happy on May 06, 2011, 03:22:51 PM
เปิดโผผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลสตั๊นท์แมนยอดเยี่ยมครั้งแรก




               เมื่อวันที่ผ่านมา (3 พ.ค. 54) กระทรวงวัฒนธรรม สมาคมผู้ประกอบกิจการสตั๊นท์ไทย และคณะกรรมการจัดงานประกาศผลรางวัลสตั๊นท์แมนยอดเยี่ยม จัดงานประกาศผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสตั๊นท์แมนยอดเยี่ยมครั้งที่ 1 ซึ่งมี คุณคมสันต์ บุญเสร็จ ประธานจัดงาน, คุณสมพงษ์ แซ่อื้อ กรรมการผู้จัดการบริษัทลมกระซิบ ฟิล์ม, คุณบี ไพโรจน์ นักแสดงนำจากภาพยนตร์เรื่องสามพันโบก, คุณกฤษณพงศ์ ราชธา ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง ชิบ/หาย และคุณติ๊ก บิ๊กบราเธอร์ นักแสดงจากภาพยนตร์เรื่องจั๊กกะแหล่น ร่วมประกาศรายชื่อด้วย
    ผู้เข้าชิงรางวัลผู้กำกับฉากแอคชั่นยอดเยี่ยม ได้แก่ 1. คุณประดิษฐ์ สีเหลี่ยม, Mr. KU HUEN CHIU (มายเบสท์บอดี้การ์ด), 2. คุณเป้า ปรปักษ์ (คนไททิ้งแผ่นดิน) 3. คุณยุทธนา เหมือนวาจา, คุณธนาวุติ เกสโร, คุณระม้าย โมริพันธ์ (ซามูไรอโยธยา) 4. คุณแผงฤทธิ์ แสงชา (ท้าชน) 5. คุณพนม ยีรัมย์, พันนา ฤทธิไกร (องค์บาก 3) ผู้เข้าชิงรางวัลสตั๊นท์หญิงยอดเยี่ยม ได้แก่ 1. คุณขวัญใจ จันทอง (4 สิงห์คอนเฟิร์ม) 2. คุณญาณิน วิสมิตะนันทน์ (จีจ้าดื้อสวยดุ) 3. ประพิมพ์พร กาญจันดา สตั๊นท์แสดงแทนของคุณโสภิตา ศรีบานชื่น (สวยซามูไร) 4. คุณอริสา สนธิรอด (คนไททิ้งแผ่นดิน) ผู้เข้าชิงรางวัลสตั๊นท์ชายยอดเยี่ยม ได้แก่ 1. คุณชัชพล อภิชาติ (โคตรสู้โคตรโส) 2. คุณไพโรจน์ บุญเกิด (สามพันโบก) 3. คุณพนม ยีรัมย์ (องค์บาก3) 4. คุณชูพงษ์ ช่างปรุง (องค์บาก3) 5. วิรัช เข็มกลัด สตั๊นท์แสดงแทนของคุณรุ้งตะวัน จินดา ซิงห์ (จีจ้าดื้อสวยดุ) นอกจากนี้ยังมีรางวัลการต่อสู้ยอดเยี่ยม, รางวัลควบคุมยานพาหนะยอดเยี่ยม, รางวัลสตั๊นท์ไฟยอดเยี่ยม, รางวัลสตั๊นท์ทำงานบนที่สูงยอดเยี่ยม, รางวัลสตั๊นท์ความสามารถพิเศษยอดเยี่ยม และรางวัลฉากเสี่ยงตายยอดเยี่ยม





