sianbun on March 10, 2010, 01:52:03 PM
ภาคอุตสาหกรรมไอที รากฐานหนึ่งที่สำคัญสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทย
โดย วารุณี  รัชตพัฒนากุล

   กรุงเทพ (วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553) – ดิฉันรู้สึกได้ถึงแรงบันดาลใจที่ได้รับจากการเข้าร่วมงานสัมมนา ในหัวข้อ “Northern Thailand’s Creative Economy: Opportunities and Challenges in IT Sector” ที่จัดขึ้นโดยสถานกงสุลใหญ่แห่งสหรัฐอเมริกา ประจำจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อสองสัปดาห์ก่อน แรงบันดาลใจที่ได้รับจากการพบปะกับผู้คนมากมายในแวดวงไอทีที่เปี่ยมไปด้วยความปราถนาอย่างแรงกล้าในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย    อันที่จริงแล้วมีภาคอุตสาหกรรมไอที เป็นรากฐานหนึ่งที่สำคัญ ที่จะผลักดันให้เติบโตต่อไป

   ท่านผู้ทรงคุณวุฒิที่มีวิสัยทัศน์เหล่านั้น ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีภาคอุตสาหกรรมไอทีที่แข็งแกร่งและก้าวล้ำนำหน้า หากต้องการประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจในระดับโลก อย่างเช่นที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจไทยหลายท่านได้เคยกล่าวไว้ว่า ภาคอุตสาหกรรมไอทีเป็นความหวังอย่างหนึ่งของประเทศ ในภาวะที่กำลังเผชิญกับปัญหาต่างๆ มากมาย อันเกิดจากการเป็นประเทศที่พึ่งพาภาคเกษตรกรรมและภาคการผลิตเป็นหลักมาช้านาน อย่างเช่นที่ปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อันที่จริงแล้วนั้น นอกจากงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง ที่รัฐบาลจัดสรรให้กับภาคอุตสาหกรรมไอที รวมถึงการใช้จ่ายเงินภายใต้โครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ คือ การสร้างให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมไอทีอย่างแข็งแกร่งและก้าวล้ำนำหน้า

   สิ่งสำคัญลำดับแรก และดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เห็นจะได้แก่ การที่ประเทศไทยจะต้องทำให้ผู้สร้างสรรค์งานหรือผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมใหม่ รวมถึงที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ในภาคอุตสาหกรรมไอที แน่ใจได้ว่า ทรัพย์สินทางปัญญาของพวกเขาจะได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ และพวกเขาสามารถบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพราะพวกเขาเหล่านี้เป็นผู้สร้างสรรค์งานหรือผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมใหม่ พวกเขาเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจที่ทำให้เกิดการจ้างงาน และในวันหนึ่งข้างหน้า พวกเขาเหล่านี้จะเป็นความหวังให้แก่ประเทศไทยในการทำให้ภาคอุตสาหกรรมไอทีเติบโตอย่างแข็งแกร่งและก้าวล้ำนำหน้า   

   ผู้เข้าร่วมงานสัมมนาบางท่านมีไอเดียดีๆ ที่สามารถเปลี่ยนให้เป็นงานสร้างสรรค์หรือผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมใหม่ๆ มานำเสนอมากมาย สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของพวกเขาสมควรได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ รวมถึงการที่พวกเขาสามารถบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการพัฒนานำพานวัตกรรมใหม่ อันจะช่วยให้รัฐบาลไทยบรรลุเป้าหมายในการผลักดันให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีมูลค่าคิดเป็นร้อยละ 20 ของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ภายในปี 2555 การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเต็มที่ และความสามารถในการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรากฐานที่สำคัญหนึ่งที่จะรองรับความคิดสร้างสรรค์ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร หากปราศจากรากฐานที่สำคัญดังกล่าวนี้ ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบระดับพื้นฐานที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรมไอที พัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น ภายใต้การทำงานอย่างมุ่งมั่นและแข็งขันของ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.) ภายใต้กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง    สำนักงานอัยการ และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

      นอกจากการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไอทีให้แข็งแกร่ง และก้าวล้ำนำหน้าได้ หนึ่งในปัจจัยเหล่านั้น คือ เรื่องความปลอดภัยของข้อมูล (Information Security) บนโลก          ไซเบอร์ โดยปัจจัยดังกล่าวมีการกล่าวถึงในงานสัมมนาที่เชียงใหม่ในครั้งนี้ด้วย เรื่องความปลอดภัยของข้อมูล (Information Security) อาจจะกลายเป็นโอกาสที่ดีสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องที่จะใช้เป็นโอกาสในการแสดงผลงาน อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกันเรื่องนี้นับได้ว่าเป็นความท้าทายอีกอย่างหนึ่งด้วย เนื่องจากองค์กรธุรกิจต่างๆ รวมถึงหน่วยงานของรัฐเอง กำลังถูกโจมตีโดย     อาชญากรไซเบอร์ในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงนโยบายเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลในเดือนมีนาคมศกนี้ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือซิป้า เป็นต้น อาจถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่จะแสดงให้ประเทศต่างๆ เห็นว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (Information Security) ในลำดับต้นๆ เพื่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไอที และการสนับสนุนเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ นอกเหนือจากการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แบบวางตัวเป็นกลาง โดยส่งเสริมทั้งซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส (Open Source Software) และซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ (Commercial Software) ไปพร้อมๆ กัน และเท่าเทียมกัน แทนที่จะมุ่งส่งเสริมเฉพาะซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สเพียงอย่างเดียว

