happy on June 05, 2011, 04:54:22 PM
ARRIETTY


จัดจำหน่ายโดย   เอ็ม พิคเจอร์ส  
ชื่อภาษาไทย   “อาริเอตี้ มหัศจรรย์ความลับคนตัวจิ๋ว”
เว็ปไซด์ตัวอย่างภาพยนตร์   http://www.karigurashi.jp/index.html
      
ภาพยนตร์แนว   แอนิเมชั่นแฟนตาซี
จากประเทศ      ญี่ปุ่น
กำหนดฉาย      23 มิถุนายน 2554
ณ โรงภาพยนตร์   เอเพล็กซ์ สยามสแควร์
ทีมผู้พากย์                อาริเอตี้      มิไร ชิดะ
                                โช            ริวโนะสุเกะ คามิคิ
                                โฮมิลี   ชิโนบุ โอทาเกะ
                                ซาดาโกะ   เคอิโกะ ทาเคชิตะ
                                สปิลเลอร์   ทัตสึยะ ฟูจิวาระ
                                พ็อด   โทโมคาซุ มิอุระ
                                ฮารุ   คิริน กิกิ

ผู้กำกับ      ฮิโรมาสะ โยเนบายาชิ
อำนวยการสร้าง   โทชิโอะ ซูซูกิ

จุดเด่น   
เป็นการดัดแปลงวรรณกรรมรางวัลคาร์เนกี้ของ แมรี่ นอร์ตัน เรื่อง The Borrowers มาทำในสไตล์ของจิบลิ ARRIETTY ผลงานอนิเมชั่นเรื่องใหม่แฟนตาซีล่าสุดจากสตูดิโอ จิบลิ ผู้สร้างสรรค์แอนิเมะเรื่องเยี่ยมมาแล้วมากมาย นอกจากนี้ยังคว้ารางวัล Tokyo Anime Award ครั้ง 10 ไปถึง 5 รางวัลด้วยกัน ได้แก่ แอนิเมชั่นยอดเยี่ยมแห่งปี, ภาพยนตร์แอนิเมชั่นในประเทศยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม ฮิโรมาสะ โยเนบายาชิ, กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม และ ประพันธ์เพลงยอดเยี่ยม และล่าสุดคว้ารางวัล Animation ยอดเยี่ยมแห่งปี จากวเที Japan Academy Prizes ครั้งที่ 34 แถมยังประสบความสำเร็จเป็นอนิเมชั่นทำเงินสูงสุดประจำปี 2010 ด้วยตัวเลขสูงถึง 9.25 พันล้านเยน




เรื่องย่อ

               นี่คือเรื่องราวของครอบครัวคน “ตัวเล็กๆ”
   เบื้องล่างแผ่นไม้กระดานของคฤหาสน์โอ่โถงที่ตั้งอยู่ในสวนมหัศจรรย์ย่านชานเมืองโตเกียว อาริเอตี้ เด็กสาวตัวจิ๋ววัย 14 ปี ได้ใช้ชีวิตอยู่กับพ่อแม่ของเธอที่ตัวเล็กจิ๋วพอๆ กัน บ้านหลังนี้เป็นที่พักอาศัยของหญิงชราสองคน ผู้ไม่รับรู้ถึงการคงอยู่ของผู้อยู่ร่วมบ้านตัวจิ๋วของพวกเธอเลยซักนิด

   อาริเอตี้ และครอบครัวของเธอยังชีพอยู่ด้วยการ “ขอยืม” ทุกอย่างที่พวกเขามีคือสิ่งที่พวกเขาขอยืมหรือสร้างขึ้นจากสิ่งที่ขอยืมมาทั้งนั้น ซึ่งก็มีทั้งสิ่งของจำเป็นอย่างพวกแก๊ส น้ำหรืออาหาร โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ทำอาหาร และขนมขบเคี้ยว น้ำตาลก้อนตรงนี้นิด ชิ้นวัตถุดิบตรงนั้นหน่อย แต่ครั้งละน้อยๆ เท่านั้น เพื่อที่หญิงชราจะได้ไม่ทันสังเกต
   โช เด็กชายวัย 12 ปี ย้ายเข้าไปอยู่ในคฤหาสน์หลังนั้นระหว่างที่เขารอรับการรักษาอย่างเร่งด่วนในตัวเมือง พ่อแม่ของอาริเอตี้ เตือนเธออยู่บ่อยๆ ว่า “อย่าให้มนุษย์เห็น” เพราะเมื่อถูกเห็นเข้า มนุษย์ตัวเล็กก็จะต้องย้ายที่อยู่ แต่อาริเอ็ตตี้ ผู้รักการผจญภัยฟังซะที่ไหนล่ะ และโชก็เห็นเธอเข้าจนได้
   ทั้งคู่เริ่มพูดคุยทำความเข้าใจกัน และไม่นานนัก มิตรภาพระหว่างทั้งสองก็เริ่มผลิบาน…
« Last Edit: June 23, 2011, 03:10:25 PM by happy »