                คุณศฐาณพงศ์ ลิ้มวงษ์ทอง กรรมการตัดสิน ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “การตัดสินรางวัลสตั๊นท์แมนยอดเยี่ยมครั้งที่ 1 นี้ ได้พิจารณาคัดเลือกจากภาพยนตร์ไทยที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2552-2553 ทั้งหมด ซึ่งไม่ได้พิจารณาเฉพาะภาพยนตร์แนวแอคชั่นเท่านั้น แต่พิจารณาจากภาพยนตร์ทุกแนวไม่ว่าจะเป็น ดราม่า สยองขวัญ ตลก และอื่นๆ เพราะกรรมการจะคัดเลือกและดูเป็นฉากๆ ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์แนวสยองขวัญเรื่องตายทั้งกลม ที่มีฉากคนถูกเผาตัว ซึ่งเวลาแสดงจริงต้องใช้สตั๊นท์ไฟแสดงแทน หรือภาพยนตร์เรื่องอนุบาลเด็กโข่ง ซึ่งเป็นหนังเด็ก แต่ก็มีฉากที่เราได้พิจารณาด้วย อย่างฉากที่กลุ่มเด็กแก๊งคิงคอง บุกเข้ายึดฐานปฏิบัติการของกลุ่มเด็กแก๊งไทเกอร์  โดยได้ใช้อาวุธเป็นลูกโป่งน้ำก็ดี เป่าเมล็ดถั่วขียวใส่ฝ่ายตรงข้ามก็ดี ซึ่งงจัดเป็นฉากการต่อสู้ เป็นต้น ดังนั้นรางวัลที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง จนถึงผู้ได้รับรางวัล สามารถตอบคำถามได้ว่าให้เพราะอะไร ตรงไหน ฉากไหน นับว่าจะชัดเจนมาก ยกเว้น รางวัลสตั๊นท์ชาย-หญิงยอดเยี่ยม และรางวัลผู้กำกับฉากแอคชั่นยอดเยี่ยมที่มองเป็นภาพรวมในเรื่องนั้นๆ ซึ่งจะมีข้อสังเกตแตกต่างกันไป”
    ด้านคุณสมประสงค์ เวชศิลป์ กรรมการตัดสินร่วมพูดคุยถึงการตัดสินด้วยว่า “กรรมการทุกท่านมีความเป็นอิสระและมีเอกภาพ เราจะเน้นการพูดคุย แสดงความเห็นกันก่อนในแต่ละรางวัล ไม่ได้เน้นการโหวตมากนัก เพราะกรรมการแต่ละท่านก็จะมีแง่มุม เหตุผลที่ต่างๆ กัน เมื่อได้รับฟังความคิดของแต่ละคนแล้ว จึงค่อยๆ ช่วยกันหาผู้สมควรได้รับรางวัล”
    สุดท้ายคุณคมสันต์ บุญเสร็จ ประธานจัดงานได้ขอเชิญชวนสื่อมวลชนทุกท่านและพี่น้องวงการภาพยนตร์ และสตั๊นท์แมนทุกคนร่วมงานประกาศผลรางวัลสตั๊นท์แมนยอดเยี่ยมครั้งที่ 1 ในวันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม 2554 ณ โรงละครอักษรา คิงเพาเวอร์ เวลา 16.00 น. – 21.00 น.
« Last Edit: May 06, 2011, 03:25:42 PM by happy »

happy on May 06, 2011, 03:29:30 PM
งานแถลงข่าวประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลเกียรติยศ และ
ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสตั๊นท์แมนยอดเยี่ยมครั้งที่ ๑
วันอังคารที่  ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔

ผู้ได้รับรางวัลเกียรติยศ

๑.รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จ    คุณฉลอง ภักดีวิจิตร
๒.รางวัลเกียรติยศผู้กำกับภาพยนตร์สาขาแอ๊คชั่น    คุณพันนา ฤทธิไกร
๓.รางวัลเกียรติยศนักแสดงภาพยนตร์สาขาแอ๊คชั่น    คุณจารุณี สุขสวัสดิ์


ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสตั๊นท์แมนยอดเยี่ยม ครั้งที่ ๑

