The Hangover 2 ยกก๊วนชวนกันมาถ่ายทำที่ประเทศไทย
ภาพยนตร์เรื่อง “The Hangover ภาค 2” พาเหล่านักแสดงและทีมงานเดินทางไกลกว่าครึ่งโลก มายังสถานที่ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกถึงเรื่องราวบางอย่างได้ในตัวมันเอง และมีเนื้อหามากขึ้น “มันทำให้ทอดด์ต้องใช้เวลาคิดค้นอยู่นานว่าเขาอยากทำอะไรกับหนังเรื่องนี้ เพราะเขามีหลายอย่างที่ต้องทำให้สำเร็จ” โกล์ดเบิร์กกล่าว “และการเดินทางไปกรุงเทพยิ่งเสริมให้เราแกร่งขึ้น ที่นั่นเป็นสถานที่สุดท้ายในโลกที่พวกเขาควรจะไป ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นที่ที่เหมาะแก่การส่งพวกเขาไปแล้ว”
เพื่อความเข้าใจและการซึมซับถึงสถานที่ถ่ายทำแห่งใหม่นี้ ทีมผู้สร้างภาพยนตร์เดินทางศึกษาข้อมูลหลายอย่างตามบทภาพยนตร์ที่ถูกเขียนขึ้นมาแล้ว ขณะที่การถ่ายทำภาพยนตร์ส่วนใหญ่จริงๆ แล้วใช้สถานที่ในเมืองไทย ผู้ออกแบบฉาก บิล บรีสกี เก็บภาพจำนวนหลายพันภาพเพื่อใช้ในการสร้างฉากหลักๆ หลายฉกในโรงถ่ายสตูดิโอ Warner Bros. ที่เบอร์แบงค์
ช่วงเวลาที่สำคัญตอนทุกคนตื่นขึ้นมา คราวนี้ต้องหมดแรงอยู่ในห้องพักโรงแรมของกรุงเทพ ซึ่งโฟกัสไปที่ตึกขนาดใหญ่บนเวทีที่โรงถ่าย “นี่เป็นหนังเรื่องที่ 3 ตามลำดับที่ได้ร่วมงานกับบิล และเขาจะสามารถออกแบบสิ่งที่ดูเสื่อมโทรมได้ดีกว่าใคร ผมหมายถึงว่านั่นเป็นคำชมนะ” ฟิลลิปส์กล่าว “ฉากที่โรงแรมมันรู้สึกเหมือนว่าถูกสร้างขึ้นมากว่า 80 ปีโดยไม่มีใครทำความสะอาดหรือดูแลรักษามันเลย”
บรีสกีและทีมงานของเขาสร้างรายละเอียดของสภาพแวดล้อมแท่นเหล็กด้านบนเพื่อแสดงให้เห็นถึงห้องพักโรงแรม 2 ห้อง บริเวณลานโรงแรมและลิฟต์ ทุกอย่างสร้างขึ้นด้วยลักษณะอิฐ และเปิดช่องให้แสงสามารถสาดส่องเข้ามาได้ “สิ่งที่เราต้องใช้ในบทคือ พวกผู้ชายตื่นขึ้นมาในห้องหนึ่ง และพวกเขาเตร็ดเตร่อยู่กับสิ่งแวดล้อมเพื่อค้นหาเงื่อนงำของสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคืนก่อน” บรีสกีบรรยาย “ฉะนั้นสภาพแวดล้อมนี้ต้องพอบอกเล่าเรื่องราวได้บ้าง”
ระหว่างการเดินทางมาที่เมืองไทยของพวกเขา ผู้ออกแบบฉากพร้อมด้วยผู้ตกแต่งฉาก แดเนียล เบอร์แมน นำอุปกรณ์ตกแต่งฉากมากมายกลับมาด้วย “เรามีกล่องใส่อุปกรณ์ที่ใส่พวกชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าสมัยก่อน ปลั๊กต่างๆ พัดลมโบราณ…” เขาเรียงลำดับว่า “นั่นคือสีสันทั้งหมดของฉาก โดยรวมทั้งหมดแล้วกรุงเทพไม่มีความรู้สึกถึงการเป็นโลกที่ 3 เลยจริงๆ ที่นั่นเป็นสถานที่ที่ซับซ้อนและงดงาม แต่หากเราเจาะลึกลงไปอีกนิด เราจะพบสิ่งกวนๆ แบบที่เรากำลังมองหาอยู่”
