happy on February 27, 2024, 03:13:35 PM
กรุงเทพมหานครจัดงานสัมมนา “Sustainable Buildings & Cities”
พร้อมเสวนาภายใต้หัวข้อ “บ้าน เมือง และอสังหาริมทรัพย์ คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์”



               กรุงเทพมหานครร่วมกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD), สถาบันวิจัยเศรษฐกิจสำหรับอาเซียนและเอเชียตะวันออก (ERIA) และ Japan International Association for the Industry of Building and Housing (JIBH) จัดงานสัมมนา “Sustainable Buildings & Cities” เพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่สอดคล้องกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมขึ้นในวันที่ 18 มกราคม ณ กรุงเทพมหานคร และมีการถ่ายทอดสดผ่านทางออนไลน์ไปพร้อมกัน ทั้งนี้ ภายในงานได้รับเกียรติจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย, องค์กรส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO Bangkok), หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) สำนักงานประเทศไทย ร่วมสนับสนุน

               งานสัมมนา “Sustainable Buildings & Cities” จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐบาล องค์กรที่เกี่ยวข้อง สถาบันวิจัย และภาคเอกชน มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 227 ราย ผ่านทางระบบออนไลน์เฉพาะช่วงการบรรยายเกี่ยวกับนโยบาย 161 ราย หัวข้อในการบรรยายครั้งนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญในการสร้างเมืองของกรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมในงานให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ยังมีการประกาศแต่งตั้ง รศ. ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้เข้ารับตำแหน่ง OECD Champion Mayor ซึ่งถือเป็นผู้นำจากรัฐบาลท้องถิ่นที่ไม่ได้เป็นประเทศสมาชิกของ OECD จากทวีปเอเชียประเทศแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้


               ภายในงานได้รับเกียรติจาก นายนาชิดะ คาซูยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เข้าร่วมงานในครั้งนี้พร้อมย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน การพัฒนาอย่างครอบคลุม และการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน ท่ามกลางการเติบโตอย่างโดดเด่นของกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้   ยังกล่าวแสดงความยินดีกับตำแหน่ง  OECD Champion Mayor ของ  ท่านผู้ว่าชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และปิดท้ายด้วยความคาดหวังถึงการหารือและถกเถียงที่มีประโยชน์ในงานสัมมนาครั้งนี้


               ภายในงานสัมมนาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบไปด้วยการบรรยายเกี่ยวกับนโยบายโดยหน่วยงานจากประเทศญี่ปุ่น  รวมทั้งสิ้น 6 หัวข้อหลักในการสัมมนาช่วงต้น เพื่อเป็นการแนะนำประสบการณ์และเทคโนโลยีของหน่วยงานญี่ปุ่นมาปรับใช้เพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีความยั่งยืนและน่าอยู่มากขึ้น ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับฟังข้อมูลเชิงนโยบายที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการ ผ่านการใช้งาน พัฒนา และสามารถตอบโจทย์ต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศญี่ปุ่น อันพร้อมที่จะส่งมอบเป็นองค์ความรู้ต่อรูปแบบการปรับใช้งานในอนาคตของประเทศไทย โดยประกอบไปด้วยหัวข้อ (1) วิธีสร้างเมืองที่ยั่งยืนเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นธรรมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยเรียนรู้จากประสบการณ์ของญี่ปุ่น (2) การสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และความพยายามในการลดคาร์บอน  (3) เทคโนโลยีล่าสุดของ Taisei เพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืนและใส่ใจสิ่งแวดล้อม (4) การส่งมอบที่อยู่อาศัยที่ดีขึ้นผ่านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมขั้นสูง (5) การสร้างสังคมไร้คาร์บอนและให้ความสำคัญกับการรีไซเคิล (6) การริเริ่มอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศเพื่อสุขภาพและประหยัดพลังงานโดยมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และปิดท้ายด้วย ผศ.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ขึ้นกล่าวขอบคุณทุกภาคส่วนที่จัดงานสัมมนาในครั้งนี้ และหวังว่าเนื้อหาในงานจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความยั่งยืน ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียว และการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน เพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัยสำหรับทุกคน ทั้งนี้


