sianbun on March 27, 2009, 06:03:16 PM
เทคโนโลยีของไอบีเอ็มจะช่วยองค์กรธุรกิจฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจได้อย่างไร
โดย ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจคอมพิวเตอร์
บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด

ในสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน องค์กรธุรกิจจำต้องเผชิญกับความท้าทายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความท้าทายด้านเศรษฐกิจที่องค์กรธุรกิจต่าง ๆ จำต้องเอาชนะ ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายหรือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร เพื่อความอยู่รอดรวมทั้งเอาชนะคู่แข่งด้วยในเวลาเดียวกัน หรือ แม้กระทั่งความท้าทายในยุคที่โลก “ฉลาดขึ้น” และ “แบนลง” เมื่อโลกทั้งใบถูกเชื่อมโยงเป็นผืนเดียวกันด้วยความเก่งกาจของเทคโนโลยีปัจจุบันที่พวกเราทุกคนถูกเชื่อมโยงเกี่ยวข้องถึงกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือทางเทคโนโลยี อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ด้วยความท้าทายต่าง ๆ และปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวนี้เอง ทำให้องค์กรธุรกิจเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการจัดการโครงสร้างไอทีขององค์กรให้รองรับการปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นเพื่อรองรับกับความท้าทายและความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่มีอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น

ความจำเป็นในการลดค่าใช้จ่าย (Reduce Cost) โครงสร้างไอทียุคใหม่ นอกจากจะต้องช่วยองค์กรลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายทางด้านการปฏิบัติงานแล้ว ยังต้องช่วยองค์กรเพิ่มผลผลิต โดยดึงประโยชน์จากเทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น เวอร์ช่วลไลเซชั่น ระบบการจัดการพลังงานขั้นสูง หรือ วิธีบริหารจัดการเพิ่มขีดความสามารถของระบบไอทีในองค์กร เป็นต้น
ความจำเป็นในการบริหารจัดการความเสี่ยง (Manage Risk) โครงสร้างไอทีในยุคปัจจุบัน ต้องทำได้มากกว่าเพียงการจัดการระบบรักษาความปลอดภัยของระบบไอทีในองค์กร เพื่อให้การทำงานราบรื่น ปราศจากการหยุดชะงักแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องสามารถรองรับความท้าทายและภัยคุกคามใหม่ ๆ ซึ่งมีผลมาจากการที่โลก “ฉลาดขึ้น” และ “เชื่อมโยงกันมากขึ้น” อีกด้วย
ความจำเป็นในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการลูกค้า (Improve Service) โครงสร้างทางด้านไอทีที่ยืดหยุ่น ไม่เพียงแต่จะช่วยสนับสนุนระยะเวลาและคุณภาพในการให้บริการให้เพียงพอและดีขึ้นเท่านั้น โครงสร้างดังกล่าวยังต้องช่วยสนับสนุนการบริการลูกค้าให้ทำได้อย่างรวดเร็วขึ้น และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันเวลา รวมทั้งเอื้อให้ระบบสามารถปรับเปลี่ยนบริการได้ตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ภายใต้แนวทางการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างไอทีเพื่อรับมือกับความท้าทายและสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน องค์กรอาจต้องพิจารณาในรายละเอียดกับเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

การบริหารจัดการการใช้พลังงาน โดยใช้เทคโนโลยี ‘สีเขียว’ (Energy Efficiency) ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าว ช่วยองค์กรบริหารจัดการการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทางตรง ขณะเดียวกันก็ช่วยลดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทางอ้อม ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งทางด้านไอทีและในเชิงธุรกิจขององค์กร
เทคโนโลยีเสมือน หรือ เวอร์ช่วลไลเซชั่น (Virtualization) เทคโนโลยีที่ช่วยให้ระบบไอทีสามารถทำงานได้มากขึ้น เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้นบนโครงสร้างไอทีที่มีอยู่เดิม ประโยชน์ของเทคโนโลยีเสมือนหรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีการควบรวมระบบ (Virtualization and Consolidation) นอกจากจะช่วยให้องค์กรลดค่าใช้จ่ายแล้ว  ยังมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานในทรัพยากรของระบบไอที และทำให้องค์กรธุรกิจได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่กับงานหรือบริการใหม่ ๆ ที่อาจเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต เป็นต้น
การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย (Security)  โครงสร้างไอทีที่ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ นอกจากจะต้องช่วยองค์กรรับมือกับความท้าทายและภัยคุกคามต่าง ๆ รอบด้านแล้ว ยังต้องสนับสนุนการทำงานที่ถูกต้องตามกฏระเบียบต่าง ๆ หรือข้อบังคับใหม่ ๆ ที่จะมีขึ้นอีกด้วย
การดำเนินธุรกิจที่ราบรื่น (Business Resiliency) โครงสร้างทางไอทีที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องช่วยให้การดำเนินธุรกิจทำได้อย่างราบรื่น ปราศจากการหยุดชะงัก ขณะเดียวกัน ต้องเอื้อให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ หรือรับมือกับความเสี่ยงและภัยคุกคามต่าง ๆ ได้อย่างฉับไว ทันเหตุการณ์
โครงสร้างการจัดการข้อมูล (Information Infrastructure) โครงสร้างไอทีที่ยืดหยุ่น ช่วยสนับสนุนการใช้ข้อมูลต่าง ๆ ในธุรกิจ ให้มีประสิทธิภาพ และเอื้อให้องค์กรมีความพร้อมตลอดเวลากับการปฏิบัติตามกฏระเบียบต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งนโยบายด้านการจัดการความปลอดภัยในระบบไอทีขององค์กรเอง เป็นต้น
 