เมื่อการถ่ายทำที่เบอร์แบงค์เสร็จสิ้นลง เหล่านักแสดงและทีมงานมุ่งหน้าสู่เมืองไทย โดยสองเมืองนั้นทำหน้าที่เป็นฉากหลังแห่งการผจญภัยที่กรุงเทพ ซึ่งทุกคนอยู่ในอาการหวาดกลัวกับการค้นหาตัวเท็ดดี้ และไล่เลียงว่ามีอะไรผิดพลาดไป และตรงกันข้ามกับอีกเหตุการณ์หนึ่งอย่างสิ้นเชิง บริเวณรีสอร์ทที่กระบี่เป็นสถานที่ที่จะจัดงานแต่ง ซึ่งเป็นบทสรุปแห่งความหรูหราที่เงียบสงบ
การนำเสนอความแตกต่างระหว่าง 2 โลกนี้เป็นการมุ่งเน้นไปที่ทีมผู้ออกแบบ รวมไปถึงผู้กำกับภาพอย่างลอว์เรนซ์ เชอร์ ผู้ถ่ายทำภาพยนตร์ร่วมกับฟิลลิปส์เป็นเรื่องที่สาม “เราอยากทำให้ถูกต้องในเรื่องนั้นไปพร้อมกับทุกคนเพื่อถ่ายทอดบรรยากาศความบ้าของทั้งคู่ พร้อมด้วยความสับสนอลหม่านในการพยายามหาเส้นทางของเมืองที่สับสนวกวนนี้”
เชอ์และทีมงานของเขายังต้องการซึมซับภาพยนตร์ ด้วยสิ่งที่ผู้กำกับพิจารณาถึงมุมมองที่สำคัญของเรื่องราวที่ได้พบเจอมาอีกด้วย “สิ่งที่แลร์รี่กับผมคุยกันโดยส่วนใหญ่ในหนังเรื่องนี้คือเรื่องของความร้อน ความรู้สึกของอากาศร้อนที่เราพบตอนที่เราบินลงสู่กรุงเทพ” ฟิลลิปส์กล่าว “แม้ว่าเราไม่สามารถสัมผัสได้จริงตอนกำลังดูหนัง แต่อุณหภูมิจะแสดงให้เห็นตลอดทุกฉาก”
สภาพอากาศที่ร้อนชื้นเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นในเมืองหลวงที่มีความวุ่นวาย และเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างกรุงเทพ ซึ่งถูกแบ่งแยกอาณาเขตเป็นหลายบริเวณ จากตึกสูงเสียดฟ้าของใจกลางเมืองสู่ถนนการค้าที่มีชื่อเสียงและมีความแออัดอย่างไชน่าทาวน์ เป็นการนำมาวางเทียบเคียงกันของสิ่งที่ฟิลลิปส์หวังจะถ่ายทอดออกไปโดยผ่านสายตาของฟิล ดั๊ก และสตู
ผู้จัดการด้านงบประมาณกองที่ประเทศไทย คริส โลเว็นสตีน ชี้ให้เห็นว่า “กรุงเทพเป็นเมืองที่มีความแตกต่างอย่างน่ามหัศจรรย์ มีบริเวณที่มีความทันสมัยที่สุด และเรายังมีส่วนที่เป็นไชน่าทาวน์ในสมัยโบราณ ซึ่งมีองค์ประกอบและเสน่ห์แห่งโลกสมัยก่อนในตัวของมันเอง อย่างที่เห็นกันว่ามันมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยไอจากการแผงลอยที่ทำอาหารบนถนน และความพลุกพล่านโดยทั่วไปของชีวิตผู้คนมากมายที่ทำงานบริเวณนั้น”
