ตำรวจเข้าตรวจค้นละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในโรงงาน กิจการออกแบบ และ รับเหมาก่อสร้าง
กรุงเทพฯ (วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554) – เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจค้นการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในอุตสาหกรรมผลิตสินค้า อุตสาหกรรมออกแบบ และอุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจัดให้อยู่ในกลุ่มที่พบว่ามีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูงจากสถิติที่ผ่านมา
องค์กรธุรกิจที่ถูกตรวจค้นในครั้งนี้ประกอบด้วยบริษัทรับเหมาก่อสร้าง พบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์บนเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 47 เครื่อง และโรงงานสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งมีซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์บนเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนหลายสิบเครื่อง คิดเป็นมูลค่า 378,000 บาท
องค์กรธุรกิจที่ถูกตรวจค้นนี้ มีรายรับเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 266.5 ล้านบาท ตามรายงานที่ปรากฏต่อสาธารณะ
จากสถิติของกองบังคับการปราบปรามและการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) โรงงานผลิตสินค้าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่พบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มากที่สุด ตามด้วยอุตสาหกรรมออกแบบ และอุตสาหกรรมก่อสร้างและออกแบบ โดยในปีพ.ศ. 2553 อุตสาหกรรมโรงงานผลิตสินค้ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 179.5 ล้านบาท
“ตำรวจกำลังเร่งตรวจค้นองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์” นางสาว วารุณี รัชตพัฒนากุล โฆษกของกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์กล่าว “เราเริ่มเห็นการบังคับใช้กฎหมายเพื่อปกป้องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในอุตสาหกรรมโรงงานผลิตสินค้า อุตสาหกรรมออกแบบ และอุตสาหกรรมก่อสร้าง ตลอดจนกิจการอื่นๆ ด้วย นับเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับนักประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม และเจ้าของธุรกิจที่เกี่ยวกับนวัตกรรมที่สร้างธุรกิจให้เติบโตจากทรัพย์สินทางปัญญาของตนเอง
นวัตกรรมและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา คือ รากฐานสำคัญของนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งใช้นวัตกรรมเป็นตัวผลักดัน หรือสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน รวมถึงโอกาสในการเป็นเจ้าของกิจการ และการจ้างงาน
“แม้ว่าอาจมีเสียงบ่นบ้างในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ แต่ความเป็นจริงคือซอฟต์แวร์เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ ลองคิดดูว่าในแต่ละวันองค์กรธุรกิจใช้งานซอฟต์แวร์ต่างๆ มากมายขนาดไหน แล้วจะบอกว่าองค์กรธุรกิจในประเทศไทยไม่พร้อมที่จะลงทุนในซอฟต์แวร์ได้อย่างไร ในเมื่อซอฟต์แวร์เป็นสิ่งที่ถูกใช้งานกันอย่างแพร่หลายในองค์กรธุรกิจมากกว่าสิ่งอื่นๆ องค์กรธุรกิจไม่อาจดำเนินกิจการได้หากปราศจากซอฟต์แวร์ ไม่มีข้ออ้างใดๆ เลยที่องค์กรธุรกิจจะหยิบยกมาเป็นเหตุผลในการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนได้”
เจ้าหน้าที่ตำรวจบก. ปอศ. กล่าวว่าอุตสาหกรรมที่มีสถิติการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูง คือ กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ก่อสร้าง ออกแบบ จัดจำหน่าย ขายสินค้า และสถาปนิก ควรเร่งดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่ากิจการของตนไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
ตั้งแต่ต้นปีนี้ ตำรวจเข้าตรวจค้นโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนเกือบ 20 แห่ง ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนในการดำเนินกิจการ
ในปีพ.ศ. 2553 ก็เช่นเดียวกัน โรงงานอุตสาหกกรมจำนวนเกือบ 50 แห่ง ถูกสอบสวนและถูกตรวจค้นในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ กิจการด้านออกแบบเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มาก ในปีพ.ศ. 2553 บริษัทออกแบบและสถาปนิกกว่า 40 แห่ง ถูกสอบสวนและถูกตรวจค้นในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ย้ำว่า องค์กรธุรกิจคือเป้าหมายหลักของการตรวจค้นการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
ผู้ที่แจ้งเบาะแสการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ผ่านทางสายด่วน หมายเลขโทรศัพท์ 0-2714-1010 หรือผ่านทาง เว็บไซต์ มีสิทธิ์ได้รับเงินรางวัลสูงสุดถึง 250,000 บาท ข้อมูลของผู้แจ้งจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
www.stop.in.th เกี่ยวกับบีเอสเอ
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (
www.bsa.org) มีสมาชิกที่ประกอบด้วยผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ใช้ในกิจการอีคอมเมิร์ส สมาชิก บีเอสเอรวมถึง อโดบี, อจิเล้นท์ เทคโนโลยีส์, แอปเปิ้ล, อควาโฟล, เออาร์เอ็ม, อาร์ฟิค เทคโนโลยี, ออโต้เดสค์, เบนลี่ ซิสเต็มส์, ซีเอ็นซี/มาสเตอร์แคม คอเรล, แดสเซิลท์ ซิสเต็มส์ โซลิดเวิร์คส์ คอร์ปอเรชั่น, เมนทอร์ กราฟฟิกส์ ครอป, ไมโครซอฟท์, มินิแท็บ, เน็ดกราฟฟิกส์, ออร์โบเทค, พีทีซี, โปรเกรส ซอฟต์แวร์, เควสท์ ซอฟต์แวร์, โรเซ็ตต้า สโตน, ซีเมนส์, ไซเบส, ไซแมนเทค, เทคล่า, ไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพร์ส และ เดอะ แมธเวิร์กส์