activity on September 18, 2010, 11:04:59 AM


   
องค์กรธุรกิจต่างๆ ในไทย กำลังได้รับข้อเสนอที่เป็นโอกาสทอง ที่จะทำให้วางใจได้ว่า ซอฟต์แวร์ สินทรัพย์ทางธุรกิจประเภทหนึ่งที่ใช้กันอยู่ภายในองค์กรธุรกิจนั้น ได้รับการตรวจสอบและจัดการอย่างถูกต้องตามข้อกำหนดทางกฏหมาย

ในงานแถลงข่าววันนี้ กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือ บีเอสเอ ได้ประกาศเปิดตัวโครงการรณรงค์ตัวใหม่ โดยมีชื่อแคมเปญว่า “โอกาสทอง ร่วมใจใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ถูกต้อง” ขึ้น เพื่อประชาสัมพันธ์ให้องค์กรธุรกิจเร่งตรวจสอบและจัดการซอฟต์แวร์ภายในองค์กร และประชาสัมพันธ์ให้องค์กรธุรกิจตระหนักถึงคุณค่าของการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องครบถ้วน โดยจะมอบรางวัลให้แก่องค์กรธุรกิจที่มีการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องครบถ้วน  หนึ่งในองค์กรธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ “โอกาสทอง ร่วมใจใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ถูกต้อง” มีสิทธิ์เป็นองค์กรธุรกิจที่โชคดีได้รับรางวัลเป็นประกาศนียบัตรทองคำมูลค่า 99,999 บาท ในกรณีที่ใช้ซอฟต์แวร์มีลิขสิทธิ์ถูกต้องครบถ้วน  โดยจะมีการจับรางวัลเพื่อหาองค์กรธุรกิจผู้โชคดีที่เข้าร่วมแคมเปญในครั้งนี้

องค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องครบถ้วนมีสิทธิที่จะได้รับรางวัลดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้น องค์กรธุรกิจทั้งหมด ที่กรอกแบบสอบถาม และส่งกลับเข้าร่วมโครงการ “โอกาสทอง ร่วมใจใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ถูกต้อง” ภายในวันที่ 30 ตุลาคม 2553 จะได้รับประกาศนียบัตรรับรองจากบีเอสเอ ด้วย
วัตถุประสงค์ของแคมเปญนี้ คือ สร้างสรรค์ความร่วมมือกับองค์กรธุรกิจ เพื่อลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทย



“องค์กรธุรกิจต่างๆ นั้น มีโอกาสทองที่จะทำให้การใช้ซอฟต์แวร์ในองค์กรเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ”  คุณวารุณี รัชตพัฒนกุล ที่ปรึกษาของบีเอสเอประจำประเทศไทย กล่าว “สามสิบวันต่อจากนี้ไป จะเป็นโอกาสที่ดี ที่องค์กรธุรกิจจะตรวจสอบและจัดการการใช้ซอฟต์แวร์ให้มีลิขสิทธิ์ถูกต้องครบถ้วน และยังเป็นโอกาสที่ดีที่จะมีสิทธิ์ได้รับรางวัลประกาศนียบัตรทองคำอีกด้วย”
 
องค์กรธุรกิจสามารถเข้าไปกรอกแบบสอบถาม ได้ที่ www.stop.in.th หรือ ส่งแบบสอบถามดังกล่าวทางอีเมล์มายัง info@stop.in.th  โดย กำหนดหมดเขตส่งแบบสอบถามภายในวันที่ 30 ตุลาคม 2553

โครงการรณรงค์ลักษณะนี้ ถือเป็นโครงการแรกที่จัดขึ้นโดยอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศไทย  องค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องครบถ้วนจะได้รับประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ และความปลอดภัยของข้อมูลธุรกิจที่สำคัญ จากการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องครบถ้วน
ในขณะที่ บริษัทที่ใช้ซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือมีสิทธิในการใช้ (ไลเซ็นต์) ไม่ครบจำนวนที่จำเป็นต้องใช้ ต้องเผชิญกับปัญหาทางเทคนิคต่างๆ ประสิทธิภาพในการทำธุรกิจที่ลดลง และความเสี่ยงที่จะทำผิดพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์  