ฟิลลิปส์กล่าวเสริมว่า “ที่นี่เป็นเมืองเล็กๆ ในตัวมันเอง เราใช้เวลาอยู่ในตรอกซอกซอยอยู่นานและกลับมาที่ถนนของไชน่าทาวน์ มันมีความยิ่งใหญ่และบรรยากาศการทำงานที่น่าสนใจ ผมชอบสิ่งนั้นแต่เวลาเดียวกันมันก็เป็นการท้าทายความสามารถมากเลย”
ผู้ร่วมอำนวยการสร้าง เจ.พี.เว็ตเซล กล่าวเสริมว่า “ผมคิดว่าทอดด์ประสบความสำเร็จในจุดนั้น เขาไม่กลัวที่จะนำตัวละครเหล่านี้ไปอยู่ในสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง ทอดด์หยิบสถานที่ต่างๆ ขึ้นมาเพื่อความสดใหม่และเพื่อสิ่งที่เขาสามารถสร้างขึ้นที่นั่นได้ ที่นั่นมีกิจกรรมมากมาย มีรถแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์ ตุ๊ก-ตุ๊ก และคนเดินตามถนน มันจึงเป็นการทำงานบนถนนที่ยากลำบากมาก แต่สิ่งที่เราได้รับในมุมของเราคือความงดงามและใจดีของผู้คน”
ผู้จัดการด้านสถานที่แห่งประเทศไทย สมชาย สันติธรางกูร ได้ขออนุญาตมากกว่า 200 เขตเช่นเดียวกับร้านค้ากว่าพันร้าน และรวมถึงพื้นที่จัดตั้งรถบรรทุกและอุปกรณ์สำหรับการถ่ายทำในเมืองที่แออัด
สิ่งที่อยู่สูงขึ้นเหนือถนนที่วุ่นวาย ด้วยความแตกต่างอย่างชัดเจนจากไชน่าทาวน์คือห้องอาหารซีรอคโคตั้งอยู่ที่ เลอบัว แอท สเตท ทาวเวอร์ ชั้น 63 พร้อมด้วยวิวรอบกรุงเทพเกือบ 360 องศา ที่นั่นเป็นสถานที่ที่น่าประทับใจเพราะทุกคนได้พบกับ คิงสลีย์ ซึ่งเป็นตัวละครของพอล จีอาแม็ตติ “เรารู้สึกปลื้มใจมากที่ได้รับการอนุญาติ เพราะไม่มีใครเคยได้รับอนุญาติให้ถ่ายทำที่นั่นมาก่อนเลย” สันติธรางกูร กล่าว “แต่เจ้าของกลับเป็นแฟนพันธุ์แท้ของหนังเรื่อง ‘Hangover’ ภาคแรก หลังจากที่ได้พบปะกับเรา เขารู้สึกดีใจมากที่โรงแรมและห้องอาหารของเขาได้อยู่ในฉากด้วย”
การตามติดพฤติกรรมแสบของพวกเขายังพาพวกเขาไปสู่ซอยคาวบอย ซึ่งเป็นหนึ่งใน “แหล่งบันเทิง” ที่น่าอับอายของเมือง พวกเขพบกับร้านสักที่สตูได้หมึกและได้ค้นพบความลึกซึ้งที่พวกเขายิ่งจมดิ่งลึกลง
บรีสกีและทีมงานของเขาเพิ่มความซับซ้อนเข้าไปในบรรยากาศของสถานที่ให้สอดคล้องกับมุมมองของฟิลลิปส์ ในตรอกซอกซอยที่เรียกกันว่า ซอย 7 กองถ่ายได้ยึดพื้นที่อันว่างเปล่า และสร้างบาร์ 2 แห่งกับร้านสักขึ้นมา ซึ่งมีนักท่องเที่ยวบางคนพยายามเข้าไปที่นั่นจริงๆ
จากเรื่องตลกมาจนถึงเรื่องความศรัทธา หนุ่มๆ พบว่าตัวเองมาอยู่ที่วัดของชาวพุทธ ฉากต่างๆ ถ่ายทำที่เมืองโบราณซึ่งเป็นบริเวณที่สร้างวัดและสิ่งก่อสร้างทางศาสนาขึ้นมาใหม่ “วัดวาอารามเป็นสถานที่ที่น่าเลื่อมใสมาก ฉะนั้นด้วยความเคารพแล้ว สถานที่แห่งนี้เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด” บรีสกีอธิบาย “และเราสามารถสร้างสวัดจีนขึ้นมาเพื่อทำให้มันเข้ากับสิ่งที่ทอดด์กำลังมองหาได้ด้วย”
