pooklook on March 10, 2011, 06:46:06 PM
Tim Cook แห่งแอปเปิลบอก "เราไม่ต้องการทำสินค้าให้แต่คนรวย"

Toni Sacconaghi ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์แห่ง Bernstein Research ได้เปิดเผยเนื้อหาจากการได้เข้าพบปะกับผู้บริหารของแอปเปิลเมื่อสัปดาห์ที่ แล้ว ประกอบด้วยซีโอโอ Tim Cook ซีเอฟโอ Peter Oppenheimer และรองประธานด้านการให้บริการอินเตอร์เน็ต Eddy Cue โดยเนื้อหาเป็นการพูดคุยถึงแผนการธุรกิจในอนาคต เขากล่าวว่าบรรดาผู้บริหารนั้นเล่าถึงแผนการต่างๆด้วยน้ำเสียงที่มั่นใจมาก โดยในบันทึกของ Sacconaghi มีเนื้อหาเด่นดังนี้

•Cook บอกว่า iPhone นั้นถือเป็น "มารดาแห่งความรุ่งเรืองทั้งมวล" (the mother of all halos) เนื่องจาก iPhone นั้นได้ส่งผลให้ยอดขายสินค้าแอปเปิลตัวอื่นสูงขึ้นโดยเฉพาะในตลาดที่แอปเปิล ไม่มีมาก่อน

•Cook บอกว่าตอนนี้บริษัทมีแผนที่เยี่ยมมากสำหรับการบุกตลาดโทรศัพท์แบบเติมเงิน หรือ prepaid (เนื่องจากในอเมริกา iPhone เป็นเครื่องติดสัญญาหรือ postpaid) เพราะแอปเปิลเองก็ไม่ต้องการทำสินค้าให้แต่คนรวยใช้ แอปเปิลเองก็ต้องการจับทุกกลุ่มตลาดไว้ให้ได้เช่นกัน

•Cook บอกว่าแอปเปิลกำลังออกแรงอย่างมากในประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของ prepaid
•Cook บอกว่าอนาคตตลาดแท็บเล็ตจะใหญ่กว่าพีซีอย่างมาก และน่าจะเป็นตลาดที่ดุเดือดยิ่งกว่า Smart Phone เพราะจะมีทั้งผู้ผลิตโทรศัพท์และพีซีที่โดดลงมาร่วมในตลาด แต่แอปเปิลเองถือว่าออกนำได้อย่างดีเยี่ยมแล้ว
•มีการพูดถึงแผนการขยายผู้ให้บริการด้วย เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลกที่จำหน่าย iPhone อยู่ 175 ราย ซึ่งยังน้อยมากเมื่อเทียบกับ RIM ที่มีถึง 550 รายทั่วโลก
•Oppenheimer บอกว่าโครงสร้างเงินลงทุนของแอปเปิลยังไม่ดีพอ ซึ่งต้องปรับปรุงการลงทุนด้านชิ้นส่วนประกอบที่จำเป็นเพิ่มเติมต่อไป
•Cook บอกว่าถ้าเทียบกับลำดับความต้องการของ Maslow's แล้ว iPhone น่าจะอยู่น้อยกว่าแค่น้ำและอาหารเท่านั้น
Sacconaghi ให้ข้อสังเกตว่าการที่ Cook พูดถึงตลาดใหม่ ตลาดโทรศัพท์แบบเติมเงิน ทำให้น่าเชื่อว่าแอปเปิลคงมีแผนทำ iPhone รุ่นเล็กราคาถูกอยู่จริงๆ

http://www.blognone.com/news/22139

ประวัติ Tim Cook

ทิม คุก เข้าทำงานกับแอปเปิลตั้งแต่ปี 1998 หลังการกลับมาของสตีฟ จ็อบส์ไม่นานนัก เขามีชื่อเสียงจากการดูแล "สายปฎิบัติการ" (operation) ให้กับแอปเปิล โดยบริหารจัดการด้านการผลิต การจัดเก็บสต๊อค ซัพพลายเชน ฯลฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้กำไรของแอปเปิลเพิ่มขึ้น (จากการลดต้นทุนเหล่านี้ลง) พูดง่ายๆ ว่าเป็นฝั่ง "หลังบ้าน" ของแอปเปิล ดูแลฐานของบริษัทให้พร้อมสำหรับ "แม่ทัพ" สตีฟ จ็อบส์ นำออกไปรบในสมรภูมิ
ทิม คุกอยู่กับแอปเปิลมาสิบกว่าปี และซึมซับการบริหารงานของสตีฟ จ็อบส์ อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด เขาจึงรู้จักแอปเปิลมากกว่าใคร (ยกเว้นจ็อบส์)

จากข้อมูลของ Wall Street Journal ระบุว่าตอนที่จ็อบส์กลับมาใหม่ๆ และต้องการตัวผู้บริหารมาช่วยดูแลงานภายในบริษัท จ็อบส์สัมภาษณ์คนเยอะมาก แต่ไม่ "คลิก" กับใครเลย (มีผู้บริหารคนหนึ่งที่จ็อบส์สัมภาษณ์เพียง 5 นาทีแล้วเดินออกจากห้อง) แต่เขากลับชอบบุคลิกหนักแน่นเยือกเย็นของคุก และเข้ากันได้เป็นอย่างดี

คุกพิสูจน์ตัวเองแล้วว่า เขาสามารถนำพาแอปเปิลเดินหน้าตามวิสัยทัศน์ของจ็อบส์ได้อย่างไม่มีปัญหา ในช่วงที่จ็อบส์ลาพัก 6 เดือนในปี 2009 ผมเชื่อว่าในระยะยาวแล้ว ไม่ว่าจ็อบส์จะกลับมาทำงานได้หรือไม่ คุกจะได้รับการเสนอชื่อเป็นซีอีโอคนต่อไป มากกว่าการหาซีอีโอคนนอกเข้ามาแทนจ็อบส์ และด้วยทิศทางแบบนี้ แอปเปิลในอนาคตจะยังมีแนวทางของผลิตภัณฑ์แบบเดิม (สตีฟ จ็อบส์ สไตล์) แต่มีการนำเสนอและจัดองค์กรที่ต่างไปจากเดิม คือ บริหารเป็นองค์คณะ ไม่มีผู้นำที่โดดเด่นเพียงคนเดียวอีกต่อไป เราจะเห็นผู้บริหารคนอื่นๆ ของแอปเปิลอย่าง Scott Forstall, Jonathan Ive และ Philip W. Schiller มีบทบาทในงานแถลงข่าวมากขึ้น

แอปเปิลในยุคหลังสตีฟ จ็อบส์ (Post-Jobs) ที่ใช้โครงสร้างการบริหารเป็นทีม (โดยมีหัวหน้าทีมชื่อทิม คุก) จะประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน เป็นเรื่องที่เราต้องติดตามดูกันต่อไป แต่ผมคิดว่าเป็นโครงสร้างที่เหมาะกับแอปเปิลมากที่สุดแล้ว

ที่มา :
Blognone.com