รางวัลการต่อสู้ยอดเยี่ยม  BEST FIGHT AWARD
1.   โคตรสู้โคตรโส   สตั๊นท์ชายกระโดดถีบกลุ่มสตั๊นท์ที่ขับมอเตอร์ไซค์กลางอากาศ ขณะที่มอเตอร์ไซค์ลอยตัวอยู่   สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, นาฟิล์ม
2   จีจ้าดื้อสวยดุ   การต่อสู้และโหนกระโดดข้ามไปมาของกลุ่มนักแสดงนำและสตั๊นท์บนสะพานแขวนที่ซ้อนกันอยู่ 3 ชั้น   สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, บาแรมยู
3   บางระจัน2   การสุ่มโจมตีข้าศึกของนักรบผ้าประเจียดบริเวณทุ่งหญ้า เกิดการปะทะกันระหว่างนักแสดงนำและกลุ่มสตั๊นท์ด้วยอาวุธดาบ   พระนครฟิล์ม

4   องค์บาก3   การต่อสู้ของนักแสดงนำด้วยมือเปล่าโดยอาศัยท่าทางของสัตว์ เช่น ลิงและยักษ์ เป็นต้น กับกลุ่มสตั๊นท์ที่มีอาวุธ และการกระโดดข้ามช้างมาทุบศีรษะสตั๊นท์2คนด้วยมัดทั้งสองข้าง   สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล,
ไอยราฟิล์ม
5   องค์บาก3   การต่อสู้ของนักแสดงนำโดยดัดแปลงจากท่ารำไทยและรำโขนในท่วงท่าต่างๆ เช่น ท่าพระและนาคราช เป็นต้น กับนักแสดงบทภูติสางกา โดยไม่มีสตั๊นท์แสดงแทน   สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล,
ไอยราฟิล์ม

รางวัลสตั๊นท์ไฟยอดเยี่ยม  BEST FIRE STUNT AWARD
1   โคตรสู้โคตรโส  สตั๊นท์แมนถูกไฟเผาทั้งตัวเป็นเวลานานกว่า 30 วินาที   สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, นาฟิล์ม
2   ตายทั้งกลม   สตั๊นท์แมนถูกไฟเผาตั้งแต่คอลงไป โดยไม่ได้ใส่หน้ากากคลุมหน้า   โกลเด้น เอ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์

รางวัลสตั๊นท์ทำงานบนที่สูงยอดเยี่ยม  BEST HIGH WORK AWARD
1             โคตรสู้โคตรโส   สตั๊นท์สองคนไล่ต่อสู้กันและกระโดดไปมาบนโครงปูนของอาคารสูง   สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, นาฟิล์ม
2   ท้าชน   สตั๊นท์วิ่งแย่งลูกบาสบนหลังคาระหว่างอาคาร และสตั๊นท์แสดงแทนบทนักแสดงนำกระโดดข้ามระหว่างชั้นจากอาคารหนึ่งไปยังอาคารฝั่งตรงข้าม   พระนครฟิล์ม,                 บางกอกฟิล์มสตูดิโอ
3   อินทรีแดง   สตั๊นท์แสดงแทนนักแสดงในบทตำรวจ กำลังปีนบันไดลิงเพื่อไล่ตามอีกฝ่าย แต่ถูกเตะลงมาเทียบเท่าอาคาร 3 ชั้น และแขวนตัวพักก่อนตกลงมาสู้ด้านล่างเทียบเท่าอาคาร 2 ชั้น   ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น


รางวัลควบคุมยานพาหนะยอดเยี่ยม  BEST WORK WITH A VEHICLE AWARD
1   มายเบสท์บอดี้การ์ด    การขับรถยนต์ไล่ล่าระหว่างสองฝ่ายบนถนน มีการกระแทกและชนกันของตัวรถ และมีรถที่ไม่เกี่ยวข้องกับสองฝ่ายสัญจรร่วมด้วย   โอเรียนทัล อายส์
2   มายเบสท์บอดี้การ์ด    รถยนต์ของหน่วยรัฐขับเดินหน้า ส่วนรถของผู้ร้ายขับถอยหลังซึ่งอยู่คนละช่องทางเดินรถ มีการยิงปืนเข้าหากันออกมาจากรถทั้งสอง   โอเรียนทัล อายส์
3   โคตรสู้โคตรโส   การขับรถยนต์พุ่งเข้าชนกับสตั๊นท์จำนวนมาก   สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, นาฟิล์ม
4   หนูกันภัย ศึกมหายันต์   กลุ่มสตั๊นท์ขับรถถีบไล่ล่ารถถีบของนักแสดง มีการต่อสู้ด้วยมีดและมือเปล่าระหว่างทาง และการเสียหลักชนกันของรถถีบ   โอม มหารวย ฟิล์ม