เพื่อเป็นการถ่ายทอดการผจญภัยสุดประหลาดของทุกคนให้เพิ่มมากขึ้น ทีมผู้สร้างภาพยนตร์พบว่าตัวเองจะต้องสร้างสตั๊นท์มโหฬารในบริเวณที่แคบมากบางแห่งในกรุงเทพ “ในหนังมีฉากแอ็คชั่นมากกว่า ‘Hangover’ แบบเดิม” ผู้ประสานงานด้านสตั๊นท์ อัลลาน กรัฟ กล่าว “ทอดด์ได้ยกระดับหนังขึ้นอย่างแท้จริง และนักแสดงตกลงที่จะแสดงบทของตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ด้วยความระมัดระวัง”
“ทุกอย่างมันประหลาดและน่าตื่นเต้นสุดๆ” เฮล์มเฝ้าสังเกต “ผมไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของการทำหนังเรื่องไหนที่มีขนาดเท่านี้เลย และมันเป็นสิ่งที่วิเศษที่สุด เรามีการระเบิดสิ่งของ แข่งรถกันบนถนนและถูกอัดจนน่วม ทุกอย่างก็เพื่อความฮาแบบแสบๆ คันๆ ที่ไม่น่าเชื่อพวกนี้”
ฉากที่แสบที่สุดมีเพื่อนๆ ของมิสเตอร์เฉาที่ถูกหลอกลวงและไล่ล่ารถ Toyota Corolla ที่กำลังซิ่งทั่วถนนของกรุงเทพพร้อมด้วยลิงที่กำลังถูกแขวนอยู่ตรงหน้าต่าง และคนขายยาชาวรัสเซียบนมอเตอร์ไซค์ที่ตามมาอย่างกระชั้นชิด ผู้ควบคุมสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ อีฟ เดอ โบโน่ ประดิษฐ์ลวดแขวนพิเศษที่ทำให้สตั๊นท์ขับรถสามารถขับยานพาหนะอยู่ด้านล่างล้อไปพร้อมกับเหล่านักแสดงได้ เดอ โบโน่ สร้างรถหลากหลายรูปแบบ รวมไปถึงรถที่มีภายในขยายออกเพื่อปรับให้เข้ากับมุมกล้อง 360 องศา ฟิลลิปส์และเชอร์จึงสามารถ่ายทอดภาพฉากแอ็คชั่นจากมุมของตัวละครได้
“ของเล่น” อีกชิ้นหนึ่งของมิสเตอร์เฉาคือเรือของเขาที่มีชื่อว่า Perfect Life ซึ่งถูกอลัน ฟิล และสตูยึดครองไป ในช่วงเวลาที่สำคัญเรือถูกปล่อยลงในน้ำและบนชายหาด “เราสร้างทางลาดขึ้นมาจากนั้นก็ถึงเวลาที่สตั๊นท์ต้องบังคับให้ลอยไปตามกระแสน้ำ เรามีระยะเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงในตอนกลางวัน เพื่อปล่อยเรือลงน้ำให้เสร็จ มันจึงมีความกดดันหลายอย่างมาก” ผู้ควบคุมการเดินเรือ แลนซ์ จูเลียน กล่าวเขาทำงานอย่างใกล้ชิดกับฟิลลิปส์, เดอ โบโน่ และกรัฟเพื่อความมั่นใจว่าสตั๊นท์จะไปถึงจุดที่ถูกต้องได้อย่างแน่นอน
มีเรือกล้อง 2 ตัวลอยไปตามทางของเรือ เรือลำหนึ่งถูกยึดไว้ด้วยเครน และอีกลำนึงเป็นเรือของทีมงานหลักรวมไปถึงเฮลิคอปเตอร์