happy on June 05, 2011, 05:00:11 PM
ประวัติผู้กำกับฮิโรมาสะ โยเนบายาชิ

                 ฮิโรมาสะ โยเนบายาชิ เกิดในปี 1973 ในเขตอิชิคาวะ ประเทศญี่ปุ่น เขาเข้าศึกษาด้านออกแบบธุรกิจจากมหาวิทยาลัยศิลปะคานาซาวะ ในปี 1996 โยเนบายาชิได้เข้าทำงานกับสตูดิโอจิบลิ และได้ทำหน้าที่แอนิเมเตอร์ที่ตรวจงานอนิเมชันในภาพยนตร์เรื่อง “Princess Mononoke” (1997) และ “My Neighbors the Yamadas” (1999) และหน้าที่คีย์แอนิเมเตอร์ใน “Spirited Away” (2001), “The Ghiblies Episode 2” (2002), “Howl’s Moving Castle” (2004) และ “Ponyo on the Cliff by the Sea” (2008) นอกจากนี้ เขายังรับหน้าที่ซูเปอร์ไวซิง แอนิเมเตอร์ใน “Tales from Earthsea” (2006) อีกด้วย
          นอกเหนือไปจากการทำงานในภาพยนตร์แอนิเมชั่นของจิบลิแล้ว โยเนบายาชิยังได้ร่วมทำงานในภาพยนตร์ขนาดสั้นให้กับพิพิธภัณฑ์จิบลิที่มิตากะอีกด้วย เขาดำรงตำแหน่ง ผู้กำกับฝ่ายแอนิเมชั่นในเรื่อง “Mei and the Baby Catbus” (2002) และซูเปอร์ไวซิง แอนิเมเตอร์ใน “Imaginary Flying Machines” (2002) และยังเป็นผู้รับผิดชอบงานสตอรีบอร์ดและการกำกับ “Evolution” (2008) หนึ่งในดิสเพลย์ “Films Go Round” ของพิพิธภัณฑ์จิบลิ
          โยเนบายาชิเปิดตัวในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องแรกกับผลงานเรื่องล่าสุดของสตูดิโอ จิบลิ “Arrietty” (“Karigurashi no Arrietty”)


ผู้อำนวยการสร้าง โทชิโอะ ซูซูกิ

                ผมเชื่อว่าน่าจะเป็นช่วงต้นฤดูร้อนปี 2008 ที่ฮายาโอะ มิยาซากินำเสนอโปรเจ็กต์นี้เป็นครั้งแรก ในตอนนั้น ผมมีไอเดียภาพยนตร์อีกอย่างหนึ่งอยู่ในความคิด เราทุ่มเถียงและถกประเด็นกัน พวกเราไม่มีใครยอมถอยกันเลย ผมเห็นได้ว่าเราคงไม่สามารถเดินหน้าไปไหนได้ ดังนั้น ด้วยความเคารพในความอาวุโสกว่าของคุณมิยาซากิ ผมก็เลยยอมจำนน
   เมื่อเกือบสี่สิบปีที่แล้ว คุณมิยาซากิและอิซาโอะ ทาคาฮาตะ อยากจะดัดแปลงเรื่อง “The Borrowers” วันหนึ่ง คุณมิยาซากิก็บังเอิญจำเรื่องนี้ได้ เขาแนะนำให้ผมอ่านหนังสือเรื่องนี้ และผลักดันให้มีการสร้างมันเป็นภาพยนตร์ บางทีมันอาจจะเกิดจากความหลังสมัยหนุ่มๆ ของทั้งเขาและคุณทาคาฮาตะก็ได้ ผมไม่รู้นะ…เรื่องพวกนั้นเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวที่สตูดิโอจิบลิ
   “แล้วทำไมถึงเลือก ‘The Borrowers’ ตอนนี้ล่ะครับ” ผมถามคุณมิยาซากิ แล้วเขาก็เริ่มให้เหตุผลต่างๆ ในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้กับผม ไอเดียเรื่องราวเกี่ยวกับ “การยืม” เป็นเรื่องน่าหลงใหล มันเหมาะกับวิถีทางของสิ่งต่างๆ ในปัจจุบันอย่างยิ่ง ยุคของการบริโภคสินค้าจำนวนมากกำลังจะสิ้นสุดลงแล้ว เรากำลังอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและไอเดียของการหยิบยืมข้าวของแทนที่จะซื้อแสดงให้เห็นถึงทิศทางของสิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เขาอธิบาย
   คุณมิยาซากิชอบทำอะไรรวดเร็วในตอนที่เขาคิดว่าเขามีไอเดียดีๆ เขาก็เลยเขียนข้อเสนอโครงการอย่างเป็นทางการขึ้นมาในทันที



