activity on September 12, 2010, 10:41:59 AM
KTAMเปิดม่านเหล็กลงทุนตราสารหนี้รัสเซีย อายุ2ปี7เดือนชูยิลด์3.50%ต่อปีขาย22-28ก.ย.นี้                                               
                   
             นายสมชัย  บุญนำศิริ   กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน  กรุงไทย จำกัด (มหาชน)   เปิดเผยว่า    บริษัทจะเปิดจำหน่ายกองทุนเปิดกรุงไทย รัสเซีย ฟิกซ์อินคัม 1 ( KTRF1)  ระหว่างวันที่ 22-28  กันยายน 2553  มูลค่าโครงการ 1,500  ล้านบาท  อายุ 2 ปี 7 เดือน จ่ายผลตอบแทนคืนอัตโนมัติทุก 3 เดือน  มูลค่าเงินลงทุนขึ้นต่ำ10,000  บาท   มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้  เงินฝาก  ตรารสารทางการเงินที่รัฐบาล  องค์การ หน่วยงานของรัฐบาล   องค์การระหว่างประเทศ รัฐวิสาหกิจ  หรือภาคเอกชนของประเทศรัสเซีย เป็นผู้ออก หรือผู้ค้ำประกัน   โดยกองทุนจะนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ  80 ของมุลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน   ส่วนที่เหลืออาจพิจารณาลงทุนในเงินฝาก  ตราสารแห่งหนี้ทั่วไป ตามที่คณะกรรมการก.ล.ต.กำหนด
 
            โดยจุดเด่นของกองทุนนี้ คือเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศรัสเซีย ที่มีฐานะการคลัง และการเงินระหว่างประเทศที่แข็งแกร่ง    เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่ผู้กู้เป็นสถาบันการเงินหรือกิจการ ซึ่งภาครัฐของประเทศรัสเซียเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ( Government  related  firms )    โดยกองทุนจะลงทุนผ่านตราสารประเภท  Loan  Participation  Note สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ  ซึ่งเป็นเครืองมือทางการเงินที่ได้รับความนิยมของกิจการในรัสเซียเพื่อใช้ระดมเงินทุนจากต่างประเทศ    และตราสารที่ลงทุนได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกับผู้กู้เหล่านี้  และระดับเดียวกับประเทศรัสเซียที่ BBB    โดย  S&P
   
           ตราสารที่กองทุนจะลงทุน  ในสัดส่วนสถาบันการเงินละ 20% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน  ประกอบไปด้วย  1)  SBERRU   โดยมี SB   Capital  SA   เป็นผู้ออกตราสาร และ SBERBANK   เป็นผู้กู้   ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เก่าแก่แห่งแรกในรัสเซีย  และเป็นสถาบันการเงินใหญ่อันดับหนึ่งของรัสเซีย  โดยธนาคารกลางแห่งรัสเซียถือหุ้น 60.30 %  2)  ลงทุนใน  GAZPRU   โดยมี    Gaz Capital  SA   เป็นผู้ออกตราสาร   และ   GAZPROM   เป็นผู้กู้  ซึ่งก่อตั้งในปี 1993 ภายใต้กฎหมายพิเศษแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย  เพื่อโอนธุรกิจพลังงานให้ดำเนินการในรูปแบบเอกชน     ปัจจุบันภาครัฐยังคงถือหุ้น  50.002  % เป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจพลังงานครบวงจรโลก ครอบครองทรัพยากรก๊าซธรรมชาติคิดเป็น17% ของแหล่งสำรองในโลกนี้  และคิดเป็น 70% ของแหล่งสำรองในประเทศรัสเซีย    3)   ลงทุนใน  RSHB  โดยมี     RSHB   Capital  SA  เป็นผู้ออกตราสาร  และ   Aussian  Agricultural Bank    เป็นผู้กู้  ซึ่งเป็นสถาบันการเงินเชิงนโยบาย( Policy  Bank )  ถือหุ้น 100 % โดยธนาคารกลางรัสเซีย  เป็นธนาคารที่ให้การสนับสนุนนโยบายของภาครัฐในการอำนวยสินเชื่อแก่ภาคเกษตรกรรมของประเทศรัสเซีย     และเป็นสถาบันการเงินที่มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ       4) ลงทุนใน  BKMOSC    โดยมี    KUZNETSI  Capital   เป็นผู้ออกตราสาร    และBank of  Moscow   เป็นผู้กู้   ซึ่งในปัจจุบัน   City   of  Moscow  ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม 62.2%    ได้รับการสนับสนุนจาก  City  of  Moscow  ทั้งในด้านการเงิน  และการรักษาสถานะการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร    ซึ่งเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ5 ของประเทศ   และ  5) ลงทุนใน VTB   โดยมี  VTB    Capital  SA    เป็นผู้ออกตราสาร   และVTB  Bank   เป็นผู้กู้       ซึ่งก่อตั้งโดยภาครัฐ เพื่อให้การสนับสนุนกิจการสัญชาติรัสเซียในการให้บริการธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ    ปัจจุบันภาครัฐถือหุ้น 85.5 %  ถือเป็นธนาคารรัฐวิสาหกิจ     และเป็นธนาคารใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ  ดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ครบวงจร   ส่งผลให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนประมาณการที่  3.50 %ต่อปี  และมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน     การลงทุนในกองทุนนี้นับว่า เป็นการเพิ่มโอกาสในการได้รับอัตราผลตอบแทนที่ดีกว่า  การฝากเงินหรือลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศไทย

             นายสมชัย  กล่าวต่อไปว่า     จุดแข็งของประเทศรัสเซียคือเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ มีจำนวนประชากรสูง  และยังมีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกมาก    จากที่รัสเซียมีทรัพยากรธรรมชาติมาก ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้ดี   นอกจากนั้น    รัสเซียยังมีความเข้มแข็งทางการคลัง และการเงินระหว่างประเทศสูงอีกด้วย   หนี้สาธารณะของรัสเซียอยู่ในระดับต่ำเพียง 8%   ของGDP เท่านั้น   ขณะที่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงเป็นอันดับที่ 3 ของโลกและยังมี Sovereign  wealth   fund   ที่มีขนาดใหญ่เป็นแหล่งทุนสำรองที่สามารถนำมาใช้ได้ในยามจำเป็น  ทำให้ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของรัสเซียต่ำ
« Last Edit: September 22, 2010, 11:07:01 AM by activity »