“สำหรับสตั๊นท์ทุกคน เราอยากให้มันรู้สึกว่าเหมือนจริง เราจึงแสดงจริงโดยส่วนใหญ่เท่าที่เราสามารถทำได้” ฟิลลิปส์กล่าว
บริเวณที่สตูและลอว์เร็นจะแต่งงานกันตั้งอยู่ที่รีสอร์ทเดี่ยวทางตอนใต้ของประเทศไทย ซึ่งอยู่บนชายฝั่งทะเลอันดามัน “กระบี่มีวิวที่สวยมากเหมาะสำหรับทุกอย่างที่เราต้องการ” ฟิลลิปส์นึกย้อนกลับไป “ตอนที่ผมจินตนาการถึงประเทศไทย มันเป็นเพียงเกาะหินปูนที่ยื่นออกมาตรงทะเล และเรามีวิวสวยๆ จากชายหาด”
การถ่ายทำภาพยนตร์ใช้สถานที่รีสอร์ทที่สวยงามอย่างเต็มที่ เก็บภาพทางเดินรีสอร์ทที่เป็นส่วนตัว บาร์บนเกาะและสระน้ำขนาดใหญ่ที่ไม่มีขอบเขตเพื่อช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นและน่าประหลาดใจ ส่วนฉากรอบกองไฟพวกเขาย้ายไปที่ชายหาดซึ่งหากไป 200-300 หลา เพื่อสร้างฉากหลังที่มีความสมบูรณ์แบบ พวกเขาตกแต่งเรือยาวบนบก เพื่อสร้างแสงจันทร์ที่อยู่รายล้อมให้ถูกต้องพอเหมาะ เชอร์และทีมงานของเขาใช้ประโยชน์จากบอลลูนที่ตกแต่งขนาดใหญ่ที่ลอยอยู่ด้านบน ให้สาดแสงทั่วหาดทรายและน้ำทะเล
ท้ายที่สุดทีมผู้ออกแบบผสมผสานสไตล์ตะวันตกและของไทยร่วมกัน เพื่อสร้างสิ่งก่อสร้าง เสื้อผ้าและฉากสำหรับงานแต่งงาน บรีสกีผสมผสานรูปแบบความเป็นไทย เช่น ร่มคันเล็กๆ และสถาปัตยกรรมของวัด ขณะที่แดเนียล เบอร์แมน รวบรวมดอกไม้ที่มีสีสันนับร้อยดอกโดยเฉพาะดอกกล้วยไม้ เพราะเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายที่เมืองไทย
ระหว่างการซักซ้อมด้านวัฒนธรรม พวกเขาผสมผสานเทศกาลโคมลอยจากจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยเข้ามาในเรื่องราวด้วย ซึ่งโคมไฟกระดาษนับร้อยถูกปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า “นักแสดงบางคนและ 2 ใน 3 ของทีมงานของเราเป็นคนไทย และเรานำวัฒนธรรมไทยมาใช้จริงๆ” โกล์ดเบิร์กกล่าว “เรารู้สึกว่าเราเป็นแขกที่ประเทศไทยของพวกเขา และพวกเขามีน้ำใจต่อพวกเรามาก อารมณ์ขันของเราอาจเป็นการล่วงเกิน แต่เราแสดงออกมาด้วยความเคารพ”
นอกจากนั้น ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย หลุยส์ มินเกนแบช ยังได้ผสมผสานเครื่องแต่งกายของคนไทยในสมัยก่อนมาใส่ในงานแต่งงาน พร้อมกับสไตล์ตะวันตกสำหรับแขกชาวอเมริกัน แต่เธอมีความสนุกสนานส่วนใหญ่กับอลัน
