เคยผิดพลาดเช่นเดียวกัน หลังจากนั้น เราก็สอดแทรกลงไปว่า สิ่งที่ถูกต้องหรือสิ่งที่นำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้นั้นเป็นอย่างไร จะได้ไม่ต้องผิดเหมือนที่นีน่าเคยใช้ผิดมาก่อนเป็นต้น ค่ะ

นอกจากนี้ ผลงานการแปลหนังสือต่าง ๆ อาทิ  The Secret สุดยอดคนรุ่นใหม่ ที่แปลมาจากหนังสือ Best Seller จาก The Secret to the King Power และงานเขียนคอลัมน์ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจวันอาทิตย์ แหล่งที่มาของงานเขียนดังกล่าว ก็มาจากภาษาอังกฤษทั้งนั้น ส่วนเรื่องของงานพิธีกร ถ้าเราเป็นพิธีกรภาษาไทยได้ก็ดี “ถ้าเสริมเรื่องของภาษาอังกฤษที่ดีเข้าไปด้วย โอกาสในการรับงานเราก็มากขึ้น หรือค่าตอบแทนเราก็มีโอกาสได้เพิ่มมากขึ้นด้วยนะคะ”

ภาษาอังกฤษ...ทำให้ชีวิตของเรา “ง่ายขึ้น” อย่างไร ???
“ภาษาอังกฤษ ทำให้ตัวนีน่ามองโลกได้กว้างขึ้น จากเดิมอาจจะแค่มองได้ 180 องศา ก็มาเป็น 360 องศา” เพราะภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาสากล ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้เรามีโอกาสได้เข้าถึงวัฒนธรรม ประเพณี ความรู้ รวมถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ ในโลกนี้ได้มากขึ้น เพราะสื่อต่าง ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นทางหนังสือ ทีวี อินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่ก็เป็นภาษาอังกฤษนั่นเอง นอกจากนี้ในชีวิตประจำวันของเราเอง ก็ยังมีเรื่องราวของความจำเป็นที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษมากมาย อาทิเช่น ฉลากยา รายละเอียดของกินของใช้ต่างๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น

ทำอย่างไรให้กลัวชาวต่างชาติน้อยลง ???
“เราก็คน เค้าก็คน ฝรั่งก็เป็นคน ทำไมเราจะต้องกลัวเค้าล่ะคะ” อย่างข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ก็ไม่เคยมีใครเคยเขียนไว้ว่า คนไทยโดนฝรั่งกัด เพราะพูดกันไม่รู้เรื่องซะหน่อย ซึ่งเรื่องนี้เล่าให้ใครๆ ฟังก็ขำกัน เพราะภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ภาษาพ่อ ภาษาแม่ของเรา ถ้าใครพูดมา แล้วเราฟังผิด ฟังถูก ก็ไม่เห็นเป็นไร แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยกล้าคุยกับฝรั่ง เพราะเรากลัวเค้าฟังเราไม่ค่อยรู้เรื่อง กลัวหน้าแตก กลัวเสียหน้า ซึ่งถ้าเรากลัวฝรั่งในฐานะที่เค้าพูดภาษาต่างประเทศนั้น ให้เราลองเปรียบเทียบดูว่า ความสามารถของเราในการพูดภาษาอังกฤษ กับฝรั่งที่จะพูดภาษาไทย แน่นอนคนไทยจะรู้ภาษาอังกฤษ มากกว่าฝรั่งรู้ภาษาไทยอยู่แล้ว ดังนั้นหากมองในแง่ภาษาแล้ว คนไทยเก่งกว่าต่างชาติแน่นอนค่ะ และที่สำคัญประเทศไทยคือบ้านเมืองของเรา ดังนั้นชาวต่างชาติที่มาพูดคุย หรือขอความช่วยเหลือ ถือว่าเป็นความกรุณาของเราที่มีต่อเขามากกว่า เพราะเราพยายามที่จะช่วยเหลือโดยการสื่อสารกับเขานะคะ และในชีวิตจริงเราต้องคุยกับชาวต่างชาติ หากจะพูดผิดหรือถูก พูดด้วยสำเนียงเอเชียแบบไทยๆ ของเรา หรืออาจจะใช้ภาษามือประกอบบ้าง กฌไม่มีใครมาคอยหักคะแนนเราหรอก เพราะไม่ใช่เรื่องของห้องเรียนค่ะ

