ไอบีเอ็มเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ทางด้านสตอเรจ ช่วยธุรกิจไทย เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดเก็บสำรองข้อมูล และลดความเสี่ยงทางธุรกิจจากเหตุการณ์อันไม่คาดฝัน
การเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ดังกล่าว มาพร้อมกับการเฉลิมฉลองความสำเร็จของไอบีเอ็ม ที่ครองอันดับหนึ่งส่วนแบ่งตลาดเอ็กซ์เทอร์นัล ดิสก์ สตอเรจสูงสุดในประเทศไทยติดต่อกันถึง 7 ไตรมาส*
บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เปิดตัว ‘โซนาส’ (Scale Out Network Attached Storage – SONAS) นวัตกรรมทางด้านสตอเรจรูปแบบใหม่สำหรับการทำงานร่วมกับคลาวด์ คอมพิวติ้ง รวมทั้งโซลูชันใหม่ ๆ ทางด้านสตอเรจหลากหลาย เพื่อช่วยธุรกิจไทย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่หรือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำรองจัดเก็บข้อมูลในองค์กร เสริมความต่อเนื่องในการทำงานและลดความเสี่ยงทางธุรกิจ ในกรณีข้อมูลสำคัญสูญหายจากเหตุการณ์อันไม่คาดฝัน ทั้งนี้ การเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ ๆ ดังกล่าวยังมาพร้อมกับข้อเสนอทางด้านการเงินจากไอบีเอ็มเพื่อช่วยธุรกิจต่าง ๆ แบ่งเบาภาระการลงทุนทางด้านไอที อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองความสำเร็จของไอบีเอ็มที่ครองอันดับหนึ่งส่วนแบ่งตลาดผลิตภัณฑ์เอ็กซ์เทอร์นัล ดิสก์ สตอเรจ (อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบดิสก์ประเภทต่อภายนอก) ในประเทศไทยถึง 7 ไตรมาสติดต่อกัน*
ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและอุปกรณ์ที่ฉลาดขึ้น เช่น อุปกรณ์ไร้สาย อาร์เอฟไอดี เซ็นเซอร์ สมาร์ทโฟน ฯลฯ เป็นต้น ตลอดจนแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งปริมาณผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่จะมีจำนวนถึง 2 พันล้านคนภายในปี 2554 หรือขนาดของไฟล์และปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ไฟล์ดิจิตอลมีเดีย เว็บคอนเท็นต์ ไฟล์อิมเมจข้อมูลผู้ป่วย ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เป็นต้น มีผลทำให้การเติบโตของปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้มีการประเมินว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีปริมาณข้อมูลมากกว่า 988 เอ็กซาไบท์และยังเพิ่มขึ้นกว่า 15 เพทาไบท์ทุกวัน นอกจากนั้น ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ยังมีปริมาณข้อมูลวิ่งอยู่มากกว่าครึ่งเซ็ททาไบท์ (หรือ 3 พันล้านกิกะไบท์) ภายในอินเทอร์เน็ต ซึ่งจากปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เอง ทำให้มีการคาดการณ์ว่าความต้องการอุปกรณ์สตอเรจเพื่อจัดเก็บข้อมูลในองค์กรทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 43% ในช่วงปี 2551-2556 ซึ่งด้วยความท้าทายด้านการเติบโตอย่างรวดเร็วของปริมาณข้อมูลนี้เอง ผนวกกับโอกาสของความเสี่ยงจากการสูญเสียข้อมูลสำคัญไปกับเหตุการณ์อันไม่คาดฝันต่าง ๆ ทำให้ธุรกิจหลายแห่งมองหาสตอเรจโซลูชันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดเก็บและสำรองข้อมูลขององค์กร เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์อันไม่คาดฝัน รวมทั้งเสริมความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ
นอกจากนั้น สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ การบริหารจัดเก็บสำรองข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพก็ถือเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง เพราะนอกจากองค์กรจะต้องหาโซลูชันเพื่อรับมือกับปริมาณข้อมูลที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ตลอดจนการหาวิธีการบริหารจัดเก็บ สำรองข้อมูลขององค์กรอย่างเป็นระบบเพื่อลดความเสี่ยงทางธุรกิจในด้านต่าง ๆ แล้ว ยังต้องหาวิธีลดค่าใช้จ่ายขององค์กรไปพร้อม ๆ กัน ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งไม่ว่าจะเป็นแบบปิด (Private Cloud) หรือแบบเปิด (Public Cloud) เพื่อตอบสนองความต้องการด้านไอทีขององค์กร ก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทายในด้านการบริหารจัดเก็บสำรองข้อมูลเช่นเดียวกัน
