sianbun on May 08, 2010, 02:08:32 PM
ตรวจค้นซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ไตรมาศแรก รวมมูลค่ากว่า 56.8 ล้านบาท

•   ตำรวจเข้าตรวจค้นจับกุมผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้ออกแบบ สถาปนิก ผู้พัฒนาเกมส์ และบริษัทรับเหมาก่อสร้าง
•   รายใหญ่ที่สุดที่ถูกตรวจค้นจับกุมในไตรมาศนี้คือบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนของรถยนต์ พบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์มูลค่า 13.1 ล้านบาท

   กรุงเทพฯ (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553) – ในไตรมาศแรกของปีนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจค้นจับกุมองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ คิดเป็นมูลค่าซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดกว่า 56.8 ล้านบาท

   เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.) พร้อมด้วยหมายค้นได้เข้าตรวจค้นจับกุมองค์กรธุรกิจในแปดจังหวัดตามพยานหลักฐานที่พบจากการสืบเสาะ ตามที่ได้รับแจ้งเบาะแสและการร้องเรียนจากเจ้าของสิทธิ ซึ่งพบการใช้งานซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์จริง

   การเข้าตรวจค้นซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ครั้งสำคัญที่สุดในไตรมาศนี้คือเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจค้นโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ โรงงานแห่งนี้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จำพวกกระจก หลอดไฟ และอื่นๆ ให้กับบริษัทรถยนต์รายหนึ่ง รายงานของตำรวจระบุว่าชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตโดยโรงงานแห่งนี้เป็นของแท้ แต่ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในโรงงานเป็นซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์มูลค่าราว 13.1 ล้านบาท

    ตัวเลขการเข้าตรวจค้นจับกุมการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในไตรมาศแรกของปีนี้อยู่ในระดับเดียวกับสองปีที่ผ่านมา ในปี 2552 ตำรวจเข้าตรวจค้นจับกุมซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์คิดเป็นมูลค่า 43 ล้านบาท ส่วนในปี 2551 ตำรวจเข้าตรวจค้นจับกุมซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์คิดเป็นมูลค่า 56 ล้านบาท

   ตัวเลขการตรวจค้นจับกุมในช่วงสามปีที่ผ่านมาเป็นที่น่าพอใจ มูลค่าซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่ตรวจพบแตกต่างกันเล็กน้อยเนื่องจากขนาดของบริษัทและประเภทธุรกิจ

   เป้าหมายหลักในการเข้าตรวจค้นการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์คือองค์กรธุรกิจ ข่าวลือที่ว่ามีการเข้าตรวจค้นโรงเรียนและองค์กรสาธารณะอื่นๆ นั้นไม่เป็นความจริง




   “ผลการจับกุมในไตรมาศแรกนี้เน้นย้ำให้เห็นอีกครั้งว่าบริษัทที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และฝ่าฝืนกฎหมายลิขสิทธิ์นั้นเสี่ยงต่อการถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจค้นโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า” นางสาววารุณี  รัชตพัฒนากุล ที่ปรึกษาของกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ประจำประเทศไทยกล่าว “บริษัททุกแห่งในประเทศไทยจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์ บริษัทไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ ดำเนินธุรกิจประเภทใด ตั้งอยู่ส่วนใดของประเทศ หากละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์แล้วเสี่ยงต่อการถูกเข้าตรวจค้นทั้งสิ้น”

      บริษัทต่างๆ ที่ถูกตรวจค้นจับกุมในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในไตรมาศแรกของปี 2553 ประกอบด้วยโรงงานขนาดใหญ่ซึ่งมีฐานลูกค้าอยู่ทั่วโลก บริษัทออกแบบและรับเหมาก่อสร้าง โรงงานผลิตอะไหล่และชิ้นส่วนหลายแห่ง นักพัฒนาเกมส์ บริษัทออกแบบตกแต่งภายใน สำนักงานสถาปนิก รวมทั้งบริษัทออกแบบอนิเมชั่นและกราฟฟิกหลายแห่ง
   
   ผู้ที่รายงานการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ผ่านทางสายด่วนโทร. 02-714-1010 หรือทางเว็บไซต์ มีสิทธิ์ได้รับเงินรางวัลสูงสุดถึง 250,000 บาท ข้อมูลของผู้รายงานจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.stop.in.th
###
เกี่ยวกับบีเอสเอ