               ดร. ฮิโรโตะ อิซุมิ ศาสตราจารย์โครงการแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ปริญญาเอก วิศวกรรมศาสตร์ อดีตที่ปรึกษาพิเศษนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ JIBH นำเสนอการเจราจาหารือเกี่ยวกับนโยบายระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และเมืองที่สอดคล้องกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม  พร้อมแนะนำนโยบายของประเทศญี่ปุ่นที่สอดคล้องกับ 3 ประเด็นปัญหาท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรและสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ “อนาคตของ Green Transformation และ Net Zero”,  “Digital Transformation และ Smart City”, “ความหลากหลายและการเติบโตอย่างครอบคลุม” จากนั้นจึงขอแรงสนับสนุนในการผลักดันประเด็นปัญหาเหล่านี้ด้วยกันเพื่ออนาคตของเมืองที่สดใส

               นอกจากนี้ นายโคจิ ฮาชิยามะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ERIA ได้ขึ้นกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของ ERIA ในฐานะองค์กรระดับนานาชาติที่พร้อมผลักดันเรื่องนวัตกรรมด้านดิจิทัล, เศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน, ความเป็นกลางทางคาร์บอน และสมาร์ทซิตี้ของภูมิภาคอาเซียนและเอเชียตะวันออก พร้อมประสานงานกับสถาบันวิจัย ภาครัฐ และภาคเอกชนที่หลากหลาย ปิดท้ายด้วยการเน้นย้ำความคาดหวังและความสำคัญที่มีต่องานสัมมนาด้านนโยบายในครั้งนี้  เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภูมิภาคและเมือง (OECD) ซึ่งให้ข้อมูลในหัวข้อ “เมืองที่ยั่งยืนและการเติบโตอย่างครอบคลุม” มีการแนะนำตำแหน่ง OECD Champion Mayor แนะนำมาตรการสำคัญ 5 ประการในระดับเมืองและภูมิภาค (เช่น การเพิ่มศักยภาพของรัฐบาลกลางและการปกครองส่วนท้องถิ่น) โดยชี้ให้เห็นนโยบายของเมืองเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนในวงการอสังหาริมทรัพย์จากกลุ่มประเทศสมาชิก OECD, ประโยชน์และประเด็นสำคัญเกี่ยวกับสมาร์ทซิตี้เพื่อการบรรลุเป้าหมาย Net Zero, การพัฒนาอย่างครอบคลุมในสังคมผู้สูงอายุและสังคมที่มีจำนวนประชากรลดน้อยลง



               ทั้งนี้ รศ.ดร ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมบรรยายพิเศษในหัวข้อ “กรุงเทพฯ : เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน” โดยชี้ให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญและจุดแข็งของกรุงเทพฯ พร้อมตั้งเป้าหมายให้กรุงเทพฯ ติดอันดับ “50 เมืองน่าอยู่ของโลก” ภายในปี 2027 (ปัจจุบันอยู่ในอันดับที่ 98) กรุงเทพมหานครวางแผนจะยกระดับศักยภาพในการผลิต, พัฒนาคุณภาพชีวิต, มอบโอกาสสู่ทุกคน และสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น พร้อมกันนี้ ยังได้กล่าวถึงรัฐบาลญี่ปุ่นที่เป็นต้นแบบให้ไทย รวมถึงแนะนำโครงการกำลังดำเนินการอยู่เกี่ยวกับระบบคมนาคม, สวนสาธารณะ, การจัดการขยะ, การป้องกันอุทกภัย และการเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบเกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ตอกย้ำความมสำคัญของโครงการขนาดเล็กที่เน้นการปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรมและเข้าถึงวิถีชีวิตของชาวเมืองอย่างแท้จริง สุดท้าย ได้ชี้ให้เห็นว่าการร่วมมือกับเมืองอื่นๆ คือกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จดังกล่าว
   