ด้วยการเล็งความท้าทายและเข้าใจความต้องการต่าง ๆ นี้เอง ไอบีเอ็มจึงคิดค้นและเปิดตัว ‘โซนาส’ (Scale Out Network Attached Storage – SONAS) นวัตกรรมทางด้านสตอเรจรูปแบบใหม่ ด้วยการใช้เทคโนโลยีเสมือนมาบริหารการจัดเก็บข้อมูลในระบบสตอเรจ อีกทั้งยังสามารถรองรับการจัดเก็บข้อมูลทั้งที่มาจากเซิร์ฟเวอร์หรือจากสตอเรจอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น
ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่สามารถต่อขยายได้อย่างรวดเร็ว หรือ ‘ออโตเมต เทียริ่ง เทคโนโลยี’ (Automated Tiering Technology) ซึ่งสามารถรองรับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขององค์กรได้สูงถึง 14.4 เทราไบท์ต่อระบบ หรือใช้ความเร็วในการสแกนเพื่อเข้าถึงไฟล์ปริมาณมหาศาลให้สามารถทำได้ภายในไม่กี่นาที โดยไม่ต้องคำนึงว่าไฟล์ดังกล่าวจะถูกจัดเก็บไว้ในที่ใด ซึ่งด้วยคุณประโยชน์ดังกล่าวทำให้การบริหารจัดเก็บข้อมูลทำได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่าและเร็วกว่าวิธีเดิม (หรือวิธีจัดเก็บข้อมูลแบบ NAS -Network Attached Storage) ที่ใช้วิธีการเพิ่มอุปกรณ์สตอเรจทีละชิ้นเพื่อรองรับกับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งใช้เวลานานกว่าในการสแกนและเข้าถึงไฟล์ที่มีปริมาณเท่ากัน ซึ่งด้วยความสามารถในเทคโนโลยีใหม่นี้เอง สามารถช่วยองค์กรรับมือกับความท้าทายในด้านการบริหารจัดเก็บข้อมูลได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นแบบปิด (Private Cloud) หรือแบบเปิด (Public Cloud) ก็ตาม
เปิดโอกาสให้การควบรวมเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจต่าง ๆ ภายในองค์กรทำได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยองค์กรลดค่าใช้จ่ายได้ทางอ้อม
ช่วยให้การบริหารจัดการข้อมูลในองค์กรสามารถทำได้แบบรวมศูนย์และเป็นระบบ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานและลดค่าใช้จ่ายโดยรวมในด้านการเป็นเจ้าของทรัพยากรไอทีในองค์กร (Total Cost of Ownership) ได้อีกด้วย
นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจคอมพิวเตอร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ด้วยความท้าทายในด้านปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการใช้คลาวด์คอมพิว
ติ้งในองค์กรชั้นนำหลายแห่ง รวมถึงความจำเป็นสำหรับธุรกิจต่าง ๆ ที่ต้องเตรียมความพร้อมให้องค์กรสามารถรับมือกับเหตุการณ์อันไม่คาดฝันเพื่อลดความเสี่ยงทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การใช้เทคโนโลยีที่ทรงพลังเพื่อบริหารการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพสูงถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะข้อมูลขององค์กรถือเป็นทรัพย์สินอันมีค่าและมีความเกี่ยวข้องโดยตรงต่อธุรกิจขององค์กร” นอกจากนั้น นายธนพงษ์ ยังกล่าวเสริมอีกว่า “ด้วยการเล็งเห็นความท้าทายและความต้องการในด้านการบริหารจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวนี้เอง ไอบีเอ็มจึงมุ่งมั่น คิดค้นและถือโอกาสเปิดตัว ‘โซนาส’ นวัตกรรมทางด้านสตอเรจรูปแบบใหม่แก่ธุรกิจไทย ซึ่งนอกจากจะช่วยตอบสนองความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำรองจัดเก็บข้อมูล ช่วยองค์กรลดค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อมแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงทางธุรกิจจากกรณีข้อมูลสำคัญสูญหาย และเสริมความต่อเนื่องของการทำงานจากเหตุการณ์อันไม่คาดฝันได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย”