   หลังจากที่ดิฉันได้ใช้เวลาสองวันร่วมงานสัมมนาที่เชียงใหม่ในครั้งนี้ สิ่งที่เห็นชัดที่สุด คือภาคอุตสาหกรรมไอที ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบระดับพื้นฐานที่สำคัญสามองค์ประกอบ ได้แก่ทรัพยากรบุคคล (Human Resources) ซอฟต์แวร์ (Software) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ควรได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน การศึกษา นโยบาย หรือการคุ้มครองด้านกฎหมาย เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมไอทีเติบโตแข็งแกร่งและก้าวล้ำนำหน้า นำมาซึ่งความสะดวกสบายให้แก่ผู้คน ทำให้เกิดการจ้างงานในตลาดแรงงาน และเป็นรากฐานหนึ่งที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้อย่างรวดเร็วเพียงชั่วพริบตา ถึงเวลานี้นับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญอีกช่วงหนึ่งสำหรับประเทศไทยแล้ว
 
(วารุณี รัชตพัฒนากุล ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำประเทศไทย กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือบีเอสเอ การประชุมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ภาคเหนือประเทศไทยจัดขึ้นโดยสถานกงสุลใหญ่แห่งสหรัฐอเมริกา ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับองค์กรความร่วมมือต่างๆ ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ  หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

sianbun on March 10, 2010, 01:52:37 PM
The Take Away from the Creative Economy Conference in Chang Mai:IT and Software are Among Thailand’s Best Hopes for Sustainable Growth By Varunee Ratchatapattanakul

BANGKOK, March 9, 2010—It was inspiring to be surrounded by so many people with a passion for information technologies and innovations at Northern Thailand’s Creative Economy – Opportunities and Challenges in the IT Sector - organized by the U.S. consulate here last week.  This suggests that Thailand’s Creative Economy truly has a foundation for growth.

Among those with an eye to the future, there is nearly unanimous consensus that Thailand needs an innovative information technology industry to succeed in a global economy and, according to keen observers of the Thai economy, to be one of Thailand’s best hopes as the country is facing critical issues; for example, those at the Map Ta Phut Industrial Park, from being the agriculture- and manufacturing-based economy. Indeed, providing the country’s IT sector with the environment it needs to succeed, in addition to Thai Khem Khaeng stimulus package and creative economy spending, is a proven recipe for economic success. 

First and foremost, with all of its recent investments in the Creative Economy, Thailand needs to ensure that  inspired IT businesses and IT entrepreneurs have effective protection and enforcement of the intellectual property rights they need as they innovate, start businesses, create jobs and, hopefully one day, build highly successful IT products.   Too often people forget that homegrown Thai products are among the most frequently pirated.  This needs to change.

Some of the attendees of the conference were obviously bursting with good ideas for innovations. They deserve the effective protection and enforcement of intellectual property rights as a way to elevate incentives and rewards because their innovations will likely help the Thai government achieve its stated goal of making the creative economy account for 20 percent of GDP by the year 2012. Effective protection and enforcement of intellectual property rights are a key platform for creativity. How does Thailand expect to see the successful Creative Economy unless this platform has been considered as an essential part of the Creative Economy?.  In recent years, Thailand’s protection and enforcement of intellectual property rights under Copyright Act B.E. 2537 for the software industry as an essential part of the country’s IT sector has improved thanks to the diligence of Department of Intellectual Property (DIP),  Economic and Cyber Crime Division (ECD) under Central Investigation Bureau (CIB), State Prosecutor, and Intellectual Property & International Trade Court (IP&IT Court).

Apart from the effective protection and enforcement of intellectual property rights, there are other related issues that will strengthen the country’s IT sector. One of those that was also mentioned in this conference is Information Security. This issue may be one of tremendous opportunities and challenges in the IT sector that Thailand’s IT or software related government agencies should look ahead for in the years coming as businesses and governments are increasingly under attack by a host of malicious cyber predators.  In addition to the technology-neutral promotion of the country’s software industry consisting of commercial and open source software on a neutral basis, rather than focusing only on open source software, Software Industry Promotion Agency (SIPA) might take the opportunity that Thailand will be a host of Information Security policy meeting in March to show nations that Information Security is one of the top priorities to strengthen the IT sector and support the Creative Economy.

What became most apparent after spending two days in Chang Mai is that the IT sector consisting of three essential parts i.e. human resources, software and infrastructure should be supported with finance, education, policy and legal protection.   The IT sector is notably progressive, environmentally friendly and can generate good jobs and scalable creative economic growth in the blink of an eye.  Now is the time for Thailand to power its Creative Economy aspirations with IT. 

(Varunee  Ratchatapattanakul is Thailand Consultant of  Business Software Alliance.  The Creative Economy Conference was organized by the U.S. Consulate General in Chang Mai in collaboration with the Chang Mai provincial government, the Software Industry Promotion Agency, the Chang Mai Chamber of Commerce and Chang Mai University.)