รางวัลสตั๊นท์ความสามารถพิเศษยอดเยี่ยม  BEST SPECIALTY STUNT AWARD
1   มายเบสท์บอดี้การ์ด   สตั๊นท์แสดงแทนถูกจับเหวี่ยงให้ส่วนบนของร่างกายชนกับกระจก   โอเรียนทัล อายส์
2   โคตรสู้โคตรโส   สตั๊นท์ในชุดดำสามารถใช้กระบองสำหรับการต่อสู้อย่างชำนาญ   สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, นาฟิล์ม
3   จีจ้าดื้อสวยดุ   สตั๊นท์ใช้อุปกรณ์เครื่องกระโดดที่เท้า (แมดฮอป) ที่ดัดแปลงมาเป็นอาวุธสำหรับต่อสู้อย่างคล่องแคล่ว   สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, บาแรมยู
4   สามพันโบก   สตั๊นท์กระโดดหลบลูกระเบิดที่ระเบิดขึ้นจากพื้นซึ่งห่างไม่ถึง 1 ฟุต   ฟิล์มเฟรมโปรดักชั่น,          เพชรพันนา โปรดักชั่น,          ไพรมเวิร์ค สตูดิโอ
5   องค์บาก3   นักแสดงนำโหนกับงาช้างเหวี่ยงไปเตะคู่ต่อสู้ รวมทั้งการกระโดดไปมาและต่อสู้บนหลังช้าง   สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, ไอยรา ฟิล์ม

รางวัลผู้กำกับฉากต่อสู้ยอดเยี่ยม  BEST STUNT COORDINATOR AWARD
1   มายเบสท์บอดี้การ์ด   ประดิษฐ์ สีเหลี่ยม, KU HUEN CHIU   โอเรียนทัล อายส์
2   คนไททิ้งแผ่นดิน   เป้า ปรปักษ์   กันตนา โมชั่น พิคเจอร์
         
3   ซามูไรอโยธยา   ยุทธนา เหมือนวาจา, ธนาวุติ เกสโร, ระม้าย โมริพันธ์   มหากาพย์
4   ท้าชน   แผงฤทธิ์ แสงชา   พระนครฟิล์ม,                  บางกอกฟิล์มสตูดิโอ
5   องค์บาก3   พนม ยีรัมย์, พันนา ฤทธิไกร   สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, ไอยราฟิล์ม

รางวัลสตั๊นท์หญิงยอดเยี่ยม  BEST STUNT by A STUNT WOMAN AWARD
1   4 สิงห์คอนเฟิร์ม   ขวัญใจ จันทอง   ดิ แอ๊คชั่น
2   จีจ้าดื้อสวยดุ   ญาณิน วิสมิตะนันทน์   สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, บาแรมยู
3   สวยซามูไร   ประพิมพ์พร กาญจันดา
(สตั๊นท์แสดงแทนของ โสภิตา ศรีบานชื่น)   สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, จอไทย
4   คนไททิ้งแผ่นดิน   อริสา สนธิรอด   กันตนา โมชั่น พิคเจอร์

รางวัลสตั๊นท์ชายยอดเยี่ยม  BEST STUNT by A STUNT MAN AWARD
1   โคตรสู้โคตรโส   ชัชพล อภิชาติ    สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, นาฟิล์ม
2   สามพันโบก   ไพโรจน์ บุญเกิด   ฟิล์มเฟรมโปรดักชั่น,           เพชรพันนา โปรดักชั่น,           ไพรมเวิร์ค สตูดิโอ
3   องค์บาก3    พนม ยีรัมย์   สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, ไอยรา ฟิล์ม
4   องค์บาก3    ชูพงษ์ ช่างปรุง   สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, ไอยรา ฟิล์ม
5   จีจ้าดื้อสวยดุ   วิรัช เข็มกลัด
(สตั๊นท์แสดงแทนของ รุ้งตะวัน จินดา ซิงห์)   สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, บาแรมยู



