Rise of the Planet of the Apes กำเนิดพิภพวานร
ภาพยนตร์เรื่อง RISE OF THE PLANET OF THE APES (กำเนิดพิภพวานร) เป็นภาพยนตร์ไลฟ์-แอ็คชั่นเรื่องแรกในวงการภาพยนตร์เพื่อแสดงและถ่ายทอดเรื่องราวจากมุมมองของสัตว์ที่มีการรับรู้ความรุ้สึก ซึ่งเป็นตัวละครที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์ สามารถวางแผนจัดการและนำการปฏิวัติในท้ายที่สุดได้ ซึ่งเป็นตัวละครที่ผู้ชมจะเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างแท้จริง ภาพยนตร์ไม่สามารถสร้างให้สำเร็จได้ จนกระทั่งมีเทคโนโลยีที่ใช้สร้างภาพยนตร์เรื่อง Avatar ขึ้นมา และตอนนี้ได้ก้าวขยับมาสู่มิติใหม่ จนเข้าถึงไอเดียที่อยู่เบื้องหลังภาพยนตร์แล้ว
ผลงานชิ้นนี้สำเร็จออกมาอย่างโดดเด่นและสมบูรณ์แบบได้โดย แอนดี้ เซอร์คิส นักแสดงผู้มีฝีมือในยุทธวิธีจับการเคลื่อนไหวในการแสดงระดับโลก ผู้ปลุกปั้นให้ซีซาร์มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย มีจิตวิญญาณ ความคิดและความรู้สึก
นี่เป็นความสำเร็จอีกครั้งในประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์ ที่มีการใช้วิชวลเอ็ฟเฟ็กต์และจับภาพจากลักษณะการแสดงภายนอกสถานที่จริงของสภาพแวดล้อมที่ถูกควบคุมด้วยรั้วล้อมรอบ ทำให้การจับภาพการแสดงมีการผสมผสานกับการแสดงการแสดงจริงอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งถือเป็นการทำลายข้อจำกัดระหว่างวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์และไลฟ์แอ็คชั่นออกไปได้
นอกจากการนำเสนอเหล่าวานรที่มีการสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกด้วยภาพที่ดูสมจริงแล้ว ฉากของภาพยนตร์ยังเป็นที่จดจำและเข้าถึงได้อีกด้วย ภาพยนตร์เรื่อง RISE OF THE PLANET OF THE APES (กำเนิดพิภพวานร) เป็นเรื่องราวต้นกำเนิดในรูปลักษณ์แห่งความรู้สึกที่สมจริงที่สุด ซึ่งเป็นฉากที่ซานฟรานซิสโก ณ ปัจจุบัน ภาพยนตร์อ้างอิงมาจากความเป็นจริงผสมกับข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์แนวไซไฟ เกี่ยวกับการทดลองมนุษย์กับพันธุวิศวกรรมที่นะไปสู่วิวัฒนาการความฉลาดของเหล่าวานร และจุดกำเนิดของสงครามมหาอำนาจ
“นี่เป็นมุมมองปัจจุบันของตำนาน Planet of the Apes” ไดแลน คลาร์ก ผู้อำนวยการสร้างกล่าว “มันเป็นหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่สำคัญที่ให้ความสำคัญกับลักษณะการถ่ายทอดเรื่องราว การแสดงอารมณ์และความลึกซึ้งของตัวละคร ส่วนสำคัญของเรื่องราวคือตัวละครที่ขับเคลื่อนเนื้อเรื่องไป”