ฟิลลิปส์กล่าวว่า แกลิเฟียนาคิส “เข้าใจตัวละครของเขาดีเช่นเดียวกับเราทุกคน เขาจึงใส่อะไรหลายอย่างเข้าไปในเครื่องแต่งกายของเขา หลุยส์กับผมเข้าไปหาเขาพร้อมกับไอเดียของเรา เราพูดถึงชุดเดินทางไปต่างประเทศของเขา ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาสวมใส่ที่สนามบิน และชุดที่สบายๆ ที่เขาใส่ในงานเลี้ยงค็อกเทล กางเกงที่เหมือนร่มชูชีพที่ดูเบาสบายมาก ชุดคนอื่นๆ อยู่ในเสื้อผ้าที่ปกติ แต่ชุดของอลันดูน่าตลกมาก เราจึงใส่ความสร้างสรรค์ไปได้เยอะมาก”
สิ่งที่สร้างความโดดเด่นให้ประสบการณ์ทั้งหมดคือการคัดเลือกเพลงประกอบภาพยนตร์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของฟิลลิปส์ เขาและผู้ควบคุมด้านดนตรี แรนดัล โพสเตอร์ และ จอร์จ เดรคูเลียส คัดแยกเพลงนับร้อยเพื่อค้นหาดนตรี เพื่อหาต้นตำรับของช่องทางดนตรีเพื่อคั่นเรื่องราว ผสมผสานกับเนื้อเพลงโดย คริสโตเฟอร์ เบ็ค ส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญคือวงดนตรีในงานแต่ง ฟิลลิปส์เลือกการคณะจากทางภาคเหนือของไทยที่มีชื่อว่า Ska Rangers ให้แสดงออกถึงมาตรฐานเพลงยุค 80 ที่สามารถร้องเป็นคาราโอเกะได้ “พวกเขาดังมากที่เชียงใหม่ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของพวกเขา” เดรคูเลียสกล่าว “พวกเขาเก่งมากและลักษณะของพวกเขาดูมีพรสวรรค์”
แน่นอนว่าการถ่ายภาพยนตร์เรื่อง “The Hangover ภาค 2” คงเสร็จสมบูรณ์ไปไม่ได้หากไม่มีภาพหลักฐานตอนท้ายเรื่องที่อ้างอิงถึงภาพยนตร์ภาคแรก สำหรับภาพเหล่านี้ฟิลลิปส์และลอว์เรนซ์ เชอร์ รวบรวมเหล่านักแสดง เพิ่มบางฉากเข้ามาและเขยิบภาพต่อไป “นั่นคือจุดที่สิ้นสุดการเดิมพันทุกอย่าง” ฟิลลิปส์กล่าว “มันเป็นแค่ความคิดสนุกๆ เพื่อให้นักแสดงได้แสดง ไม่ได้มีอยู่ในบทเลย มันเป็นการแสดงอิสระทั้งหมด”
การจัดภาพนิ่รวมถึงการสร้างการแข่งขันที่สร้างสรรค์ในหมู่ทีมผู้สร้างภาพยนตร์ เหล่านักแสดงและทีมงานทุกคนพยายามหาความคิดมากลบซึ่งกันและกัน และสิ่งที่ผู้ชมน่าจะคาดหวัง ไม่มีไอเดียไหนที่ดูประหลาดจนเกินไป เช่นเดียวกับที่มันกระทำได้ มันกลายเป็นความกล้าที่จะได้เห็นว่าใครสามารถแสดงได้แรงที่สุด
ฟิลลิปส์กล่าวทิ้งท้ายว่า “สำหรับภาพยนตร์เรื่อง ‘The Hangover ภาค 2’ เราไม่ได้พยายามเอาชนะว่าเราจะผลักดันทุกอย่างไปได้ไกลกว่าภาคแรกแค่ไหน มันเป็นเรื่องของการสร้างสิ่งที่สามารถยึดเหนี่ยวสถานที่ที่หนังภาคแรกเคยพาเราไป”
The Hangover 2 - เดอะ แฮงค์โอเวอร์ ภาค 2
ฮาหมดแม็คที่กรุงเทพฯ 26 พฤษภาคมนี้ ในโรงภาพยนตร์เท่านั้น
http://www.hangover2-thai.com