เปิดฉากด้วยการพังทลายของสะพาน สุดอลังการของ ‘Final Destination 5 - โกงตายสุดขีด”
ภาพยนตร์เรื่อง “Final Destination 5” ดำเนินการสู่ขั้นตอนการสร้างในช่วงต้นเดือนกันยายน 2010 ที่แวนคูเวอร์, บริติช โคลัมเบีย ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกับที่ถ่ายทำหนังสามภาค ซึ่งภาคแรกถ่ายเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
หัวหน้าของแต่ละแผนกอย่างผู้ควบคุมสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ โรรี่ คัตเลอร์ ผู้ควบคุมวิชลเอ็ฟเฟ็กต์ เอเรียล วีแลสโก้ ผู้ออกแบบการแต่งหน้าสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ โทบี้ ลินดาลา และผู้ควบคุมสตั๊นท์ เจ.เจ.มากาโร่ กลับมารวมตัวกันทั้งหมด เพอร์รี่พบว่าตัวเองมีช่วงเวลาเดจาวูหลายครั้งเกี่ยวกับเรื่องที่น่าจดจำ ตัวประกอบได้ปรากฏตัวในฉากวันหนึ่งโดยการยื่นใบขอเข้าถ่ายทำจากภาพยนตร์เรื่อง “Final Destination” ภาคแรก
ผู้สร้างความมั่นใจว่าความตายถูกเร็นเดอร์ท่วมไปด้วยเลือดอย่างงดงาม คือ ลินดา หัวหน้าฝ่ายเมคอัพผู้ควบคุมเอ็ฟเฟ็กต์ของเลือดในภาพยนตร์เรื่อง “Final Destination 3”
ด้วยกล้องที่ทันสมัยระบบ 3 มิติที่ทำให้ทุกรายละเอียดมีความเข้มข้นขึ้น เลือดกลายเป็นสิ่งท้าทายใหม่ ทีมงานของลินดาลาใช้เวลาหลายชั่วโมงจนนับไม่ถ้วนเพื่อทดสอบอุปกรณ์ชิ้นใหม่ต่างๆ และผสมสูตรที่เห็นบนจอภาพแล้วดูเหมือนเป็นของจริง ซึ่งเป็นสูตรที่มีรายการของช็อคโกแลตไซรัป วอดก้าและบรรดาส่วนผสมอื่นๆ “มันต้องใช้เวลาเพื่อให้ได้ส่วนผสมที่เหมาะ” ลินดาลากล่าว “การทำงานร่วมกับระบบ 3 มิติค่อนข้างยากนิดหน่อย แต่ฉันดีใจที่เราได้สร้างผลงานตอนนี้ ไม่ใช่เมื่อ 10 หรือ 15 ปีที่แล้วที่ผลงานของเรายังห่างชั้น ตอนนี้เรามีการใช้ซิลิโคนอย่างแพร่หลาย พลาสเตอร์ bondo และกาว Pros-Aide ซึ่งแสงผ่านได้น้อยมาก เขาใช้มาผสมกับผิวและทำให้เกิดผิวที่เหมาะสมอย่างแท้จริง หากไม่มีองค์ประกอบใหม่ๆ เหล่านี้ ผลงานของเราคงโดดเด่นแบบการเมคอัพแทนที่จะดูเหมือนบาดแผลที่โดดเด่นสมจริง”
การทำงานร่วมกับผู้กำกับภาพยนตร์ผู้โด่งดัง เจมส์ คาเมรอน มานาน 20 ปี สตีเฟ่น เควล ไม่ได้แค่ “เติบโต” ขึ้นมาพร้อมพัฒนาการของ 3 มิติ แต่ยังมีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของด้านเทคนิคและวิวัฒนาการด้านภาพยนตร์อย่างกระตือรือร้นอีกด้วย ท่ามกลางผลงานด้านภาพยนตร์ของคาเมรอสน เควลได้ร่วมงานกับที่ปรึกษาด้านภายนตร์สารคดีและโปรเจ็กต์ระบบ IMAX ของเขา ทำให้เขามีประสบการณ์ในการใช้ 3 มิติกว้างขึ้นในทุกด้านของสื่อกลางและสภาพแวดล้อมต่างๆ
“ผมได้เรียนรู้ตั้งแต่ช่วงแรกว่าควรทำอะไรและไม่ควรทำอะไรกับ 3 มิติบ้าง” เควลให้ความเห็นว่า “ผมได้เรียนรู้วิธีการใช้มันเหมือนเครื่องมือการถ่ายทอดเรื่องราว ไม่ใช่เหมือนเคล็ดลับ และผมไม่ถ่ายทำระบบ 3 มิติ จนกว่าพวกเขาจะส่งเรื่องมาให้ เพราะท้ายที่สุดแล้วเรื่องราวกับตัวละครคือสิ่งที่ประคองหนังไปร่วมกันได้ ไม่ใช่แค่การถ่ายทำที่เท่ห์ๆ”