อารมณ์ความรู้สึกที่สำคัญของหนังเป็นสิ่งที่สร้างความสนใจให้นักแสดง ซึ่งนั่นรวมถึง จอห์น ลิธโกว์ “มันเป็นเรื่องไม่ธรรมดาจริงๆ ที่สร้างหนังไซไฟฟอร์มยักษ์บนความรู้สึกและความขัดแย้งของมนุษย์” นักแสดงผู้เข้าชิงรางวัล Oscar กล่าว “ผมรู้สึกแปลกใจกับอารมณ์ความรู้สึกที่สมจริงของบท หนังเรื่องนี้จะนำความคาดหวังของผู้ชมและปลูกฝังเข้าไปในความคิดอย่างสมบูรณ์”
เนื้อหาส่วนใหญ่ของเรื่องเหมือนกับเรื่องราวดั้งเดิมอย่าง Planet of the Apes ภาคต้นฉบับ ภาพยนตร์ภาคใหม่ใช้ความเป็นไซไฟมาสำรวจโลกและแง่คิดที่มีความยิ่งใหญ่มากขึ้น ภาพยนตร์เรื่อง “RISE OF THE PLANET OF THE APES (กำเนิดพิภพวานร) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญของเราที่มาถึงทางตันแล้ว” รูเพิร์ท ไวแอตต์ ผู้กำกับกล่าวว่า “เหตุการณ์ต่างๆ ตีแผ่ผ่านมุมมองของ ซีซาร์ ลิงชิมแปนซีที่ฉลาดเป็นกรด ตั้งแต่เล็กมันมองมนุษย์ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างสรรค์แต่สิ่งมหัศจรรย์ เช่น งานศิลปะและการใช้เหตุผล จากนั้นมันเริ่มเห็นด้านมืดของมนุษย์ เช่น การกดขี่ การดื้อรั้น และการขับไล่สิ่งของหรือคนที่เราไม่ยอมรับ”
ประเด็นสำคัญอื่นคือความเย่อหยิ่งของมวลมนุษยชาติ การถือตัวของเราที่คิดว่าเราสามารถพลิก พยายาม โกงหรือหลีกเลี่ยงกฏของธรรมชาติได้โดยไม่มีผลสืบเนื่องตามมา “ในภาพยนตร์เรื่อง Planet of the Apes ภาคต้นฉบับ ความหยิ่งของมนุษย์ได้หล่อหลอมตัวละครของผู้พัน เทย์เลอร์ [แสดงโดย ชาร์ลตัน เฮสตัน] ที่ชายหาดนั้น เพื่อพบกับรูปปั้นเทพีเสรีภาพและเรื่องจริงที่น่าประหลาดของชะตากรรมมนุษย์” ริค แจฟฟ่า ผู้เขียน-ผู้อำนวยการสร้างชี้ชัดว่า “มันไม่ใช่การพลิกชะตากรรมหรือการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติหรอกที่นำไปสู่โลกที่กลับตัลปัตร” เช่นเดียวกับภาพยนตร์เรื่อง RISE OF THE PLANET OF THE APES (กำเนิดพิภพวานร) ที่ล่อมนุษย์ให้มาต่อสู้กับธรรมชาติและต่อสู้กับตัวเอง จนนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เรามองว่ามนุษย์และเหล่าวานรอยู่บนทางเดินที่เราจะพาพวกเขาไปสู่ระบอบโลกแบบใหม่ที่น่าสะเทือนขวัญ
GEN-SYS: จากจุดเริ่มต้น