   ภาพยนตร์เรื่องนี้ สร้างขึ้นจากเรื่อง “The Borrowers” ของแมรี นอร์ตัน
อย่างไรก็ดี ฉากของเรื่องจะถูกเปลี่ยนจากอังกฤษในยุค 50s ไปเป็นญี่ปุ่นยุคปัจจุบันในปี 2010 ย่านโคงะเนอิที่คุ้นเคยของเราจะเป็นโลเกชันของเรื่องได้เป็นอย่างดี
   ผู้ที่อาศัยอยู่ใต้พื้นห้องครัวของบ้านหลังเก่าคือครอบครัวคนตัวเล็ก ที่ประกอบไปด้วยอาริเอตี้ เด็กสาววัย 14 ปีและพ่อแม่ของเธอ
   คนตัวเล็กหาสิ่งของที่จำเป็นในชีวิตทุกอย่างด้วยการ “ขอยืม” จากมนุษย์ที่ใช้ชีวิตอยู่ด้านบนพื้น
   พวกเขาไม่ใช่เทพยดาและไม่มีพลังพิเศษใดๆ ทั้งนั้น
   พวกเขาสู้กับหนู รำคาญใจกับแมลงสาบและปลวก หนีจากยาพ่นปลวกและแมลง และต้องคอยหลบเลี่ยงกับดักแมลงสาบและเหยื่อที่อาบด้วยยาพิษ คนตัวเล็กใช้ชีวิตอย่างสมถะและรอบคอบ พวกเขาคอยระวังตัวไม่ให้ใครเห็นหรือไม่เป็นจุดสนใจ
ผู้เป็นพ่อเป็นคนเข้มแข็ง กล้าหาญ และคอยออกไปปฏิบัติภารกิจ “ขอยืม” ที่เสี่ยงอันตรายเสมอ ด้วยความรู้สึกรับผิดชอบต่อครอบครัว ส่วนผู้เป็นแม่จะเป็นผู้คุ้มครองและดูแลบ้าน ในขณะที่อาริเอตี้ก็เป็นเด็กสาวอ่อนไหว ที่มีจิตใจกระหายใคร่รู้ พวกเราจะได้พบว่าพวกเขาเป็นครอบครัวแบบดั้งเดิม
   โลกที่ปกติธรรมดากลับแลดูใหม่สดใสเมื่อถูกมองผ่านสายตาของคนที่สูงเพียงแค่ 10 ซ.ม. การสร้างภาพแอนิเมชั่นของคนตัวเล็กที่ทำงาน เคลื่อนไหวและใช้ทุกส่วนของร่างกายเป็นเรื่องที่วิเศษสุด เรื่องราวนี้จะนำเสนอชีวิตประจำวันของคนตัวเล็กเหล่านี้ ทั้งการพบปะ การแลกเปลี่ยน และการจากกันระหว่างอาริเอตี้และเด็กชายมนุษย์ผู้ผูกมิตรกับเธอ นอกจากนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังแสดงให้เห็นด้วยว่า มนุษย์ตัวเล็กเหล่านี้หลบหนีจากความทุกข์ทรมานที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ผู้ชั่วร้ายและถูกบีบให้ต้องออกไปใช้ชีวิตในทุ่งหญ้าได้อย่างไร
   ด้วยความหวังที่ว่าผลงานนี้จะสร้างความสบายใจและความกล้าหาญให้กับผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในยุคสมัยแห่งความวุ่นวายสับสน และไม่แน่นอน…
ในตอนแรก ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกตั้งชื่อว่า “Chiisana Arrietty (Little Arrietty)” ผมคิดว่ามันเป็นการตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยวมากและถามเหตุผลเรื่องนี้กับเขา คุณมิยาซากิบอกผมว่าเขาชอบเสียงของคำว่า “อาริเอตี้” ก็เลยไม่เคยลืมชื่อนี้เลย แต่ชื่อเรื่องนี้ไม่ได้พูดถึง “การขอยืม” ที่คุณมิยาซากิยืนกรานว่าเป็นเหตุผลสำคัญในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้เลย พอผมพูดถึงเรื่องนี้กับเขา คุณมิยาซากิก็เปลี่ยนชื่อเรื่องนี้เป็น “Karigurashi no Arietty (Arietty the Borrower)” ทันที