องค์กรธุรกิจใดที่ต้องการทราบว่าองค์กรของตนใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ หรือที่ต้องการทราบว่าองค์กรของตนกำลังละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อยู่หรือไม่นั้น สามารถเข้าไปดาวน์โหลดเครื่องมือตรวจสอบและจัดการซอฟต์แวร์ฟรีได้ที่ www.bsa.co.th.   ผู้จัดการแผนกไอที และที่ปรึกษาในองค์กรของท่าน ยังสามารถช่วยบอกได้ว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่มีลิขสิทธิ์ หรือได้รับอนุญาตให้ใช้ (ไลเซ็นต์) อย่างถูกต้องครบถ้วนหรือไม่

ในช่วงสามปีที่ผ่านมา  มีองค์กรธุรกิจเป็นจำนวนมาก ที่ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องครบถ้วน โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 อัตราการระเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนพีซีในประเทศไทย ลดลงจากร้อยละ 80 มาอยู่ที่ร้อยละ 75    ทั้งนี้ บีเอสเอขอแสดงความชื่นชมต่อการทำงานอย่างจริงจัง และไม่ลดละความพยายามของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการสืบสวน ตรวจจับ และบังคับใช้กฏหมาย กับผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ อย่างต่อเนื่อง แทบจะเรียกได้ว่าทุกทุกสัปดาห์ ส่งผลให้มีองค์กรธุรกิจเป็นจำนวนไม่น้อย ที่ถูกตรวจค้นและพบว่ามีการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง

คุณวารุณีได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้องค์กรธุรกิจต่างๆ ได้มีความตระหนักเกี่ยวกับคุณค่าที่ได้รับจากการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องครบถ้วนกันมากขึ้น ประกอบกับทางกระทรวงพาณิชย์ และกรมทรัพย์สินทางปัญญาเอง ได้เดินหน้าอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นเรื่องลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์มากขึ้น

โครงการ “โอกาสทอง ร่วมใจใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ถูกต้อง” เป็นโครงการที่ดี ทั้งยังยกย่อง และให้ความสำคัญแก่องค์กรธุรกิจ ที่ได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง” กล่าวโดยคุณวารุณี  “เราควรระลึกเสมอว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่ลดลงนี้เป็นเรื่องที่ดีสำหรับเศรษฐกิจและภาพพจน์ของประเทศไทย เราหวังว่าองค์กรธุรกิจทุกแห่งในประเทศไทยจะเข้าร่วมโครงการดังกล่าวนี้”

เกี่ยวกับบีเอสเอ
สมาชิกบีเอสเอรวมถึง อโดบี, อจิเล้นท์ เทคโนโลยีส์, อัลเตียม, แอปเปิ้ล, อควาโฟล,เออาร์เอ็ม, อาร์ฟิก เทคโนโลยี,               ออโต้เดสค์, ออโต้ฟอร์ม, อวีวา, เอวีจี,  เบนลี่ ซิสเต็มส์, ซีเอ,คาเดนส์, ซิสโก้ ซิสเต็มส์,  ซีเอ็นซี/มาสเตอร์แคม, คอเรล,       แดสเซิลท์ ซิสเต็มส์ โซลิดเวิร์คส์ คอร์ปอเรชั่น,  เดลล์, เอ็มบาร์คาเดโร, ฟรอนท์ไลน์ พีซีบี โซลูชั่นส์ – ในเครือบริษัท         ออร์โบเท็ค  วาเลอร์, เอชพี, ไอบีเอ็ม, อินเทล, อินทุธ, แคสเปอร์สกาย แล็บ,  แมคอาฟี, ไมโครซอฟท์, มินิแท็บ,                       พาราเม็ทตริกซ์ เทคโนโลยี คอร์เปอเรชั่น,โปรเกรส, ควาร์ค, เควสท์ ซอฟต์แวร์, โรเซ้ตต้า สโตน, เอสเอพี, ซีเมนส์, ไซเบส, ไซแมนเทค,ซินนอปซิส,  ไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพร์ส และ เดอะ แมธเวิร์กส์


« Last Edit: September 28, 2010, 04:48:45 PM by activity »