วิล ร็อดแมน (เจมส์ ฟรังโก) เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานภายในบริษัทเกี่ยวกับยาขนาดใหญ่ชื่อ Gen-Sys ทำหน้าที่ควบคุมการวิจัยยีนเพื่อพัฒนาไวรัสที่สามารถเพิ่มพูนได้เพื่อฟื้นฟูเนื้อเยื่อสมองของมนุษย์ที่ถูกทำลาย เขาได้รับมอบหมายให้ค้นหาวิธีรักษาโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคที่สร้างความทรมานให้แก่ ชาร์ลส (จอห์น ลิธโกว์) พ่อของเขา วิลจึงมีความตั้งใจอย่างไม่ยอมลดละ “เขาแต่งงานกับหลักวิทยาศาสตร์ของเขา” แจฟฟ่ากล่าว เขาปิดกั้นความสัมพันธ์ส่วนตัว แต่หมกมุ่นกับการวิจัยของเขา และโรคของชาร์ลสก็นำทั้งสองมาอยู่ร่วมกัน แม้จะอยู่ภายใต้สภาวะที่บีบคั้นจิตใจที่สาหัส “วิลเป็นคนโดดเดี่ยวและเย็นชา” เจมส์ ฟรังโก ผู้เข้าชิงรางวัล Oscar สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากผลงานของเขาในเรื่อง 127 Hours กล่าวว่า “พลังของเขาโดยส่วนใหญ่จะทุ่มเทให้กับงาน ชาร์ลสซึ่งเป็นพ่อของเขาได้รับความทรมานจากโรคความจำเสื่อม เขาจึงย้ายไปอยู่ที่บ้านของพ่อ ซึ่งครึ่งหนึ่งเคยเป็นบ้านของวิลตอนเป็นเด็กเพื่อดูแลพ่อ การรับบทแสดงเป็นคนแก่คือบทที่วิลไม่เคยแสดงมาก่อนเลย”
สิ่งสำคัญในการเริ่มทดลองมนุษย์ของ Gen-Sys คือเรื่องความหวังและผลกำไรจากยาตัวใหม่ที่ชื่อว่า ALZ-112 ซึ่งเมื่อใช้ทดสอบกับลิงของวิลแล้ว ได้ปรากฏพฤติกรรมก้าวร้าวขึ้นทันทีอย่าง่นาประหลาด คณะผู้บริหารเชื่อว่าการวิจัยล้มเหลวและวิลต้องปิดโครงการของเขาลงไป
ท่ามกลางความสับสนเรื่องการยุติการศึกษาอย่างกระทันหัน วิลพบว่าตัวเองต้องดูแลลิงชิมแปนซีแรกเกิดตัวผู้ ซึ่งเป็นทายาทกำพร้าตัวล่าสุดจากโครงการทดลองที่เปี่ยมไปด้วยความหวังของเขา ลิงชิมแปนซีน้อยที่มีชะตากรรมสำคัญนั้นมีชื่อว่า ซีซาร์
ต้นกำเนิด : วิวัฒนาการแห่งการปฏิวัติ
วิลเลี้ยงเจ้าซีซาร์น้อยด้วยตัวเองอย่างลับๆ ที่บ้านขณะเดียวกับที่ดูแลพ่อผู้เจ็บป่วย “ตอนนี้วิลต้องเป็นผู้ดูแล ไม่ใช่แค่ดูแลชาร์ลสเท่านั้น แต่ดูแลลิงชิมแปนซีน้อยด้วย” ฟรังโกกล่าว “เมื่อเรื่องราวเดินหน้าไป วิลกลายเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งมากกว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ และเริ่มใส่ใจซีซาร์มากกว่าความสำเร็จในเรื่องยา”
ซีซาร์เป็นเหมือนสัตว์เลี้ยงของวิลมากกว่า อันที่จริงวิลเป็นเหมือนพ่อของเจ้าลิงชิมแปนซีที่ไม่ธรรมดานี้ด้วยซ้ำ “ในบางมุมนี่เป็นเหมือนเรื่องราวของพ่อกับลูก” อแมนด้า ซิลเวอร์ ผู้เขียน-ผู้อำนวยการสร้างที่เขียนบทภาพยนตร์ร่วมกับ ริค แจฟฟ่า สามีและผู้ร่วมเขียนของเธอกล่าวว่า “วิลกลายเป็นพ่อของพ่อเขาเอง รวมถึงเป็นพ่อซีซาร์ด้วย”
จอห์น ลิธโกว์ กล่าวว่า “เรื่องของวิล-ชาร์ลส-ซีซาร์ เดินหน้าไปจนเกินธรรมดา วิลสูญเสียพ่อให้กับโรคอัลไซเมอร์ในเวลาเดียวกับที่เขากำลังจะได้รับ ‘เด็กน้อย’ ซีซาร์ ความตึงเครียดในความรู้สึกนั้นทำให้เรื่องราวเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง”