ไอบีเอ็มมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนแนวคิดทางด้านโครงสร้างไอทีที่ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ (Dynamic Infrastructure) อย่างเต็มรูปแบบและครบวงจร เทคโนโลยีดังกล่าว นอกจากจะช่วยให้องค์กรธุรกิจฝ่าฟันอุปสรรคทางด้านเศรษฐกิจในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่าย เพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจ ช่วยเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในการทำงานแล้ว ยังมีส่วนช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรในทางอ้อมต่อการรับมือกับความท้าทายทั้งในปัจจุบันและอนาคตอีกด้วย

ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ครองอันดับ 1
ด้านรายได้ในตลาดเซิร์ฟเวอร์ ปี 2551
นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังครองอันดับ 1 ในด้านรายได้ของตลาดเซิร์ฟเวอร์ทั้งภูมิภาคอาเซียน ใน ปี 2551 อีกด้วย

กรุงเทพฯ...26 มีนาคม 2552:  บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ประกาศความเป็นผู้นำทางด้านรายได้ของตลาดเซิร์ฟเวอร์ ในประเทศไทย ในปี 2551 ทั้งปี และไตรมาส 4 ปี 2551  จากรายงานของไอดีซี เอเชีย แปซิฟิก เอ็นเตอร์ไพรส์ เซิร์ฟเวอร์ แทรกเกอร์ ไตรมาส 4 ปี 2551 (กุมภาพันธ์ 2552) ไอบีเอ็มมีจุดที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ครองอันดับหนี่งในด้านรายได้ของตลาดเซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทยของปี 2551 ด้วยส่วนแบ่งตลาด 38% รวมทั้งยังเป็นผู้นำในด้านรายได้ของธุรกิจเซิร์ฟเวอร์ระดับสูง (High End Enterprise) กลุ่มยูนิกซ์ (Non-x86) และ กลุ่มลินึกซ์ (Linux) ในประเทศไทย
นอกจากนั้น สำหรับไตรมาส 4 ปี 2551 ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ยังครองอันดับหนึ่งในด้านรายได้ของธุรกิจ เซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทย ด้วยส่วนแบ่งตลาด 40.4% ไอบีเอ็มยังเป็นผู้นำในด้านรายได้ของตลาดเซิร์ฟเวอร์
กลุ่มเอ็กซ์ 86 (x86) ยูนิกซ์ (Non-x86) ลินึกซ์ (Linux) และกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ระดับล่าง (Volume Server) 
นอกจากความเป็นผู้นำในตลาดเซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทยแล้ว ไอบีเอ็มยังครองความเป็นผู้นำในด้าน รายได้ของตลาดเซิร์ฟเวอร์ ทั้งภูมิภาคอาเซียน ด้วยส่วนแบ่งตลาด 37.8% ในปี 2551 และ 41.9%
ในไตรมาส 4 ของปี 2551 อีกด้วย 

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจคอมพิวเตอร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า  “ความสำเร็จของผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์ของไอบีเอ็มทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ท่ามกลางสภาวะ การแข่งขันอย่างรุนแรงในธุรกิจไอทีรวมทั้งสภาพเศรษฐกิจถดถอยในช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นเครื่องยืนยันความ เชื่อมั่นของลูกค้าต่อคุณภาพของสินค้าและบริการของไอบีเอ็ม” นอกจากนั้น นายธนพงษ์ ยังกล่าวเสริมอีกว่า “ความสำเร็จ
ดังกล่าว เป็นผลมาจากความมุ่งมั่นที่ไอบีเอ็มทุ่มเทเพื่อความสำเร็จและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นที่ตั้ง ไอบีเอ็มขอขอบคุณ กับความไว้วางใจที่ลูกค้ามอบให้อย่างต่อเนื่องและจะมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น ๆ ต่อไป”