           ดังนั้น คำถามต่อไปก็คือ ใครจะเป็นผู้กำกับของเรื่อง
           นั่นเป็นคำถามที่ยากมาก จนถึงตอนนี้ ภาพยนตร์แทบทุกเรื่องของสตูดิโอ จิบลิได้อิซาโอะ ทาคาฮาตะและฮายาโอะ มิยาซากิผลัดกันรับหน้าที่ผู้กำกับ แต่ตอนนี้ ทั้งคู่อายุมากแล้ว มีคำพูดที่ว่า “ขิงแก่ก็ยิ่งเผ็ด” ก็จริง แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ผู้สูงอายุก็ทำได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น เราก็เลยได้โกโระ มิยาซากิ ที่ยังอายุน้อย มากำกับ “Tales from Earthsea” และเราต้องการผู้กำกับที่อายุน้อยกว่าสำหรับโปรเจ็กต์นี้ครับ
           แล้วใครจะเป็นคนๆ นั้นล่ะ ในสถานการณ์เช่นนี้ คุณมิยาซากิก็จะปฏิบัติต่อผมในฐานะคนๆ เดียวที่มีหน้าที่ดูแลสตูดิโอ โดยไม่นึกถึงว่าคำถามแบบนั้นต้องใช้เวลาคิดหาคำตอบอยู่บ้าง
           ชื่อเดียวที่ผมคิดออกในตอนนั้นคือฮิโรมาสะ โยเนบายาชิ ผู้กำกับคนปัจจุบันของเรา “มาโระ” คือชื่อเล่นของเขา “แล้วมาโระล่ะ” ผมถาม สีหน้าของคุณมิยาซากิแลดูแปลกใจ “คุณซูซูกิ คุณนึกเรื่องนี้มานานแค่ไหนแล้ว” เขาถาม “อาจจะซักสองหรือสามปีมาแล้วครับ” ผมโกหกผมไม่ได้ถามมาโระด้วยซ้ำว่าเขาเคยคิดจะกำกับภาพยนตร์รึเปล่า ผมแค่พูดชื่อของเขาออกไปเพราะผมจนแต้มแล้ว บังเอิญว่ามาโระเป็นแอนิเมเตอร์ที่ฝีมือดีที่สุดของจิบลิ ใน “Ponyo on the Cliff by the Sea” เขามีหน้าที่ดูแลซีนที่ปอนโยวิ่งอยู่บนคลื่นลูกแล้วลูกเล่าขณะตามหาตัวโซสุเกะ และอนิเมชันของเขาก็ทำให้คุณมิยาซากิประทับใจมาก