รางวัลฉากเสี่ยงตายยอดเยี่ยม  HARDEST HIT AWARD
1   โคตรสู้โคตรโส   สตั๊นท์ 14 คน แบ่งเป็นข้างละ 7 คน วิ่งพุ่งเข้ามาหากันจาก 2 ฝั่ง และตกลงบนความสูงเทียบเท่าตึก 3 ชั้น โดยไม่มีสลิง   สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, นาฟิล์ม
2   โคตรสู้โคตรโส   การขับรถยนต์พุ่งเข้าชนกับสตั๊นท์จำนวนมาก    สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, นาฟิล์ม
3   โคตรสู้โคตรโส   การต่อสู้ระหว่างนักแสดง 2 คน โดยไม่มีตัวแสดงแทน ใต้ท้องรถคอนเทนเนอร์ขณะที่รถกำลังวิ่ง   สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, นาฟิล์ม
4   สามพันโบก   การต่อสู้ระหว่างนักแสดงและสตั๊นท์บนซากรถยนต์ที่เรียงสูงเป็นแนวตั้ง 4 คันรถ   ฟิล์มเฟรมโปรดักชั่น,           เพชรพันนา โปรดักชั่น,           ไพรมเวิร์ค สตูดิโอ
5   องค์บาก3   การต่อสู้ระหว่างนักแสดงและสตั๊นท์กลุ่มหนึ่งบนหลังช้าง รวมทั้งการโหนกับงาช้างเหวี่ยงไปปะทะคู่ต่อสู้ และเตะสตั๊นท์ตกลงมาจากหลังช้าง   สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, ไอยราฟิล์ม
« Last Edit: May 06, 2011, 03:32:37 PM by happy »

PR on June 02, 2011, 12:10:27 PM
บุคคลวงการภาพยนตร์ ดารา สตั๊นท์แมน ตบเข้าร่วมงานสตั๊นท์แมนยอดเยี่ยมครั้งแรกคับคั่ง







         
 
          เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2554 กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ สมาคมผู้ประกอบการสตั๊นท์ไทย และคณะกรรมการจัดงานประกาศผลรางวัลสตั๊นท์แมนยอดเยี่ยม ได้จัดงานประกาศรางวัลสตั๊นท์แมนยอดเยี่ยมครั้งที่ 1 (1st THAILAND STUNT AWARDS) ณ โรงละครอักษรา คิงเพาเวอร์ เพื่อเชิดชูผลงานและความสามารถ รวมทั้งเป็นกำลังใจให้กับสตั๊นท์แมน และคนวงการแอคชั่นไทยพัฒนาศักยภาพสู่สายตาชาวต่างชาติ โดยมี คุณปรารพ เหล่าวานิช รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยบุคคลในวงการภาพยนตร์ ดารานักแสดงและสตั๊นท์แมนอย่างคับคั่ง อาทิ คุณฉลอง ภักดีวิจิตร, คุณชัยวัฒน์ ทวีวงศ์แสงทอง, คุณวิทยา ศุภพรโอกาส, คุณดามพ์ ดัสกร, คุณศฐาณพงศ์ ลิ้มวงษ์ทอง, คุณดุสิต ศิลากอง, คุณมด ทรีจี, คุณแบงค์ ปวริศร์, คุณฝน โสภิตา, คุณได๋ ไดอาน่า, คุณโอ๋ รุ่งระวี, คุณส้ม สุรีวัลย์ (ภ.เกี่ยวก้อย), ผู้พันต๊อด (ภ.นเรศวร), คุณเปรี้ยว AF, คุณเอก รังสิโรจน์, คุณเอ้ก คณวัฒน์, คุณเบล กานต์ธิดา (ภ.ศพเด็ก2002), คุณหนอ วีระชัย, คุณอุ๋ย Leogirl, คุณฟองเบียร์ GND2010, คุณบี ไพโรจน์ (ภ.สามพันโบก), คุณติ๊ก บิ๊กบราเธอร์, คุณขวัญใจ จันทอง (ภ.4 สิงห์คอนเฟิร์ม), คุณสุชาติ ขันวิไล (ภ.ชิปหาย), คุณคาซู (ภ.โคตรสู้โคตรโส), คุณญี่ปุ่น (ภ.ขอบคุณที่รักกัน) และอื่นๆ อีกมาก พร้อมกันนี้ คุณพีเคและคุณแพง ขวัญข้าว รับหน้าที่พิธีกรหลัก ส่วนคุณเต้ ดราก้อนไฟว์ รับหน้าที่พิธีกรภาคสนาม
 