นอกจากนั้นสำหรับองค์ประกอบของ 3 มิติ ผู้สร้างภาพยนตร์บันทึกภาพโดยการใช้ “Alexa” กล้องดิจิตอลระบบไฮ-เดฟที่สร้างขึ้นโดย Arriflex ผู้กำกับภาพไบรอัน เพียร์สัน กล่าวว่า “ในช่วงการเตรียมการถ่ายทำ สตีฟกับผมคุยกันอยู่นานถึงเรื่องภาพลักษณ์ของหนัง เราอยากให้ภาคต่อนี้เดินหน้าไปในทิศทางที่ต่างออกไป มีการถ่ายทำหนังด้วยระบบ 3 มิติที่มีการพัฒนามากขึ้น และรวมถึงเลนส์เพื่อใช้ถ่ายระยะไกลสำหรับบางฉาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ปกติแล้วไม่เป็นที่ยอมรับในการสร้างระบบ 3 มิติ เราต้องการความแตกต่างในเฟรมมากๆ ในส่วนของขอบเขตและในส่วนของสีสัน เราไม่ได้สร้างผลงานแค่ความลึกซึ้งในรูปแบบ 3 มิติแต่ยังรวมด้านมุมมองของสีสันตลอดภาพยนตร์ด้วย เราใช้สีสันโทนอบอุ่น สีทอง สีเหลือง และสีเปลวไฟ แต่ก็มีการรวมโทนสีเย็นในบางครั้งเพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มความดราม่าเข้าไปในฉาก”
สิ่งที่มีความเหมือนกันในหนังเรื่อง ‘Final Destination’ และเป็นสิ่งที่ทำให้มันต่างจากหนังแฟรนไชส์สยองขวัญเรื่องอื่นๆ คือการฝืนกฏความตายในฉากเปิดตัว ผู้สร้างภาพยนตร์มั่นใจว่าความหายนะนั้นเป็นจุดเริ่มต้นการเดินหน้าของภาพยนตร์ที่สร้างความพอใจได้อย่างเต็มที่ แม้แต่แฟนพันธุ์แท้ที่คิดว่าเคยเห็นทุกอย่างมาแล้วก็ตาม
เอริค เฮสเซอเรอร์ ผู้เขียนกล่าวว่า “ไอเดียของการพังทลายของสะพานที่ระงับใช้เป็นผลมาจากการประชุมด้านการสร้างสรรค์ร่วมกับเคร็ก เพอร์รี่ และ ชีล่า ฮานาฮาน เทย์เลอร์ มาอย่างยาวนาน เราเริ่มจากการดูวีดีโอออนไลน์ของหายนะจากธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เพื่อค้นหาฉากที่น่าจะเหมาะกับหนัง เคร็กร่วมแชร์วีดีโอของการพังทลายของสะพาน Tacoma Narrows Bridge และผมก็หลงใหลไปกับมัน เราเริ่มจดทุกสิ่งทุกอย่างที่น่าจะผิดพลาดกับสะพาน พอเราคิดว่าเราระดมความคิดกันจนหมดแล้ว บางคนก็จะใส่รายละเอียดเสริมเข้าไป จนสุดท้ายหลังจากการวางแผนนาน ระดมความคิด เขียนบทและแก้ไขเป็นเวลา 3 เดือน ผมก็ได้ฉากที่รู้สึกว่าถูกต้องตามการเปิดตัวของหนัง ‘Final Destination’ แต่ความยิ่งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นกับสะพานที่พลังทลายคือตัวสตีฟ เควล เพราะเขามีการเปิดตัวหนังในแบบที่เราจินตนาการกันมาเป็นเวลาหลายเดือน และยกระดับมันให้เป็นภาพเคลื่อนไหว เป็นประสบการณ์ของภาพยนตร์ในแบบที่เราไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เลย”
แต่การพลิกจากสิ่งที่อยู่บนหน้ากระดาษให้เป็นเรื่องจริงบนจอหนังระบบ 3 มิติขนาดใหญ่กลายเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ และเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อน ซึ่งรวมถึงการใช้สถานที่ๆ แตกต่างกันไป 4 แห่ง ได้แก่ สถานที่จริงของ Lions Gate Bridge ในแวนคูเวอร์, ฉาก Brunswick Pit สะพานยกระดับลอยฟ้าที่สร้างขึ้นในลานจอดรถกลางแจ้ง และสะพานวงแหวนดาดฟ้าที่โครงสร้างมีน้ำหนัก 80,000 ปอนด์ ซึ่งมีขนาด 60 x 50 ฟุต และตั้งอยู่ใกล้กับโรงถ่าย Mammoth
