sianbun on May 08, 2010, 02:20:24 PM
หน่วยงานด้านซอฟต์แวร์ไทยสมควรได้รับความชื่นชม สำหรับความพยายามในการผลักดันอุตสาหกรรมแม้ในภาวะวิกฤต

โดย สมพร มณีรัตนะกูล



กรุงเทพ, วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 – เป็นเรื่องที่ต้องแสดงความชื่นชมต่อหน่วยงานด้านซอฟต์แวร์ไทยทั้งหมด ที่ได้พยายามสนับสนุนผลักดันอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในภาวะที่ยากลำบากเช่นนี้ของประเทศไทย การที่หน่วยงานและสมาคมต่างๆ ตระหนักว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ต้องการการสนับสนุนแม้ในภาวะวิกฤตทางการเมือง เป็นการสร้างแรงกระตุ้นที่สำคัญให้แก่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์

เมื่อเร็วๆ นี้ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือ ซอฟต์แวร์พาร์ค ได้ประกาศที่จะจัดการประชุมสุดยอดซอฟต์แวร์กรุงเทพ 2553 (Bangkok Software Summit 2010) หรือ บีเอสเอส 2010 ขึ้น ซึ่งนับเป็นสัญญาณที่บอกว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยกำลังมุ่งเน้นไปที่การแข่งขันของอุตสาหกรรมในระยะยาว บีเอสเอส 2010 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-22 กันยายน ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีตัวแทนจากสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) สมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (TSEP) สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย  (TACGA) และศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) และอื่นๆ ร่วมงานด้วย

หน่วยงานและสมาคมต่างๆ ในอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ไทย อาจใช้ภาวะผันผวนทางการเมืองในปัจจุบันเป็นข้ออ้างในการอยู่เฉยๆ เพื่อรอดูสถานการณ์และไม่ลงมือทำอะไรเลยก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว หน่วยงานและสมาคมซอฟต์แวร์ต่างๆ ตระหนักดีว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นหนึ่งในความหวังสูงสุดของประเทศในการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างงาน ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สามารถสร้างธุรกิจขนาดใหญ่ได้ในเวลาอันรวดเร็ว อย่างเช่นการเติบโตแบบก้าวกระโดดจากผู้ประกอบการเล็กๆ ที่ใช้บ้านเป็นที่ทำงาน ไปสู่บริษัทจดทะเบียนที่      สร้างงานสร้างรายได้เพียงแค่ในเวลาไม่กี่ปี

เมื่อเข้าใจถึงจุดนี้ดีแล้วจะเห็นว่า เรายังจำเป็นต้องสร้างแรงกดดันให้กับผู้ที่ท้าทายกับกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยต่อไป เราต้องไม่ยอมปล่อยให้ปัญหาทางการเมืองมาขัดขวางการดำเนินการเพื่อลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคมที่ผ่านมามีการเปิดเผยผลการศึกษาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทั่วโลกซึ่งปรากฎว่าอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยลดลงหนึ่งจุดในปีพ.ศ. 2552 โดยเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่สาม ทำให้อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 75 อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สมควรยินดีกับความพยายามของกรมทรัพย์สินทางปัญญาและตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ดี ความพยายามลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์จำเป็นต้องดำเนินต่อไปแม้ในสภาวะทางการเมืองเช่นนี้ จนกว่าอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ของประเทศไทยจะเทียบเคียงได้กับอัตราเฉลี่ยของการละเมิดลิขสิทธิ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคที่ร้อยละ 59 เป็นอย่างน้อย

ข้อเท็จจริงที่ว่าการละเมิดลิขสิทธิ์มีผลกระทบต่อผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไทยมากพอๆ กับบริษัทซอฟท์แวร์ต่างประเทศเลยทีเดียวนั้นไม่ใคร่เป็นที่รับรู้กันนัก ในขณะที่ผู้พัฒนาต่างประเทศมีตลาดอื่นรองรับ แต่ผู้พัฒนาไทยนั้นมีเพียงตลาดในประเทศไทยที่ซึ่งสินค้า ร้อยละ 75 หรือมากกว่า       ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ นับเป็นความยากลำบากที่กระทบต่อเหล่าผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยเป็นอย่างมาก

ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมบางคนเรียกร้องให้มีการรณรงค์ เพื่อส่งเสริมซอฟต์แวร์ที่ผลิตในประเทศไทย ในฐานะที่ผมเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไทย ผมซาบซึ้งในความตั้งใจดีนี้เป็นอย่างยิ่ง      แต่ผมยังข้องใจว่าการรณรงค์ให้ใช้ “ซอฟต์แวร์ที่ผลิตในประเทศไทย” นี้จะมีประสิทธิผลเพียงใด ในเมื่อมีซอฟท์แวร์เถื่อนทุกชนิดมีวางขายพร้อมให้ใช้อยู่กลาดเกลื่อน เห็นได้ชัดว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยมิอาจเฟื่องฟูจนกว่าเราจะควบคุมการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ได้

น่าเสียดายที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศไทยต้องทำงานในภาวะวิกฤตจนกลายเป็นเรื่องปกติ แต่ผมมั่นใจว่าวิกฤตการณ์นี้จะจบสิ้นลงแน่ในวันหนึ่ง และประเทศไทยจะกลับมาเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและขับเคลื่อนได้อย่างอิสระที่สุดในเอเชีย ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อม

ผู้ประกอบการและผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ย่อมต้องการความมั่นใจว่า มีการปกป้องสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อที่พวกเขาจะได้คิดค้นนวัตกรรม เริ่มต้นธุรกิจ สร้างงาน และ   สักวันหนึ่งอาจสร้างผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงได้ การบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาด้านซอฟต์แวร์จะช่วยค้ำจุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไว้ได้แม้ในภาวะวิกฤต

ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองล่าสุด เป็นปัญหาใหญ่ต่อความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อยู่แล้ว ฉะนั้นผลเสียเพิ่มเติมที่เกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์จึงเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ การศึกษาร่วมของบีเอสเอและไอดีซีเมื่อปีพ.ศ. 2551     ถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์พบว่า หากลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลงได้สิบจุดในช่วงสี่ปีข้างหน้าจะทำให้เกิดการจ้างงานใหม่คุณภาพสูง 2,100 งาน และก่อให้เกิดรายได้ 33,000 ล้านบาท นอกจากนี้การศึกษายังประเมินว่าในการขายซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกๆ 100 บาท จะก่อให้เกิดรายได้อื่นๆ แก่บริษัทผู้ให้บริการและจัดจำหน่ายในท้องถิ่นอีกราว 300 - 400 บาท บริษัทท้องถิ่นเหล่านี้จ่ายภาษีเงินได้ให้แก่รัฐ ทั้งยังเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย

อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเพิ่งฟื้นตัว จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกที่รุนแรงที่สุดในรอบยี่สิบปีมาได้ไม่นาน และตอนนี้กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตทางการเมือง รัฐบาลไทยและผู้นำอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ยังต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ภาคธุรกิจและผู้บริโภคตระหนักถึงความเสี่ยงที่  เกิดจากการฝ่าฝืนกฎหมายลิขสิทธิ์ ตลอดจนผลกระทบที่แท้จริงที่การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มีต่อเศรษฐกิจไทย เมื่อประเทศไทยหลุดพ้นจากวิกฤตทางการเมืองนี้ เราต้องมั่นใจว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของเรายังคงมีความสามารถในการแข่งขันได้ในภูมิภาค และเพื่อให้บรรจุถึงจุดนี้เราจำเป็นต้องให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในช่วงเวลาแห่งความยุ่งยากนี้ต่อไป
   
สมพร  มณีรัตนะกูล ดำรงตำแหน่งอุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย และกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ไทยที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2541)
« Last Edit: May 12, 2010, 02:08:58 PM by sianbun »

sianbun on May 12, 2010, 02:04:56 PM
Thai Software Associations Deserve Credit  for Pushing Ahead in Time of Crisis