ทำอย่างไรดี ??? ถ้าพูดแล้วฝรั่งไม่เข้าใจ
นีน่าได้เตรียมประโยคการพูดที่สำคัญๆ เพื่อช่วยให้พี่ๆ แท็กซี่จำไปบอกกับชาวต่างชาติไว้แล้วค่ะ เช่น การบอกให้พูดช้าๆ อีกครั้งได้หรือไม่ หรือพูดซ้ำได้หรือไม่ อย่าไปกลัว เพราะในอดีตที่ผ่านมา ถ้าเราฟังไม่ทันอาจจะหัวเราะแหะๆ แล้วก็ไม่บอกเค้าว่า เราฟังเขารู้เรื่องหรือไม่ เพราะเราอาย แต่ลองปรับวิธีการเป็นพูดออกไปเลยด้วยความมั่นใจและความเป็นมิตรว่า เราต้องการให้พูดอีกที หรือขอให้พูดช้าๆ แต่ถ้าสมมุติว่าเราสื่อสารไม่รู้เรื่องจริงๆ เราก็ควรจะพาเขาไปขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น อันเนื่องมาจากที่เราไม่รู้เรื่องภาษาอังกฤษเลย ดังนั้น นั่นจึงเป็นที่มาว่าเหตุใด เราจึงต้องเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาภาษาอังกฤษของตนเองให้ดียิ่งขึ้น

พูดภาษาอังกฤษไปแล้ว แต่ไม่เข้าใจสักที ทำให้เราขาดความมั่นใจทำอย่างไรดี ???
นีน่าจะบอกว่า เวลาที่เราพูดภาษาอังกฤษ หัวใจอีกประการคือ การเน้นพยางค์ หรือเว้นวรรคคำให้ถูกต้อง หลายๆ คนไม่รู้จุดนี้ ซึ่งมีคนถามเหมือนกันว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า จะออกเสียงอย่างไร เน้นตอนไหนนั้น  เราต้องฟังจากต้นฉบับบ่อยๆ ทั้งจากตัวคนพูดจริงๆ หรือสื่อต่างๆนั่นเอง สำหรับคนที่พอมีพื้นฐานภาษาอังกฤษอยู่บ้าง เราก็จะมีเทคนิคในการแนะนำเพื่อเพิ่มทักษะในการฟังและการพูด ให้มากยิ่งขึ้น  ซึ่งจะต้องใช้การฟังและจำของบุคคลนั้น ๆ ด้วย แต่ถ้าเป็นไปได้เราควรจะสร้างคู่มือง่ายๆ ที่มีคำภาษาไทยอธิบาย และมีคำเป็นคาราโอเกะ ภาษาไทยกำกับไว้ เพื่อให้อ่านออกเสียงได้ถูกต้อง ส่วนคำไหนที่ต้องเน้นเสียง ก็จะมีการพิมพ์ตัวสีดำหนาไว้ให้เห็น เป็นต้น
ภาษาอังกฤษ มีหลายระดับ ขนาดตัวนีน่าเอง ที่ดูหนังต่างประเทศประเภทแนววิทยาศาสตร์ล้ำลึก ก็ยอมรับว่าฟังไม่ทัน บางทีก็ไม่รู้เรื่อง แต่การ์ตูน หนังชีวิต เราก็ฟังได้ เพราะมันง่าย ศัพท์ไม่ยากมาก ซึ่งจะบอกว่าภาษาอังกฤษยาก ก็คงไม่ใช่ แต่ก็ไม่ใช่ง่ายไปทั้งหมด เพราะภาษาก็มีหลายระดับ เหมือนภาษาไทยนั่นแหละ เพียงแต่ระดับของการสื่อสารในเบื้องต้นในชีวิตประจำวันต่างหาก ที่เราอยากให้คนเข้าใจกันมากกว่า ทั้งนี้อยู่ที่ความตั้งใจของคนที่ต้องการนำไปใช้นั่นเอง
สุดท้ายนี้ ภาษาอังกฤษ เป็นเรื่องของความตั้งใจจริงที่ตัวผู้พูด คิดว่าจะพูดให้ได้หรือจะสื่อสารให้ได้ และเรื่องของการเปิดโอกาสให้ตัวเองได้มีโอกาสฝึกฝน แต่ถ้าคนที่ไม่สนใจและขวนขวาย ก็คงไม่มีใครช่วยคุณได้ ซึ่งก็คือการเปิดใจเรียนรู้และฝึกฝนนั่นเองนะคะ
« Last Edit: October 12, 2011, 01:30:35 PM by MSN »