นอกเหนือจากการเปิดตัว ‘โซนาส’ นวัตกรรมทางด้านสตอเรจสำหรับองค์กรขนาดใหญ่แล้ว เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองความสำเร็จของไอบีเอ็มที่สามารถครองอันดับหนึ่งส่วนแบ่งตลาดผลิตภัณฑ์เอ็กซ์เทอร์นัล ดิสก์ สตอเรจ (อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบดิสก์สำหรับต่อภายนอก) ในประเทศไทยถึง 7 ไตรมาสติดต่อกัน* ไอบีเอ็มยังถือโอกาสเปิดตัวเทคโนโลยีสตอเรจรุ่นใหม่สำหรับองค์กรขนาดกลางและขนาดย่อมรวมทั้งเอสเอ็มอี พร้อมข้อเสนอทางการเงินเพื่อช่วยองค์กรลดภาระทางเศรษฐกิจในการลงทุนทางด้านไอทีดังต่อไปนี้
สตอเรจ ไอบีเอ็ม ดีเอส 3500 (DS 3500) สตอเรจอันทรงพลังในราคาย่อมเยา เหมาะอย่างยิ่งกับธุรกิจเอสเอ็มอี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บสำรองข้อมูลในองค์กร ใช้งานง่าย และมาพร้อมกับเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชัน รองรับฮาร์ดดิสค์ได้ทั้งแบบ SAS 3.5 นิ้ว และ 2.5 นิ้ว และเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบ SAS, Fiber Channel หรือ iSCSI ทำงานด้วยความเร็วสูงถึง 8Gbps (โดยผ่านการเชื่อมต่อแบบ Fiber Channel) ช่วยทำให้การจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่ทำได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้น ยังเพิ่มความปลอดภัยในการสำรองจัดเก็บข้อมูลด้วยเทคโนโลยีการเข้ารหัสเต็มรูปแบบ (Full Drive Encryption) เพิ่มความอุ่นใจในกรณีข้อมูลสูญหาย อีกทั้งยังช่วยองค์กรประหยัดค่าไฟ และพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลอีกด้วย
สตอเรจ ไอบีเอ็ม แอลทีโอ 5 (LTO 5) สตอเรจแบบเทปที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้สูงถึง 1.5 เทราไบท์ต่อเทป (หรือสูงสุดถึง 3 เทราไบท์ต่อเทปผ่านเทคโนโลยีบีบอัด) ใช้การบริหารการจัดเก็บแบบ Drag and Drop ซึ่งทำให้การแบ็คอัพข้อมูลลงบนม้วนเทปทำได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็วถึง 140MB ต่อวินาที และรองรับการเชื่อมต่อทั้งแบบ SAS 6Gbps/sec และ Fiber Channel 8Gbps/sec ได้อีกด้วย
ข้อเสนอทางการเงิน ‘สินเชื่อไอทีทันใจจากไอบีเอ็ม’ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองความสำเร็จในการครองอันดับหนึ่งส่วนแบ่งตลาดเอ็กซ์เทอร์นัล ดิสก์ สตอเรจ ในประเทศไทยถึง 7 ไตรมาสซ้อน* อีกทั้งยังเป็นการช่วยองค์กรต่าง ๆ ลดภาระในการลงทุนด้านไอที ไอบีเอ็มเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถเลือกผ่อนชำระค่าใช้จ่ายการลงทุนผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์จากไอบีเอ็มด้วยข้อเสนอทางการเงินต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ซื้อวันนี้ ยกเว้นการผ่อนค่างวด 6 เดือนแรก** หรือ
ซื้อวันนี้ รับดอกเบี้ย 0% 12 เดือนแรก**
** ข้อเสนอดังกล่าวมีผลกับผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ของไอบีเอ็มทุกประเภท ได้แก่ เซิร์ฟเวอร์ ไอบีเอ็ม ซิสเต็ม เอ็กซ์, เซิร์ฟเวอร์ ไอบีเอ็ม เบลดเซ็นเตอร์, เซิร์ฟเวอร์ ไอบีเอ็ม เพาเวอร์ ซิสเต็มส์, เซิร์ฟเวอร์ไอบีเอ็ม ซิสเต็ม ซี, หรือ ไอบีเอ็ม ซิสเต็ม สตอเรจ และมีผลถึง 31 ธันวาคม 2553
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันทางด้านสตอเรจของไอบีเอ็มหรือข้อเสนอทางการเงิน ติดต่อบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด โทร 02 273 0041-2 หรือเข้าไปที่
www.ibm.com/systems/storage หรือ
www.ibm.com/financing หมายเหตุ: * จากรายงานของไอดีซี เอเชีย แปซิฟิก สตอเรจ ซิสเต็มส์ แทรกเกอร์ ไตรมาสหนึ่ง ปี 2553 ที่ไอบีเอ็มครองอันดับหนึ่งส่วนแบ่งตลาดผลิตภัณฑ์เอ็กซ์เทอร์นัล ดิสก์ สตอเรจ (อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบดิสก์ประเภทต่อภายนอก) ในประเทศไทยถึง 7 ไตรมาสติดต่อกัน ตั้งแต่ไตรมาสสามปี 2551 ถึงไตรมาสหนึ่ง ปี 2553 ด้วยส่วนแบ่งตลาด 29.3%, 37%, 29.1%, 33.9%, 22.3%, 41% และ 30.1% ตามลำดับ