ซีซาร์นำวิลไปหาแคโรลีน (ฟรีด้า พินโท) ผู้เชี่ยวชาญด้านวานรผู้ปรนนิบัติกับซีซาร์เหมือนสัตว์เลี้ยง และเป็นผู้ที่กลายเป็นตัวละครสำคัญในชีวิตของทั้งคู่ “แคโรลีนรักที่วิลเอาใจใส่ลิงชิมแปนซีมากจนปรนนิบัติเหมือนเป็นลูกของเขา” พินโทกล่าว “เธออุทิศชีวิตของเธอให้กับเหล่าวานร เธอจึงรักและใส่ใจพวกเขาอย่างแท้จริงสุดหัวใจ”
เนื่องจากมดลูกของแม่ซีซาร์น้อยทำปฏิกิริยากับยา ALZ-112 ซีซาร์น้อยได้แสดงความฉลาดและพฤติกรรมที่ผิดปกติไปจากวานรทุกวัย ซึ่งเป็นแรงผลักดันมาจากการเฝ้าสังเกตความสามารถพิเศษที่คาดไม่ถึงของซีซาร์ วิลแอบไปเอาตัวอย่าง ALZ-112 มาจาก Gen-Sys ในปริมาณที่มากพอ และถึงแม้จะขัดกับจรรยาบรรณส่วนตัวในการทดลองของเขาต่อไปที่บ้าน โดยใช้พ่อและซีซาร์เป็นข้อมูลทดลอง เมื่อเวลาผ่านไปด้วยความช่วยเหลือของยาลิงชิมแปนซีมีพฤติกรรรมการแสดงออกถึงความสามารถด้านความคิดและความฉลาด ในเวลาเดียวกันอาการของโรคอัลไซเมอร์ของชาร์ลสก็บรรเทาลงอย่างน่าออัศจรรย์ การแหกกฏการทดลองห้องปฏิบัตการของวิลดูเหมือนจะไปได้ดีกว่าที่เขาหวังไว้ แต่ในไม่นานเขาก็พบว่ามันสร้างหายนะให้เขาและมวลมนุษย์ทั้งหมดในท้ายที่สุด
“วิลได้ก้าวล้ำเส้น” ริค แจฟฟ่า กล่าวว่า “เขาคิดว่า เอาล่ะ เราสามารถรักษาโรคอัลไซเมอร์และเพิ่มความฉลาดได้ ซึ่งเมื่อนั้นเองที่เราเริ่มล้อเล่นกับพระเจ้าแล้ว นั่นแหละความเสี่ยงได้มาเยือนแล้ว”
“ภาพยนตร์เรื่อง RISE OF THE PLANET OF THE APES (กำเนิดพิภพวานร) เป็นการสำรวจประเด็นสำคัญที่มีการโต้เถียงกันมากที่สุดในปัจจุบัน” ปีเตอร์ เชอร์นิน กล่าวว่า “เรามีหลักวิทยาศาสตร์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่น่าเหลือเชื่อในการใช้สอยของเรา และเราถามข้อสงสัยขึ้นมาว่า เราจะนำพาสิ่งเหล่านี้ไปได้ไกลแค่ไหน หากเรากำลังท้าทายกับธรรมชาติ? อะไรคือขีดจำกัด?”
วิล ร็อดแมน ฉุดข้อจำกัดเหล่านั้นไปถึงจุดวิกฤติและที่ไกลกว่านั้นคือผลลัพธ์ที่เป็นหายนะ แต่ก่อนที่ผลร้ายเหล่านั้นจะปรากฏให้เห็น เราได้รู้ว่าซีซาร์เป็นสัตว์น้อยในวัยเยาว์ที่เหมือนกับเด็กมนุษย์ ที่มีความอยากรู้อยากเห็นโลกรอบตัวเขา แต่ถึงอย่างไรเมื่อซีซาร์เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ความฉลาดของเขาที่มีการพัฒนามาอย่างสูงเป็นที่ขัดแย้งต่อเหล่าวานรตัวผู้ที่โตเต็มวัย ซึ่งมีความก้าวร้าวเปรียบเสมือนสัญชาตญาณปกป้องตัวเองที่อันตราย ต่อมาไม่นานซีซาร์กลายเป็นสิ่งที่ยากเกินกว่าวิลและแคโรลีนจะรับมือไหว วิลต้องฝืนใจพรากจากซีซาร์ที่เป็นเหมือนลูกชายของเขา