MSN on October 12, 2011, 01:29:46 PM
คำและประโยคที่ผู้ขับรถแท็กซี่ควรรู้
1. คำ/ประโยคทักทายและแนะนำตัว
Hello หรือ Sawasdee krub (เฮ๊ลโหลว) หรือ สวัสดีครับ
Welcome to Thailand. (เว๊ลเขิ่ม-ทู-ท๊ายแลนด์) ขอต้อนรับสู่ประเทศไทย
I’m …(ชื่อของตัวเอง)... ฉันชื่อ…………… (อาย์ม…(ชื่อของตัวเอง)…)
2. Where To ? (แวร์-ทู๊ว) ต้องการไปที่ใด
•   Hotel. (โฮเท่ล) โรงแรม
•   Hospital. (ฮ็อซพิเถิ่ล) โรงพยาบาล
•   Temple. (เท๊มเผิ่ล) วัด
•   Department Store. (ดีพาร์ทเม็น สต่อร์) ห้างสรรพสินค้า
•   Police Station. (โพลีซ สเต๊ย์เฉิ่น) สถานีตำรวจ
•   Train Station. (เทรย์น สเต๊ย์เฉิ่น) สถานีรถไฟ
•   Bus Station. (บัซ สเต๊ย์เฉิ่น) สถานีรถโดยสาร
•   BTS Station. (บีทีเอส สเต๊ย์เฉิ่น)  สถานีบีทีเอส
•   Airport. (แอ๊ร์ผอร์ท) สนามบิน
•   Pier. (เพียร์) ท่าเรือ
•   Toilet. (ตอย-เล็ด) ห้องน้ำ
•   Thailand Cultural Center. (ท๊ายแลนด์-คัลเชอเริล-เซ๊นเถ่อร์) ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย




3. กรณีฟังภาษาอังกฤษไม่เข้าใจ
 I’m sorry. (อาย์ม-ซอหรี่) ฉันขอโทษ
I don’t speak good English. (อาย-โด๊นท์-สปีค-กู๊ด-อิ๊งหลิ่ช) ฉันพูดภาษาอังกฤษไม่เก่ง
Please call this number. (พลีซ-คอล-ดิซ-นัมเบ่อร์) กรุณาโทรไปที่หมายเลขนี้
Again, please. (อเก๊น-ผลีซ) กรุณาพูดอีกครั้งได้ไหม
Please write it down. (พลีซ-วไร๊ท์-อิท-ดาวน์) กรุณาเขียนมันลงบนกระดาษ
One moment please. (วัน-โม๊วเหมิ่นท์-ผลีซ) กรุณารอสักครู่
I can speak English not well, Please use guidebook for communication
(อาย-แคน-สปีค-อิงหริ่ด-น็อต-เวล   / พรีส- ยูส- ไกด์บุ๊ค-ฟอร์ – คอมมูนิเขด)
ผมพูดภาษาอังกฤษไม่คล่อง กรุณาใช้คู่มือในการสื่อสารกับผม
4. การใช้เวลาในการเดินทาง
It takes about …………......to get there.
(อิท-เท๊กซ์-อาบ้าวท์.......................มีนิท-ทู-เก็ด-แดร์)
ใช้เวลาเดินทางประมาณ ......................เพื่อไปถึงที่นั่น
a.   15  minutes    (ฟิฟทีน-มีนิทส)    15 นาที
b.   30 mintues   (เตอร์ตี้-มีนิทส)    30 นาที   
c.   45  minutes   (โฟตี้ไฟ้ท์-มีนิทส)    45 นาที   
d.   One hour   (วัน-อาวร์เว้อร์)    1 ชั่วโมง