กันตนาผู้นำอุตสาหกรรมบันเทิงมั่นใจเลือกใช้ระบบ IBM Scale-out File Services (SoFS)รายแรกในอาเซียน เพื่อยกระดับการจัดเก็บข้อมูลในงานแอนนิเมชั่น

บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทผู้ผลิตสื่อบันเทิงที่ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมบันเทิง ตลอดระยะเวลา 56 ปีที่อยู่คู่คนไทย กันตนาได้สร้างสรรค์ความบันเทิงหลากหลายประเภท อาทิ ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา สารคดี รายการแนว Reality show และภาพยนตร์ทรีดีแอนนิเมชั่นเรื่องแรกของไทย ”ก้านกล้วย” ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ชมชาวไทย และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากโดยได้รับรางวัลทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ

จากจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมแอนนิเมชั่นในประเทศ กันตนาเล็งเห็นว่านอกเหนือจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิคที่นำมาใช้ในงานแอนนิเมชั่นซึ่งถือเป็นเครื่องมือส่วนหน้าแล้ว ระบบไอทีซึ่งถือเป็นเครื่องมือส่วนหลังที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลก็มีความสำคัญที่จะขยายขีดความสามารถของทีมงานให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานให้มีคุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ ทางกันตนาจึงตัดสินใจนำโซลูชั่น IBM Scale-out File Services (SoFS) มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูล

กันตนาผู้บุกเบิกการใช้นวตกรรมการจัดเก็บข้อมูลเพื่อธุรกิจแอนนิเมชั่น   

   แม้จะประสบความสำเร็จอย่างล้มหลามจากภาพยนตร์ทรีดีแอนนิเมชั่นเรื่องแรกของไทยที่ได้รับการสร้างสรรค์จากทีมงานระดับมืออาชีพของบริษัท กันตนาไม่หยุดความคิดในการขยายขีดความสามารถไว้เพียงแค่นี้ บริษัทตระหนักดีว่าสิ่งจำเป็นสำหรับภาพยนตร์แอนนิเมชั่นที่มีคุณภาพคือความสวยงามของทุกองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็น ตัวละคร ฉาก แสง มุมกล้อง ดังนั้นนอกจากทีมงานจะได้ใช้พลังแห่งจินตนาการในการสร้างสรรค์งานภาพยนตร์แล้ว ยังต้องทำการตรวจสอบภาพที่สร้างขึ้นมาหลายต่อหลายครั้งเพื่อแก้ไข และปรับปรุงองค์ประกอบเหล่านั้นให้มีความสวยงามมากที่สุด ด้วยเหตุผลดังกล่าว กันตนาจึงตัดสินใจเลือกใช้โซลูชั่น IBM Scale-out File Services (SoFS) ซึ่งเป็นโซลูชั่นในการจัดเก็บข้อมูลแบบครบวงจรซึ่งจะช่วยให้เกิดการจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ สามารถจัดการบริหารข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นตามการเติบโตของธุรกิจแอนนิเมชั่นของกันตนา นอกจากนี้ IBM Scale-out File Services (SoFS) ยังเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์งานของกันตนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เพราะ IBM Scale-out File Services
(SoFS) จะช่วยให้เกิดการประมวลผลชิ้นงานได้อย่างรวดเร็ว 

   นางอัจฉรา กิจกัญจนาสน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันตนา แอนนิเมชั่น สตูดิโอ จำกัด กล่าวว่า “กันตนา ได้นำโซลูชั่น IBM Scale-out File Services (SoFS) มาใช้เพื่อสร้างระบบการจัดเก็บข้อมูลส่วนกลางให้กับทีมงานแอนิเมชั่น ซึ่งทำให้ทุกคนสามารถเก็บงานในส่วนของตนเองเอาไว้ในฐานข้อมูลส่วนกลางโดยเก็บข้อมูลไว้ในทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้ทีมงานคนอื่นๆ สามารถเข้าถึงตัวงานได้ง่าย และสามารถนำงานชิ้นนั้นมาพัฒนาต่อยอดให้เป็นผลงานที่สมบูรณ์ต่อไปได้ เหตุผลที่กันตนาเลือกใช้โซลูชั่นของไอบีเอ็ม ก็เพราะบริษัทฯต้องการระบบจัดเก็บข้อมูลประสิทธิภาพสูง เพื่อสนับสนุนการจัดการบริหาร รองรับการเติบโตทางด้านธุรกิจแอนนิเมชั่นของบริษัทฯ และเพิ่มขีดความสามารถของทีมงานให้สามารถสร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพมากขึ้น ทางกันตนาจึงได้ปรึกษากับไอบีเอ็มเพื่อให้จัดหาโซลูชั่นที่เหมาะสม และใช้เวลาในการศึกษาโซลูชั่น IBM Scale-out File Services (SoFS) เป็นเวลานานถึง 18 เดือน จนมั่นใจว่า IBM Scale-out File Services (SoFS) คือ โซลูชั่นที่ตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้”   