แคโรลีนเข้าใจความสับสนภายในจิตใจของวิลดี แต่เธอรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้แล้วที่ซีซาร์จะอยู่ร่วมกับเขา “แคโรลีนยืนยันว่าสัตว์ทุกตัวต้องการพื้นที่กว้าง และเราไม่อาจคาดคะเนในสัตว์ขนาดใหญ่จนปล่อยให้เติบโตอยู่ภายในบ้านได้ แม้แต่สัตว์ที่มีความพิเศษอย่างซีซาร์ก็ตาม” พินโทอธิบายว่า “แน่นอนว่าเธอรักวิลกับซีซาร์ และเข้าใจว่าทำไมมันการถูกพรากจากซีซาร์ถึงเป็นเรื่องยากสำหรับเขา”
วิลพาซีซาร์มาอยู่ร่วมกับวานรตัวอื่นๆ ในพื้นที่จำกัดของ San Bruno Primate Sanctuary แต่วิลไม่รู้เลยว่า “สถานที่หลบภัย” เป็นเหมือนที่คุมขังอันเสื่อมโทรมมากกว่า ที่นั่นเป็นพื้นที่ปล่อยทิ้งของเหล่าวานรที่ไม่เป็นที่ต้องการหรือถูกทอดทิ้ง ดำเนินารโดยแลนดอน (ไบรอัน ค็อกซ์ ผู้แสดงผลงานของผู้กำกับรูเพิร์ท ไวเอ็ตต์ ครั้งแรก ในภาพยนตร์ที่ได้รับคำชมเรื่อง The Escapist) และ ดอดจ์ ลูกชายของแลนดอน รับบทแสดงโดย ทอม เฟลตัน ผลงานที่ตามมาในภาพยนตร์เรื่อง RISE OF THE PLANET OF THE APES (กำเนิดพิภพวานร) เป็นการแสดงบทร้ายอีกครั้งหลังจากบทบาทจอมอันธพาล เดรโก มัลฟอย ของเขาในภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่ล่าสุดเฟลตันได้รับรางวัล MTV Movie Award® สำหรับบทตัวร้ายยอดเยี่ยม
เนื่องจากมันไม่ใช่วานรที่มีร่างกายแข็งแกร่งที่สุดในกลุ่ม ซีซาร์รับรู้อย่างรวดเร็วว่าเพื่อความอยู่รอดเขาต้องแสดงอำนาจด้านความฉลาดให้เหนือกว่า ร็อคเก็ต วานรตัวเก่งที่น่าเกรงขาม, บัค ลิงกอริลล่าจอมอัปลักษณ์ที่ดูลึกลับและขี้โมโห และ Maurice ลิงอุรังอุตังถูกทำร้ายในเชิงจิตวิทยา ต่อมาไม่นานซีซาร์มีอำนาจเหนือกว่าวานรทั้งหลายและได้สร้าง การปกครองทางสังคมใหม่ขึ้นมา ในช่วงเวลาสำคัญอันน่าตื่นเต้นนี้เองที่ซีซาร์ลุกขึ้นมาแก้แค้นผู้ดูแลมนุษย์จอมทารุณของพวกเขา
ไดแลน คลาร์ก กล่าวว่า “เราสร้างส่วนประกอบของหนังเราขึ้นมารายล้อมฉากนั้น” โดยเฉพาะสิ่งที่ผู้สร้างภาพยนตร์อยากคงความเซอร์ไพรส์เอาไว้ “มันจะดูมีพลังและมีความรู้สึกมาก” รูเพิร์ท ไวแอ็ตต์ กล่าวเสริมว่า “เราอยากให้มันเป็นช่วงเวลาที่ ‘โลกหยุดหมุน’ ซึ่งเล่นกับไอเดียของวิวัฒนาการทั้งหลาย รวมถึงพัฒนาการของสายพันธุ์” ความชัดเจนนั้นนำสู่การหลบหนีอย่างกล้าหาญทันที มีการเผชิญหน้ากันครั้งใหญ่ที่สะพาน Golden Gate ในซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นการกลับมาพบกันในรูปแบบที่ซื่อสัตย์แบบไม่จริงใจระหว่างวิลและซีซาร์ โดยการปฏิวัตินั้นจะเปลี่ยนแปลงโลกไปตลอดกาล