sianbun on June 17, 2010, 01:21:52 PM
TK Mobile Library หนังสือเดินเท้า เรื่องเล่าเดินทาง


 
               เพราะโลกแห่งการเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดไว้ด้วยเวลาและสถานที่ อุทยานการเรียนรู้ TK park ก็เช่น  เดียวกันเพราะถึงแม้ว่าในขณะนี้ พื้นที่บริการหลักที่ผู้ใช้บริการเคยผ่านมาเวียนแวะและหาความรู้ ความ บันเทิงและความคิดสร้างสรรค์หลากหลายแขนงจะต้องหยุดให้บริการชั่วคราว แต่ด้วยพันธกิจหลักที่ TK park ได้ให้ความสำคัญมาโดยตลอดกับกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การเรียนรู้มากมายและหลากหลายประเภท จึงได้ เกิดโครงการ “TK Mobile Library ห้องสมุดมีชีวิตเคลื่อนที่” ขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการของประชาชน ทุกช่วงวัย ทั้งเด็ก เยาวชนและผู้ใหญ่ ที่ต้องการเปิดประสบการณ์ในการเรียนรู้ใหม่ ๆ นอกสถานที่

          กิจกรรม “หนังสือเดินเท้า เรื่องเล่าเดินทาง” ส่วนหนึ่งของโครงการ TK Mobile Library ได้เปิดโอกาสให้ทุกคนได้รับสาระบันเทิง (Edutainment) ผ่านหนังสือ+กิจกรรม+ดนตรี+มัลติมีเดีย = จินตนาการไม่รู้จบ ที่ได้รับการคัดสรรมาเป็นอย่างดี อาทิ หนังสือดี 0-100 ปีชีวีมีสุข เหล่าหนังสือ ร่วมร้อยเรื่องที่จะช่วยเติมเต็มความรู้ ความบันเทิง และความสุข ให้กับผู้อ่านทุกเพศวัย ศิลปะหรรษา พาครอบครัวสร้างสรรค์ ร่วมถ่ายทอดจินตนาการคิดอ่านผ่านงานประดิษฐ์ เสวนาวาไรตี้ และดนตรี จิตอาสา พื้นที่เปิดสำหรับเด็กและเยาวชนกับการแสดงสดอย่างใกล้ชิด และเปิดโลกใบน้อยของหนู ๆ กับนิทานสร้างเสริมจินตนาการ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ TK Mobile Library ตามวันและเวลา ดังนี้
วันเสาร์ที่ 19 และวันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2553 ตั้งแต่เวลา 12.00-18.00 น.
ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ)  วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2553 ตั้งแต่เวลา 9.00-15.00 น.
ณ เสถียรธรรมสถาน
« Last Edit: June 17, 2010, 02:26:59 PM by sianbun »

sianbun on June 17, 2010, 01:22:45 PM
TK park: การประชุมชี้แจงนโยบายทิศทางแก่ผู้บริหาร ครูศูนย์ GTX และตัวแทนภาคีเครือข่าย

ฝ่ายเสาะหาและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ สำนักงานอุทยาการเรียนรู้  ถือโอกาสช่วงเปิดภาค เรียนจัด “การประชุมชี้แจงนโยบายทิศทางแก่ผู้บริหาร ครูศูนย์ GTX และตัวแทนภาคีเครือข่าย”  อันเป็นกิจกรรมตามโครงการด้านการพัฒนาบุคลากรในระบบเพื่อขับเคลื่อนภารกิจ  ในวันอังคารที่ 15 มิถุนายน 2553 เวลา 8.00-16.00 น. ที่ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 10 โรงแรมแกรนด์ไชน่า ปริ๊นเซส กทม. เพื่อชี้แจง นโยบายและทิศทางของ การดำเนินงานศูนย์ฯ ภายหลังการโอนถ่ายภารกิจของสถาบันส่งเสริม อัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้ (สสอน.) มายังสำนักงาน อุทยานการเรียนรู้ (สอร.) ในปีงบประมาณ 2553 ให้ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าและครูศูนย์ฯ ตลอดจนผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะที่เป็นภาคีเครือข่าย  เข้าใจทิศทางของการจัดกิจกรรมตามปีงบประมาณ 2553 รับรู้แนวทางการทำงาน  ทำความรู้จักคุ้นเคย  ปรับปรุงข้อมูลเพื่อการติดต่อประสานงานให้เกิด ประสิทธิภาพการดำเนินงานศูนย์กับภาคีเครือข่ายการทำงานด้านเสาะหาพัฒนา ผู้มีความสามารถพิเศษ
   
งานนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมงานประชุมครั้งนี้มากมาย กำหนดการสำคัญเริ่มจากการเสวนาเรื่อง  “งานพัฒนาเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษ” โดย นางสุธาทิพย์ ธัชยพงศ์ รองประธานมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก อนุกรรมการสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ ผอ.พริ้มพราย สุพโปฎก ประธานอำนวยการบริหารโรงเรียน ไผทอุดมศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถ พิเศษ ดร.ทัศนัย วงษ์พิเศษกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ ดร.ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล หัวหน้าฝ่ายเสาะหา และพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้  ตามด้วยการบรรยายของ ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ และ  ดร.เบญจลักษณ์  น้ำฟ้า ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน) ในหัวข้อ ““นโยบาย สพฐ. สำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษ” ช่วงบ่ายเป็นการบรรยาย “แนวทางของท้องถิ่นในการส่งเสริมเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษของนายศรีพงษ์ บุตรงามดี ผู้แทนอธิบดี กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ประชุมจากศูนย์ GTX และเครือข่ายจะได้รับทราบแผนงานในปี งบประมาณ 2553 และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย จาก ผช.ผอ.เฉียดฉัตรโฉมและ ดร.ธีระภาพ  พร้อมการแลกเปลี่ยนและตอบข้อซักถาม  ผลการประชุมจะนำไปสู่การดำเนินงานของศูนย์และเครือข่าย ที่มีคุณภาพต่อไป

ข้อมูลประกอบ
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (สบร.) องค์การมหาชน มีพันธกิจสำคัญประการหนึ่ง คือการเสาะหาและพัฒนาเด็กที่มีความสามารถพิเศษอันสืบเนื่องมาจากสำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาติ (สมพช.) ในปี 2547 และต่อมาได้ควบรวมกับสถาบันวิทยาการเรียนรู้ (สวร.) ในปี 2550 จัดตั้งเป็นสถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้ (สสอน.) โดยในปีงบ ประมาณ 2553  ได้มีการปรับโครงสร้างของหน่วยงานอีกครั้ง  ด้วยการโอนย้ายภารกิจมาเป็นฝ่ายเสาะหา และพัฒนา ผู้มีความสามารถพิเศษ ภายใต้สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา

นับจากนั้นทางสำนักงานอุทยานการเรียนรู้หรือ TK park จึงเริ่มดำเนินการต่อด้วยกรอบแนวคิดสำคัญ คือให้มีการทบทวน ปรับให้เหมาะสมตามความพร้อมและขีดความสามารถ เพื่อเพิ่มศักยภาพและมุ่งผลให้เกิด ประโยชน์แก่สังคมในอนาคตอย่างสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง นำมาสู่การจัดประชุมระดมสมอง ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้มีความสามารถพิเศษในประเทศเพื่อเริ่มพัฒนาภารกิจ ภายใต้หัวข้อ “ทิศทางภารกิจ เสาะหาและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ” จำนวน 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2553 และ 11กุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมา เพื่อทบทวนบทบาทหน้าที่ กำหนดทิศทาง พร้อมทั้งวางนโยบายการส่งเสริมที่ถูกต้อง สำหรับ การพัฒนาภารกิจให้มีประสิทธิภาพในอนาคตอันใกล้

ล่าสุดในวันที่ 4 มิถุนายน 2553 ที่ผ่านมา ทาง TK park ยังได้จัดการประชุมระดมสมองเป็นครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “การปฏิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ” เพื่อรวมรวมประเด็น อาทิ การเฟ้นหา-คัดกรอง การจัดการเรียนรู้และการวัดแววความสามารถ การพัฒนาในระบบการศึกษาปกติและ นอกระบบ และรวมไปถึงการส่งเสริมต่อยอด ฯลฯ ในระดับปฏิบัติการ ตลอดจนพบปะพูดคุยในแง่ของการ สร้างเครือข่ายสำหรับดำเนินงานร่วมกันในอนาคต อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อครู ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้อง ในการ ดำเนินการพัฒนาเด็กกลุ่มนี้ในแต่ละขั้นตอนในภาคปฏิบัติ ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้มีการจัดตั้ง ศูนย์เสาะหา และพัฒนาเด็กที่มีความสามารถในท้องถิ่น (Gifted and Talented Exploring Center: GTX Center) จำนวน 61 แห่ง ใน 40 จังหวัด เพื่อทำหน้าที่หลักในการเสาะหา พัฒนา และส่งเสริมเยาวชน ี่มี แววความสามารถพิเศษ ในพื้นที่ต่างๆ