By Somporn  Maneeratanakul

BANGKOK, May 12, 2010 - The various Thai software associations should be congratulated for pushing ahead with efforts to support the software industry during this difficult time in Thailand.  Their recognition that the software industry needs support now, despite political issues, is providing the software industry with an important dose of optimism at this difficult time.
Software Park’s recent announcement to organize the Bangkok Software Summit 2010 (BSS 2010) is a sign that the Thai software industry is keeping its eye on the long-term competitiveness of the industry.  BSS 2010, to be held on 21-22 September at the Queen Sirikit National Convention Center, will include representatives from the Association of Thai ICT Industry (ATCI), the Association of Thai Software Industry (ATSI), the Thai Software Export Promotion Agency (TSEP), the Thailand Animation & Computer Graphics Association (TACGA), and the Technology Management Center (TMC).
It would be easy for the stakeholders in the Thai software industry to use the political turmoil in Thailand as an excuse to sit back and wait.
But the reality is that the software industry is one of Thailand’s best hopes for sustainable economic growth and job creation.   Software developers have a remarkable ability to create large businesses fast — making a leap from a couple of entrepreneurs working from home to a legitimate, revenue and job-creating company in a few short years.
With this in mind, we must also continue applying pressure against those who flout Thailand’s copyright laws.  We cannot allow political issues to hamper in any way the momentum Thailand has generated in reducing its software piracy rate.
On May 11, the Global Software Piracy Study revealed that Thailand’s software piracy rate fell by one percent in 2009.  This is the third consecutive year in which piracy rates have fallen, and the national software piracy rate now stands at 75 percent.  The Department of Intellectual Property and the Economic Crime Police (ECD) deserve appreciation from the software industry for their efforts.


But these efforts to reduce software piracy must continue, despite the political climate, until Thailand’s piracy rate is at least on par with the average rate of piracy in Asia-Pacific at 59 percent.   
It is a little known fact that software piracy has just as much impact on Thai software developers as it does on international software companies.  While international developers have other markets in which to off-set the theft of their intellectual property rights, Thai developers are left with a domestic market in which 75 percent or more of their products are stolen.  Not only that, but Thai software developers also have to compete against pirated products.  This is a recipe for extreme hardship, and has crippled more than a fair share of Thai software start-ups.
Some industry experts call for campaigns designed to promote software made in Thailand.  As a local software developer myself, I greatly appreciate these good intentions. But I also seriously question how effective a “made in Thailand” campaign can be when pirated software of all types and origins is so readily available.  The fact is that Thailand’s home-grown software industry will not prosper until we have software piracy under control.
Working in a state of crisis has, unfortunately, become the norm for software developers in Thailand.  But it is certain that one day this crisis will end, and that Thailand will once again take its place among the most dynamic, free-wheeling economies in Asia. When we emerge, stronger and better, we need to be ready.
Inspired software developers and entrepreneurs must be ensured that effective protection and enforcement of the intellectual property rights are in place for them to innovate, start businesses, create jobs and, hopefully one day, build highly successful software products.  Upholding software IP laws will help to sustain the software industry in times of crisis.
The economic impact of the latest political crisis is a major challenge for the health of the software industry; the added burden of piracy should not be accepted.  A 2008 BSA/IDC study looking at the economic impacts of piracy found that lowering software piracy by ten percentage points over four years could create 2,100 new high-quality jobs and 33 billion baht in software industry revenues.  In addition, IDC estimates that for every dollar of legitimate software sold in a country, there are another $3-$4 of revenue for local service and distribution firms.  These local firms generate tax revenue for governments, and are a source of pride for their own nations.
The Thai software industry just recovered from the most severe global economic recession in twenty years, and now finds the economy damaged by political unrest. As


an antidote, the Thai government and software industry leaders must continue to engage with businesses and consumers about the risks of violating copyright laws for software – and the true impact that software piracy has on Thailand’s economy.  When Thailand emerges from this political crisis, we need to make sure that our software industry stays competitive in the region.  To achieve this, we need to continue to support the industry in these challenging times.
   
(Somporn Maneeratanakul is Vice President of the Association of Thai Software Industry and  Managing Director of Thai Software Enterprise Co., Ltd., a Thai software company founded in 1998.)