5. กรณีที่ต้องใช้ทางด่วน
It is faster to take Express Way, but  fee is your expense.
(อิทส์-อี้ส-ฟ้าสเตอร์-ทู-เท๊ก-เอ็กซ์เพรส-เวย, บัท-ฟี-อี้สท์-ยัวส์-เอ็กส์เพ็น)
ไปทางด่วนจะเร็วกว่า, แต่คุณต้องจ่ายค่าทางด่วนเอง
6.  Here we are. (เฮี๊ยร์-วี-อ่าร์) เรามาถึงแล้ว  
7.  กรณีที่ไม่มีเงินทอน
Sorry, I don’t have change, Do you have smaller bills?
    (ซอหรี่, อาย-ด้อนท์-แฮฟ-เช้งค์, ดู-ยู-แฮฟ-ซะมอลเล่อร์-บิว)
ขอโทษครับ, ผมไม่มีเงินทอน, คุณมีธนบัตรย่อยมั๊ยครับ
8. กล่าวคำขอบคุณและคำตือนแก่ผู้โดยสาร
Don’t forget your belongings… (ด้อนท์-ฟอร์เก๊ท-ยัวร์-บีลองกิ้ง) อย่าลืมสัมภาระ
Thank you. (แต๊ง-ขิ่ว) ขอบคุณ  
You’re welcome. (ยอร์-เว๊ล-เขิ่ม) ด้วยความยินดี
Have a nice day. (แฮฟ-อ่ะ-ไน๊ซ์-เด่ย์) ขอให้มีวันที่ดีนะ

เคล็ดลับในการสื่อสารอื่น ๆ
1. คำที่ใช้บอกลักษณะของการจราจร      
•   Bad traffic. (แบ๊ด-แทร๊ฟฝิค) การจราจรติดขัด/รถติด
•   Traffic. (แทร๊ฟฝิค) การจราจร
•   I know a shortcut. (อาย-โนว์-อะ-ชอร์ทขัท) ผมรู้ทางลัด
•   Shortcut. (ชอร์ทขัท) ทางลัด

2. คำที่ใช้ในการสอบถามเพิ่มเติม
•   Turn here? (เทิร์น-เฮี๊ยร์) เลี้ยวตรงนี้ใช่ไหม
•   Stop here? (สต๊อป-เฮี๊ยร์) หยุดตรงนี้ใช่ไหม
•   Here? (เฮี๊ยร์) ตรงนี้ใช่ไหม
3. การบอกทาง
•   Straight on. (สเตร๊ย์ท-ออน) ตรงไป
•   Turn right. (เทิร์น-ไรท์) เลี้ยวขวา
•   Turn left. (เทิร์น-เหล็ฟท์) เลี้ยวซ้าย
•   Next right. (เน็กซ์ท์-ไรท์) เลี้ยวขวาหน้า
•   Next left. (เน็กซ์ท์-เหล็ฟท์) เลี้ยวซ้ายหน้า
•   Stop here. (สต็อป-เฮี๊ยร์) หยุดตรงนี้
•   Slowly. (สโล๊วหลี่) ช้าๆหน่อย
•   Slow down. (สโล๊ว-ดาวน์) ช้าลงหน่อย
•   Faster. (แฟซ-เต่อร์) เร็วขึ้น
4. คำขอจากผู้โดยสาร
•   Cold. (โคลด์) หนาว
•   Too cold. (ทูว-โคลด์) หนาวเกินไป
•   Hot. (ฮ่อท) ร้อน
•   Too hot. (ทูว-ฮ่อท) ร้อนเกินไป
•   Too loud. (ทูว-ลาวด์) ดังเกินไป
•   I’m late. (อาย์ม-เหล่ย์ท) ฉันสายแล้ว
•   Late. (เหล่ย์ท) สาย
•   I’m in a hurry. (อาย์ม-อิน-อะ-เฮ๊อหรี่) ฉันกำลังรีบ
•   In a hurry. (อิน-อะ-เฮ๊อหรี่) กำลังรีบ
5. Please call this number. โทรขอความช่วยเหลือ
•   Traffic Radio Society FM 99.5 Hot Line 1255
      สถานีวิทยุจราจรเพื่อสังคม FM 99.5 สายด่วน 1255
•   TOURIST POLICE DIVISION call 1155.
      ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
6. Sorry, I’m getting off work soon.  
(ซอหรี่, ไอม์-เก๊ดติ้ง-อ็อฟ-เวอร์ค-ซูน)
ขอโทษที่ ไม่สามารถไปส่งได้