happy on July 19, 2024, 10:12:52 PM
ปอศ. ร่วมกับ ทรูวิชั่นส์ เดินหน้าปราบปรามจับกุมเว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์และพนันออนไลน์
เร่งป้องกันก่อนผลกระทบภาพรวมสังคม และเศรษฐกิจของประเทศ


หลังจากหารือ พ.ต.อ วีระพงษ์ หอมหวล ผกก.1 บก.ปอศ กล่าวว่า การเข้าถึงเว็บไซต์เถื่อนนอกจากมีการละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว ยังมีการชักชวนให้เล่นการพนัน หรือมีสื่อลามกต่างๆ เข้ามาหลอกล่อ ซึ่งมีทั้งผู้ใหญ่และเด็กที่เข้าไปใช้อาจถูกล่อลวงจากเหล่ามิจฉาชีพ สร้างความเสียหายให้กับประชาชนและระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก ขณะเดียวกัน ไทยเป็นประเทศสมาชิก WTO  ซึ่งมีข้อบังคับว่า เราต้องให้ความคุ้มครองกับทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้า และจะต้องได้รับการประเมินสถานะคู่ค้าทั้งจากอเมริกาและยุโรป  ดังนั้นหากเราให้ความคุ้มครองสินค้าที่มีการละเมิดสิทธิทางปัญญาได้ไม่ดี ก็จะเจอมาตรการตอบโต้ทางภาษี ทำให้สินค้าของประเทศเราไม่สามารถไปต่อสู้กับประเทศต่างๆได้

ขณะที่ ดร. ณรัช ศรีหทัย ผู้จัดการสำนักงานรองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า “ทรูวิชั่นส์ให้ความสำคัญเรื่องลิขสิทธิ์เป็นอย่างมาก เราพร้อมที่จะจัดหาคอนเทนต์ลิขสิทธิ์ ที่แม้มีมูลค่าสูง อย่างเช่นลิขสิทธิ์ฟุตบอลต่างๆ แต่ก็เป็นความตั้งใจที่จะให้บริการแก่สมาชิกอย่างถูกต้องและให้สมาชิกได้รับชมคอนเทนท์ที่ดีมีคุณภาพ รวมถึงปลอดภัยจากภัยที่มองไม่เห็นทางไซเบอร์ นอกจากนั้นในฐานะที่ทรูวิชั่นส์เป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ เราจึงต้องดูแลให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา อันเป็นเหตุให้ต้องมีการตั้งทีม มีทีมติดตามตรวจสอบทำงานร่วมกับภาครัฐโดยเฉพาะสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผ่านทางกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ บก.ปอศ.เพื่อปราบปราม เว็บไซต์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งมีลักษณะเรียกเก็บเงินโดยไม่ได้สมัครสมาชิกอย่างถูกต้อง อีกทั้งไม่ได้เผยแพร่เนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์อย่างเดียวแต่จะชี้ชวนให้เล่นการพนันหรือเผยแพร่สื่อลามกอนาจาร ซึ่งเป็นภัยอันตรายที่ร้ายแรงต่อสังคม และจากข้อมูลวิจัยศึกษาต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นฟิลิปปินส์ หรือ อินเดีย พบว่าผู้กระทำความผิดที่ดำเนินการเว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนใหญ่ จะนำมัลแวร์ไปฝังตามเว็บไซต์ต่างๆ รวมไปถึงในระบบคอมพิวเตอร์ ที่จะเป็นการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งนับว่าเป็นภัยจากมิจฉาชีพออนไลน์ที่สามารถสร้างความเสียหายอย่างมาก”[/siz]

ดร. ณรัช  กล่าวเพิ่มเติมว่า  “ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา พบว่าสถิติการจับผู้กระทำผิดในการละเมิดลิขสิทธิ์ของทรูวิชั่นส์ มีอยู่ 20 เว็บไซต์ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 1 พันล้านบาท ซึ่งหากยังคงมีการละเมิดลิขสิทธิ์ ที่เพิ่มมากขึ้น จนจำนวนผู้เข้ารับชมตามช่องทางที่ถูกต้องลดลงก็อาจส่งผลให้บริษัทไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนต่อไปได้ อันจะส่งผลกระทบต่อผู้ชมขาดโอกาสในการรับชมการแข่งขันกีฬาระดับโลก หรือคอนเทนต์ที่มีคุณภาพต่อไปได้อีกด้วย”[/size