          คณะกรรมการตัดสินรางวัลมีดังนี้ 1. คุณสมบัติ ภู่กาญจน์ คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ประธานคณะกรรมการตัดสิน 2. คุณดามพ์ ดัสกร นักแสดงอาวุโส 3. รศ.รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม หัวหน้าภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4. คุณสมประสงค์ เวชศิลป์ ผู้จัดการกองถ่ายภาพยนตร์อาวุโส 5. คุณสุเทพ จับสี กรรมการผู้จัดการ บริษัท บ้านริก จำกัด 6. คุณประวิทย์ แต่งอักษร นักเขียน/นักวิจารณ์ภาพยนตร์ และ 7. คุณศฐาณพงศ์ ลิ้มวงษ์ทอง นักสร้างภาพยนตร์อิสระ/ผู้ช่วยบรรณาธิการ thaicinema.org
 
          ในงานครั้งนี้ได้ยกย่องเชิดชูมอบรางวัลเกียรติยศ 3 สาขารางวัลคือ 1. รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จมอบแก่ คุณฉลอง ภักดีวิจิตร 2. รางวัลเกียรติยศผู้กำกับภาพยนตร์สาขาแอ๊คชั่นมอบแก่คุณพันนา ฤทธิไกร และ 3. รางวัลเกียรติยศนักแสดงภาพยนตร์สาขาแอ๊คชั่นมอบแก่ คุณจารุณี สุขสวัสดิ์

          สำหรับรางวัลสตั๊นท์แมนยอดเยี่ยม ครั้งที่ 1 มีจำนวน 9 รางวัลดังต่อไปนี้ 1. รางวัลการต่อสู้ยอดเยี่ยมได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง “จีจ้าดื้อ สวย ดุ” 2. รางวัลสตั๊นท์ไฟยอดเยี่ยมได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง “โคตรสู้โคตรโส” 3. รางวัลสตั๊นท์ทำงานบนที่สูงยอดเยี่ยมได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง “โคตรสู้โคตรโส” 4. รางวัลควบคุมยานพาหนะยอดเยี่ยมได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง “มายเบสท์บอดี้การ์ด” 5. รางวัลสตั๊นท์ความสามารถพิเศษยอดเยี่ยมได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง “องค์บาก 3” 6. รางวัลผู้กำกับฉากแอ็คชั่นยอดเยี่ยมได้แก่ ประดิษฐ์ สีเหลี่ยม และ KU HUEN CHIU จากภาพยนตร์เรื่อง “มายเบสท์บอดี้การ์ด” 7. รางวัลสตั๊นท์หญิงยอดเยี่ยมได้แก่ ญาณิน วิสมิตะนันทน์ จากภาพยนตร์เรื่อง “จีจ้าดื้อ สวย ดุ” 8. รางวัลสตั๊นท์ชายยอดเยี่ยมได้แก่ พนม ยีรัมย์ จากภาพยนตร์เรื่อง “องค์บาก 3” และ 9. รางวัลฉากเสี่ยงอันตรายยอดเยี่ยมได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง “องค์บาก 3”