มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
420 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ 0-2354-8365-8, 0-2354-8370-71
http://www.blind.or.th/home.html
อันนี้อยากไป.. เห่อๆ
รายละเอียดเพิ่มเติม
งานอาสาสมัคร
โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ
ความเป็นมา
งานอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือบุคคลที่มีความบกพร่องทางการ เห็นดำเนินมาพร้อมกับงานการศึกษาของผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็น เมื่อปี พ.ศ. 2482 มิสเยเนวีฟ คอลฟิลด์ สุภาสตรีตาพิการ ชาวอเมริกัน จากประเทศสหรัฐอเมริกา ท่านมาประเทศไทยด้วยกุศลเจตนาอย่างแน่วแน่ในการให้การศึกษาแก่คนตาบอด ด้วยไม่สนใจต่อคำพูดที่ว่าคนตาบอด น่าสงสาร ทุพพลภาพ ไร้ความสามารถ ไม่มีประโยชน์ต่อใคร ท่านได้พิสูจน์แล้วว่าคนตาบอดมีความสามารถ จึงมุ่งมั่นที่จะให้การศึกษาคนตาบอดอย่างเต็มที่ ฝ่าฟันอุปสรรคหลายๆ อย่างเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย อย่างไรก็ดีในการทำงานของท่าน ยังมีผู้มีน้ำใจประเสริฐ มีเมตตากรุณาเข้าใจ และเล็งเห็นความสำคัญในการให้การศึกษาแก่คนตาบอด พร้อมที่จะเสียสละความสุขส่วนตัวมาร่วมทำกิจกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพื่อนๆ ของมิสคอลฟิลด์ งานอาสาสมัครจึงเริ่มต้นอย่างไม่เป็นทางการ จนท่านเหล่านั้นได้ช่วยกันจัดตั้งเป็นมูลนิธิช่วยคนตาบอดฯ ได้สำเร็จ งานอาสาสมัครยังคงมีต่อมาเรื่อยๆ เพื่อสนับสนุนด้านการศึกษา และงานช่วยเหลือคนตาบอดให้กว้างขึ้น
ในระยะเวลาที่ผ่านมางานอาสาสมัครยังไม่เป็นทางการ ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื้อเชิญระหว่างผู้ที่มาเป็นอาสาสมัครด้วยกัน คุณครูวิมล อ่องอัมพร และ Mr. Renn Fuller เป็นบุคคลที่มีความพยายามให้มีโครงการนี้เกิดขึ้น ปัจจุบันทางโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ได้จัดตั้งโครงการอาสาสมัครอย่างเป็นทางการ โดยมีคุณวรลักษณ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เป็นประธานโครงการฯ นอกจากนั้นยังเริ่มมีการให้ความรู้เบื้องต้นแก่อาสาสมัครที่มาช่วยงานให้ เข้าใจผู้ที่บกพร่องทางการเห็นมากขึ้น นอกจากนั้นทางโครงการได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เบื้องต้นแก่อาสาสมัคร ที่มีความสนใจในการช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นในส่วนของการ ศึกษาและด้านอื่นๆ มากขึ้น นับได้ว่าเป็นการเปิดโลกกว้างที่ไม่มีช่องว่างระหว่างคนปกติและผู้ที่ บกพร่องทางการเห็นที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
ในปัจจุบันงานอาสาสมัครยังมีส่วนช่วยให้นักเรียนที่บกพร่องทางการเห็นซึ่งออกไปเรียนร่วมกับ
นักเรียนในโรงเรียนปกติด้วยการสอนเสริม ให้ความรู้เพิ่มเติมแก่นักเรียน นอกจากนั้นยังมีสอนให้นักเรียนเข้าใจชีวิต การปรับตัวเอง ในการที่จะพัฒนานักเรียนที่บกพร่องทางการเห็นได้มีชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคล อื่นในสังคมอย่างมีความสุข
ในการจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น เพื่อให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนรู้สามารถค้นหาจากห้องสมุดหรือได้รับการแนะนำจากผู้ที่ให้การสนับ สนุน งานอาสาสมัครจึงมุ่งเน้นในการนำผู้ที่สนับสนุนการศึกษาของเด็กที่มีความ บกพร่องทางการเห็นมาช่วยทำประโยชน์ทั้งทางตรง และทางอ้อมมากที่สุด งานอาสาสมัครจะช่วยให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นได้เรียนรู้และ อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมปกติ และยังช่วยให้อาสาสมัครได้รู้วิธีการให้การช่วยเหลือบุคคลที่มีความบกพร่อง ทางการมองเห็นได้อย่างถูกต้อง
อาสาสมัครนับว่าเป็นบุคคลที่มีความเสียสละอุทิศเวลาและให้การสนับสนุนในด้านการศึกษาและอื่นๆ ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น การรวบรวมข้อมูล การเสนอแนะวิธีการ ที่จะช่วยงาน รวมทั้งขอบข่ายของงานอาสาสมัคร การติดตามการทำงานของอาสาสมัคร ตลอดจนการประกาศเกียรติคุณของอาสาสมัคร เพื่อให้อาสาสมัครมีกำลังใจที่จะช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นต่อไป
คุณสมบัติของอาสาสมัคร
1. ไม่จำกัดเพศ และอายุ
2. มีจิตใจช่วยเหลือผู้บกพร่องทางการเห็น
ประเภทของอาสาสมัคร
1. บุคคลทั่วไป
2. นักเรียน นักศึกษา
3. อาสาสมัครที่ทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ
ลักษณะงานของอาสาสมัคร
1. อ่านหนังสือลงเทป (Talking Book)
2. การพิมพ์หนังสือลงแผ่นดิสก์เพื่อแปลเป็นอักษรเบรลล์และจัดทำหนังสือตัวโตสำหรับเด็กสายตาเลือนลาง
( Low Vision)
3.
สนับสนุนในกิจกรรมของนักเรียนที่บกพร่องทางการเห็น ได้แก่
3.1 กิจกรรมสำหรับเด็กเล็ก
* ดูแลเด็ก พาเด็กเดินเล่น
* อ่านนิทานให้เด็กฟัง
* สอนดนตรี
* ช่วยฝึกกิจกรรมส่วนตัว (การดำรงชีวิตประจำวัน)
* ช่วยแนะนำฟื้นฟูบุคลิกภาพของเด็ก
3.2 กิจกรรมสำหรับนักเรียนประถมปีที่ 1-6 (อายุ 8-15 ปี)
* กิจกรรมทางวิชาการ
* กิจกรรมทางภาษา
* กิจกรรมพิเศษ เช่น ดนตรี ว่ายน้ำ ศิลปะ และอื่นๆ
* กิจกรรมนอกสถานที่
3.3 กิจกรรมสำหรับนักเรียนร่วมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
* ช่วยสอนการบ้านช่วงเย็น ตั้งแต่เวลา 15.30-19.00
* อ่านหนังสือให้เด็กฟังในวันหยุดราชการ
* กิจกรรมทางวิชาการ เช่น การสอนเสริมวิชาต่างๆ
* กิจกรรมทางภาษา
* กิจกรรมพิเศษ เช่น ดนตรี ว่ายน้ำ ศิลปะ
* กิจกรรมนอกสถานที่
* กิจกรรมพัฒนาทางสังคม และพัฒนาบุคลิกภาพ เป็นต้น
* อื่นๆ
4. การจัดหาทุนสนับสนุนเพิ่มเติมในเรื่องการศึกษา อุปกรณ์ และความเป็นอยู่ของนักเรียน
5. กิจกรรมร่วมกับผู้ปกครองให้ความรู้ในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่บ้าน