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจคอมพิวเตอร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า  “เหตุผลที่กันตนาไว้วางใจให้ไอบีเอ็มเป็นผู้ติดตั้งโซลูชั่น IBM Scale-out File Services (SoFS) เพื่อจัดเก็บข้อมูลในงานแอนนิเมชั่นครั้งนี้ เนื่องจากกันตนาเชื่อมั่นว่า ไอบีเอ็มคือผู้นำทางเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมบันเทิงอย่างแท้จริง ผู้เชี่ยวชาญของเราได้มีส่วนช่วยให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา และเปิดโอกาสให้ทีมงานด้านเทคนิคของกันตนาทดสอบประสิทธิภาพของ IBM Scale-out File Services (SoFS) ก่อนการตัดสินใจ นอกจากนี้ เรามีทีมช่างเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญ และพร้อมให้บริการแก่กันตนาทุกเวลา อีกทั้งยังมีเซิร์ฟเวอร์สำรองที่พร้อมติดตั้ง และทำงานได้ทันทีในช่วงที่เซิร์ฟเวอร์ที่มีอยู่เดิมต้องประมวลผลงานแอนนิเมชั่นจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่กันตนาว่า ไอบีเอ็มคือพันธมิตรทางธุรกิจที่ตั้งใจจะเป็นส่วนหนี่งในความสำเร็จของกันตนาในระยะยาว”

IBM Scale-out File Services (SoFS) โซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลแบบครบวงจร

   IBM Scale-out File Services (SoFS) เป็นโซลูชั่นได้รับการออกแบบมาเพื่อการจัดเก็บข้อมูลสำหรับธุรกิจทุกประเภทที่จำเป็นต้องบริหารไฟล์ข้อมูลจำนวนมาก เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและพัฒนา (R&D) ธุรกิจโทรคมนาคม สถานีโทรทัศน์ และผู้ผลิตสื่อต่างๆ เช่นกันตนา เป็นต้น โดยมีความโดดเด่นด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ และมีความยืดหยุ่นในการใช้งานเพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งานเหล่านี้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถบริหารจัดการข้อมูลได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลาและช่วยลดต้นทุน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของ IBM Scale-out File Services (SoFS) สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ http://www-935.ibm.com/services/us/its/html/sofs-landing.html

เกี่ยวกับกันตนา กรุ๊ป
         
บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจผลิตสื่อบันเทิงที่ได้รับการยอมรับในแวดวงบันเทิงเมืองไทย กันตนาก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2494 โดยนายประดิษฐ์ กัลย์จาฤก และนางสมสุข กัลย์จาฤก โดยเริ่มจากคณะละครวิทยุกันตนา ในปี พ.ศ.2501 กันตนาเริ่มต้นการสร้างละครโทรทัศน์ให้กับสถานีโทรทัศน์ ช่อง 7 (ในปัจจุบันคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5) ด้วยเรื่อง “หญิงก็มีหัวใจ” จากจุดเริ่มต้นของละครเรื่องแรกในวันนั้น กันตนาได้สร้างสรรค์งานด้านบันเทิงต่างๆ ออกมาอีกมากมายทั้งละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา สารคดี และรายการโทรทัศน์รูปแบบอื่นๆ

ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจของ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย 4 กลุ่มธุรกิจ นั่นคือ ธุรกิจรายการโทรทัศน์ ธุรกิจภาพยนตร์ ธุรกิจบริการขั้นตอนหลังการถ่าย และธุรกิจการศึกษาและภาครัฐสัมพันธ์ โดยมีบริษัทในเครือเป็นจำนวนมาก อาทิ บริษัท กันตนา มูฟวี่ทาวน์ (2002) จำกัด บริษัท สาระดี จำกัด บริษัท กันตนา แลบบอราทอรี่ส์ จำกัด บริษัท กันตนา โมชั่น พิคเจอร์ จำกัด บริษัท โอเรียนทัล โพสต์ จำกัด บริษัท กันตนา แอนนิเมชั่น สตูดิโอ จำกัด บริษัท กันตนา เอ็ดดูเทนเม้นท์ (อินเตอร์เนชั่นแนล) จำกัด บริษัท กันตนา ออร์กาไนเซอร์ แอนด์เมเนจเมนท์ จำกัด เป็นต้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ http://www.kantana.com