   “งั้นก็ให้เขามานี่ แล้วเราจะได้คุยกัน!” พอตัดสินใจอะไรลงไปแล้ว คุณมิยาซากิก็จะลงมือโดยฉับพลัน เขาเรียกมาโระมาที่สตูดิโอที่นิบาริกิ เพื่อที่เราจะได้เกลี้ยกล่อมให้เขารับหน้าที่นี้ได้
คุณมิยาซากิพูดอย่างไม่อ้อมค้อม เขายื่นหนังสือเรื่อง “The Borrowers” ให้กับมาโระและบอกว่า “มาโระ นี่คือโปรเจ็กต์หน้าของเรา และคุณก็จะเป็นคนกำกับมัน!”
   มาโระ ผู้แทบไม่เคยเปลี่ยนสีหน้า แปลกใจกับเรื่องนี้มาก “แต่ผู้กำกับไม่จำเป็นต้องอาศัยหลักการหรือมุมมองของตัวเองเหรอครับ” เขาถาม “ผมไม่มีของพวกนั้นหรอกนะ” ผมกับคุณมิยาซากิก็ร้องออกมาพร้อมกันว่า “มันอยู่ในหนังสืออยู่แล้วล่ะ!” มาโระอึ้งไป แต่ท้ายที่สุด เขาก็ยอมรับการตัดสินใจของคุณมิยาซากิ และยอมรับหน้าที่ในฐานะผู้กำกับ
   ตอนแรก มาโระพยายามจะถามความคิดเห็นจากคุณมิยาซากิทุกเรื่อง แต่เมื่อถึงเวลาต้องเขียนสตอรีบอร์ด เขาก็ตระหนักดีว่าเขาจะต้องเผชิญหน้ากับมันตามลำพัง และบอกคุณมิยาซากิว่าเขาจะไม่ขอคำแนะนำอีกต่อไปแล้ว
   คุณมิยาซากิก็ตอบว่า “ดีเลย! กล้าๆ เข้าไว้!” และสนับสนุนเรื่องแบบนั้น ดังนั้น ในตอนนี้ สตาฟทุกคนของจิบลิก็ทุ่มเทให้กับการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่สร้างจากสตอรีบอร์ดของมาโระ จนถึงตอนนี้ ทุกอย่างเดินหน้าอย่างราบรื่น แต่สิ่งที่เรากังวลเพียงอย่างเดียวคือตัวคุณมิยาซากิ แน่นอนว่ามาโระอยู่ในความคิดของเขา และคุณก็ไม่มีทางรู้ได้หรอกว่าเมื่อไหร่ที่คุณมิยาซากิจะบุกเข้ามาในกองถ่ายพร้อมกับไอเดียใหม่ๆ และคำแนะนำโดยไม่ได้ร้องขอน่ะครับ
« Last Edit: June 23, 2011, 03:11:34 PM by happy »

happy on June 17, 2011, 02:12:19 PM
 ::) :-*

Google on June 22, 2011, 06:52:41 PM
Arrietty อาริเอตี้ แอนิเมชั่นแฟนตาซีสุดน่ารักเรื่องล่าสุด จากจิบลิ






 
          เอ็ม พิคเจอร์ส ภูมิใจนำเสนอการ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่องล่าสุดจากสตูดิโอจิบลิ ผู้ซึ่งสร้างารรค์ผลงานมาแล้วมากมาย กับล่าสุดแอนิเมชั่นแฟนตาซีแสนหวาน Arrietty (อาริเอตี้) หรือ มหัศจรรย์ความลับคนตัวจิ๋ว ที่ไม่ได้จิ๋วเหมือนชื่อ เมื่อสร้างความมหัศจรรย์ด้วยการเป็นแอนิเมชั่นที่ทำเงินสูงสุดประจำปี 2010 ที่ประเทศญี่ปุ่น ด้วยตัวเลขสูงถึง 9.25พันล้านเยน พร้อมทั้งยังได้รับรางวัลการันตีจาก Tokyo Anime Award ครั้ง10 ไปครองถึง 5 รางวัลด้วยกัน ได้แก่ อนิเมชั่นยอดเยี่ยมแห่งปี, ภาพยนตร์อนิเมชั่นในประเทศยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม Hiromasa Yonebayashi (ฮิโรมาสะ โยเนบายาชิ), กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม และ ประพันธ์เพลงยอดเยี่ยม และตามติดด้วยงาน Japan Academy Prizes ครั้งที่ 34 ก็สามารถคว้ารางวัล Animation ยอดเยี่ยมแห่งปี ไปครองได้สำเร็จอีกครั้ง เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จแบบสุดๆ  