“สำหรับการทำสิ่งที่เราต้องการให้ประสบความสำเร็จ เราต้องมีความคิดสร้างสรรค์จริงๆ ว่าเราจะใช้ทรัพยากรของเราอย่างไร” เควลกล่าว “โดยสรุปแล้ว ฉากทั้งหมดนำไปสู่การพังทลายของสะพานที่เกี่ยวข้องกับ Lions Gate Bridge เรามีการถ่ายทำกลางอากาศ เราได้รับอนุญาตให้ปิดการจราจรบนสะพาน 1 เลนช่วงสั้นๆ ของเช้าวันอาทิตย์เพียงแค่ 4 ชั่วโมงเท่านั้น เพื่อใช้เวลาให้มีค่าที่สุด เราใช้กล้อง 4 ตัวถ่ายทำพร้อมกันเพื่อเก็บภาพ
“จากนั้นเราย้ายการถ่ายทำไปยังสถานที่บน Brunswick Pit” เขากล่าวต่อว่า “ซึ่งเรามีส่วนของดาดฟ้าที่สร้างขึ้นมา สถานที่นี่ดูน่าเหลือเชื่อเพราะมันมีทิวทัศน์สุดมหัศจรรย์ซึ่งเหมาะกับทิวทัศน์ท้องทะเลแบบพาโนรามา Lions Gate Bridge เราจึงผสมผสานของจริงเข้ากับส่วนที่สร้างขึ้นมาได้อย่างแนบเนียน เราเรียกสถานที่ถ่ายทำอันที่สามว่าสะพานยกระดับ และที่นั่นมีส่วนบริเวณที่ยกระดับ 30 ฟีตขึ้นไปในอากาศ เราจึงถ่ายแบบมองจากข้างบนลงมาข้างล่างได้ และนั่นเป็นจุดที่นักแสดงของเราต้องตกลงจากสะพานและห้อยอยู่ตรงราวลูกกรงที่แตกอยู่ ในที่สุดเมื่อสะพานเริ่มพังทลายลง เราได้ย้ายไปที่โรงถ่ายที่เรามีสะพานดาดฟ้าขนาดยาวบนวงแหวนไฮดรอลิค นั่นคือจุดที่เราสร้างความสำเร็จให้ผลงานด้วยกรีนสกรีนที่เป็นส่วนสำคัญ”
ในการสร้างกรอบความคิดของฉากสะพาน ผู้ออกแบบฉาก เดวิด อาร์. แซนเดอเฟอร์ เชื่อมั่นในประสบการณ์เชิงสถาปัตยกรรมที่ผ่านมาของเขาเพื่อวาดแบบแผนที่มีความซับซ้อนขึ้นมา การอพยพครั้งใหญ่ที่รายล้อมไปด้วยชายเขาที่ Brunswick Pit เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเตรียมสถานที่ที่สามารถรองรับขอบเขตของการสร้างหนังได้ ซึ่งเป็นฉากที่รวมนั่งร้านสูง 50 ฟุตพร้อมด้วยกรีนสกรีนขนาดใหญ่ 2 จอขนาด 40x60 ฟุต ด้านบนเป็นฉากสีขาวปกคลุมอยู่ และเครนที่ไม่ต่ำกว่า 12 ตัว
“เราพบสถานที่ Brunswick Pit เพียง 3 อาทิตย์ก่อนเริ่มการถ่ายทำ และเรามีสิ่งก่อสร้างใหญ่ๆ หลายอย่างที่ต้องทำให้เสร็จ” แซนเดอเฟอร์แสดงความเห็น “แน่นอนว่าเราต้องปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่ไม่ใช่แค่ในระดับภาคพื้นดินบางแห่งเท่านั้น แต่รวมถึงสิ่งก่อสร้างในพื้นที่บริเวณอื่นเพื่อเป็นฐานให้กับสะพานยกระดับที่ปูพื้นด้วยยางมะตอย และบริเวณที่รายล้อมอยู่รอบนอก และเรายังมีการสร้างทางไหลของยางมะตอยที่ถูกต้องในฉาก เพื่อรักษาความปลอดภัยและความเป็นกังวลด้านสภาพแวดล้อม ที่นั่นจึงไม่มีดินถล่มมากวาดฉากเราลงไหล่เขาไปได้ เมื่อสะพานเริ่มพังทลายลง สตีฟต้องการถ่ายทำทั้งข้างบนและข้างล่างสะพาน ผมรู้ดีว่าเราไม่เคยมีโรงถ่ายที่สูงพอจะรองรับฉากเหล่านั้นได้ เราจึงคิดว่า ‘ทำไมเราไม่เอาส่วนหนึ่งของยางมะตอยลากมาไว้ข้างนอกและต่อขึ้นไปบนรถคอนเทนเนอร์?’ นั่นคือวิธีที่เราสร้างสะพานยกระดับดาดฟ้าขึ้นมา”
เพอร์รี่กล่าวว่า “พวกเราโชคดีมากที่มีเดวิด แซนเดอเฟอร์ เขาและทีมงานไม่ได้สร้างแค่ฉากที่สุดวิเศษในทุกฉากในหนังเท่านั้น แต่พวกเขายังสร้างผลงานที่ไม่น่าเชื่อในการเก็บภาพโครงสร้างของสะพานยกระดับเต็มขนาดและจำลองในแบบที่ต่างกันไปหลายแบบ เพื่อสร้างฉากเปิดตัวที่อลังการของเรื่อง ‘Final Destination 5’”
เว็บไทยของหนัง
www.finaldestination5-thai.com