               ดร. ทัตสึโอะ อิการาชิ นายกเทศมนตรีเมืองสึคุบะ ประเทศญี่ปุ่น และแชมป์นายกเทศมนตรีแชมป์ กล่าวว่า “โครงการริเริ่มเมืองอัจฉริยะของเมืองสึคุบะ เพื่อสร้างภูมิภาคที่ลดการปล่อยคาร์บอน” เมืองสึคุบะชูวิสัยทัศน์เรื่อง “เมืองที่มองเห็นอนาคตของโลก” และวางมาตรการให้เกิดสังคมเพื่อทุกภาคส่วนอย่างครอบคลุม พร้อมผลักดันสมาร์ทซิตี้ตามแนวคิด “Tsukuba Super Science City” มีการจัดตั้งระบบความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐบาล ภาคการศึกษา และชุมชน เพื่อลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน เช่น ระบบระบบไมโครกริด ฯลฯ และย้ำให้เห็นว่าเมืองสึคุบะพัฒนาร่วมกับชาวเมืองอย่างใกล้ชิด


               การเสวนาภายใต้หัวข้อ “บ้าน เมือง และอสังหาริมทรัพย์ คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” เพื่ออธิบายเกี่ยวกับแผนงานเพื่อลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนในวงการอสังหาริมทรัพย์ของประเทศญี่ปุ่น เช่น การส่งเสริมเรื่องการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรไม้ นวัตกรรมการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน และความสำคัญของกระบวนการพัฒนาเมืองภายใต้มาตรการการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน พร้อมชี้ให้เห็นถึงนโยบายเรื่องอาคารคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของรัฐบาลไทย แนะนำเรื่องความสำคัญของอสังริมทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานสูง กรณีศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลแบบสำรวจระดับนานาชาติของ OECD ที่ชี้ให้เห็นว่ามาตรการการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนในอสังหาริมทรัพย์จะทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมตอกย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างรัฐบาลส่วนกลางและรัฐบาลท้องถิ่น จากนั้นจึงแนะนำกรณีศึกษาเรื่องการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนของประเทศเนเธอร์แลนด์กับพื้นที่ใกล้เคียง และปิดท้ายด้วยผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านได้ร่วมอภิปรายถึงลักษณะการร่วมมือกันของภาครัฐบาลและภาคเอกชนเพื่อเร่งมาตรการการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ของอสังหาริมทรัพย์ในเมืองและมุ่งสู่เป้าหมาย NET ZERO รวมถึงประเด็นปัญหาว่ารัฐบาลจะส่งเสริมกิจกรรมในระดับชุมชนได้อย่างไรเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในอสังหาริมทรัพย์ด้วยวิธีการที่ครอบคลุม

              ปิดท้ายด้วยการเสวนาหัวข้อ “แนวทางการสร้างเมืองอัจฉริยะ” กล่าวถึงเทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อการพัฒนาอย่างครอบคลุม เช่น การลงคะแนนทางอินเทอร์เน็ต, หุ่นยนต์เพิ่มศักยภาพในการเคลื่อนไหว ฯลฯ พร้อมอธิบายเกี่ยวกับมาตรการและสถานการณ์ปัจจุบันของสมาร์ทซิตี้ในประเทศอินโดนีเซีย รวมถึงลักษณะของการก่อสร้างในเขตเมืองหลวงใหม่ พร้อมย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการเติบโตที่มีผู้คนเป็นศูนย์กลางในสมาร์ทซิตี้ รวมไปถึงแนะนำมาตรการเพื่อผู้สูงอายุและผู้พิการ เช่น การปรับปรุงอาคารสาธารณะตามหลักการ Universal Design และบทบาทของสมาร์ทซิตี้ในสังคมสูงวัยและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมเน้นย้ำถึงความจำเป็นของนโยบายสำหรับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันในอนาคตและกลุ่มผู้เปราะบาง
« Last Edit: February 27, 2024, 03:56:43 PM by happy »