 
          Arrietty (อาริเอตี้) มีเนื้อหาเรื่องราวที่น่าประทับใจของความมหัศจรรย์คนตัวจิ๋ว ที่ต้องหลบซ่อนตัวและอาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์ ซึ่งมีเพียงกฏเหล็กว่า “ห้ามให้มนุษย์เห็นเด็ดขาด” แต่กฏนี้ก็ต้องถูกล้มเลิกเมื่อทั้ง Arrietty (อาริเอตี้) และ Sho (โช) พบกัน ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ด้วยมิตรภาพสุดซึ้งระหว่างกันและกัน ซึ่งครั้งนี้ถือว่าเป็นการแจ้งเกิดผู้กำกับหนุ่มใหม่ไฟแรงอย่าง Hiromasa Yonebayashi (ฮิโรมาสะ โยเนบายาชิ) ที่ก่อนหน้านี้ก็เคยร่วมงานกับสตูดิโอ Ghibli(จิบลิ) มาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่แอนิเมเตอร์ ที่คอยตรวจงานอนิเมชั่นในภาพยนตร์เรื่อง PRINCESS MONONOKE (ปริ๊นดซส โมโนเกะ) ในปี 1997, MY NEIGHBORS THE YAMADAS (มาย เนเบอร์ เดอะ ยามาดะ) ปี 1999 และทำหน้าที่คีย์แอนิเมเตอร์ใน SPIRITED AWAY (สปิริท อเวย์) ปี 2001, HOWL’S MOVING CASTLE (ฮาวล์ มูฟวิ่ง คาสเซิล) ปี2004 และ PONYO ON A CLIFF BY THE SEA (ปองโย ออน อะ คลิฟ ออน เดอะ ซี) ปี 2008 นอกจากนี้ เขายังรับหน้าที่เป็นซูเปอร์ไวซิง แอนิเมเตอร์ใน TALES FROM EARTHSEA (เทลส์ ฟอร์ม เอิร์ธ ซี) ปี 2006 อีกด้วย และ Arrietty (อาริเอตี้) ก็เป็นผลงานการกำกับเต็มตัวเรื่องแรกของเขา ซึ่งเขาก็ไม่พลาดได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจากเทศกาล Tokyo Anime Award ครั้ง 10 มาครองได้สำเร็จ Hiromasa Yonebayashi (ฮิโรมาสะ โยเนบายาชิ) ผู้กำกับหนุ่มเล่าให้ฟังอย่างภาคภูมิใจว่า
 
          “… ผมแทบไม่เชื่อหูตัวเองเมื่อ Suzuki (ซูซูกิ ผู้อำนวยการสร้าง) บอกกับผมว่า นี่คือโปรเจ็กต์หน้าของเรา และคุณก็จะเป็นผู้กำกับมันนะ ตอนแรกผมคิดว่าผมคงจะทำมันไม่ได้เพราะผมเองไม่เคยมีประสบการณ์ในการกำกับมาก่อนเลย ถือว่าเป็นเรื่องที่ยากมากๆ สำหรับผม แต่ในใจลึกๆ ผมก็คิดว่านี่มันคือโอกาสที่ยิ่งใหญ่ของเรา ซึ่งถึงเวลาแล้วล่ะที่ผมจะได้โชว์ฝีมือ ผมเลยตกลงรับหน้าที่กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ เมื่อถึงการทำงานจริงผมโชคดีมากที่ทีมงานทุกคนของจิบลิ ต่างก็ทุ่มเทให้กับการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้กันสุดชีวิต ทำให้การทำงานในฐานะผู้กำกับง่ายขึ้นเยอะเลย เพราะพวกเราใส่ทั้งใจและรายละเอียดในการทำทุกขั้นตอนให้มันออกมาดีที่สุด และจะไม่ยอมพลาดแม้รายละเอียดเล็กๆ ผมก็ไม่เคยมองข้าม ผมและทีมงานทุกคนภูมิใจกับผลงานเรื่องนี้มาก ก็อยากฝากให้ทุกคนติดตามชมกันด้วยนะครับ...”

          พบกับเรื่องราวผจญภัยของสาวน้อยตัวจิ๋วสุดหวานแหว่วได้ในArrietty(อาริเอตี้) มหัศจรรย์ความลับคนตัวจิ๋ว 23 มิถุนายนนี้ ที่เอเพล็กซ์ สยามแสควร์
« Last Edit: June 23, 2011, 03:09:19 PM by happy »