สมาชิกบีเอสเอรวมถึง อโดบี, อจิเล้นท์ เทคโนโลยีส์, อัลเตียม, แอปเปิ้ล, อควาโฟล,เออาร์เอ็ม, อาร์ฟิก เทคโนโลยี, ออโต้เดสค์, ออโต้ฟอร์ม, อวีวา, เอวีจี,  เบนลี่ ซิสเต็มส์, ซีเอ,คาเดนส์, ซิสโก้ ซิสเต็มส์,  ซีเอ็นซี/มาสเตอร์แคม, คอเรล,  แดสเซิลท์ ซิสเต็มส์ โซลิดเวิร์คส์ คอร์ปอเรชั่น,  เดลล์, เอ็มบาร์คาเดโร, ฟรอนท์ไลน์ พีซีบี โซลูชั่นส์ – ในเครือบริษัทออร์โบเท็ค  วาเลอร์, เอชพี, ไอบีเอ็ม, อินเทล, อินทุธ, แคสเปอร์สกาย แล็บ,  แมคอาฟี, ไมโครซอฟท์, มินิแท็บ, พาราเม็ทตริกซ์ เทคโนโลยี คอร์เปอเรชั่น,โปรเกรส, ควาร์ค, เควสท์ ซอฟต์แวร์, โรเซ้ตต้า สโตน, เอสเอพี, ซีเมนส์, ไซเบส, ไซแมนเทค,ซินนอปซิส, ไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพร์ส และ เดอะ แมธเวิร์กส์
« Last Edit: May 12, 2010, 02:47:03 PM by sianbun »

sianbun on May 12, 2010, 02:47:26 PM
Raids Recover 56.8 Million Baht worth of Unlicensed Software in First Quarter 

•   In first quarter of 2010, police raid manufacturers, distributors, designers, architects, game developers, construction companies.
•   Automotive parts supplier nabbed with 13.1 million baht of unlicensed software in the biggest raid of the quarter.



BANGKOK (May 10, 2010) – Thai police officers tallied a strong first quarter in enforcement of software intellectual property rights at businesses in Thailand with raids netting 56.8 million baht worth of unlicensed software.

Carrying search warrants based on evidence collected through investigations, anonymous tips and legal complaints from copyright holders, police officers from the Economic Crime Division (ECD) caught businesses in at least eight provinces in the process of using unlicensed, pirated software during the course of the workday.

The most significant software piracy raid of the quarter took place during the latter half of March when police entered the premises of a manufacturing company in Samut Prakan.  The company manufactures mirrors, lamps and other parts for a global automaker.  Reports indicate that the auto parts being made at the plant were genuine.  The total value of the unlicensed software discovered at the plant was 13.1 million baht.
The pace of police raids to protect software intellectual property rights in the first quarter of 2010 was on pace with the two previous years.  In 2009 police raids netted 43 million baht of unlicensed software; in 2008 police raids netted 56 million baht of unlicensed software.

The rate of raids has remained consistently strong in each of the last three years, with the only difference being that the value of unlicensed software found at companies can vary depending on the size and type of business being raided.

Private enterprise is the primary target for software piracy raids.  Police state that claims about software piracy raids at schools or other public organizations are completely inaccurate.

“The results of the first quarter demonstrate once again that companies that use unlicensed software, which is a violation of the Thai Copyright Act, are at risk of unannounced police raids,” said Varunee Ratchatapattanakul, a consultant with the Business Software Alliance (BSA).  “All companies in Thailand must adhere to the Thai Copyright Act.  Companies of all sizes, in a wide variety of industries and a wide variety of locations in Thailand are at risk if they use unlicensed software.” 

Among the types of companies raided for software piracy in the first quarter of 2010 were manufacturers with global client bases, design and building companies, numerous automotive parts and accessories manufacturers, a game developer, interior design companies, architects, trade show exhibit makers and a number of companies involved in animation and graphics.

Those who report the use of unlicensed software by calling 02-714-1010 or by reporting it on line are eligible to receive an award of up to 250,000 Thai Baht.  The identity of the caller is protected.  More information is available online at www.stop.in.th.

About Business Software Alliance
The Business Software Alliance (www.bsa.org) is the foremost organization dedicated to promoting a safe and legal digital world. BSA is the voice of the world's commercial software industry and its hardware partners before governments and in the international marketplace. Its members represent one of the fastest growing industries in the world. BSA programs foster technology innovation through education and policy initiatives that promote copyright protection, cyber security, trade and e-commerce. BSA members include Adobe, Agilent Technologies, Altium, Apple, Aquafold, ARM, Arphic Technology, Autodesk, Autoform, AVEVA, Bentley Systems, CNC/Mastercam, Corel, Dassault Systèmes SolidWorks Corporation, Embarcadero, Frontline PCB Solutions - An Orbotech Valor Company, Microsoft, Minitab, NedGraphics, Parametric Technology Corporation, Progress, Quest Software, Scalable Software, Siemens, Sybase, Symantec, Tekla, Thai Software Enterprise and The MathWorks.